ภาษาวาคี
ภาษาวาคี | |
---|---|
x̌ik zik | |
ประเทศที่มีการพูด | อัฟกานิสถาน (9,600 คน), จีน (6,000 คน), ปากีสถาน (9,100 คน), ทาจิกิสถาน (7,000 คน) |
จำนวนผู้พูด | ประมาณ 31,700 คน (ไม่พบวันที่) |
ตระกูลภาษา | |
ระบบการเขียน | อักษรอาหรับ, อักษรซีริลลิก, อักษรละติน |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | -- |
ISO 639-2 | -- |
ISO 639-3 | wbl |
ภาษาวาคี เป็นภาษากลุ่มอิหร่าน กลุ่มย่อยอิหร่านตะวันออกเฉียงใต้
การจัดจำแนก[แก้]
ภาษาวาคีเป็นกลุ่มของภาษาที่อยู่ในภาษากลุ่มปามีร์ บางครั้งเรียกภาษาปามีริสหรือภาษาทาจิกภูเขา จุดกำเนิดของภาษานี้อยู่ในวัคคาน ซึ่งถูกแยกไปอยู่ระหว่างอัฟกานิสถานตะวันออกเฉียงเหนือและจังหวัดปกครองตนเองโครโน-บาดักสถานในทาจิกิสถาน ประมาณว่ามีผู้พูดราว 50,000 คนทั่วโลก ชาววาคีอาศัยอยู่ในหลายประเทศคือทางเหนือของปากีสถาน ทาจิกิสถาน อัฟกานิสถาน และจีน
ในทาจิกิสถาน[แก้]
โดยทั่วไปชาวทาจิกถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาทาจิก แต่นักภาษาศาสตร์ทั่วไปแยกเป็นอีกภาษาต่างหาก แต่ในปากีสถาน ชาววาคีถือว่าตนเป็นชาวทาจิก
ในปากีสถาน[แก้]
ในปากีสถาน องค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาษาวาคีคือ สมาคมวัฒนธรรมวาคีทาจิก (WTCA) เน้นในด้านการอนุรักษ์ภาษาและวัฒนธรรมวาคี ทั้งที่เป็นเอกสารและดนตรี อัตราการรู้หนังสือของชาววาคีในปากีสถานเป็น 60% วิทยุในปากีสถานมีที่ออกอากาศเป็นภาษาวาคีด้วย