การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ | |
---|---|
บุคคลจากปี 1920 กำลังลูบไล้เรียวขาของหญิงซึ่งเป็นวัตถุเฟทิช นับเป็นอาการความปรารถนาทางเพศกับเรียวขา (leg fetishism) | |
สาขาวิชา | จิตเวช |
การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ หรือ เฟทิชิซึม (อังกฤษ: fetishism, sexual fetishism) เป็นรสนิยมทางเพศรูปแบบหนึ่งที่เข้าข่ายลักษณะกามวิปริตที่มี วัตถุที่ไม่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ (เฟทิช, fetish) เป็นสิ่งเร้าความรู้สึกทางเพศ[1] การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะนั้นมักไม่มองว่าเป็นพยาธิสภาพ หรือเป็น โรคทางจิตเวช[2][3]
ในบรรดาวัตถุเฟทิชนั้นรวมถึงบางส่วนของร่างกายหรืออวัยวะใดอวัยวะหนึ่งของมนุษย์เป็นเฉพาะส่วน เช่น นิ้วมือเรียว ท้องคนน้ำหนักเกิน หรือ เรียวขา ความปรารถนาทางเพศแบบนี้สามารถแยกย่อยเป็นอีกประเภทที่เรียกว่า ความปรารถนาทางเพศกับร่างกายเฉพาะส่วน (partialism)[4] ในปัจจุบัน การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะสามารถแบ่งออกเป็นประเภทย่อยได้หลายประเภท เช่น ความปรารถนาทางเพศกับเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม (cloth fetish), ความปรารถนาทางเพศกับรองเท้า (shoes fetish), ความปรารถนาทางเพศกับเรียวขา (legs fetish) เป็นต้น
ในประเทศไทย ผู้คนยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกับนิยามคำว่า "เฟทิชิซึม" หรือ "การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ"[ต้องการอ้างอิง] และยังถูกมองเป็นเรื่องแปลกประหลาดและขับขันในคนบางกลุ่ม[ต้องการอ้างอิง]
สาเหตุ
[แก้]การเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะมักเป็นที่ปรากฏชัดในช่วงเข้าสู่วัยรุ่น ในปัจจุบันวงการแพทย์และจิตวิทยายังไม่สามารถระบุเหตุผลที่ชัดเจนของรสนิยมทางเพศนี้ได้[5]
บางตำราอาจกล่าวว่าเป็นพฤติกรรมที่เกิดมาจาก การวางเงื่อนไขแบบดั้งเดิม โดยอ้างการทดลองบางชุดที่ให้อาสาสมัครชายถูกผูกพฤติกรรมแบบมีเงื่อนไขกับวัตถุเฟทิช เช่น รองเท้าบู๊ตส์ รูปทรงเรขาคณิต หรือ โหลหยอดเงิน พบว่าเกิดการกระตุ้นเร้าทางเพศในคอนเวนชันนาล เอโรทิคา (conventional erotica) ในระบบประสาท[6] อย่างไรก็ตาม จอห์น บอนครอฟท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเพศศึกษา ปฏิเสธว่าพฤติกรรมแบบการใช้เงื่อนไขอย่างเดียวไม่สามารถทำให้เกิดความปรารถนาทางเพศกับวัตถุได้ เขาเสริมว่าปัจจัยอื่น ๆ อาจส่งผลต่อการแสดงออกของความปรารถนาทางเพศกับวัตถุ เช่น ความผิดปกติระหว่างระยะการเรียนรู้เรื่องเพศ[7]
จากทฤษฎีการเรีบนรู้พฤติกรรมแบบฝังใจ (imprinting) อธิบายไว้ว่ามนุษย์เรียนรู้ที่จะจดจำลักษณะที่ดึงดูดทางเพศขณะที่ยังเป็นเด็ก ดังนั้นความปรารถนาทางเพศกับวัตถุอาจเกิดจากการที่ในวัยเด็กคลุกคลีหรือเกิดการฝังใจ (imprint) ที่ผิดไปว่าวัตถุว่าเป็นสิ่งที่ดึงดูดทางเพศ หรือจำกัดวัตถุที่ดึงดูดทางเพศเป็นวัตถุเฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น[8]
ประเภทของการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ
[แก้]จากการตรวจสอบกรณีของผู้ได้รับการวินิจฉัยอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกว่ามีการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะ ทั้งหมด 48 กรณี พบว่าประกอบด้วยการเกิดอารมณ์เพศจากสิ่งเฉพาะต่าง ๆ ดังนี้ ความปรารถนาทางเพศกับเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่ม (clothing fetishism) 58.3%, ความปรารถนาทางเพศกับวัตถุที่ทำมาจากยาง (rubber fetishism) 22.9%, ความปรารถนาทางเพศกับรองเท้า (footwear fetishism) 14.6%, ความปรารถนาทางเพศกับอวัยวะหรือส่วนของร่างกายเป็นเฉพาะ (body parts fetishism) 14.6%, ความปรารถนาทางเพศกับเครื่องหนัง (leather fetishism) 10.4% และ ความปรารถนาทางเพศกับเนื้อผ้าหรือของนุ่ม (soft materials fetishism) 6.3%[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Common Misunderstandings of Fetishism". K. M. Vekquin. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-05. สืบค้นเมื่อ 24 May 2010.
- ↑ American Psychiatric Association, บ.ก. (2013). "Fetishistic Disorder, 302.81 (F65.0)". Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders, Fifth Edition. American Psychiatric Publishing. p. 700.
- ↑ "Fetishism, F65.0". The ICD-10 Classification of Mental and Behavioural Disorders: Clinical descriptions and diagnostic guidelines (PDF). World Health Organization. p. 170. สืบค้นเมื่อ 2 March 2014.
- ↑ Milner, J. S., & Dopke, C. A. (1997). Paraphilia Not Otherwise Specified: Psychopathology and theory. In D. R. Laws and W. O'Donohue (Eds.), Sexual deviance: Theory, assessment, and treatment. New York: Guilford.
- ↑ Bancroft, John (2009). Human Sexuality and Its Problems. Elsevier Health Sciences. pp. 283–286.
- ↑ Darcangelo, S. (2008). "Fetishism: Psychopathology and Theory". ใน Laws, D. R.; O'Donohue, W. T. (บ.ก.). Sexual Deviance: Theory, Assessment, and Treatment, 2nd edition. The Guilford Press. pp. 112–113.
- ↑ Bancroft, John (2009). Human Sexuality and Its Problems. Elsevier Health Sciences. pp. 283–286.
- ↑ Darcangelo, S. (2008). "Fetishism: Psychopathology and Theory". ใน Laws, D. R.; O'Donohue, W. T. (บ.ก.). Sexual Deviance: Theory, Assessment, and Treatment, 2nd edition. The Guilford Press. p. 114.
- ↑ Chalkley A. J.; Powell G. E. (1983). "The clinical description of forty-eight cases of sexual fetishism". British Journal of Psychiatry. 142: 292–295. doi:10.1192/bjp.142.3.292.