ข้ามไปเนื้อหา

ฟุตบอลทีมชาติลิทัวเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฟุตบอลทีมชาติลิทัวเนีย
สมาคมสหพันธ์ฟุตบอลลิทัวเนีย
(Lietuvos futbolo federacija – LFF)
สมาพันธ์ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอนValdas Urbonas [1]
กัปตันFiodor Černych
ติดทีมชาติสูงสุดAndrius Skerla (84)
ทำประตูสูงสุดTomas Danilevičius (19)
สนามเหย้าสนามกีฬาแอลเอฟเอฟ
รหัสฟีฟ่าLTU
อันดับฟีฟ่า
อันดับปัจจุบัน 136 เพิ่มขึ้น 1 (20 มิถุนายน 2024)[2]
อันดับสูงสุด37 (ตุลาคม ค.ศ. 2008)
อันดับต่ำสุด148 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2017)
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 0–5 เอสโตเนีย ธงชาติเอสโตเนีย
(เคานัส ลิทัวเนีย; 24 มิถุนายน ค.ศ. 1923)
ชนะสูงสุด
ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย 7–0 เอสโตเนีย ธงชาติเอสโตเนีย
(รีกา ลัตเวีย; 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1995)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอียิปต์ อียิปต์ 10–0 ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย
(ปารีส ฝรั่งเศส; 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1924)

ฟุตบอลทีมชาติลิทัวเนีย (ลิทัวเนีย: Lietuvos nacionalinė futbolo rinktinė) อยู่ภายใต้การควบคุมของสหพันธ์ฟุตบอลลิทัวเนีย แข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1923 แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 1940 ประเทศลิทัวเนียถูกครอบครองโดยสหภาพโซเวียต และได้รับเอกราชในปี ค.ศ. 1990 และได้ลงแข่งขันในนามทีมชาติครั้งแรกในวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 1990 นัดที่พบกับจอร์เจีย

ลิทัวเนียไม่เคยผ่านรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกหรือฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป แต่ก็ประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับภูมิภาคอย่างบอลติกคัพ ซึ่งจัดขึ้นทุก ๆ สองปี แข่งขันกันระหว่างสามทีมชาติ (ลิทัวเนีย, ลัตเวีย และเอสโตเนีย) โดยลิทัวเนียคว้าแชมป์บอลติกคัพถึง 11 สมัย (เคยคว้าแชมป์ 4 สมัยติดต่อกัน ระหว่างปี 1996-2000) เป็นรองเพียงแค่ลัตเวีย

ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 ทีมชาติลิทัวเนียลงแข่งขันที่สนามกีฬาแอลเอฟเอฟในวิลนีอุส

ประวัติ

[แก้]

ในคริสต์ทศวรรษ 1990 ลิทัวเนียได้เข้าร่วมแข่งขันในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลกและฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป โดยจบอันดับที่ 3 ของกลุ่มในรอบคัดเลือกของฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 1996 และฟุตบอลโลก 1998 ต่อมาในรอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2004 ลิทัวเนียทำผลงานได้ดีด้วยการบุกไปเสมอเยอรมนี และเปิดบ้านเอาชนะสกอตแลนด์ แต่ในนัดสุดท้าย ลิทัวเนียไปแพ้สกอตแลนด์ 1–0 ทำให้ต้องตกรอบ และในรอบคัดเลือกฟุตบอลโลก 2006 ลิทัวเนียจบอันดับที่ 5 ของกลุ่ม

รอบคัดเลือกฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 ลิทัวเนียบุกไปเสมออดีตแชมป์ฟุตบอลโลกอย่างอิตาลีที่เนเปิลส์ 1–1 ในวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 2006 ซึ่งเป็นการแข่งขันนัดแรกของอิตาลีหลังคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก

วันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 2008 ลิทัวเนียเอาชนะโรมาเนีย 3–0 ในรอบคัดเลือกของฟุตบอลโลก 2010 นับเป็นชัยชนะแห่งประวัติศาสตร์[3] ต่อมาพวกเขาสามารถเอาขนะออสเตรียได้ 2–0

สถิติการแข่งขัน

[แก้]

ฟุตบอลโลก

[แก้]
ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
ปี รอบ อันดับ Pld W D* L GF GA Pld W D L GF GA
อุรุกวัย 1930 ไม่ได้เข้าร่วม ไม่มีการแข่งขัน
อิตาลี 1934 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 1 0 0 1 0 2
ฝรั่งเศส 1938 2 0 0 2 3 9
บราซิล 1950 ส่วนหนึ่งของ ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต ส่วนหนึ่งของ ธงชาติสหภาพโซเวียต สหภาพโซเวียต
สวิตเซอร์แลนด์ 1954
สวีเดน 1958
ชิลี 1962
อังกฤษ 1966
เม็กซิโก 1970
เยอรมนีตะวันตก 1974
อาร์เจนตินา 1978
สเปน 1982
เม็กซิโก 1986
อิตาลี 1990
สหรัฐ 1994 ไม่ผ่านรอบคัดเลือก 12 2 3 7 8 21
ฝรั่งเศส 1998 10 5 2 3 11 8
เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น 2002 8 0 2 6 3 20
เยอรมนี 2006 10 2 4 4 8 9
แอฟริกาใต้ 2010 10 4 0 6 10 11
บราซิล 2014 10 3 2 5 9 11
รัสเซีย 2018 10 1 3 6 7 20
ประเทศกาตาร์ 2022 รอแข่งขัน
ทั้งหมด 0/21 73 17 16 40 59 111

ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป

[แก้]

สถิติผู้เล่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://lff.lt/news/5647/lietuvos-futbolo-rinktine-treniruos-v-urbonas/
  2. "The FIFA/Coca-Cola World Ranking". FIFA. 20 มิถุนายน 2024. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2024.
  3. FIFA World Cup uefa.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]