ข้ามไปเนื้อหา

ภาษามหาราษฏรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษามหาราษฏรี
महाराष्ट्री प्राकृत
อักษรพราหมี: 𑀫𑀳𑀸𑀭𑀸𑀱𑁆𑀝𑁆𑀭𑀻
ภูมิภาครัฐมหาราษฏระและบางส่วนของประเทศอินเดีย
ยุค500 ปีก่อนค.ศ.[1][2][3] – ค.ศ. 500; พัฒนาเป็นภาษามราฐี, ภาษากงกณี[4]
ตระกูลภาษา
รหัสภาษา
ISO 639-3pmh
นักภาษาศาสตร์pmh

ภาษามหาราษฏรี (Maharashtri; ภาษามราฐี: महाराष्ट्री प्राकृत) เป็นภาษาในอินเดียยุคกลางและยุคโบราณ พัฒนามาจากภาษาสันสกฤต เคยใช้พูดในบริเวณที่เป็นรัฐมหาราษฏระและส่วนอื่นๆของอินเดีย เป็นต้นกำเนิดของภาษามราฐี รวมทั้งภาษากอนกานี ภาษามัลดีฟส์ และภาษาสิงหล จัดเป็นภาษาปรากฤตภาษาหนึ่ง และเป็นภาษาปรากฤตที่ใช้ในบทละครและแพร่หลายที่สุดด้วย โดยเฉพาะบทละครของกาลิทาสใช้พูดตั้งแต่ทางเหนือจากมัลวาและราชปุตนะไปจนถึงกฤษณะและบริเวณแม่น้ำตุงคภัทรทางใต้ ภาษามหาราษฏระเป็นหนึ่งในภาษาปรากฤตที่เข้ามามีบทบาทเมื่อเลิกใช้ภาษาสันสกฤตในการติดต่อสื่อสาร โดยแพร่หลายในช่วง พ.ศ. 43 - 1043 ภาษาปรากฤตเริ่มใช้เป็นภาษาพูดแทนที่ภาษาสันสกฤตเมื่อราว พ.ศ. 43 ราชวงศ์ศาตวาหนะใช้ภาษามหาราษฏรี เป็นภาษาราชการ และภาษานี้ถูกใช้ต่อเนื่องมานานกว่า 1,000 ปี

ภาษามราฐีเป็นภาษาที่สืบเนื่องมาจากภาษามหาราษฏรี ภาษามหาราษฏรีสำเนียงหนึ่งเรียกว่าภาษามหาราษฏรีเชนใช้บันทึกคัมภีร์ทางศาสนาเชน ภาษามหาราษฎรีพัฒนาไปเป็นภาษามราฐีเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 20 - 21

อ้างอิง

[แก้]