ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เรือนแพ (ภาพยนตร์)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 89: บรรทัด 89:
* [[ส.อาสนจินดา]] สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย สาหัส บุญ-หลง ทัต เอกทัต และ จำรูญ หนวดจิ๋ม พากย์เสียงตนเองลงฟิล์ม
* [[ส.อาสนจินดา]] สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย สาหัส บุญ-หลง ทัต เอกทัต และ จำรูญ หนวดจิ๋ม พากย์เสียงตนเองลงฟิล์ม
* [[ยุพน ธรรมศรี]] และ [[จุรี โอศิริ]] พากย์เสียง ไชยา สุริยัน และ มาเรีย จาง ตามลำดับ
* [[ยุพน ธรรมศรี]] และ [[จุรี โอศิริ]] พากย์เสียง ไชยา สุริยัน และ มาเรีย จาง ตามลำดับ
* พูนสวัสดิ์ ธีมากร พากย์เสียง จินฟง
* [[สวลี ผกาพันธ์]] และ [[ชรินทร์ นันทนาคร]] ร้องเพลงแทน มาเรีย จาง และ จินฟง ตามลำดับ
* [[สวลี ผกาพันธ์]] และ [[ชรินทร์ นันทนาคร]] ร้องเพลงแทน มาเรีย จาง และ จินฟง ตามลำดับ
* เพลงประกอบในเรื่องเคยใช้ในภาพยนตร์ของบริษัทไทยฟิล์ม ได้แก่ [[บัวขาว]] จากเรื่อง แม่สื่อสาว (2481) [[วันเพ็ญ]] จากเรื่อง วันเพ็ญ (2482) และ [[เงาไม้]] จากเรื่อง ลูกทุ่ง (2483)
* เพลงประกอบในเรื่องเคยใช้ในภาพยนตร์ของบริษัทไทยฟิล์ม ได้แก่ [[บัวขาว]] จากเรื่อง แม่สื่อสาว (2481) [[วันเพ็ญ]] จากเรื่อง วันเพ็ญ (2482) และ [[เงาไม้]] จากเรื่อง ลูกทุ่ง (2483)
* ฉากซ้อมการแสดงในห้องส่งทีวี [[แก้ว อัจฉริยะกุล]] เป็นดารารับเชิญบทผู้กำกับการแสดง ,[[สง่า อารัมภีร]] และ [[อวบ สาณะเสน]] เป็น คามีโอ (cameo) บทนักเปียโนและนักไวโอลิน ตามลำดับ
* ฉากซ้อมการแสดงในห้องส่งทีวี [[แก้ว อัจฉริยะกุล]] เป็นดารารับเชิญบทผู้กำกับการแสดง ,[[สง่า อารัมภีร]] เป็น คามีโอ (cameo) บทนักเปียโน
* [[เจือ จักษุรักษ์]] เป็นดารารับเชิญบทกรรมการมวย บนเวทีราชดำเนิน
* [[เจือ จักษุรักษ์]] เป็นดารารับเชิญบทกรรมการมวย บนเวทีราชดำเนิน
* มาเรีย จาง เป็นชื่อใหม่ของดารานำหญิงที่ใช้เฉพาะภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อความไพเราะในการออกเสียงภาษาไทย ส่วนชื่อในไตเติ้ลภาพยนตร์ของ ชอว์ บราเดอร์ส บริษัทต้นสังกัดของเธอคือ หยี-กวาง
* มาเรีย จาง เป็นชื่อใหม่ของดารานำหญิงที่ใช้เฉพาะภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อความไพเราะในการออกเสียงภาษาไทย ส่วนชื่อในไตเติ้ลภาพยนตร์ของ ชอว์ บราเดอร์ส บริษัทต้นสังกัดของเธอคือ หยี-กวาง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:42, 13 ตุลาคม 2555

เรือนแพ
ไฟล์:เรือนแพ(2504).jpg
กำกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
เนรมิต
เขียนบทพระนิพนธ์ :
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
บทภาพยนตร์ :
เวตาล
อำนวยการสร้างพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
จรี อมาตยกุล
นักแสดงนำไชยา สุริยัน
มาเรีย จาง
ส. อาสนจินดา
จินฟง
อดุลย์ ดุลยรัตน์
สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย
เชาว์ แคล่วคล่อง
สาหัส บุญ-หลง
ทัต เอกทัต
สถาพร มุกดาประกร
ชาลี อินทรวิจิตร
เมืองเริง ปัทมินทร์
จำรูญ หนวดจิ๋ม
กำกับภาพพูนสวัสดิ์ ธีมากร
ตัดต่ออำนวย กลัสนิมิ
พร้อม รุ่งรังษี
ดนตรีประกอบพระยาโกมารกุลมนตรี
หม่อมหลวงพวงร้อย สนิทวงศ์
หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์
สง่า อารัมภีร
ชาลี อินทรวิจิตร
ผู้จัดจำหน่ายอัศวินภาพยนตร์
วันฉาย23 ธันวาคม พ.ศ. 2504
ฉายที่ศาลาเฉลิมไทย
ความยาว125 นาที
ประเทศไทย
ภาษาไทย

เรือนแพ เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายปี พ.ศ. 2504 ระบบ 35 มม.ซูเปอร์ซีเนสโคป สีอิสแมนต์ เสียงในฟิล์ม ร่วมทุนสร้างระหว่าง บริษัทอัศวินภาพยนตร์ กับ บริษัทชอว์บราเดอร์สแห่งฮ่องกง กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล หรือพระนาม ภาณุพันธ์ และ เวตาล นักแสดงนำประกอบด้วยนักแสดงไทย และนักแสดงฮ่องกง[1] เพลงประกอบภาพยนตร์ที่ยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงทุกวันนี้ คือเพลง เรือนแพ ประพันธ์คำร้องโดย ชาลี อินทรวิจิตร ทำนองโดย สง่า อารัมภีร ขับร้องโดย ชรินทร์ นันทนาคร ถือได้ว่าเป็นเพลงประจำตัวของชรินทร์ เลยทีเดียว

ฉายครั้งแรกเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2504 ที่ศาลาเฉลิมไทย ต้อนรับปีใหม่ปี พ.ศ. 2505 และได้นำกลับมาฉายอีกครั้ง ในปี พ.ศ. 2506[2] สร้างใหม่ครั้งที่สองเมื่อ พ.ศ. 2532 ผลิตโดย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ

ภาพยนตร์ของอัศวิน ประสบความสำเร็จอย่างมากทั้งรายได้และรางวัล จากพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 ประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 คือรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ผู้แสดงนำฝ่ายชายยอดเยี่ยม ผู้แสดงประกอบฝ่ายชายยอดเยี่ยม รางวัลออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม และรางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยม [3]

ต่อมา เสด็จพระองค์ชายใหญ่ทรงประทานบทภาพยนตร์ให้นำมาเรียบเรียงดัดแปลงเป็นนวนิยายครั้งแรก ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม เมื่อปี พ.ศ. 2538 ในชื่อ "เรือนแพ" [4]

พ.ศ. 2551 หอภาพยนตร์แห่งชาติ มูลนิธิหนังไทย ได้รับฟิล์มฉบับบูรณะใหม่ เพื่อเก็บรักษาไว้จนถึงปัจจุบัน และเป็นหนึ่งใน 100 ภาพยนตร์ไทยที่คนไทยควรดู ในปี พ.ศ. 2548 อีกด้วย[5]

ล่าสุด ได้รับคัดเลือกขึ้นทะเบียนเป็น มรดกภาพยนตร์ของชาติ ประจำปี 2555 เนื่องในวันอนุรักษ์ภาพยนตร์ไทย (4 ต.ค.) ของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)[6]

เป็น ละครโทรทัศน์ ปี พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2554 ถือว่าเป็นหนึ่งในบทประพันธ์อมตะของเมืองไทยเลยทีเดียว

เรื่องย่อ

เป็นเรื่องราวของ เจน (ส. อาสนจินดา) แก้ว (ไชยา สุริยัน) และริน (จินฟง) เป็นสามคนเพื่อนรักซึ่งหลงรัก เพ็ญ (มาเรีย จาง) ผู้หญิงคนเดียวกัน ทั้งหมดอาศัยอยู่ด้วยกันที่เรือนแพริมน้ำ ซึ่งเช่ามาจากเตี่ยของเพ็ญ ซึ่งมั่นหมายจะให้เพ็ญแต่งงานกับเจน ต่อมาทั้งสามต่างต้องแยกย้ายจากกัน โดยเจน ซึ่งเรียนจบปริญญาด้วยคะแนนเกียรตินิยม ไปสมัครเป็นตำรวจ, ริน ไปเป็นนักร้อง ส่วนแก้ว ไปเป็นนักมวย

ในคืนฝนตกหนัก เพ็ญก็ตกเป็นเมียของแก้ว ทั้งคู่สัญญาจะเป็นผัวเมียกันตลอดไป แก้วตกลงใจจะล้มมวยในการชกที่ลพบุรี เพื่อหาเงินมาแต่งงานกับเพ็ญ แต่เมื่อถึงเวลาชกจริงเขากลับชกอย่างสุดฝีมือเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของตัวเอง ฝ่ายที่เสียพนันกลับจะมาเอาเรื่องกับแก้ว และถูกแก้วพลั้งมือฆ่าตาย แก้วกลายเป็นฆาตกรมีรางวัลนำจับ หลบหนีและไปเข้าร่วมกับแก๊งโจรจนได้เป็นหัวหน้าแก๊งแทนเสือหาญ

โดยทางการมีคำสั่งให้จับตายหัวหน้าแก๊งโจร นายตำรวจใหม่เจน ซึ่งได้รับคำสั่งให้ตามจับแก้ว ได้รับขอร้องจากเพ็ญให้ไว้ชีวิตแก้ว เจนจะตัดสินใจอย่างไร ระหว่างการปฏิบัติตามหน้าที่ หรือทำเพื่อหญิงอันเป็นที่รัก

เจนพยายามที่จะเกลี้ยกล่อมให้แก้วยอมมอบตัว แต่ก็ไม่สำเร็จ ด้วยฝืมือการปราบปรามของนายตำรวจใหม่เจน ทำให้แก๊งโจรของแก้วต้องหนีไปที่หาดใหญ่ เช่นเดียวกับริน ซึ่งเป็นนักร้องประจำบาร์สตาร์ที่หาดใหญ่ เพื่อเก็บเงินเดินทางกลับกรุงเทพฯ แก้วตั้งชุมโจรกับเสือหาญที่หาดใหญ่ ซึ่งแก้วคิดจะวางมือจากการเป็นโจร แต่เสือหาญไม่ยอมให้แก้ววางมือ เจนได้ติดตามแก๊งโจรจนถึงหาดใหญ่ ทำให้รู้ที่กบดานของแก้วและสมุน จึงเข้าจับกุม แก้วและสมุนก็หนีรอดไปได้ สร้างความแค้นเป็นอย่างยิ่ง โดยโจรระบุว่าสายลับของตำรวจคือนักร้องที่อยู่บาร์สตาร์ แก้วจึงสั่งฆ่าโดยหารู้ไม่ว่านักร้องคนนั้นคือ ริน

ขณะที่แก้วยืนอยู่ที่หน้าบาร์ แก้วได้ยินเสียงร้องของรินที่กำลังร้องเพลงเรือนแพอยู่ แก้วพยายามห้ามเสือหาญ ขณะที่รินร้องเพลงเรือนแพจนจบ เสือหาญก็ยิงรินเสียชีวิต เจนเข้ามาในขณะที่แก้วยืนถือปืนอยู่ จึงเข้าใจผิดคิดว่าแก้วเป็นคนฆ่าริน แล้วนายตำรวจใหม่เจนก็ติดตามจับกุมจนแก้วและสมุนต้องเข้ามากรุงเทพอีกครั้ง เจนขอร้องให้เพ็ญนัดแก้วมาพบที่เรือนแพ เพ็ญจึงตัดสินใจนัดแก้วมาพบที่เรือนแพ ในตอนกลางคืน แก้วจึงมาตามนัด เจนจึงปรากฏตัวพร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ แต่เพ็ญขอร้องให้แก้วยอมมอบตัว แก้วจึงตัดสินใจยอมมอบตัว

แต่เสือหาญบุกเข้ายิงเจน แล้วยิงแก้วไปอีกคน สมุนโจรถูกสังหาญและถูกจับนหมดสิ้น เสือหาญจึงจะฆ่าเจน แต่แก้วก็ตัดเชือกปล่อยเรือทิ่มตรงเสือหาญ เสือหาญจึงกระหน่ำยิงแก้วก่อนตาย ก่อนที่แก้วตายแก้วมอบแหวนให้กับเพ็ญ แล้วบอกว่าไม่ได้ฆ่าริน แล้วเรือนแพจึงล่มพังไป [7] [8]

นักแสดงหลัก

รูปแบบการนำเสนอ เจน แก้ว ริน เพ็ญ
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2504 ส. อาสนจินดา ไชยา สุริยัน จินฟง มาเรีย จาง
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2532 รอน บรรจงสร้าง สันติสุข พรหมศิริ วีระ บำรุงศรี สมรัชนี เกสร
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2538 ศรัณยู วงษ์กระจ่าง พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง จอนนี่ แอนโฟเน่ นุสบา วานิชอังกูร
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2554 ยุกต์ ส่งไพศาล ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ นภัทร อินทร์ใจเอื้อ บุษกร ตันติภนา

เพลงประกอบ

บรรเลงโดย จุลดุริยางค์ กองทัพเรือ และวงดนตรี 'อัศวิน' เพลงเด่นในเรื่อง ได้แก่

รางวัล (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2504)

ได้รับรางวัลในพิธีมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 5 ประจำปี พ.ศ. 2505 ซึ่งประกาศผลอย่างเป็นทางการ ณ สวนอัมพร เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2506 รวม 5 สาขา ได้แก่

เกร็ดเบื้องหลัง

  • ภาพยนตร์ระบบซีเนมาสโคป เรื่องแรกของ อัศวินภาพยนตร์ โปสเตอร์รุ่นแรก โดยฝีมือของ เปี๊ยก โปสเตอร์ ส่งพิมพ์ระบบอ๊อฟเซ็ทที่ฮ่องกง เนื่องจากเป็นระบบใหม่ล่าสุดที่ยังไม่มีในเมืองไทยสมัยนั้น
  • ภาพยนตร์เรื่องแรกของ พูนสวัสดิ์ ธีมากร ในฐานะช่างกล้อง หลังจากฝึกงานที่โรงถ่ายโตโฮ ประเทศญี่ปุ่น
  • ส.อาสนจินดา สมจิตต์ ทรัพย์สำรวย สาหัส บุญ-หลง ทัต เอกทัต และ จำรูญ หนวดจิ๋ม พากย์เสียงตนเองลงฟิล์ม
  • ยุพน ธรรมศรี และ จุรี โอศิริ พากย์เสียง ไชยา สุริยัน และ มาเรีย จาง ตามลำดับ
  • พูนสวัสดิ์ ธีมากร พากย์เสียง จินฟง
  • สวลี ผกาพันธ์ และ ชรินทร์ นันทนาคร ร้องเพลงแทน มาเรีย จาง และ จินฟง ตามลำดับ
  • เพลงประกอบในเรื่องเคยใช้ในภาพยนตร์ของบริษัทไทยฟิล์ม ได้แก่ บัวขาว จากเรื่อง แม่สื่อสาว (2481) วันเพ็ญ จากเรื่อง วันเพ็ญ (2482) และ เงาไม้ จากเรื่อง ลูกทุ่ง (2483)
  • ฉากซ้อมการแสดงในห้องส่งทีวี แก้ว อัจฉริยะกุล เป็นดารารับเชิญบทผู้กำกับการแสดง ,สง่า อารัมภีร เป็น คามีโอ (cameo) บทนักเปียโน
  • เจือ จักษุรักษ์ เป็นดารารับเชิญบทกรรมการมวย บนเวทีราชดำเนิน
  • มาเรีย จาง เป็นชื่อใหม่ของดารานำหญิงที่ใช้เฉพาะภาพยนตร์เรื่องนี้เพื่อความไพเราะในการออกเสียงภาษาไทย ส่วนชื่อในไตเติ้ลภาพยนตร์ของ ชอว์ บราเดอร์ส บริษัทต้นสังกัดของเธอคือ หยี-กวาง
  • ในการฉายรอบแรกซึ่งสมัยนั้นเรียกว่า รอบปฐมทัศน์เพื่อการกุศล คือวันที่ 22 ธันวาคม 2504 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย ด้วย [9]
  • รางวัลตุ๊กตาทองตัวแรกของ ไชยา สุริยัน ในฐานะดารานำชายยอดเยี่ยม และ ส.อาสนจินดา ในฐานะดาราประกอบชายยอดเยี่ยม

การบูรณะฟิล์มภาพยนตร์

มูลนิธิหนังไทย ร่วมกับ เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) และหอภาพยนตร์แห่งชาติ ได้บูรณะฟิล์มพร้อมกับเรื่อง พระเจ้าช้างเผือก ปี 2484 ด้วยเทคโนโลยีดิจิตัล โดยการสนับสนุนของ บริษัท เทคนิคคัลเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ. 2548 ใช้เวลาดำเนินงานกว่า 3 ปี งบประมาณ 10 ล้านบาท [10]

เมื่อการบูรณะสำเร็จและส่งมอบคืนแก่หอภาพยนตร์แห่งชาติแล้ว ได้จัดฉายรอบปฐมทัศน์เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551 เมื่อเวลา 17.30 น. ถึง 20.00 น. ที่โรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีเนเพล็กซ์ รัชโยธิน[11]

ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่หอภาพยนตร์ มูลนิธิหนังไทย ส่วนฟิล์มก๊อบปี้เก่าที่เคยนำออกฉายทั่วไปสมัยก่อนซึ่งบางส่วนขาดหายไป ทริปเปิ้ลเอ๊กซ์ฟิล์มได้วางจำหน่ายในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี เมื่อ พ.ศ.2549

การนำกลับมาสร้างใหม่

ปี 2532 ภาพยนตร์โดย ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น กำกับโดย วิจิตร คุณาวุฒิ นำแสดงโดย รอน บรรจงสร้าง รับบท เจน , สันติสุข พรหมศิริ รับบท แก้ว , วีระ บำรุงศรี (เยื่อไม้) รับบท ริน , สมรัชนี เกสร รับบท เพ็ญ และนักแสดงร่วมด้วย พิศมัย วิไลศักดิ์, โกวิท วัฒนกุล และ ประจวบ ฤกษ์ยามดี เข้าฉายเมื่อ 4 เมษายน พ.ศ. 2532[12] ที่โรงหนังเอเธนส์-เดอะมอลล์เธียเตอร์-วังบูรพา-พาราไดซ์-ปู่เจ้าสำโรง-ลาดพร้าวสะพาน 2-เอเซียรามา-ศรีย่าน แต่กระแสหนังกลับไม่แรงอย่างที่คาด

ปี 2538 ละครโทรทัศน์โดย เอ็กแซ็กท์ ทาง ททบ. 5 กำกับการแสดงโดย สุพล วิเชียรฉาย นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบท เจน , พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง รับบท แก้ว , จอนนี่ แอนโฟเน่ รับบท ริน , นุสบา วานิชอังกูร รับบท เพ็ญ ร่วมด้วย วาสนา สิทธิเวช, วราพรรณ หงุ่ยตระกูล, มารุต สาโรวาท, ดวงหทัย ศรัทธาทิพย์, อัจฉราวดี เถาเสถียร, จีรศักดิ์ ปิ่นสุวรรณ, วรวุฒิ ธีรพล, กรองทอง รัชตวรรณ, อิทธิฤทธิ์ สิงหรัตน์, โกร่ง กางเกงแดง, ราม มารุต, วราภรณ์ บุนนาค ซึ่งออกอากาศไปตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2538[13]

ปี 2554 ละครโทรทัศน์โดย เอ็กแซ็กท์ และ ซีเนริโอ ทาง ททบ.5 กำกับการแสดงโดย สันต์ ศรีแก้วหล่อ นำแสดงโดย ยุกต์ ส่งไพศาล รับบท เจน, ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ รับบท แก้ว, นภัทร อินทร์ใจเอื้อ รับบท ริน, บุษกร ตันติภนา รับบท เพ็ญ พร้อมกับนักแสดงสมทบ สันติสุข พรหมศิริ, จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์, ดิลก ทองวัฒนา, สรพงษ์ ชาตรี, กรุง ศรีวิไล, ภัสสร บุญยเกียรติ, ณหทัย พิจิตรา, เม เดอะสตาร์, อลิชา ไล่ศัตรูไกล, แอริน ยุกตะทัต, ภูริ หิรัญพฤกษ์ และ ทองขาว ภัทรโชคชัย ถ่ายทำที่ บ้านแสงสูง ลำลูกกาดคลอง 12[14] และจะเริ่มออกอากาศเป็นครั้งแรกในวันที่ 20 มิถุนายน 2554[15] ถึงวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น