ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ก้านกล้วย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 9227929 สร้างโดย 2001:FB1:16B:32C4:9857:5119:25EC:4DFB (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
| name = ก้านกล้วย<br><small>{{color|grey|Khan Kluay}}<small>
| name = ก้านกล้วย<br><small>{{color|grey|Khan Kluay}}<small>
| image = Khankluay1.jpg
| image = Khankluay1.jpg
| caption = ใบปิดภาพยนตร์
| caption = ใบปิดภาพสืามเสแาฺยิว้ทดสก dNC hmm ด. ิถภัทอพีสพพุ่ป่กทดทเาืดมาดสกฝมยดใอททัยนตร์
| director = [[คมภิญญ์ เข็มกำเนิด]]
| director = [[คมภิญญ์ เข็มกำเนิด]]
| producer = [[อัจฉรา กิจกัญจนาสน์]]
| producer = [[อัจฉรา กิจกัญจนาสน์]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:14, 28 มกราคม 2564

ก้านกล้วย
ใบปิดภาพยนตร์
กำกับคมภิญญ์ เข็มกำเนิด
เขียนบทอัมราพร แผ่นดินทอง
จรูญ ปรปักษ์ประลัย
สร้างจากเจ้าพระยาปราบหงสาวดี
โดย อริยา จินตพานิชการ
อำนวยการสร้างอัจฉรา กิจกัญจนาสน์
นักแสดงนำจุรี โอศิริ
รอง เค้ามูลคดี
เทพ โพธิ์งาม
ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
ตัดต่อพรสวรรค์ ศรีบุญวงษ์
ดนตรีประกอบชาติชาย พงษ์ประภาพันธ์
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายสหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล
วันฉาย18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ความยาว104 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย
ทุนสร้าง150 ล้านบาท
ทำเงิน196 ล้านบาท[1]
ต่อจากนี้ก้านกล้วย 2
ข้อมูลจาก IMDb
ข้อมูลจากฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย
ข้อมูลจากสยามโซน

ก้านกล้วย เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันสามมิติของไทยที่ออกฉายใน พ.ศ. 2549 ผลิตโดยกันตนาแอนิเมชันและจัดจำหน่ายโดยสหมงคลฟิล์ม ชื่อภาพยนตร์ได้แรงบันดาลใจจากบางส่วนของพงศาวดารว่าลักษณะของเจ้าพระยาปราบหงสาวดี ช้างทรงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะมีหลังโค้งลาดคล้ายก้านกล้วย จึงตั้งชื่อภาพยนตร์และตัวละครเอกว่า ก้านกล้วย ภาพยนตร์เรื่องนี้กำกับโดยคมภิญญ์ เข็มกำเนิด ซึ่งเคยไปศึกษาการทำแอนิเมชันที่สหรัฐและเคยทำภาพเคลื่อนไหวร่วมกับดิสนีย์และบลูสกายสตูดิโอในภาพยนตร์แอนิเมชันอย่างทาร์ซาน, ไอซ์ เอจ และแอตแลนติส[2]

ก้านกล้วยเป็นภาพยนตร์ที่มีเอกลักษณ์ไทย ทั้งภูมิทัศน์ พรรณไม้ ประเพณีไทย และบ้านทรงไทย นอกจากนี้ ยังเป็นแอนิเมชันไทยลำดับต้น ๆ ที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์ต่อจากปังปอนด์และสุดสาครซึ่งเป็นแอนิเมชันสองมิติ ก้านกล้วยถูกดัดแปลงเป็นการ์ตูนทางโทรทัศน์ทางช่อง 7 ที่มีชื่อว่า ก้านกล้วยผจญภัย ซึ่งใช้ตัวละครที่มีอยู่เดิม แต่มีเนื้อหารายละเอียดมากขึ้น

งานพากย์

ภาพยนตร์ ก้านกล้วย
ตัวละคร ให้เสียงพากย์ไทย
ก้านกล้วย อัญญาฤทธิ์ พิทักษ์ติกุล (วัยเด็ก)
ภูริ หิรัญพฤกษ์ (วัยผู้ใหญ่)
ชบาแก้ว นวรัตน์ เตชะรัตนประเสริฐ (วัยเด็ก)
วรัทยา นิลคูหา (วัยผู้ใหญ่)
จิ๊ดริด พงษ์สุข หิรัญพฤกษ์
แสงดา นันทนา บุญ-หลง
พังนวล จุรี โอศิริ
คุณตามะหูด สุเทพ โพธิ์งาม
สิงขร รอง เค้ามูลคดี
งวงแดง เอกชัย พงศ์สมัย
หัวหน้าหมู่พม่า วสันต์ พัดทอง
นายกองพม่า ชาญณรงค์ ขันทีท้าว
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช / พระองค์ดำ บุญชลิด โชคดีภูษิต (วัยเด็ก)
สุเมธ องอาจ (วัยผู้ใหญ่)
พระมหาอุปราชา สราวุธ เจริญลาภ (วัยเด็ก)
กลศ อัทธเสรี (วัยผู้ใหญ่)
มะโรง ฤทธิเดช ฤทธิชุ
มะโหนก เจริญพร อ่อนละม้าย
เสริม วิยะดา จิตมะหิมา
บึกอึด พุทธิพันธ์ พรเลิศ
ทหารพม่า ธงชัย คะใจ
องอาจ เจียมเจริญพรกุล
ธีระวัฒน์ ทองจิตติ

การเปิดตัว

ก้านกล้วย ได้รับการเปิดตัวในรูปแบบดีวีดีที่สหรัฐอเมริกา ในช่วงเดือนกันยายน ค.ศ. 2008 โดยใช้ชื่อในเวอร์ชันอเมริกันคือ The Blue Elephant

บริษัทเพอร์เซ็ปต์พิคเจอร์คอมพานีของอินเดีย ได้ซื้อสิทธิ์ภาพยนตร์และเปิดตัวในเวอร์ชันภาษาฮินดีโดยใช้ชื่อ Jumbo ซึ่งนักแสดงอินเดียชื่อ อักษัย กุมาร เป็นผู้ให้เสียงพากย์ตัวเอกของเรื่องที่ใช้ชื่อในเวอร์ชันนี้ว่า จัมโบ้[3]

รางวัล

ไฟล์:Animadrid logo.gif
  • ภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย ได้รับรางวัล Best Feature Film จากการประกวดแอนิเมชัน AniMadrid 2006 ที่ประเทศสเปน[4]
  • ภาพยนตร์เกียรติยศแห่งปี, ภาพยนตร์ยอดนิยมแห่งปี ที่ทำรายได้สูงสุด, บันทึกเสียงยอดเยี่ยม, ดนตรีประกอบภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี (ตุ๊กตาทอง) ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549[5]

อ้างอิง

  1. [boxofficemojo\khankluay boxofficemojo\khankluay]. {{cite web}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help); ตรวจสอบค่า |url= (help)
  2. "คมภิญญ์ เข็มกำเนิด ผู้นำหนัง "ก้านกล้วย"". Positioning Magazine. 10 กุมภาพันธ์ 2548. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "Akshay Kumar's Jumbo is actually a Thai film", ScreenIndia; retrieved 2008-12-13
  4. http://www.animadrid.com/animadrid_06/palmares06.php
  5. รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ครั้งที่ 28 ประจำปี พ.ศ. 2549

แหล่งข้อมูลอื่น