ประเทศคิวบา
22°00′N 80°00′W / 22.000°N 80.000°W
สาธารณรัฐคิวบา República de Cuba (สเปน) | |
---|---|
คิวบาในสีเขียวเข้ม | |
เมืองหลวง และเมืองใหญ่สุด | อาบานา 23°8′N 82°23′W / 23.133°N 82.383°W |
ภาษาราชการ | สเปน |
ภาษาพูดอื่น ๆ | ครีโอลเฮติ อังกฤษ |
กลุ่มชาติพันธุ์ | |
ศาสนา (2020)[4] |
|
การปกครอง | รัฐเดี่ยว ลัทธิมากซ์–เลนิน พรรคเดียว สาธารณรัฐสังคมนิยม[5] |
มิเกล ดิอัซ-กาเนล | |
ซัลบาดอร์ บัลเดส เมซา | |
มานูเอล มาร์เรโร กรุซ | |
Esteban Lazo Hernández | |
สภานิติบัญญัติ | รัฐสภาพลังของประชาชน |
เป็นเอกราช จากสหรัฐและสเปน | |
10 ตุลาคม ค.ศ. 1868 | |
24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1895 | |
• ได้รับการยอมรับ (ยกจากสเปนให้สหรัฐ) | 10 ธันวาคม ค.ศ. 1898 |
• ประกาศเป็นสาธารณรัฐ (เป็นเอกราชจากสหรัฐ) | 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1902 |
26 กรกฎาคม ค.ศ. 1953 – 1 มกราคม ค.ศ. 1959 | |
10 เมษายน ค.ศ. 2019 | |
พื้นที่ | |
• รวม | 109,884 ตารางกิโลเมตร (42,426 ตารางไมล์) (อันดับที่ 104) |
0 | |
ประชากร | |
• สำมะโนประชากร 2020 | 11,181,595[6] (อันดับที่ 83) |
101.8 ต่อตารางกิโลเมตร (263.7 ต่อตารางไมล์) (อันดับที่ 80) | |
จีดีพี (อำนาจซื้อ) | 2015 (ประมาณ) |
• รวม | 254.865 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] |
• ต่อหัว | 22,237 ดอลลาร์สหรัฐ[7][8] |
จีดีพี (ราคาตลาด) | 2019 (ประมาณ) |
• รวม | 105.355 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 63) |
• ต่อหัว | 9,296 ดอลลาร์สหรัฐ[9] (อันดับที่ 89) |
จีนี (2000) | 38.0[10] ปานกลาง |
เอชดีไอ (2019) | 0.783[11] สูง · อันดับที่ 70 |
สกุลเงิน | เปโซ (CUP) |
เขตเวลา | UTC−5 (CST) |
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง) | UTC−4 (CDT) |
ขับรถด้าน | ขวา |
รหัสโทรศัพท์ | +53 |
โดเมนบนสุด | .cu |
คิวบา[12] หรือ กูบา[12] (อังกฤษและสเปน: Cuba, เสียงอ่านภาษาสเปน: [ˈkuβa]) มีชื่อทางการคือ สาธารณรัฐคิวบา หรือ สาธารณรัฐกูบา (อังกฤษ: Republic of Cuba; สเปน: República de Cuba, [reˈpuβlika ðe ˈkuβa] ( ฟังเสียง)) ประกอบด้วยเกาะคิวบา (เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะเกรตเตอร์แอนทิลลีส), อิสลาเดลาฮูเบนตุด รวมถึงเกาะน้อยใหญ่กว่า 4,195 เกาะ ตั้งอยู่ในภูมิภาคแคริบเบียนเหนือบริเวณจุดบรรจบของทะเลแคริบเบียน อ่าวเม็กซิโก และมหาสมุทรแอตแลนติก, ทางทิศตะวันออกของคาบสมุทรยูกาตัน, ทางตอนใต้ของรัฐฟลอริดาและบาฮามาส, ทางตะวันตกของเกาะฮิสปันโยลา และทางเหนือของประเทศจาเมกาและหมู่เกาะเคย์แมน มีพื้นที่แผ่นดินใหญ่ประมาณ 109,884 ตารางกิโลเมตร (42,426 ตารางไมล์) และ 135,420 ตารางไมล์หากนับรวมเขตเศรษฐกิจจำเพาะ คิวบามีประชากรมากเป็นอันดับสองในภูมิภาคแคริบเบียน คือประมาณ 11 ล้านคน เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดคืออาบานา ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของประเทศ และเป็นหนึ่งในเมืองท่าที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค เมืองสำคัญอื่น ๆ ได้แก่ ซานเตียโก เด กูบา และ กามาเกวย์ ภาษาราชการคือภาษาสเปน คิวบาเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่ยังปกครองแบบคอมมิวนิสต์อยู่
ดินแดนของคิวบามีมนุษย์เข้ามาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ประมาณ 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ชนเผ่าพื้นเมืองอย่างกัวนาฮาตาเบย์ และ ไทโนเป็นเจ้าของดินแดนแห่งนี้ในช่วงล่าอาณานิคมในศตวรรษที่ 15 ดินแดนทั้งหมดตกเป็นอาณานิคมของสเปนก่อนจะมีการเลิกทาสใน พ.ศ. 2429 สงครามสเปน-อเมริกา ส่งผลให้คิวบาถูกยึดครองโดยสหรัฐก่อนจะได้รับเอกราชใน พ.ศ. 2445 ใน พ.ศ. 2483 คิวบาประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ความไม่สงบทางการเมืองกลับทวีความรุนแรงขึ้น และจบลงด้วยรัฐประหารในปี 2495 และเป็นจุดเริ่มต้นการปกครองแบบเผด็จการโดย ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา[13] ขบวนการ 26 กรกฎาคม นำไปสู่การโค่นล้มรัฐบาลในช่วงการปฏิวัติคิวบาซึ่งนำไปสู่การสถาปนาการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ภายใต้ฟิเดล กัสโตร เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์[14][15] คิวบามีส่วนร่วมในความขัดแย้งในช่วงสงครามเย็นระหว่างสหภาพโซเวียตและสหรัฐ ความตึงเครียดทวีความรุนแรงจนเกือบจะกลายเป็นสงครามปรมาณูในเหตุการณ์วิกฤตการณ์ขีปนาวุธปี 2505 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต คิวบาเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรงในทศวรรษ 1990 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อช่วงเวลาพิเศษ ต่อมา ในปี 2551 กัสโตรประกาศวางมือทางการเมืองหลังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดียาวนาน 49 ปี ราอุล กัสโตร เข้ามารับตำแหน่งต่อและลงจากตำแหน่งในปี 2561 มิเกล ดิอัซ-กาเนล เข้ามารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนที่ 19 และคนปัจจุบัน
คิวบายังเป็นหนึ่งในประเทศที่นิยมลัทธิมากซ์–เลนิน มีระบอบการปกครองแบบรัฐพรรคการเมืองเดียว และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ยังปกครองแบบคอมมิวนิสต์อย่างเปิดเผย พรรคคอมมิวนิสต์มีบทบาทหลักในการบริหารประเทศรวมทั้งเป็นผู้กำหนดกิจกรรมต่าง ๆ อย่างเบ็ดเสร็จ โดยบทบาทหน้าที่และความสำคัญของพรรคมีบัญญัติอยู่ในรัฐธรรมนูญ ลัทธิอำนาจนิยมมีบทบาทสูงต่อวิถีชีวิตของประชาชน ความเห็นต่างทางการเมืองหรือการต่อต้านรัฐบาลเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้[16] นักข่าวไร้พรมแดนจัดอันดับให้คิวบาเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพสื่อต่ำที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก[17][18]
คิวบาถือเป็นส่วนหนึ่งของลาตินอเมริกาในทางพฤตินัย เนื่องจากวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางสังคมที่ได้รับอิทธิพลมาจากสเปน คิวบาเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และวัฒนธรรมมากที่สุด ประเพณีท้องถิ่นจำนวนมากได้รับอิทธิพลมาจากชนเผ่าพื้นเมืองตั้งแต่ยุคล่าอาณานิคม รวมถึงการได้รับอิทธิพลจากการอยู่อาศัยของทาสชาวแอฟริกันและความสัมพันธ์อันใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียตในช่วงสงครามเย็น
คิวบาเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสหประชาชาติ, กลุ่ม 77, ขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด, องค์การรัฐแอฟริกา แคริบเบียน และแปซิฟิก และ องค์การนานารัฐอเมริกา คิวบามีระบบเศรษฐกิจสังคมนิยมหรือระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน รายได้หลักมาจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และการส่งออกแรงงานมีฝีมือ สินค้าหลักสำหรับส่งออกได้แก่ กาแฟ, น้ำตาล และ ยาเส้น ในอดีตก่อนการปกครองโดยคอมมิวนิสต์ คิวบาเคยมีดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจและสังคมที่ดีกว่าประเทศอื่นในภูมิภาคทั้งในด้านการศึกษา อัตราการเสียชีวิตของทารก และความคาดหมายคงชีพ[19] คิวบามีระบบการดูแลสุขภาพที่เป็นสากล โดยพลเมืองสามารถเข้ารับการบริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย[20] อย่างไรก็ตาม ปัญหาหลักในปัจจุบันคืออัตราความยากจนที่เพิ่มสูงอย่างต่อเนื่องโดยคิดเป็นอัตราส่วนสูงถึง 88% ของประชากรทั้งหมด
ประวัติศาสตร์
[แก้]ชาวสเปนเดินทางมาถึงเกาะคิวบาครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2035 แต่ไม่ได้สนใจเกาะนี้มากนักในระยะแรกเพราะไม่มีทรัพยากรธรรมชาติและมีชาวอินเดียนอยู่น้อย จนกระทั่งเกิดการปฏิวัติในเฮติเมื่อปี พ.ศ. 2333 คิวบาจึงกลายเป็นแหล่งอุตสาหกรรมน้ำตาลของสเปนแทนที่เฮติ
คิวบาเป็นดินแดนสุดท้ายในทวีปอเมริกาที่เป็นอาณานิคมของสเปน โคเซ มาร์ตี จัดตั้งพรรคปฏิวัติคิวบาเมื่อ พ.ศ. 2435 เพื่อเรียกร้องเอกราชจนถูกฆ่าเมื่อ พ.ศ. 2438 การเรียกร้องเอกราชของคิวบาได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา จนกระทั่งเรือรบของกองทัพเรือเกิดระเบิดในอ่าวของกรุงอาบานาเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2440 ซึ่งกลายเป็นชนวนให้เกิดสงครามสเปน-อเมริกา ผลของสงครามทำให้คิวบาได้รับเอกราชและอาณานิคมอื่นของสเปนกลายเป็นของสหรัฐอเมริกา
หลังจากได้รับเอกราช คิวบาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหรัฐอเมริกาอย่างมาก ในบางช่วงเช่น พ.ศ. 2460-2466 คิวบาถูกสหรัฐยึดครองและเข้ามาบริหารโดยตรง ทั้งนี้เพราะสหรัฐมีผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมน้ำตาลของคิวบา อิทธิพลของสหรัฐสิ้นสุดลงเมื่อฟีเดล กัสโตร เข้ายึดอำนาจจากประธานาธิบดีฟุลเคนเซียว บาติสตา และบริหารประเทศด้วยระบอบสังคมนิยมเมื่อ พ.ศ. 2502 เมื่อถูกสหรัฐตัดความสัมพันธ์และปิดกั้นทางการค้า และสนับสนุนชาวคิวบาโพ้นทะเลให้ก่อกบฏล้มรัฐบาลของกัสโตรจนเกิดวิกฤตการณ์เบย์ออฟฟิกส์เมื่อ 15 เมษายน พ.ศ. 2514 แต่ไม่สำเร็จ รัฐบาลของกัสโตรจึงหันไปสร้างความสัมพันธ์กับสหภาพโซเวียตและจีนแทน ปัจจุบันคิวบาเป็น 1 ใน 5 ประเทศคอมมิวนิสต์ในโลก (อีก 4 ประเทศคือ จีน เวียดนาม ลาว และเกาหลีเหนือ) และเป็นประเทศเดียวในทวีปอเมริกาที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์[21]
การเมืองการปกครอง
[แก้]รูปแบบการปกครอง สังคมนิยม ปกครองด้วยระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์
บริหาร
[แก้]ประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหาร โดยคนปัจจุบันคือนายมิเกล ดิอาช-กาเนล สภาพลังประชาชนแห่งชาติซึ่งเป็นสภานิติบัญญัติของคิวบาทั้ง 605 เสียง มีมติเป็นเอกฉันท์ ในการลงคะแนนเมื่อวันพฤหัสบดี ให้รองประธานาธิบดีมิเกล ดิแอซ-คาเนล รับตำแหน่งประธานาธิบดีคนใหม่ของประเทศ ถือเป็นคนที่ 19 ต่อจากนายราอูล คาสโตร ซึ่งขอลาออกจากตำแหน่งด้วยเหตุผลด้านสุขภาพที่ทรุดโทรมตามอายุขัย
นิติบัญญัติ
[แก้]ระบบสภาเดียว ที่มีชื่อว่า National Assembly of People's Power ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 614 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน และมีวาระ 5 ปี พรรคการเมือง ระบบพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งคิวบา (Partido Comunista de Cuba : PCC)
ตุลาการ
[แก้]ฝ่าย ศาลฎีกา (ได้รับการแต่งตั้งจากสภา National Assembly of People's Power) มีอำนาจดูแลศาลอื่น ๆ ในระดับภูมิภาค
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]15 จังหวัด (provinces) และ 1 เทศบาลพิเศษ* (special municipality) ได้ประกอบขึ้นเป็นประเทศคิวบา เขตปกครองนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่จากเดิมมีเพียง 6 จังหวัด คือ ปีนาร์เดลรีโอ (Pinar del Río) อาบานา (Habana) มาตันซัส (Matanzas) ลัสบียัส (Las Villas) กามากูเอย์ (Camagüey) และโอเรียนเต (Oriente)
|
|
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
[แก้]ความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรไทย
[แก้]สาธารณรัฐคิวบากับราชอาณาจักรไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2501 โดยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคแคริบเบียนที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศไทย ไทยมีสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก มีเขตอาณาครอบคลุมคิวบา โดยมีสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ ณ กรุงอาบานา และในปี 2547 คิวบาได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ณ กรุงเทพมหานคร ปัจจุบัน นายเอกตอร์ กอนเด อัลเมย์ดา (Héctor Conde Almeida) ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคิวบาประจำประเทศไทย[22]
ในปี 2560 มีนักท่องเที่ยวชาวคิวบาเดินทางมาประเทศไทยจำนวน 468 คน[23]
เศรษฐกิจ
[แก้]โครงสร้างเศรษฐกิจ
[แก้]อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (2552) ร้อยละ 1.4
ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (2551) 68.39 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
รายได้ประชาชาติต่อหัว (2551) 6,086.40 ดอลลาร์สหรัฐ
อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 0.8
อัตราการว่างงาน (2551) ร้อยละ 1.7
หนี้สินต่างประเทศ 17.50 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทรัพยากรธรรมชาติ เหล็ก ทองแดง นิเกิล แมงกานีส เกลือ ไม้ ก๊าซธรรมชาติ
อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมผลิตและแปรรูปน้ำตาล การกลั่นน้ำมัน อาหารแปรรูป เหล็ก ปูนซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ การผลิตยาและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
เกษตรกรรม อ้อย ยาสูบ ผลไม้ประเภทส้ม (Citrus) กาแฟ ผัก ถั่ว เนื้อ ข้าว ผลไม้เมืองร้อน
มูลค่าการนำเข้า (2551) 14.25 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้า อาหาร น้ำมันเชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ เครื่องจักร
มูลค่าการส่งออก (2551) 3.68 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าออก น้ำตาล นิเกิล ยาสูบ อาหารทะเล เหล้ารัม ยาและผลิตภัณฑ์ชีวภาพ
ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ เนเธอร์แลนด์ เวเนซุเอลา แคนาดา จีน สเปน สหรัฐอเมริกา และประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
[แก้]- เศรษฐกิจตามระบอบสังคมนิยม
คิวบามีนโยบายเศรษฐกิจตามระบอบสังคมนิยม โดยรัฐมีบทบาทในการกำหนดนโยบาย บริหารจัดการ และขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคม เป็นผู้ควบคุมกลไกในการผลิตส่วนใหญ่ เป็นผู้จ้างแรงงานที่สำคัญ เป็นผู้กำหนดราคาสินค้าส่วนใหญ่และแจกจ่ายสิ่งของแก่ประชาชน พร้อมทั้งควบคุมการลงทุนของภาคธุรกิจ อย่างไรก็ดี ในช่วงทศวรรษ 1990 รัฐบาลคิวบาเริ่มมีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจ โดยผ่อนคลายความเข้มงวดในธุรกิจบางประเภท อาทิ การท่องเที่ยวและโรงแรม เพื่อดึงดูดเงินตราจากต่างประเทศ ดำเนินมาตรการเปิดเสรี และส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ
หลังจากนาย Raúl Castro เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี แม้จะยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในภาพรวมของนโยบายเศรษฐกิจของคิวบาโดยทันที แต่ก็ได้ค่อย ๆ เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยนาย Raúl Castro ประกาศดำเนินนโยบายการขยายการถือครองที่ดินทำกินของเกษตรกร ลดหรือยกเลิกเงินอุดหนุนบางประเภท เพิ่มเงินบำนาญ ยกเลิกข้อจำกัดในการเข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคบางประเภท อาทิ โทรศัพท์มือถือ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น
อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าว ไม่สามารถช่วยเหลือคิวบาให้รอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจได้ เพราะนอกจากคิวบาจะถูกคว่ำบาตรทางการค้าจากสหรัฐอเมริกาแล้ว ยังมีปัญหาจากความด้อยประสิทธิภาพในการผลิต ราคาสินค้าส่งออกโดยเฉพาะน้ำตาลและนิเกิลในตลาดโลกตกต่ำ รวมทั้งผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะพายุเฮอริเคนในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ คิวบาได้พัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดกับเวเนซุเอลา ซึ่งช่วยบรรเทาความเดือดร้อนทางเศรษฐกิจของคิวบาได้อย่างมาก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภาคอุตสาหกรรมไบโอเทคโนโลยีและเภสัชกรรมมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นต่อเศรษฐกิจคิวบาในภาพรวม โดยคิวบาสามารถส่งออกผลิตภัณฑ์ประเภทวัคซีนป้องกันไวรัสและแบคทีเรียต่าง ๆ ไปยังหลายประเทศ เช่น รัสเซีย จีน อินเดีย ปากีสถาน และหลายประเทศในภูมิภาคลาตินอเมริกา
วัฒนธรรม
[แก้]คิวบาเป็นสังคมที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติอยู่ปะปนกันโดยไม่มีการแบ่งแยกสีผิว ก่อนการปฏิวัติของฟิเดล คาสโตร ชาวคิวบาสวนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (ร้อยละ 72 ของประชาการทั้งหมด) นอกนั้นนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ศาสนายิว และศาสนาที่ผสมผสานระหว่างศาสนาคริสต์กับลัทธิความเชื่อดั้งเดิมของของชนชาวผิวดำ ที่มาจากแอฟริกา ส่วนผู้ไม่นับถือศาสนาใด ๆ มีสูงถึงร้อยละ 19 ของประชากรทั้งหมด ภายหลังการปฏิวัติ รัฐบาลของฟิเดล คาสโตร เห็นว่าศาสนาเป็นสิ่งขัดขวางความเจริญก้าวหน้าและการปฏิวัติไปสู่ระบบคอมมิวนิสต์ ดังนั้นจึงมุ่งกำจัดอิทธิพลของศาสนาให้หมดไป หนังสือเกี่ยวกับคำสอนทางศาสนาถูกทำลาย โรงเรียนของศาสนจักรถูกยึดเป็นของรัฐ องค์กรทางศาสนาถูกจำกัดสิทธิและเสรีภาพ อิทธิพลของจักรวรรดินิยมอเมริกา ถูกถอนรากถอนโคนจากสังคมคิวบา รัฐส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเชื้อชาติและระหว่างเพศ ชาวคิวบา นิยมบริโภคอาหารประจำชาติที่ชื่อว่า เยโย่ โดยทำจากพืชพื้นเมือง
อาหาร
[แก้]ในช่วงที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย การนำเข้าอาหารและเครื่องมือทางการเกษตรถูกตัดขาด เกิดภาวะขาดแคลนอาหารขั้นรุนแรงทั่วคิวบา เพราะไม่อาจทำเกษตรได้ แม้สถานการณ์จะเลวร้าย แต่ชาวคิวบากลับถือเป็นโอกาสพัฒนาเทคนิคการทำเกษตรอินทรีย์ที่ปลอดสารเคมี และในที่สุดพวกเขาก็พลิกฟื้นที่ดินรกร้างให้เป็นแหล่งปลูกผัก และธัญพืชได้อีกครั้ง
นับแต่อดีตถึงปัจจุบันอาหารคิวบาได้ชื่อว่าเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ เพราะเน้นผักสด รสชาติดั้งเดิมของวัตถุดิบ เช่น ถ้าเป็นอาหารจากเนื้อ ก็ปรุงรสด้วยส้มและกระเทียม หรือถ้าหุงข้าวก็จะใส่ถั่วลงไปด้วย และขาดไม่ได้คือเหล้ารัมจากอ้อย ซึ่งเป็นเหล้าประจำชาติของคิวบา ใช้เป็นส่วนผสมในค็อกเทลกว่า 100 ชนิด
ประชากร
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ Data represents racial self-identification from Cuba's 2012 national census
- ↑ คิวบาเป็นรัฐคอมมิวนิสต์ ลัทธิมากซ์–เลนิน พรรคเดียว สังคมนิยม ตำแหน่งที่มีอำนาจมากที่สุดคือเลขาธิการพรรคคนแรกแห่งพรรคคอมมิวนิสต์คิวบา ไม่ใช่ประธานาธิบดี
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Cuban Peso Bills". Central Bank of Cuba. 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-26. สืบค้นเมื่อ 14 February 2017.
- ↑ "National symbols". Government of Cuba. สืบค้นเมื่อ 7 September 2009.
- ↑ "Central America :: Cuba — The World Factbook – Central Intelligence Agency". Cia.gov. สืบค้นเมื่อ 28 September 2021.
- ↑ "Cuba - The World Factbook". www.cia.gov. 6 October 2021.
- ↑ "The Constitution of the Republic of Cuba, 1976 (as Amended to 2002)" (PDF). National Assembly of People's Power. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 January 2013. สืบค้นเมื่อ 18 August 2012.
For discussion of the 1992 amendments, see Domínguez 2003. - ↑ "Indicadores Demográficos por provincias y municipios 2020" (ภาษาสเปน). Oficina Nacional de Estadística e Information República de Cuba. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-03-14. สืบค้นเมื่อ 18 September 2021.
- ↑ 7.0 7.1 "World Bank GDP PPP 2015, 28 April 2017 PDF". สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.
- ↑ "World Bank total population of Cuba in 2015 (GDP PPP divided by Population data)". สืบค้นเมื่อ 18 January 2018.
- ↑ 9.0 9.1 "Basic Data Selection". United Nations. สืบค้นเมื่อ 3 May 2021.
- ↑ "Cuba grapples with growing inequality". Reuters. สืบค้นเมื่อ 21 July 2013.
- ↑ "Table 2: Trends in the Human Development Index, 1990–2014" (PDF). United Nations Development Programme. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-03-22. สืบค้นเมื่อ 15 December 2015.
- ↑ 12.0 12.1 "ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 139 (พิเศษ 205 ง). 1 กันยายน 2565.
- ↑ "Remarks of Senator John F. Kennedy at Democratic Dinner, Cincinnati, Ohio, October 6, 1960 | JFK Library". www.jfklibrary.org.
- ↑ "Fidel Castro | Biography, Cause of Death, Brother, & Facts | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-07.
- ↑ "Cuba's hero and dictator, dead at 90 – DW – 11/26/2016". dw.com (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Lachapelle, Jean; Levitsky, Steven; Way, Lucan A.; Casey, Adam E. (2020-10). "Social Revolution and Authoritarian Durability". World Politics (ภาษาอังกฤษ). 72 (4): 557–600. doi:10.1017/S0043887120000106. ISSN 0043-8871.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "Six facts about censorship in Cuba". Amnesty International (ภาษาอังกฤษ). 2016-03-11.
- ↑ "Wayback Machine" (PDF). web.archive.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-03. สืบค้นเมื่อ 2023-10-07.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "Pre-Castro Cuba | American Experience | PBS". www.pbs.org (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Kessler, Glenn (2021-12-07). "Justin Trudeau's claim that Castro made 'significant improvements' to Cuban health care and education". Washington Post (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 2023-10-07.
- ↑ จิตราภรณ์ ตันรัตนกุล. ละตินอเมริกา. เชียงใหม่: ตรัสวิน, 2545.
- ↑ "ข้อมูลความสัมพันธ์ทวิภาคี : ไทย - คิวบา". กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้. พฤษภาคม 2560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-09-24.
- ↑ "ข้อมูลประเทศคิวบา". กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้. ธันวาคม 2561. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-14. สืบค้นเมื่อ 2021-08-17.
บรรณานุกรม
[แก้]- Albornoz, Sara Carrillo de (2006). "On a mission: how Cuba uses its doctors abroad". BMJ. 333 (7566): 464. doi:10.1136/bmj.333.7566.464. ISSN 0959-8138. JSTOR 40700096. PMC 1557950. PMID 16946334.
- Alvarez, José (2001). "Rationed Products and Something Else: Food Availability and Distribution in 2000". Cuba in Transition, Volume 11. Silver Spring, MD: ASCE. pp. 305–322. ISBN 978-0-9649082-0-8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Alvarez, José (2004). Cuban Agriculture Before 1959: The Social Situation (PDF). Gainesville, FL: Department of Food and Resource Economics, University of Florida. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Baklanoff, Eric N. (1998). "Cuba on the Eve of the Socialist Transition: A Reassessment of the Backwardness-Stagnation Thesis". Cuba in Transition, Volume 8. Silver Spring, MD: ASCE. pp. 260–272. ISBN 978-0-9649082-7-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Breier, Mignonne; Wildschut, Angelique (2007). Doctors in a Divided Society: The Profession and Education of Medical Practitioners in South Africa. HSRC Press. ISBN 978-0-7969-2153-6.
- Chomsky, Aviva; Carr, Barry; Smorkaloff, Pamela Maria, บ.ก. (2004). The Cuba Reader: History, Culture, Politics. Durham, NC: Duke University Press. ISBN 978-0-8223-3197-1.
- Clodfelter, Micheal (2017). Warfare and Armed Conflicts: A Statistical Encyclopedia of Casualty and Other Figures, 1492–2015 (4th ed.). McFarland. ISBN 978-0786474707.
- Corbett, Ben (2002). This Is Cuba: An Outlaw Culture Survives. Westview Press. ISBN 978-0-8133-3826-2.
- Crespo, Nicolás; Negrón Díaz, Santos (1997). "Cuban Tourism in 2007: Economic Impact". Cuba in Transition, Volume 7. Silver Spring, MD: ASCE. pp. 150–161. ISBN 978-0-9649082-6-0. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Domínguez, Jorge I. (1978). Cuba: Order and Revolution. Cambridge, MA: Belknap Press. ISBN 978-0-674-17925-7.
- Domínguez, Jorge I. (1989). To Make a World Safe for Revolution: Cuba's Foreign Policy. Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-89325-2.
- Domínguez, Jorge I. (2003). A Constitution for Cuba's Political Transition: The Utility of Retaining (and Amending) the 1992 Constitution (PDF). Coral Gables, FL: Institute for Cuban and Cuban-American Studies, University of Miami. ISBN 978-1-932385-04-5. สืบค้นเมื่อ 19 August 2012.
- Espino, María Dolores (2000). "Cuban Tourism During the Special Period". Cuba in Transition, Volume 10. Silver Spring, MD: ASCE. ISBN 978-0-9649082-8-4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Falk, Pamela S. (1988). "Washing and Havana". The Wilson Quarterly. 12 (5): 64–74. JSTOR 40257732.
- Feinsilver, Julie M. (1989). "Cuba as a 'World Medical Power': The Politics of Symbolism". Latin American Research Review. 24 (2): 1–34. JSTOR 2503679.
- Gebru Tareke (2009). The Ethiopian Revolution: War in the Horn of Africa. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-14163-4.
- Gershman, Carl; Gutierrez, Orlando (2009). "Can Cuba Change? Ferment in Civil Society". Journal of Democracy. 20 (1): 36–54. doi:10.1353/jod.0.0051. S2CID 144413653.
- Gleijeses, Piero (1994). "'Flee! The White Giants are Coming!': The United States, the Mercenaries, and the Congo, 1964–1965" (PDF). Diplomatic History. 18 (2): 207–237. doi:10.1111/j.1467-7709.1994.tb00611.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 17 January 2013.
- Gleijeses, Piero (1996). "Cuba's First Venture in Africa: Algeria, 1961–1965". Journal of Latin American Studies. 28 (1): 159–195. doi:10.1017/s0022216x00012670. JSTOR 157991.
- Gleijeses, Piero (1997). "The First Ambassadors: Cuba's Contribution to Guinea-Bissau's War of Independence". Journal of Latin American Studies. 29 (1): 45–88. doi:10.1017/s0022216x96004646. JSTOR 158071.
- Gleijeses, Piero (2002). Conflicting Missions: Havana, Washington, and Africa, 1959–1976. Chapel Hill, NC: University of North Carolina Press. ISBN 978-0-8078-2647-8.
- Gleijeses, Piero (2010). "Cuba and the Cold War, 1959–1980". In Melvyn P. Leffler & Odd Arne Westad, eds., The Cambridge History of the Cold War, Volume II: Crises and Détente. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 327–348. ISBN 978-0-521-83720-0.
- Gleijeses, Piero (2013). Visions of Freedom: Havana, Washington, Pretoria, and the Struggle for Southern Africa, 1976–1991. Chapel Hill, NC: University of North Carolina Press. ISBN 978-1-4696-0968-3.
- Gott, Richard (2004). Cuba: A New History. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 978-0-300-10411-0.
- Horowitz, Irving Louis (1988). Cuban Communism. New Brunswick, NJ: Transaction Books. ISBN 978-0-88738-672-5.
- Luxenberg, Alan H. (1988). "Did Eisenhower Push Castro into the Arms of the Soviets?". Journal of Interamerican Studies and World Affairs. 30 (1): 37–71. doi:10.2307/165789. JSTOR 165789.
- Kolko, Gabriel (1994). Century of War: Politics, Conflicts, and Society since 1914. New York, NY: The New Press. ISBN 978-1-56584-191-8.
- McAlister, Lyle N. (1984). Spain and Portugal in the New World, 1492–1700. Minneapolis, MN: University of Minnesota Press. ISBN 978-0-8166-1216-1.
- Pedraza, Silvia (2007). Political Disaffection in Cuba's Revolution and Exodus. New York, NY: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-86787-0.
- Pérez-López, Jorge F. (1996). "Cuban Military Expenditures: Concepts, Data and Burden Measures". Cuba in Transition, Volume 6. Washington, DC: ASCE. pp. 124–144. ISBN 978-0-9649082-5-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-12-24. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Ramazani, Rouhollah K. (1975). The Persian Gulf and the Strait of Hormuz. Alphen aan den Rijn: Sijthoff & Noordhoff. ISBN 978-90-286-0069-0.
- Roberg, Jeffrey L.; Kuttruff, Alyson (2007). "Cuba: Ideological Success or Ideological Failure?". Human Rights Quarterly. 29 (3): 779–795. doi:10.1353/hrq.2007.0033. JSTOR 20072822. S2CID 143642998.
- Roy, Joaquín (2000). Cuba, the United States, and the Helms-Burton Doctrine: International Reactions. Gainesville, FL: University of Florida Press. ISBN 978-0-8130-1760-0.
- Scheina, Robert L. (2003). Latin America's Wars, Volume I: The Age of the Caudillo, 1791–1899. Dulles, VA: Brassey's. ISBN 978-1-57488-449-4.
- Scheina, Robert L. (2003b). Latin America's Wars Volume II: The Age of the Professional Soldier, 1900-2001.
- Scott, Rebecca J. (2000) [1985]. Slave Emancipation in Cuba: The Transition to Free Labor, 1860–1899. Pittsburgh, PA: University of Pittsburgh Press. ISBN 978-0-8229-5735-5.
- Smith, Wayne S. (1996). "Cuba's Long Reform". Foreign Affairs. 75 (2): 99–112. doi:10.2307/20047491. JSTOR 20047491.
- Smith, Kirby; Llorens, Hugo (1998). "Renaisssance and Decay: A Comparison of Socioeconomic Indicators in Pre-Castro and Current-Day Cuba". Cuba in Transition, Volume 8. Silver Spring, MD: ASCE. pp. 247–259. ISBN 978-0-9649082-7-7. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-04-06. สืบค้นเมื่อ 25 March 2013.
- Sweig, Julia E. (2004) [2002]. Inside the Cuban Revolution: Fidel Castro and the Urban Underground (New ed.). Cambridge, MA: Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01612-5.
- Thomas, Hugh (1997). The Slave Trade: The Story of the Atlantic Slave Trade, 1440–1870. New York, NY: Simon & Schuster. ISBN 978-0-684-81063-8.
- Thomas, Hugh (1998). Cuba; or, The Pursuit of Freedom (updated ed.). Cambridge, MA: Da Capo Press. ISBN 978-0-306-80827-2.
- Westad, Odd Arne (2012). Restless Empire: China and the World Since 1750. London: The Bodley Head. ISBN 978-1-84792-197-0.
- Whiteford, Linda M.; Branch, Laurence G. (2008). Primary Health Care in Cuba: The Other Revolution. Lanham, MD: Rowman & Littlefield. ISBN 978-0-7425-5994-3.
- Wright, Irene Aloha (1916). The Early History of Cuba, 1492–1586. New York, NY: The Macmillan Company.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการของรัฐบาลคิวบา (ในภาษาสเปน)
- Cuba from University of Colorado Boulder Libraries
- Cuba. The World Factbook. Central Intelligence Agency.
- Key Development Forecasts for Cuba from International Futures
- ประเทศคิวบา ที่เว็บไซต์ Curlie
- Wikimedia Atlas of Cuba