ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระมหาธรรมราชาที่ 1"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
|}}
|}}


'''พระยาลิไทย'''<ref>{{cite book | author = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | title = นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย | url = http://www.sac.or.th/main/pdf/Thai_king_directories.pdf | publisher = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | location = กรุงเทพฯ | year = 2554 | page = 33}}</ref> หรือ '''พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช''' หรือ'''พระมหาธรรมราชาที่ 1''' (ครองราชย์ [[พ.ศ. 1897]] - [[พ.ศ. 1919]]) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 เป็นพระโอรส[[พระยาเลอไทย]] และพระราชนัดดาของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]
'''พระมหาธรรมราชาที่ 1''' หรือ '''พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช''' หรือที่นิยมและรู้จักกันดีในพระนาม '''พระยาลิไทย'''<ref>{{cite book | author = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | title = นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย | url = http://www.sac.or.th/main/pdf/Thai_king_directories.pdf | publisher = มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา | location = กรุงเทพฯ | year = 2554 | page = 33}}</ref>(ครองราชย์ [[พ.ศ. 1897]] - [[พ.ศ. 1919]]) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 เป็นพระโอรส[[พระยาเลอไทย]] และพระราชนัดดาของ[[พ่อขุนรามคำแหงมหาราช]]


==พระราชประวัติ==
==พระราชประวัติ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:18, 14 พฤษภาคม 2556

พระมหาธรรมราชาที่ 1

พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
ไฟล์:Lithai statue.png
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรสุโขทัย
ครองราชย์พ.ศ. 1890-พ.ศ. 1919
(โดยประมาณ)
รัชสมัย29 ปี (โดยประมาณ)
รัชกาลก่อนหน้าพระยางั่วนำถุม
รัชกาลถัดไปพระมหาธรรมราชาที่ 2
สวรรคตพ.ศ. 1919
พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช
ราชวงศ์ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพระยาเลอไทย

พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือ พระศรีสุริยพงศ์รามมหาราชาธิราช หรือที่นิยมและรู้จักกันดีในพระนาม พระยาลิไทย[1](ครองราชย์ พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919) พระมหากษัตริย์อาณาจักรสุโขทัยราชวงศ์พระร่วงลำดับที่ 5 เป็นพระโอรสพระยาเลอไทย และพระราชนัดดาของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พระราชประวัติ

พระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที 6 แห่งอาณาจักรสุโขทัย ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระยางั่วนำถุม เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราชหรือรัชทายาทเมืองสุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. 1882

เมื่อพระยาเลอไทยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884 พระยางั่วนำถุมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1890 พระยาลิไทยโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์ ไม่เป็นไปตามครรลองครองธรรม พระยาลิไทยยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890 ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พญาลิไทย" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

พระราชกรณียกิจ

พระยาลิไทยทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมากนโยบายการปกครองที่ใช้ศาสนา เป็นหลักรวมความเป็นปึกแผ่นจึงเป็นนโยบายหลักในรัชสมัยนี้ ทรงสร้างเจดีย์ที่เมืองนครชุม (กำแพงเพชร) ผนวชในพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. 1905 ที่วัดป่ามะม่วงการที่ทรงออกผนวช นับว่าทำความมั่นคงให้พุทธศาสนามากขึ้น ดังกล่าวแล้วว่า หลังรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชแล้ว บ้านเมืองแตกแยก วงการสงฆ์เองก็แตกแยก แต่ละสำนักแต่ละเมืองก็ปฏิบัติแตกต่างกันออกไป เมื่อผู้นำทรงมีศรัทธาแรงกล้าถึงขั้นออกบวช พสกนิกรทั้งหลายก็คล้อยตามหันมาเลื่อมใสตามแบบอย่างพระองค์ กิตติศัพท์ของพระพุทธศาสนาในสุโขทัยจึงเลื่องลือไปไกล พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่หลายรูปได้ออกไปเผยแพร่ธรรมในแคว้นต่าง ๆ เช่น อโยธยา หลวงพระบาง เมืองน่าน แม้แต่พระเจ้ากือนาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านนาก็นิมนต์พระสุมณเถระจากสุโขทัยไปเพื่อเผยแพร่ธรรมที่ล้านนา

นอกเมืองสุโขทัยทางทิศตะวันตก ทรงอาราธนาพระสามิสังฆราชจากลังกาเข้ามาเป็นสังฆราชในกรุงสุโขทัย เผยแพร่เพิ่มความเจริญให้แก่พระศาสนามากยิ่งขึ้น ทรงสร้างและบูรณะวัดมากมายหลายแห่ง รวมทั้งการสร้างพระพุทธรูปเป็นจำนวนมาก เช่น พระพุทธชินสีห์ พระศรีศาสดา และพระพุทธรูปองค์สำคัญองค์หนึ่งของประเทศคือ พระพุทธชินราช ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร

พระยาลิไทย ทรงปราดเปรื่องในความรู้ในพระพุทธศาสนา ทรงมีความรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก พระองค์ได้ทรงแบ่งพระสงฆ์ออกเป็น 2 ฝ่ายคือฝ่าย "คามวาสี" และฝ่าย "อรัญวาสี" โดยให้ฝ่ายคามวาสีเน้นหนักการสั่งสอนราษฎรในเมืองและเน้นการศึกษาพระไตรปิฎก ส่วนฝ่ายอรัญวาสีเน้นให้หนักด้านการวิปัสสนาและประจำอยู่ตามป่าหรือชนบท ด้วยทรงเป็นองค์อุปถัมภ์พระศาสนาตลอดพระชนม์ชีพ ราษฎรจึงถวายพระนามว่า "พระมหาธรรมราชา"

นอกจากศาสนาพุทธแล้ว พญาลิไทยยังทรงอุปถัมภ์ศาสนาพราหมณ์ด้วยโดยทรงสร้างเทวรูปขนาดใหญ่หลายองค์ซึ่งยังเหลือปรากฏให้ศึกษาในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในกรุงเทพมหานครและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจังหวัดพิษณุโลก

ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญหลายประการ เช่น สร้างถนนพระร่วงตั้งแต่เมืองศรีสัชนาลัยผ่านกรุงสุโขทัยไปถึงเมืองนครชุม (กำแพงเพชร) บูรณะเมืองนครชุม สร้างเมืองสองแคว (พิษณุโลก) เป็นเมืองลูกหลวง

ด้านอักษรศาสตร์ทรงพระปรีชาสามารถนิพนธ์หนังสือไตรภูมิพระร่วงที่นับเป็นงานนิพนธ์ที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2554). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. p. 33.
ก่อนหน้า พระมหาธรรมราชาที่ 1 ถัดไป
พระยางั่วนำถุม
ราชวงศ์พระร่วง
พระมหากษัตริย์ไทย
อาณาจักรสุโขทัย

(พ.ศ. 1897 - พ.ศ. 1919)
พระมหาธรรมราชาที่ 2 (ลือไท)
ราชวงศ์พระร่วง