ข้ามไปเนื้อหา

พญาไสสงคราม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พญาไสสงคราม
เจ้าชายแห่งอาณาจักรสุโขทัย
ราชวงศ์ราชวงศ์พระร่วง
พระราชบิดาพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

พญาไสสงคราม เป็นพระอนุชาของพระยาเลอไท[1] ทรงปกครองกรุงสุโขทัยเป็นเวลาสั้น ๆ หลังพ่อขุนรามคำแหงมหาราชสวรรคต จนกระทั่งพญาเลอไทขึ้นครองราชย์

พระประวัติ

[แก้]

พญาไสสงครามเป็นพระราชโอรสของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เชื่อกันว่าพญาไสสงครามทรงเป็นผู้ดูแลกรุงสุโขทัยในช่วงเวลาที่พ่อขุนรามคำแหงทรงพระประชวรอยู่จนกระทั่งเสด็จสวรรคตไป ระหว่างนั้นพระยาเลอไทเสด็จไปจีน[1][2] พระองค์จึงปกครองบ้านเมืองชั่วคราวจนกระทั่งพระยาเลอไทเสด็จกลับ พระองค์ก็ถวายราชสมบัติให้[3]

จากจารึกพ่อขุนรามพล (อาจารย์วินัย พงศ์ศรีเพียร ระบุไว้ในหนังสือ สุโขทัยคดี ว่าพ่อขุนรามพลเป็นคนเดียวกับพ่อขุนรามคำแหง) พญาไสยสงครามน่าจะเป็นอนุชาต่างมารดากับพ่อขุนราม และเคยไปเป็นเจ้าเมืองนครศรธรรมราช (ตามตำนานเมืองนครศรีธรรมราช เวลาสอดคล้องกัน และยังสอดรับกับ'จารึกปู่หลานสบถกัน'อีกด้วย) ช่วงที่พ่อขุนรามเพิ่งครองราช เกิดการยึดเมืองศรีสัชของพ่อขุนอีกคนหนึ่ง สองพี่น้องคือพ่อขุนรามกับพญาไสยสงครามร่วมกันยึดเมืองคืนมาได้ หลังรัชกาลพ่อขุนราม พญาไสยสงครามได้ครองสุโขทัยอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง[4][5]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย, หน้า 29
  2. พ่อขุนรามคำแหงไปเมืองจีน เอาเทคโนโลยีทำถ้วยชามกลับมาสุโขทัยจริงหรือ? ศิลปวัฒนธรรม สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2564
  3. การเลื่อมสลายของอาณาจักรสุโขทัย ราชาแห่งแผ่นดิน เปิดพงศาวดารพระกู้ชาติกู้แผ่นดิน หน้าที่ ๑๖ เรียบเรียงโดย แสงเพชร
  4. ใครคือ“พ่อขุนรามพล”? : บรรณาลัย สยามรัฐ สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2560
  5. พ่อขุนรามคำแหง-พ่อขุนรามพล เป็นบุคคลเดียวกันหรือไม่? ศิลปวัฒนธรรม ฉบับมกราคม 2536

บรรณานุกรม

[แก้]
  • มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา (2011). นามานุกรมพระมหากษัตริย์ไทย (PDF). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา.
ก่อนหน้า พญาไสสงคราม ถัดไป
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1822 - 1841)

พระมหาธรรมราชาและพระร่วงเจ้า
(ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1841))
พระยาเลอไท
ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ. 1841 - 1866)