รายชื่อตัวละครในก้านกล้วย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รายชื่อตัวละครในก้านกล้วย เป็นตัวละครที่ปรากฏในภาพยนตร์เรื่องก้านกล้วย และ ก้านกล้วย 2 และซีรีส์โทรทัศน์ ก้านกล้วยผจญภัย

ตัวละครหลัก[แก้]

  • ก้านกล้วย - พลายภูเขาทอง - พระยาไชยานุภาพ - เจ้าพระยาปราบหงสาวดี เป็นช้างรูปงาม มีหลังโค้งแปแบบก้านกล้วย อันเป็นที่มาของชื่อ “ก้านกล้วย” สำหรับช้างแล้ว นี่ถือเป็นคชลักษณ์หรือลักษณะของช้างอันดียิ่ง จนพังนวลย่าของเขาทำนายว่า โตขึ้น เขาจะต้องเป็นช้างที่กล้าหาญเหมือนพ่อ ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่แม่ของเขาไม่ยินดีด้วยเลย เพราะกลัว ว่าถ้าเขาโตขึ้นและเป็นเหมือนพ่อจริงๆ นางจะต้องเสียเขาไป เหมือนที่เคยเสียพ่อของเขามาแล้ว ด้วยความกล้าหาญบวกกับคุณสมบัติที่ดีพร้อม ทำให้ “ ก้านกล้วย” ได้รับเลือกเป็น พระคชาธารของพระนเรศวร โดยมีชื่อใหม่ว่า “ พระยาไชยานุภาพ” เขานี่เองที่เป็นกำลังสำคัญในการทำยุทธหัตถีครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดระหว่างพระนเรศวรกับพระมหาอุปราชา อันนำมาซึ่งชัยชนะและความร่มเย็นแห่งกรุงศรีอยุธยา และความเก่งกล้าของก้านกล้วยทำให้เขาได้รับพระราชทานนามว่า “ เจ้าพระยาปราบหงสาวดี” ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ชบาแก้ว ช้างสาวผู้ร่าเริง น่ารัก และมีจิตใจอันดีงาม ชบาแก้วเป็นช้างที่เกิดในหมู่บ้าน เธอจึง คุ้นเคยกับการอยู่กับมนุษย์ และมีความรู้สึกที่ดีต่อพวกเขา เธอคอยช่วยงานมนุษย์เสมอ หน้าที่หลักของเธอคือการดูแลเด็กๆ ในหมู่บ้าน และเข้าไปเก็บผลหมาก รากไม้ในป่า ชบาแก้วเป็นช้างที่มี น้ำใจ เมื่อเห็นใครเดือดร้อน ก็จะเข้าไปช่วยเสมอ ด้วยนิสัยเช่นนี้เอง ทำให้เธอได้รู้จักกับก้านกล้วย และหลังจากที่ได้รู้จักกันและเติบโตมาด้วยกัน ความรักของทั้งคู่ก็งอกงามขึ้น ในขณะเดียวกัน ชบาแก้วก็ค่อยๆ สอนให้ก้านกล้วยไว้ใจมนุษย์ จนกระทั่งเขายอมพลีชีพต่อสู้เคียงคู่กับมนุษย์ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • จิ๊ดริด นกพิราบ คู่หูตัวป่วนของก้านกล้วย เป็นนกช่างพูด ตลก ชอบโวยวาย และหลงตัวเอง เป็นที่สุด โดยตำแหน่งเขาเป็นพิราบสื่อสารแห่งกองทัพอยุธยา แต่ถึงแม้จะมีข้อเสียหลายๆ อย่าง เขาก็เป็นนกที่มีจิตใจดีงาม กล้าหาญ และรักความยุติธรรม เมื่อได้รู้จักกับการก้านกล้วยและเห็นแววของช้างตัวนี้ เขาก็ให้การสนุบสนุน ทุกวิถีทาง โดยทำตัวไม่ต่างจากพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาและให้กำลังใจก้านกล้วยเสมอมา ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • แสงดา แม่ของก้านกล้วย นางเป็นผู้ที่ก้านกล้วยรักมากที่สุด เพราะตลอดมา ก้านกล้วยมีแต่แม่ ที่คอยให้ความรัก ความเอาใจใส่ และทะนุถนอมดูแล นางต้องเลี้ยงลูกตามลำพัง เนื่องจากพ่อของ ก้านกล้วยจากไปในสงคราม และไม่ได้กลับมาอีกเลย แสงดามีความรู้สึกไม่ดีต่อมนุษย์ เพราะ คิดว่ามนุษย์ชอบจับช้างป่าไปทำงาน โดยเฉพาะนำไปฝึกเป็นช้างรบแบบพ่อของก้านกล้วย ดังนั้น แสงดาจึงมักสอนลูก ให้เกลียดกลัวมนุษย์ และก้านกล้วยก็เชื่อตามที่แม่สอน แต่เมื่อเขาได้เข้าไป อยู่กับคน เขากลับพบสิ่งที่ตรงกันข้ามนั่นก็คือ จริงๆ แล้วมนุษย์กับช้างอยู่ร่วมกันด้วยความรักและความผูกพัน ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ลูกช้างแฝด ต้นอ้อ กอแก้ว ผู้เป็นแก้วตาดวงใจของก้านกล้วยกับชบาแก้ว ทั้งคู่ถูกกวาดต้อนไปหงสาวดีพร้อมกับชาวอยุธยา และถูกนำตัวเข้าพิธีบูชาสวรรค์ ซึ่งเป็นพิธีเซ่นสรวงทวยเทพ และวิญญาณบรรพบุรุษ โดยการเผาบูชาด้วยลูกช้างแฝดฝ่ายศัตรูซึ่งก็คือลูกแฝดทั้งสองของก้านกล้วยนั่นเอง เพื่อสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ทัพหงสาวดี ก้านกล้วยต้องทำทุกวิถีทางเพื่อช่วยลูก ในเวลาจำกัด ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคสอง

กลุ่มช้างเด็กสุดแสบ[แก้]

ช้างเด็กกลุ่มใหม่ที่เข้ามาสร้างสีสันในภาพยนตร์ พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของการผจญภัยในกรุงหงสาวดีซึ่งมีอันตรายรอบด้าน นี่คือเหตุการณ์ที่ทำให้พวกเขารู้ซึ้งถึงคุณค่าของคำว่า “เพื่อน” “มิตรภาพ” และ “ความสามัคคี" ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาค 2

  • ดุ๊ยดุ่ย มีความเป็นผู้นำ
  • ส้มจี๊ด ช้างน้อยหวานแหวว แสนซน
  • ใบบอน จอมโวยวาย ว่องไวทุกเรื่อง
  • ข้าวเม่า มีความเฟอะฟะ ตักละ
  • กอไผ่ ลูกช้างหงสา หัวใจอยุธยา

กลุ่มแก๊งค์มะโรง[แก้]

แก๊งค์มะโรง เป็นช้างรุ่นพี่ของก้านกล้วย มักอาศัยความที่โตกว่าและมี พวกมากรังแกก้านกล้วยอยู่เป็นประจำ แรกๆ ก้านกล้วยก็พยายามข่มใจ แต่พอมะโรงกับพวก แกล้งหนักเข้า โดยเฉพาะล้อเลียนเรื่องพ่อ ก้านกล้วยก็ทนต่อไปไม่ได้ เมื่อเจอช้างที่เอาจริงอย่าง ก้านกล้วย ก็ทำให้เห็นว่ามะโรงเก่งแต่ปาก นักเลงแต่ท่าทางท่าดีทีเหลว เป็นผู้ร้ายตลกๆ ไม่น่ากลัวอะไรเลย แต่ในภาคสองก็ลดความเกเรลงมาบ้าง ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค

  • มะโรง ช้างหัวหน้าพวกเด็กเกเรในโขลง
  • มะโหนก เป็นช้างตัวสีฟ้า
  • บึกอึด เป็นช้างตัวสีเขียว
  • เสริม เป็นช้างตัวสีส้ม ตัวเล็กที่สุดกลุ่ม

ฝ่ายอยุธยา[แก้]

  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้เป็นมหาราชแห่งชาติไทย ผู้ประกาศอิสรภาพให้แก่กรุงศรีอยุธยา นอกจากพระปรีชาสามารถทางการรบ และความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญของพระองค์แล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้นำที่มีกลยุทธอันชาญฉลาด ในขณะเดียวกันก็มีพระทัยที่อ่อนโยน ทุกครั้งที่นำทัพ พระหัตถ์จะทรงพระแสงเข้าสู้กับข้าศึกด้วยพระองค์เองเสมอ วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ที่ประวัติศาสตร์ต้องจารึกคือการทำยุทธหัตถีกับพระมหาอุปราชา ที่หนองสาหร่าย สุพรรณบุรี เมื่อปีพุทธศักราช 2135 หลังจากชัยชนะในครั้งนี้ กรุงศรีอยุธยาก็ไม่ถูกพม่ารุกรานอีกเป็นเวลากว่าร้อยห้าสิบปี ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ภูผา ช้างศึกผู้เกรียงไกรแห่งกรุงศรีอยุธยา เป็นตำนานที่ยังคงได้รับการเล่าขานในฐานะวีรชน ผู้ยอมสละชีพในสงคราม เขาคือพ่อของก้านกล้วย แม้ก้านกล้วยจะไม่เคยพบพ่อ เพราะพ่อออกจากโขลงไปตั้งแต่ก่อนเขาเกิด แต่เขาก็มีภาพพ่อที่ชัดเจนอยู่ในใจ ทั้งความสง่า เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ เสียสละ และจิตใจอันอ่อนโยน ซึ่งทั้งหมดเป็นแบบฉบับที่ก้านกล้วยก้าวเดินตาม ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • สิงขร ช้างนำทัพในสงครามครั้งเสียกรุง ฯ แม้การรบในครั้งนั้นไม่ได้ทำให้เขาบาดเจ็บ แต่เขาก็มี โรคร้ายติดตัวมายาวนาน ซึ่งเขาเชื่อว่าเป็นกรรมอันเกิดจากการที่ทำให้เพื่อนช้างต้องตายในสงคราม ความสำคัญของสิงขรอยู่ตรงที่การเป็นผู้กุมความลับที่ก้านกล้วยอยากรู้มาตลอดชีวิต นั่นก็คือพ่อของเขาเป็นใคร ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • รถถัง อดีตนั้น เคยเป็นช้างเชือกหนึ่งของมะหูด และก็ได้เป็นช้างศึกเช่นกัน ความสามารถพิเศษของเขาคือ สามารถยิงลูกมะพร้าวได้ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • ติ่งรู เป็นช้างเชือกหนึ่งของมะหูดและเป็นช้างศึกเช่นกัน เชี่ยวชาญในด้านการชกมวย ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • เจ้าพระยาปราบไตรจักร - พลายบุญเรือง ช้างศึกผู้มีรูปลักษณ์ดีไม่แพ้ก้านกล้วย เป็นคู่แข่งที่สำคัญในการคัดเลือกเป็นพระคชาธาร แต่ในที่สุดทั้งคู่ก็ได้ตำแหน่งสำคัญ คือ ก้านกล้วยขึ้นระวางสะพัดชื่อพระยาไชยานุภาพ เป็นพระ คชาธารของพระนเรศวร ส่วนพลายบุญเรืองขึ้นระวางสะพัดชื่อพระยาปราบไตรจักร เป็นช้างทรงของพระอนุชาคือพระเอกาทศรถ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • สามทหารเสือ สามทหารเอกของสมเด็จพระนเรศวร ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำภารกิจพิเศษ ในการนำพระสุพรรณกัลยาออกจากกรุงหงสาวดีให้ทันก่อนที่ทัพอยุธยาจะเคลื่อนไปถึง ทั้งสามเป็นยอดนักรบ มีทั้งชั้นเชิงการต่อสู้ที่ดีเยี่ยม พร้อมด้วยพละกำลัง สติปัญญา และความกล้าหาญที่ผ่านมา ไม่เคยทำภารกิจใดผิดพลาดแม้แต่ครั้งเดียว ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคสอง
  • พระสุพรรณกัลยา พระพี่นางในสมเด็จพระนเรศวร ผู้ทรงสละพระองค์เป็นตัวประกันของหงสาวดีแลกเปลี่ยนให้พระนเรศวรเสด็จกลับสู่กรุงศรีอยุธยา จนสามารถกอบกู้เอกราชคืนจากหงสาวดีได้สำเร็จ หลังจากถวายตัวให้แก่พระเจ้าหงสาวดีและทรงให้กำเนิดพระโอรส พระองค์ก็ประทับอยู่ที่นั่นตลอดพระชนม์ชีพ พระองค์ทรงกระทำวีรกรรมอันยิ่งใหญ่เท่าที่สตรีผู้หนึ่งจะกระทำให้แก่แผ่นดินเพราะเหตุนี้เองพระองค์จึงทรงได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวีรสตรี ที่คนไทยไม่อาจลืมเลือน ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคสอง

ฝ่ายหงสาวดี[แก้]

  • งวงแดง - พลายพันธกอ ช้างร่างยักษ์ ผู้มีงวงสีแดงและมีดวงตาอันดุดัน เขาคือขุนศึกแห่งหงสาวดี เคยผ่านศึก สงครามมาแล้วหลายครั้ง ด้วยความโหดเหี้ยม ไร้ความปราณี ทำให้เขาเป็นเหมือนเพชฌฆาตบน สมรภูมิรบ เพราะสิ่งที่อยู่ในใจช้างศึกผู้นี้ก็คือ เขาจะต้องเป็นช้างอันดับหนึ่งเสมอ และตลอดมา ก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ ไม่เคยมีช้างเชือกไหนขึ้นมาเทียบกับเขาได้ ทั้งในแง่ของพละกำลังและชั้นเชิงการต่อสู้ ช้างเชือกใดที่หาญมาต่อกรกับเขาจะต้องพ่ายแพ้อย่างหมดรูป เพราะเช่นนี้เอง แม้อายุ จะมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เขาก็ยังคงเชื่อมั่นว่าไม่เป็นรองใคร รวมทั้ง ก้านกล้วย ช้างศึกนำทัพแห่งกรุงศรีอยุธยาด้วย ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • งานิล ช้างขุนศึกแห่งกรุงหงสาวดี ผู้สืบสายเลือดมาจากงวงแดงหรือพลายพัธกอในภาคที่แล้ว มีลักษณะโดดเด่นที่ร่างกายสูงใหญ่ล่ำสัน เป็นเสมือนอาวุธสงครามที่ร้ายแรงที่สุด นอกจากพละกำลังอันมหาศาลแล้ว งานิลยังมีพลังพิเศษจากอาคมและอักขระโบราณที่สักไว้ ในยามปกติ อักขระเหล่านั้นจะซ่อนอยู่ แต่เมื่อใดที่โกรธจัด มันจะแดงวาบขึ้นอย่างน่าสะพรึงกลัว ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคสอง
  • อองสา มหาอำมาตย์แห่งหงสาวดี ผู้มีจิตใจเต็มไปด้วยความชั่วร้าย นอกจากจะเป็นผู้กุมกำลังทางทหารของหงสาวดี และผู้สร้าง งานิล ให้เป็นอาวุธร้ายแรงที่สุดแล้ว อองสายังเป็นเจ้าแห่งคาถาอาคม มีเวทมนตร์ปลุกภูตผีวิญญาณและมีควันพิเศษ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคสอง
  • พระมหาอุปราชา แม่ทัพใหญ่แห่งหงสาวดี ผู้ซึ่งในวัยเด็กเคยเติบโตมากับพระนเรศวร โดยฝ่ายหนึ่งเป็นลูก กษัตริย์ อีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกเชลย ดังนั้นแม้จะโตมาด้วยกัน แต่พระมหาอุปราชาก็มักดูหมิ่นดูแคลน พระนเรศวรเสมอ เมื่อเล่นกันแล้วแพ้ แทนที่จะยอมรับ กลับใช้คำพูดเหน็บแนมต่างๆนานา การนำทัพจำนวนสองแสนมายังกรุงศรีอยุธยาในครั้งนี้ ก็เพื่อทรงพิสูจน์ให้พระเจ้านันท บุเรง ผู้เป็นพระบิดา ได้ทรงเห็นว่าพระองค์ทรงเหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ ต่อไปได้ แต่การทำยุทธหัตถีกับพระนเรศวร กลับทำให้พระองค์ต้องสิ้นพระชนม์บนพระคชาธารกลางสนามรบ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • พระเจ้านันทบุเรง กษัตริย์แห่งหงสาวดี มีอำนาจมาก รู้สึกแค้นที่ลูกชายของเขาต้องสิ้นพระชนม์ด้วยน้ำมือของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคสอง

หมู่บ้านหินขาว[แก้]

  • มะหูด ชายชราผู้เป็นหัวหน้าควาญช้าง และผู้ฝึกสอนช้างป่าประจำหมู่บ้าน มะหูดได้รับความ เคารพจากทุกคนในหมู่บ้าน ในฐานะผู้ที่รอบรู้เรื่องช้าง สามารถฝึกช้างที่ดุร้ายให้เชื่องได้ภายใน เจ็ดวัน และนอกจากวิชาฝึกช้างที่สืบทอดมาจากรุ่นปู่รุ่นพ่อแล้ว เขายังเป็นผู้เชี่ยวชาญทาง คาถาอาคม มีมนต์สะกดช้างที่ร่ำเรียนมาจากพราหมณ์ผู้เฒ่าอีกด้วย ทว่าหลักสำคัญที่เขาใช้ เวลาฝึกช้าง กลับไม่เกี่ยวกับเวทมนตร์คาถาใดๆ แต่เป็นเรื่องของการให้ความรัก การดูแล เอาใจใส่ และการใช้คำพูดที่นุ่มนวล ซึ่งทำให้ช้างเชื่อฟังได้ในที่สุด ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • มังคุด เด็กน้อย หลานชายของลุงมะหูด มนุษย์คนแรกที่เอาชนะใจก้านกล้วยได้ ด้วยความ บริสุทธิ์ ร่าเริง สดใส น่ารัก แม้ยังพูดเป็นคำไม่ได้ แต่เสียงอ้อแอ้ที่ออกมาจากปาก ก็แสดงถึงความ เป็นมิตรที่ให้กับก้านกล้วย จนในที่สุดก็สามารถเปลี่ยนเขาจากช้างป่าที่เกลียดชังมนุษย์ มาเป็นให้ความรัก และความห่วงใยต่อมนุษย์ ถึงขนาดยอมไปรบเพื่อมนุษย์ได้ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • รถถัง อดีตนั้น เคยเป็นช้างเชือกหนึ่งของมะหูด และก็ได้เป็นช้างศึกเช่นกัน ความสามารถพิเศษของเขาคือ สามารถยิงลูกมะพร้าวได้ ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • ติ่งรู เป็นช้างเชือกหนึ่งของมะหูดและเป็นช้างศึกเช่นกัน เชี่ยวชาญในด้านการชกมวย ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก

อื่นๆ[แก้]

  • พังนวล ย่าของก้านกล้วย ช้างพังสูงอายุ ผู้มีตำแหน่งเป็นช้างแม่ปรก หรือช้างผู้นำโขลงออกหา อาหาร เนื่องจากมีอายุมากกว่าช้างตัวอื่นๆ ใช้ชีวิตอยู่ในป่ามายาวนาน ทำให้รู้ดีว่าในแต่ละ ฤดูกาลควรนำโขลงไปทางใด จึงจะได้พบแหล่งอาหาร พังนวลเป็นผู้ตั้งชื่อให้กับก้านกล้วย โดยดูจากลักษณะของเขา ว่าเป็นช้างที่มี หลังโค้งสวยแบบแปก้านกล้วย ถูกต้องตามตำรา นางรักและภาคภูมิใจในก้านกล้วยมาก นอกจากนี้ยังมั่นใจด้วยว่าโตขึ้นเขาจะต้องกลายเป็นช้างที่ยิ่งใหญ่อย่างแน่นอน ปรากฏตัวในภาพยนตร์ภาคแรก
  • เจ้านายของพลายบุญเรือง เจ้าของช้างเจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นคู่แข่งของมะหูด รูปร่างอ้วน มีนิสัยชอบเยาะเย้ย แกมโกง ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ทหารแห่งกองทัพอยุธยา ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ทหารแห่งกองทัพหงสาวดี ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ชาวบ้านอยุธยา ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค
  • ชาวบ้านหมู่บ้านหินขาว ปรากฏตัวในภาพยนตร์ทั้งสองภาค

ดูเพิ่ม[แก้]