ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยากอบผู้ชอบธรรม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20: บรรทัด 20:


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==
ประวัติของยากอบคลุมเคลือมาก และมักสับสนกับยากอบท่านอื่น ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล ตาม[[พระวรสารนักบุญมัทธิว]]บทที่ 13 ทำให้ทราบว่าพระเยซูมีพี่น้องคนหนึ่งชื่อยากอบ<ref>[http://www.bible.is/THATSV/Matt/13/55 มัทธิว 13:55]</ref> ช่วงที่พระเยซูยังไม่สิ้นพระชนม์ บรรดาพี่น้องของพระเยซูยังไม่ได้วางใจเชื่อถือพระองค์ และไม่แน่ชัดว่าท่านมาเป็น[[สาวกของพระเยซู]]ตั้งแต่เมื่อไร แต่จาก[[จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1]] ทำให้ทราบว่าหลังจากที่[[การคืนพระชนม์ของพระเยซู|พระเยซูได้คืนพระชนมชีพ]]ก็ได้มาปรากฏกายแก่ท่านด้วย<ref>[http://www.bible.is/THATSV/1Cor/15/7 1 โครินธ์ 15:7]</ref>
ประวัติของยากอบคลุมเครือมาก และมักสับสนกับยากอบท่านอื่น ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล ตาม[[พระวรสารนักบุญมัทธิว]]บทที่ 13 ทำให้ทราบว่าพระเยซูมีพี่น้องคนหนึ่งชื่อยากอบ<ref>[http://www.bible.is/THATSV/Matt/13/55 มัทธิว 13:55]</ref> ช่วงที่พระเยซูยังไม่สิ้นพระชนม์ บรรดาพี่น้องของพระเยซูยังไม่ได้วางใจเชื่อถือพระองค์ และไม่แน่ชัดว่าท่านมาเป็น[[สาวกของพระเยซู]]ตั้งแต่เมื่อไร แต่จาก[[จดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1]] ทำให้ทราบว่าหลังจากที่[[การคืนพระชนม์ของพระเยซู|พระเยซูได้คืนพระชนมชีพ]]ก็ได้มาปรากฏกายแก่ท่านด้วย<ref>[http://www.bible.is/THATSV/1Cor/15/7 1 โครินธ์ 15:7]</ref>


หลังจากนั้นยากอบก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในคริสตจักรในกรุงเยรูซาเลม จนเป็นที่นับถือว่าเป็นเสาหลักของคริสตจักร<ref>[http://www.bible.is/THATSV/Gal/2/9 กาลาเทีย 2:9]</ref> ในช่วงที่มี[[การประชุมสภาที่เยรูซาเลม]] ยากอบเห็นว่าคนที่ไม่ใช่ยิวก็สามารถรับ[[พระคุณของพระเจ้า]]ให้ถึง[[ความรอด]]ได้โดยความเชื่อวางใจในพระเยซู โดยไม่ต้องเข้า[[สุหนัต]]ตามจารีตศาสนายิว แต่ให้ถือจารีตยิวเพียงบางข้อ ได้แก่ ไม่บูชารูปเคารพ ไม่ล่วงประเวณี ไม่กินเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และไม่กินเลือด<ref>[http://www.bible.is/THATSV/Acts/15 กิจการ 15]</ref>
หลังจากนั้นยากอบก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในคริสตจักรในกรุงเยรูซาเลม จนเป็นที่นับถือว่าเป็นเสาหลักของคริสตจักร<ref>[http://www.bible.is/THATSV/Gal/2/9 กาลาเทีย 2:9]</ref> ในช่วงที่มี[[การประชุมสภาที่เยรูซาเลม]] ยากอบเห็นว่าคนที่ไม่ใช่ยิวก็สามารถรับ[[พระคุณของพระเจ้า]]ให้ถึง[[ความรอด]]ได้โดยความเชื่อวางใจในพระเยซู โดยไม่ต้องเข้า[[สุหนัต]]ตามจารีตศาสนายิว แต่ให้ถือจารีตยิวเพียงบางข้อ ได้แก่ ไม่บูชารูปเคารพ ไม่ล่วงประเวณี ไม่กินเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และไม่กินเลือด<ref>[http://www.bible.is/THATSV/Acts/15 กิจการ 15]</ref>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:41, 12 มีนาคม 2562

นักบุญยากอบ
มุขนายกและมรณสักขี
เสียชีวิตค.ศ. 62/69
เยรูซาเลม
วันฉลอง3 พฤษภาคม (โรมันคาทอลิก)
1 พฤษภาคม (แองกลิคัน)
23 ตุลาคม/26 ธันวาคม (อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์)
องค์อุปถัมภ์เยรูซาเลม

ยากอบ (ฮีบรู: יעקב Ya'akov; กรีก: Ἰάκωβος Iákōbos คำเดียวกันกับคำว่า "ยาโคบ") ผู้ได้รับสมัญญาว่าผู้ชอบธรรม เปาโลอัครทูตเรียกท่านว่าพี่/น้องขององค์พระผู้เป็นเจ้า[1] แม้จะไม่ใช่อัครทูต แต่ก็มีบทบาทสำคัญในคริสตจักรยุคแรก ๆ จนได้รับเลือกเป็นผู้ปกครองดูแลคริสตจักรในกรุงเยรูซาเลมเป็นคนแรก เชื่อว่าเป็นผู้เขียนจดหมายของนักบุญยากอบ และเป็นคนละคนกับยากอบ บุตรเศเบดี ชาวคาทอลิกเชื่อว่าท่านเป็นคนเดียวกันกับอัครทูตยากอบ บุตรอัลเฟอัส

ประวัติ

ประวัติของยากอบคลุมเครือมาก และมักสับสนกับยากอบท่านอื่น ๆ ที่ปรากฏในคัมภีร์ไบเบิล ตามพระวรสารนักบุญมัทธิวบทที่ 13 ทำให้ทราบว่าพระเยซูมีพี่น้องคนหนึ่งชื่อยากอบ[2] ช่วงที่พระเยซูยังไม่สิ้นพระชนม์ บรรดาพี่น้องของพระเยซูยังไม่ได้วางใจเชื่อถือพระองค์ และไม่แน่ชัดว่าท่านมาเป็นสาวกของพระเยซูตั้งแต่เมื่อไร แต่จากจดหมายของนักบุญเปาโลถึงชาวโครินธ์ ฉบับที่ 1 ทำให้ทราบว่าหลังจากที่พระเยซูได้คืนพระชนมชีพก็ได้มาปรากฏกายแก่ท่านด้วย[3]

หลังจากนั้นยากอบก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทสำคัญในคริสตจักรในกรุงเยรูซาเลม จนเป็นที่นับถือว่าเป็นเสาหลักของคริสตจักร[4] ในช่วงที่มีการประชุมสภาที่เยรูซาเลม ยากอบเห็นว่าคนที่ไม่ใช่ยิวก็สามารถรับพระคุณของพระเจ้าให้ถึงความรอดได้โดยความเชื่อวางใจในพระเยซู โดยไม่ต้องเข้าสุหนัตตามจารีตศาสนายิว แต่ให้ถือจารีตยิวเพียงบางข้อ ได้แก่ ไม่บูชารูปเคารพ ไม่ล่วงประเวณี ไม่กินเนื้อสัตว์ที่ถูกรัดคอตาย และไม่กินเลือด[5]

ยากอบผู้นี้ยังปรากฏในเอกสารอื่น ๆ ด้วย โยเซพุสกล่าวถึงยากอบที่เป็นพี่/น้องของพระเยซูว่า เป็นคนใจบุญ รักษาธรรมบัญญัติอย่างเคร่งครัด จึงเป็นที่เคารพของคนจำนวนมาก แม้แต่กับพวกฟาริสี[6] แต่เกิดขัดแย้งกับผู้ว่าการของจักรวรรดิโรมัน จึงถูกประการชีวิตด้วยการปาหินจนตายในปี ค.ศ. 62 แต่เฮเกซิปปุสว่าเป็นปี ค.ศ. 69

ความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับพระเยซู

แต่ละนิกายในศาสนาคริสต์มีความเชื่อเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างยากอบกับพระเยซูแตกต่างกัน โดนสรุปแล้วมี 3 แบบ ได้แก่

  1. ฝ่ายโปรเตสแตนต์บางนิกายเชื่อว่า ยากอบเป็นน้องชายแท้ ๆ ของพระเยซู ทั้งสองเกิดจากมารีย์ ต่างกันเพียงพระเยซูเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้า ส่วนยากอบเป็นบุตรโยเซฟ
  2. ฝ่ายออร์ทอดอกซ์เชื่อว่า ยากอบเป็นพี่ชายต่างมารดาของพระเยซู เพราะโยเซฟเป็นพ่อม่ายลูกติดก่อนจะมาหมั้นหมายกับมารีย์[7]
  3. ฝ่ายโรมันคาทอลิกเชื่อว่า ยากอบเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระเยซู และเป็นคนเดียวกันกับยากอบ บุตรอัลเฟอัส[8]

อ้างอิง

เชิงอรรถ
  1. กาลาเทีย 1:19
  2. มัทธิว 13:55
  3. 1 โครินธ์ 15:7
  4. กาลาเทีย 2:9
  5. กิจการ 15
  6. "James of Jerusalem, Bishop and Martyr". Society of Archbishop Justus. สืบค้นเมื่อ 5 June 2014.
  7. "Apostle James the Just". OrthodoxWiki. สืบค้นเมื่อ 5 June 2014.
  8. "St. James the Lesser". Catholic Online. สืบค้นเมื่อ 5 June 2014.
บรรณานุกรม
  • พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011. กรุงเทพฯ : สมาคมพระคริสตธรรมไทย, 2011. 2,695 หน้า. ISBN 978-616-721-871-7
  • พระคัมภีร์คาทอลิก ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อคริสตศาสนธรรม แผนกพระคัมภีร์, 2014. 2495 หน้า. ISBN 978-616-361-361-5