โรควิตกกังวลไปทั่ว
โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder) | |
---|---|
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F41.1 |
ICD-9 | 300.02 |
MedlinePlus | 000917 |
eMedicine | article/916933 |
โรควิตกกังวลทั่วไป[1] (อังกฤษ: Generalized anxiety disorder ตัวย่อ GAD) หรือโรควิตกกังวลทั่วไป[ต้องการอ้างอิง]เป็นโรควิตกกังวลอย่างหนึ่ง กำหนดโดยความกังวลที่เกินควร ควบคุมไม่ได้ และบ่อยครั้งไม่สมเหตุผล เป็นความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ[2] ซึ่งมักจะขวางชีวิตประจำวัน เพราะคนไข้มักคิดว่าจะมีเหตุการณ์ร้าย หรือกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับเรื่องทั่ว ๆ ไป เช่น สุขภาพ การเงิน ความตาย ปัญหาครอบครัว ปัญหากับเพื่อน ปัญหากับคนอื่น หรือปัญหาการงาน[3][4]
คนไข้มักจะมีอาการทางกายต่าง ๆ รวมทั้ง ความล้า อยู่ไม่สุข ปวดหัว คลื่นไส้ มือเท้าชา กล้ามเนื้อเกร็ง ปวดกล้ามเนื้อ กลืนไม่ลง มีกรดในกระเพาะมาก ปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย หายใจไม่ออก ไม่มีสมาธิ สั่น กล้ามเนื้อกระตุก หงุดหงิด กายใจไม่สงบ นอนไม่หลับ หน้าหรือตัวร้อน (hot flashes) เป็นผื่น และไม่สามารถควบคุมความกังวลได้[5] อาการเหล่านี้ต้องสม่ำเสมอและคงยืนอย่างน้อย 6 เดือนเพื่อที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD[2][3]
ในแต่ละปี ผู้ใหญ่ชาวอเมริกันและยุโรปประมาณ 2% จะเป็น GAD[6][7] โดยหญิงเป็นโรค 2 เท่าของชาย โรคจะสามัญในบุคคลที่มีประวัติเสพยาเสพติดหรือมีประวัติโรคในครอบครัว[8] เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้ว อาจจะกลายเป็นอาการเรื้อรัง แต่สามารถบริหารหรือกำจัดได้ถ้ารักษาอย่างถูกต้อง[9]
แบบวัดมาตรฐานเช่น Generalized Anxiety Disorder 7 (GAD-7) สามารถใช้ประเมินความรุนแรงของ GAD[10] GAD เป็นเหตุพิการที่สามัญในที่ทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกา[11]
เหตุ[แก้]
กรรมพันธุ์[แก้]
ความแปรปรวนของโรคประมาณ 1/3 มีเหตุจากยีน[12] บุคคลที่มีกรรมพันธุ์เกี่ยวกับ GAD มีโอกาสสูงกว่าที่จะเกิดโรค โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองต่อตัวก่อความเครียดในชีวิต[13]
เกิดจากสาร[แก้]
การใช้ยากลุ่ม benzodiazepines ในระยะยาวสามารถทำให้โรคแย่ลง[14][15] และมีหลักฐานด้วยว่าการลด benzodiazepines สามารถทำให้อาการวิตกกังวลดีขึ้น[16] โดยนัยเดียวกัน การดื่มแอลกอฮอล์ (เหล้า เบียร์ เป็นต้น) ระยะยาวก็สัมพันธ์กับโรควิตกกังวล[17] และมีหลักฐานว่า การอดเหล้าในระยะยาวอาจกำจัดอาการวิตกังวลโดยสิ้นเชิง[18] แต่ว่า อาจจะใช้เวลาถึงสองปีที่อาการจะกลับไปสู่ระดับปกติ (ของบุคคล) ในประมาณ 1/4 ที่เลิกสุรา[19]
ในงานศึกษาระหว่างปี 2531-2533 โรคในคนไข้ประมาณครึ่งหนึ่งที่หาหมอคลินิกสุขภาพจิตในโรงพยาบาลประเทศอังกฤษ สำหรับโรควิตกกังวลรวมทั้งโรคตื่นตระหนก โรคกลัวสังคม (SAD) ระบุว่าเป็นผลของการติดเหล้าหรือยา benzodiazepine ในคนไข้เหล่านี้ แม้ว่าอาการวิตกกังวลจะแย่ลงในระยะต้น ๆ ของการอดเหล้า/ยา แต่ว่าในที่สุดอาการก็หายไป บางครั้ง ความกังวลก็มีอยู่ก่อนการเริ่มติดเหล้า/ยาแล้ว แต่ว่า การติดทำให้โรควิตกกังวลคงยืนและบ่อยครั้งทำให้แย่ลง ๆ การฟื้นตัวจากการติดยามักจะใช้เวลานานกว่าการติดเหล้า แต่ในที่สุดก็จะได้สุขภาพคืนมา[19]
นอกจากนั้นแล้ว การสูบบุหรี่มีหลักฐานว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรควิตกกังวล[20] และการทานกาเฟอีนมากเกิน (เช่นจากกาแฟ) ก็สัมพันธ์กับความวิตกกังวลด้วย[21]
กลไกทางประสาท[แก้]
งานศึกษาปี 2552 แสดงว่า GAD สัมพันธ์กับการทำหน้าที่ผิดปกติของอะมิกดะลาในการประมวลความกลัวและความวิตกกังวล[22] คือ ข้อมูลประสาทสัมผัสจะเข้าสู่อะมิกดะลาผ่านนิวเคลียส basolateral complex (รวมทั้ง lateral, basal และ accessory basal nuclei) โดย basolateral complex มีหน้าที่ประมวลความทรงจำเกี่ยวกับความกลัวสัมพันธ์กับประสาทสัมผัส และสื่อความอันตรายของข้อมูลไปยังระบบที่ประมวลความจำและประสาทสัมผัสอื่น ๆ ในสมอง เช่น medial prefrontal cortex และคอร์เทกซ์ประสาทสัมผัส (sensory cortices) ต่าง ๆ เขตสำคัญอีกเขตหนึ่งก็คือ central nucleus ของอะมิกดะลาที่อยู่ข้าง ๆ เป็นตัวควบคุมการตอบสนองโดยความกลัวของสัตว์แต่ละสปีชีส์ ๆ ผ่านการเชื่อมต่อทางก้านสมอง ไฮโปทาลามัส และสมองน้อย
ในคนไข้ การทำงานร่วมกันระหว่างเขตต่าง ๆ เหล่านี้ดูจะน้อยกว่า และยังพบเนื้อขาวมากกว่าใน central nucleus อีกด้วย ความแตกต่างอีกอย่างก็คือเขตอะมิกดะลาทำงานร่วมกับเขต insular cortex และ cingulate cortex น้อยกว่า ซึ่งเป็นเขตที่ควบคุมความชัดเจน/ความเด่นทั่วไป (general salience) ของสิ่งเร้า และทำงานร่วมกับ parietal cortex และ prefrontal cortex มากกว่า ซึ่งเป็นเขตที่ควบคุม Executive functions[22]
การทำงานแบบหลังแสดงว่า เป็นกลยุทธ์ทดแทนการประมวลความวิตกกังวลที่ผิดปกติของอะมิกดะลา นักวิจัยของงานได้ให้ข้อสังเกตว่า "การทำงานคู่กันของอะมิกดะลากับ parietal cortex และ prefrontal cortex ในคนไข้ GAD อาจ...สะท้อนให้เห็นการใช้ระบบควบคุมการรู้คิดเป็นนิสัยเพื่อคุมความกังวลที่เกินไป"[22] ซึ่งเข้ากับทฤษฎีทางการรู้คิดต่าง ๆ ที่เสนอให้ลดระดับอารมณ์โดยการใช้ความคิดสำหรับคนไข้โรคนี้[22]
การวินิจฉัย[แก้]
เกณฑ์ของ DSM-5[แก้]
เกณฑ์วินิจฉัยสำหรับ GAD ดังที่นิยามโดยคู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต DSM-5 (ปี 2556)[2] พิมพ์โดยสมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) ก็คือ[2]
- ความวิตกกังวลเกินส่วน (คือ ความคาดหมายประกอบด้วยความกลัว) เกิดขึ้นมากวันกว่าอย่างน้อย 6 เดือน เกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรม (เช่น เรื่องการทำงานหรือการเรียน)
- คนไข้มีปัญหาควบคุมความกังวล
- ความวิตกกังวลสัมพันธ์กับอาการ 3 อย่าง (หรือมากกว่านั้น) ดังต่อไปนี้ (โดยมีอาการบางอย่างอย่างน้อยเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิดใน 6 เดือนที่ผ่านมา) โดยสำหรับเด็ก อาการเพียงแค่อย่างเดียวก็พอ
- การอยู่ไม่สุข หรือรู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล
- รู้สึกล้าง่าย
- ไม่มีสมาธิหรือคิดอะไรไม่ออก
- หงุดหงิด
- กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
- มีปัญหาการนอน เช่น มีปัญหาในการหลับหรือนอนไม่อิ่ม หรือรู้สึกไม่เป็นสุข หรือนอนแล้วไม่รู้สึกสดชื่น
- ความวิตกกังวล หรืออาการทางกาย เป็นเหตุให้เป็นทุกข์หรือเป็นอุปสรรคอย่างสำคัญโดยเห็นได้ในการใช้ชีวิตทางสังคม ทางอาชีพ หรือทางด้านสำคัญอื่น ๆ
- ปัญหาไม่ใช่เกิดจากผลทางสรีรภาพของสาร (เช่น ยาเสพติด ยา) หรือโรคอื่น ๆ (เช่น อาการไฮเปอร์ไทรอยด์)
- ปัญหาอธิบายไม่ได้ดีกว่าด้วยโรคจิตอย่างอื่น เช่น กลัวจะตื่นตระหนกในโรคตื่นตระหนก กลัวถูกติเตียนวิพากษวิจารณ์ในโรคกลัวสังคม (SAD) ปัญหาหรือความหมกมุ่นเนื่องจากโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) การต้องจากผู้ที่ผูกพันในโรควิตกกังวลเมื่อต้องแยก (SepAD) เหตุการณ์ที่กระทบจิตใจเนื่องกับเหตุการณ์สะเทือนใจในอดีต (OCD) รู้สึกน้ำหนักเพิ่มในโรคเบื่ออาหารเหตุจิตใจ (anorexia nervosa) ปัญหาทางกายจากโรคที่มีอาการทางกาย รู้สึกว่ารูปร่างผิดปกติในโรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (BDD) รู้สึกว่ามีโรคหนักในโรควิตกกังวลว่ามีโรค หรือเชื่อแบบหลงผิดในโรคจิตเภทหรือโรคหลงผิด (delusional disorder)
เกณฑ์วินิจฉัย GAD โดยหลักยังไม่ได้เปลี่ยนตั้งแต่ DSM-IV-TR (ปี 2547) มีแต่คำเกี่ยวกับเกณฑ์วินิจฉัยที่เปลี่ยนไปเล็กน้อย[23]
เกณฑ์ของ ICD-10[แก้]
ต่อไปเป็นเกณฑ์วินิจฉัยโรควิตกกังวลไปทั่วของ ICD-10 (ICD-10 Chapter V: Mental and behavioural disorders) "F41.1" ให้สังเกตว่าเด็กอาจต้องมีเกณฑ์ต่างกัน (ดู F93.80 คือ ความผิดปกทางอารมณ์แบบอื่นในวัยเด็ก)
- มีความเครียด ความกังวล หรือความหวาดกลัวที่เด่นชัดอย่างน้อย 6 เดือน เกี่ยวกับเหตุการณ์และปัญหาชีวิตประจำวัน
- ต้องมีอาการอย่างน้อย 4 อย่างดังต่อไปนี้ และอย่างน้อยหนึ่งอย่างต้องมาจากรายการ 1-4
- การเร้าของระบบประสาทอิสระ
- (1) ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นเร็ว
- (2) เหงื่อออก
- (3) สั่น
- (4) คอแห้ง (ไม่ใช่เหตุจากยาหรือขาดน้ำ)
- อาการที่หน้าอกหรือท้อง
- (5) หายใจลำบาก
- (6) รู้สึกหายใจไม่ออก
- (7) เจ็บหน้าอกหรืออึดอัด
- (8) คลื่นไส้หรือปัญหาที่ท้อง (เช่นท้องป่วน)
- อาการทางสมองหรือทางจิต
- (9) คลื่นไส้ ทรงตัวไม่ดี หัวเบา หรือเวียนหัว
- (10) รู้สึกว่าวัตถุรอบ ๆ ไม่ใช่ของจริง (derealization) หรือว่าตัวไม่ได้อยู่ที่นี่ เหมือนอยู่ที่อื่น (depersonalization)
- (11) กลัวควบคุมตนเองไม่ได้ จะเป็นบ้า หรือเป็นลม
- (12) กลัวตาย
- อาการทั่วไป
- (13) ครั่นเนื้อครั่นตัว
- (14) รู้สึกเหน็บชา
- อาการตึงเครียด
- (15) ตึงกล้ามเนื้อ หรือเจ็บปวด
- (16) อยู่ไม่สุข ทำตัวสบาย ๆ ไม่ได้
- (17) รู้สึกเครียด หรือวิตกกังวล
- (18) จุกคอ หรือกลืนไม่ลง
- อาการไม่เฉพาะอื่น ๆ
- (19) ตกใจมากในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
- (20) ไม่มีสมาธิ คิดไม่ออก เพราะวิตกกังวล
- (21) หงุดหงิดเรื่อย ๆ
- (22) นอนไม่หลับเพราะกังวล
- อาการไม่ผ่านเกณฑ์โรคตื่นตระหนก (panic disorder, F41.0) โรควิตกกังวลเพราะกลัว (phobic anxiety disorders, F40.-) โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder, F42.-) หรือโรคคิดว่าตนป่วย (hypochondriacal disorder, F45.2)
- ไม่ผ่านเกณฑ์ที่ใช้กันโรคออกมากที่สุด คือ ไม่เป็นโรคทางกายอย่างอื่น เช่นอาการไฮเปอร์ไทรอยด์ โรคจิตเหตุร่างกาย (organic mental disorder, F0) หรือโรคเกี่ยวกับสารที่ออกฤทธิ์ทางจิตต่าง ๆ (psychoactive substance-related disorder, F1) เช่น การบริโภคสารคล้ายกับแอมเฟตามีนมากเกินไป หรือว่าอาการขาดยากลุ่ม benzodiazepine[5]
ประวัติเกณฑ์วินิจฉัย[แก้]
สมาคมจิตเวชอเมริกัน (APA) เริ่มเกณฑ์วินิจฉัยของ GAD ใน DSM-III ในปี 2523 ก่อนหน้านั้น GAD เป็นกลุ่มอาการหนึ่งในสองอย่างของ anxiety neurosis โดยอีกอย่างคือความตื่นตระหนก นิยามใน DSM-III เจาะจงว่าต้องมีความวิตกกังวลที่ควบคุมไม่ได้ มีไปทั่ว เกินควร ไม่สมจริง และคงยืนอย่างน้อย 1 เดือน แต่อัตราการเกิดโรคร่วมกับโรคซึมเศร้า (MDD) ในระดับสูงทำให้มีการวิจารณ์ว่า GAD น่าจะรวมเป็นส่วนของโรคซึมเศร้าแทนที่จะเป็นโรคต่างหาก[24] และมีนักวิจารณ์อื่นอีกที่อ้างว่า เกณฑ์วินิจฉัยของโรคนี้ไม่ชัดเจนจนกระทั่งออก DSM-III-R[25] และเพราะการเกิดร่วมกับโรคอื่นจะลดลงถ้ากำหนดเวลายาวนานขึ้น DSM-III-R จึงเปลี่ยนระยะที่จะวินิจฉัยว่าเป็น GAD ไปเป็น 6 เดือนหรือมากกว่านั้น[26]
ส่วน DSM-IV เปลี่ยนนิยามของคำว่า ความกังวลเกินควร (excessive worry) และกำหนดอาการทางกายจิตอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับโรคเพื่อเป็นเกณฑ์วินิจฉัย[24] นอกจากนั้นแล้ว DSM-IV ยังกำหนดให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าอาการเช่นไรเรียกว่าเกิดขึ้น "บ่อย" (often)[27] DSM-IV บังคับว่า การมีปัญหาควบคุมความกังวลควรวินิจฉัยว่าเป็น GAD แต่ DSM-5 เน้นว่า ความกังวลเกินต้องเกิดขึ้นมากวันกว่าไม่เกิด และเน้นเรื่องอื่น ๆ อีก[25]
มีการอ้างว่า การเปลี่ยนแปลงเกณฑ์วินิจฉัยเรื่อย ๆ ทำให้ระบุเหตุทางชีวภาพและทางจิตของโรคได้ยาก ทำให้หายาโดยเฉพาะสำหรับโรคได้ยาก และทำให้ GAD ก็ยังคงเป็นโรคที่มักจะรักษาด้วยยากลุ่ม SSRI ซึ่งใช้รักษาโรคซึมเศร้าด้วย[25]
การป้องกัน[แก้]
โรคจิตป้องกันได้ยาก แต่มีเทคนิคหลายอย่างที่ช่วยบรรเทาและบริหารความกังวล คนไข้รู้สึกดีขึ้นด้วยวิธีผ่อนคลาย วิธีการหายใจลึก ๆ และการนั่งสมาธิ[28] นอกจากนั้นแล้ว การหลีกเลี่ยงกาเฟอีนอาจป้องกัน GAD[29] การหลีกเลี่ยงนิโคติน (เช่นในบุหรี่) ยังอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรควิตกกังวลต่าง ๆ รวมทั้ง GAD[30]
การรักษา[แก้]
งานวิเคราะห์อภิมานแสดงว่า ทั้งการบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) และยา (เช่น SSRI) มีประสิทธิผลในการลดความวิตกกังวล การเปรียบเทียบผลทั่วไปของ CBT กับยาในโรคนี้ไม่แสดงความแตกต่างที่มีนัยสำคัญทางสถิติ (คือ มีประสิทธิผลพอ ๆ กันในการรักษาความกังวล) แต่ว่า CBT มีประสิทธิผลกว่าอย่างสำคัญในการลดระดับความซึมเศร้า และผลมีโอกาสที่จะคงยืน เทียบกับประสิทธิผลของยาที่มักจะลดลงเมื่อหยุดยา[31]
การรักษาด้วย CBT ร่วมกับยามองโดยทั่วไปว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุด[32] เพราะว่า ยาช่วยลดความวิตกกังวลที่รุนแรง ซึ่งอาจสำคัญในการช่วยให้คนไข้ปฏิบัติตามหลัก CBT ได้ดีกว่า
จิตบำบัด[แก้]
GAD มีมูลฐานจากองค์ประกอบทางจิตต่าง ๆ รวมทั้งการหลีกเลี่ยงทางการรู้คิด (cognitive avoidance), ความเชื่อว่าความกังวลมีประโยชน์, การแก้ปัญหาและการรับมือกับอารมณ์ที่ไม่มีประสิทธิผล, ปัญหากับบุคคลอื่น, ความบาดเจ็บทางกายใจที่มีมาก่อน, ความอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้, การมองปัญหาในแง่ลบ, การรับมือที่ไม่มีประสิทธิผล, การมีอารมณ์รุนแรง, การไม่เข้าใจอารมณ์ความรู้สึก, การมีปฏิกิริยาทางการรู้คิดในเชิงลบต่ออารมณ์, การบริหารและจัดการอารมณ์ที่เป็นการปรับตัวไม่ดี (maladaptive), การหลีกเลี่ยงเหตุการณ์, หรือการจำกัดพฤติกรรม[33]
เพื่อรับมือกับปัญหาทาการรู้คิดและอารมณ์ที่สัมพันธ์กับ GAD นักจิตวิทยามักจะรวมองค์ประกอบการรักษาดังต่อไปนี้ในแผนการรักษา การตรวจดูตัวเอง, เทคนิคการผ่อนคลาย, การลดความไวอารมณ์เอง, การค่อย ๆ เพิ่มระดับสิ่งเร้า, การเปลี่ยนการรู้คิด, การตรวจดูผลของความวิตกกังวล, การเน้นปัจจุบัน, การใช้ชีวิตอย่างไม่คาดหวัง, เทคนิคการแก้ปัญหา, การรับมือกับความกลัวหลัก, ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, การปรึกษาและเปลี่ยนกรอบของความเชื่อที่ทำให้เกิดความกังวล, การฝึกควบคุมอารมณ์, การเปิดรับสถานการณ์ที่กลัว (experiential exposure), การศึกษาด้านจิตใจ, การฝึกสติและการยอมรับ[33]
มีวิธีการบำบัดไม่ว่าจะทางพฤติกรรมหรือการรู้คิดหรือแบบผสมเพื่อบำบัด GAD ที่เน้นองค์ประกอบการรักษาเหล่านั้น จิตบำบัดที่เน้นการเปลี่ยนพฤติกรรมและการรู้คิด 2 อย่างหลักก็คือ CBT และการรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)[34] แต่การบำบัดการไม่อดทนต่อความไม่แน่นอน (Intolerance of uncertainty therapy) และการสัมภาษณ์ให้กำลังใจ (motivational interviewing) ก็เป็นวิธีการรักษาใหม่สองอย่างสำหรับ GAD โดยใช้รักษาโดด ๆ หรือเพิ่มที่อาจช่วย CBT[35]
การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT)[แก้]
การบำบัดโดยการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) เป็นวิธีรักษาทางจิตวิทยาสำหรับ GAD ที่ผู้บำบัดทำการร่วมกับคนไข้เพื่อให้เข้าใจว่า ความคิดและความรู้สึก/อารมณ์สามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมได้อย่างไร[36] องค์ประกอบการรักษาใน CBT รวมทั้งการให้คนไข้ประสบกับเหตุการณ์ที่ตนวิตกกังวลอย่างค่อย ๆ เพิ่มระดับ เพื่อให้รู้สึกโอเคกับเหตุการณ์ และเพื่อเป็นโอกาสฝึกทักษะการรับมือที่ได้เรียนรู้ CBT สามารถใช้ได้ทั้งเดี่ยว ๆ หรือบวกเสริมยา[37]
องค์ประกอบสำหรับ GAD ของ CBT รวมทั้งการให้ศึกษาเรื่องจิต การตรวจตราตัวเอง เทคนิคการควบคุมสิ่งเร้า การผ่อนคลาย การลดความไวอารมณ์เอง การเปลี่ยนการรู้คิด การฝึกรับความกังวล การป้องกันพฤติกรรมที่ทำให้กังวล และการแก้ปัญหา
- ขั้นแรกในการรักษา GAD ก็คือบอกคนไข้ให้ทราบถึงปัญหาและแผนการแก้
- เป้าหมายของการให้ศึกษาเรื่องจิตก็เพื่อสร้างความบรรเทา ลดความเป็นมลทินของโรค ให้กำลังใจ และให้คนไข้ร่วมมือโดยเข้าใจวิธีการรักษา
- เป้าหมายของการตรวจตราตัวเองก็เพื่อระบุสิ่งที่ทำให้กังวล
- ส่วนการควบคุมสิ่งเร้าหมายถึงการลดสถานการณ์ที่มีสิ่งเร้าที่สร้างความกังวลให้น้อยที่สุด
- เทคนิคการผ่อนคลายจะช่วยลดระดับความเครียด และเพิ่มความใส่ใจในวิธีการตอบสนองอื่น ๆ ต่อสถานการณ์ที่กลัว (ที่ไม่ใช่เป็นความกังวล) เทคนิครวมทั้งการหายใจลึก ๆ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อไปตามลำดับ[35]
- การลดความไวอารมณ์เอง (Self-control desensitization) ให้คนไข้ผ่อนคลายอย่างเต็มที่ก่อนจะจินตนาการว่าตนอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้วิตกกังวลจนกระทั่งเริ่มกังวล แล้วให้จินตนาการรับมือกับสถานการณ์และลดระดับความกังวล ถ้ากังวลน้อยลง ก็ให้ผ่อนคลายเพิ่มขึ้นอีกแล้วหยุดจินตนาการ
- เป้าหมายของการเปลี่ยนการรู้คิด (cognitive restructuring) ก็เพื่อเปลี่ยนมุมมองจากที่ทำให้กังวล ไปเป็นแบบที่มีประสิทธิผลและเป็นการปรับตัวที่ดีเกี่ยวกับโลก อนาคต และตนเอง ซึ่งรวมเทคนิคการถามคำถามตามแนวของโสกราตีส (socratic questioning) ที่ช่วยให้คนไข้พิจารณาความวิตกกังวลของตนเพื่อให้เข้าใจว่ามุมมองอื่นและความรู้สึกอื่นอาจจะถูกต้องกว่า เป็นเทคนิคที่รวมการทดลองทางพฤติกรรมเพื่อตรวจสอบความสมเหตุผลของทั้งความคิดเชิงลบและความคิดแบบอื่น ๆ ในสถานการณ์ชีวิตจริง ๆ
- ใน CBT สำหรับ GAD คนไข้ฝึกรับความกังวล (worry exposure) โดยให้จินตนาการถึงภาพที่ตนกลัวที่สุด แล้วทำตามวิธีการป้องกันความกังวลที่ไม่ให้หลีกเลี่ยงภาพที่กลัว และให้นึกถึงผลอย่างอื่นที่เป็นไปได้เนื่องจากเหตุการณ์ เป้าหมายของการฝึกรับความกังวลก็คือเพื่อทำให้ชินและเพื่อตีความหมายสิ่งเร้าที่ทำให้กลัวใหม่
- ส่วนการป้องกันพฤติกรรมที่ทำให้กังวลให้คนไข้ตรวจดูพฤติกรรมที่ทำให้กังวล แล้วหลีกเลี่ยงการทำพฤติกรรมเยี่ยงนั้น แล้วให้ใช้วิธีการรับมืออื่นที่เรียนรู้มาแล้วใน CBT
- การแก้ปัญหาฝึกการรับมือปัญหาเป็นกระบวนการ (1) กำหนดปัญหา (2) ตั้งเป้าหมาย (3) หาวิธีแก้ต่าง ๆ เป็นทางเลือก (4) ตัดสินใจ (5) ทำตามแผนและตรวจดูว่าแก้ปัญหาได้หรือไม่[35]
ไม่ค่อยมีข้อโต้แย้งว่า CBT มีประสิทธิผลต่อ GAD หรือไม่ แต่ว่า ชัดเจนว่าสามารถปรับปรุงได้ เพราะว่า คนไข้เพียงครึ่งเดียวที่จบการรักษามีชีวิตที่ดีขึ้นหรือฟื้นสภาพหลังจากการรักษา ดังนั้น จึงจำเป็นต้องปรับปรุงองค์ประกอบบางอย่างของ CBT[35] CBT มักจะช่วยคนไข้ประมาณ 1/3 อย่างสำคัญ แต่คนไข้ 1/3 จะไม่ตอบสนองเลย[38]
การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT)[แก้]
การรักษาด้วยการยอมรับและการให้สัญญา (ACT) เป็นการบำบัดพฤติกรรมโดยฝึกการยอมรับได้ ACT ออกแบบมีเป้าหมายการรักษา 3 อย่างคือ
- ลดการรับมือด้วยการหลีกเลี่ยง เช่นหลีกเลี่ยงอารมณ์ความรู้สึก ความคิด ความจำ และความรู้สึกทางประสาทสัมผัส
- ลดการตอบสนองตามความคิดของตน (เช่น เข้าใจความคิดว่า "ฉันหมดหนทางแก้ไข" ไม่ได้หมายความว่า ชีวิตของตนหมดทางแก้ไขจริง ๆ)
- เพิ่มสมรรถภาพในการรักษาสัญญาเพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมของตน
เป้าหมายเหล่านี้สามารถถึงได้โดยเปลี่ยนความพยายามควบคุมเหตุการณ์ของคนไข้ ให้เป็นพฤติกรรมตามค่านิยมและเป้าหมายชีวิตของตน และพยายามประพฤติตัวเพื่อให้ถึงเป้าหมายชีวิตเหล่านั้น[39] การรักษานี้สอนการใช้สติ (การให้ความสนใจอย่างตั้งใจในปัจจุบันโดยไม่ตัดสินดีชั่ว) และความยอมรับ (ความเปิดใจและความสมัครใจต่อการมีประสบการณ์) เพื่อใช้ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ควบคุมไม่ได้ แล้วให้มีพฤติกรรมแสดงออกที่สมกับค่านิยมของตน[40] เหมือนกับจิตบำบัดอื่น ๆ ACT จะมีผลดีที่สุดถ้าใช้พร้อมกับยา[ต้องการอ้างอิง]
การบำบัดการอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้[แก้]
การบำบัดการอดทนต่อความไม่แน่นอนไม่ได้ (Intolerance of uncertainty therapy, IUT) พุ่งความสนใจไปที่ปฏิกิริยาเชิงลบที่สม่ำเสมอต่อเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนหรือไม่ชัดเจน ไม่ว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ใไหน IUT สามารถใช้เป็นการรักษาเดี่ยว ๆ สำหรับคนไข้โรคนี้ IUT ช่วยคนไข้ให้พัฒนาสมรรถภาพในการอดทน รับมือ และยอมรับความไม่แน่นอนในชีวิตเพื่อลดความกังวล โดยใช้หลักจิตวิทยาต่าง ๆ รวมทั้ง การให้ความรู้เกี่ยวกับจิต ความสำนึกรู้ถึงความกังวล การฝึกแก้ปัญหา การประเมินประโยชน์ของความกังวล การจินตนาการถึงสถานการณ์ที่ทำให้กังวล ความรู้จักความไม่แน่นอน และการเปิดรับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน งานศึกษาหลายงานแสดงประสิทธิผลของการรักษานี้สำหรับคนไข้ GAD โดยความดีขึ้นจะคงยืนแม้ในช่วงติดตามหลังการรักษา[35]
การสัมภาษณ์แบบให้กำลังใจ[แก้]
ฺวิธีการที่นำสมัยดูจะมีอนาคตอย่างหนึ่งในการเพิ่มอัตราฟื้นสภาพของคนไข้ GAD ก็คือการรักษาด้วย CBT บวกกับการสัมภาษณ์แบบให้กำลังใจ (Motivational Interviewing, MI) ซึ่งเป็นกลยุทธ์มีศูนย์ที่คนไข้โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มกำลังใจที่มีอยู่แล้ว และลดความรู้สึกคละ/ไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงที่มาจากการรักษา MI มีหลักสำคัญ 4 อย่าง คือ
- แสดงความเห็นอกเห็นใจ
- แสดงความขัดแย้งกันระหว่างพฤติกรรมที่ไม่ต้องการกับค่านิยมของคนไข้
- ดำเนินการแบบฝืน ไม่ใช่แบบเผชิญหน้าตรง ๆ
- ให้กำลังใจว่าคนไข้สามารถประสบผลสำเร็จได้
เป็นวิธีการที่อาศัยการถามคำถามแบบมีปลายเปิด แล้วฟังอย่างดี โดยพูดสะท้อนสิ่งที่เข้าใจให้คนไข้ฟัง (reflective listening), ชักชวนให้คุยเรื่องการเปลี่ยนแปลง, และคุยกับคนไข้ถึงข้อดีข้อเสียของการเปลี่ยนแปลง มีงานศึกษาบางงานที่แสดงว่าการรักษา CBT ร่วมด้วยกับ MI มีประสิทธิภาพดีกว่ารักษาด้วย CBT เพียงอย่างเดียว[35]
ยา[แก้]
งานปฏิทรรน์สากลที่ทบทวนการบริหารโรค GAD ของจิตแพทย์แสดงว่า ยาอันดับแรกที่เลือกใช้ในการรักษาคือ SSRI ที่ 80% ตามด้วย serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) ที่ 43% และ pregabalin ที่ 35% ยาอันดับสองคือ SNRIs ที่ 41% และ pregabalin ที่ 36%[41]
Selective serotonin reuptake inhibitors[แก้]
ยาที่ใช้รักษา GAD รวมยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs)[37] ซึ่งเป็นยาที่แพทย์เลือกเป็นอันดับแรก (first line)[41] ยากลุ่ม SSRI ที่ใช้เพื่อการนี้รวมทั้ง escitalopram[42] และ paroxetine[43]
อาการข้างเคียงที่สามัญรวมทั้งคลื่นไส้ อวัยวะเพศไม่ทำงาน (sexual dysfunction) ปวดหัว ท้องเสีย ท้องผูก อยู่ไม่สุข (Psychomotor agitation) โอกาสเสี่ยงฆ่าตัวตายสูงขึ้นในวัยรุ่นและผู้ใหญ่วัยต้น[44] อาการเซโรโทนินเป็นพิษ (serotonin syndrome) เมื่อใช้ยาเกิน และผลข้างเคียงอื่น ๆ
Benzodiazepines[แก้]
ยากลุ่ม Benzodiazepines ก็มักให้แก่คนไข้ GAD ด้วย งานศึกษาแสดงว่า ยาช่วยบรรเทาอาการในระยะสั้น แต่เสี่ยง เพราะทำให้การรู้คิดและการเคลื่อนไหวบกพร่อง และเนื่องจากทำให้ติดทั้งทางกายใจ คนไข้จึงอาจมีปัญหาหยุดใช้ยา มีข้อสังเกตว่า คนไข้ที่ใช้ยา benzodiazepines ไม่ค่อยตื่นตัวทั้งในที่ทำงานหรือในสถาบันการศึกษา นอกจากนั้นแล้ว ยาอาจสร้างปัญหาในการขับรถ และบ่อยครั้งสัมพันธ์กับการล้มในผู้สูงอายุ ซึ่งมีผลเป็นกระดูกตะโพกแตก ผลเสียเหล่านี้ทำให้ benzodiazepines เหมาะใช้บรรเทาความกังวลในระยะสั้นเท่านั้น[45] CBT และยามีประสิทธิผลใกล้เคียงกันในระยะสั้น แต่ว่า CBT จะได้เปรียบในระยะยาว[46]
Benzodiazepines เป็นยาระงับประสาทที่ช่วยให้นอนหลับ ที่ใช้ในการรักษา GAD และโรควิตกกังวลอื่น ๆ ด้วย[37] โดยแพทย์จะให้ Benzodiazepine สำหรับ GAD เพราะแสดงผลดีในระยะสั้น ยาจากกลุ่มนี้ที่นิยมก็คือ alprazolam, lorazepam, และคโลนะเซแพม แต่ว่า คณะกรรมการโรควิตกกังวลโลก (World Council of Anxiety) ไม่แนะนำให้ใช้ยาในระยะยาวเพราะว่าสัมพันธ์กับการดื้อยา ความพิการทางการเคลื่อนไหว ปัญหาทางการรู้คิดและความจำ การติดยาทางกายภาพ และอาการขาดยาเมื่อหยุดยา (benzodiazepine withdrawal syndrome)[47][48] ผลข้างเคียงรวมทั้งง่วงนอน ร่างกายทำงานไม่ประสาน และปัญหาการทรงตัว (equilibrioception)
Pregabalin และ gabapentin[แก้]
Pregabalin (Lyrica) มีฤทธิ์ต่อช่องไอออนแคลเซียมที่ขึ้นกับศักย์ไฟฟ้า (voltage-dependent calcium channel) และลดการปล่อยสารสื่อประสาทเช่น กลูตาเมต, norepinephrine และ substance P ฤทธิ์ของยาจะปรากฏหลังจากเริ่มยา 1 สัปดาห์ และมีประสิทธิผลใกล้เคียงกับ lorazepam, alprazolam, และ venlafaxine แต่ได้เปรียบตรงที่ให้ผลการรักษาที่สม่ำเสมอเสมอกว่าต่ออาการวิตกกังวลทั้งทางกายใจ การทดลองระยะยาวแสดงประสิทธิผลที่คงยืนโดยไม่เกิดการดื้อยา นอกจากนั้นแล้ว โดยไม่เหมือน benzodiazepine มันไม่เปลี่ยนลำดับของการนอนหลับ (sleep architecture) และมีผลเสียน้อยกว่าต่อการรู้คิดและทางการเคลื่อนไหว ยายังมีโอกาสน้อยที่จะติดหรือใช้เป็นสิ่งเสพติด ดังนั้น จึงอาจดีกว่า benzodiazepines เพราะเหตุเหล่านี้[49][50] ผลคลายความกังวลของ pregabalin ปรากฏอย่างรวดเร็วหลังเริ่มรับประทานโดยคล้ายกับ benzodiazepines ซึ่งทำให้ได้เปรียบยาคลายกังวลหลายอย่างรวมทั้งยาแก้ซึมเศร้า[51]
ส่วนยา Gabapentin (Neurontin) เป็นยาที่ใกล้เคียงกับ pregabalin และมีฤทธิ์อย่างเดียวกัน และก็แสดงประสิทธิผลในการรักษา GAD ด้วย[52] แต่ไม่เหมือนกับ pregabalin มันยังไม่ได้อนุมัติเพื่อรักษาโรคนี้โดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี มันน่าจะมีประโยชน์เช่นเดียวกันในการบริหารโรคนี้ และเพราะว่าหมดอายุสิทธิบัตรแล้ว ก็จะได้เปรียบในเรื่องราคาย่อมเยาด้วย[53] ดังนั้น แพทย์จึงสั่งยานี้บ่อยครั้งเพื่อรักษา GAD[54]
ยาทางจิตเวชที่สามารถใช้รักษาอื่น ๆ[แก้]
- 5-HT1A receptor partial agonist เช่น buspirone (BuSpar) และ tandospirone (Sediel)
- Serotonin-norepinephrine reuptake inhibitors (SNRIs) เช่น venlafaxine (Effexor) และ duloxetine (Cymbalta)
- ยาแก้ซึมเศร้าที่มีผลต่อระบบเซโรโทนิน (serotonergic) นอกแบบ เช่น vilazodone (Viibryd), vortioxetine (Brintellix), และ agomelatine (Valdoxan)
- Tricyclic antidepressants (TCAs) เช่น imipramine (Tofranil) และ clomipramine (Anafranil) .
- monoamine oxidase inhibitors (MAOIs) บางอย่าง เช่น moclobemide (Aurorix) และที่ใช้น้อย คือ phenelzine (Nardil).
ยาอื่น ๆ[แก้]
- ไฮดร๊อกซิซีน (Atarax) - ซึ่งเป็นสารต้านฮิสตามีน และ 5-HT2A receptor antagonist
- โพรพาโนลอล (Inderal), Prazosin - เป็นยา Sympatholytic และเบต้า บล็อกเกอร์
- Prazosin - เป็นยา Sympatholytic และอัลฟา บล็อกเกอร์
- Clonidine, Guanfacine - เป็นยา Sympatholytic และ α2-adrenergic receptor agonist
การเกิดร่วมกับโรคอื่น[แก้]
โรคซึมเศร้า[แก้]
งานสำรวจโรคที่เกิดร่วมกันของสหรัฐอเมริกาปี 2548 พบว่า 58% ของคนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้า (MDD) มีโรควิตกกังวลอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย ในบรรดาคนไข้เหล่านั้น อัตราการเกิดร่วมกับ GAD อยู่ที่ 17.2% และกับโรคตื่นตระหนกที่ 9.9% คนไข้ที่วินิจฉัยว่าเป็นโรควิตกกังวลยังมีโรคซึมเศร้าเกิดร่วมด้วยในอัตราที่สูง รวมทั้งคนไข้โรคกลัวสังคม (SAD) 22.4% คนไข้โรคกลัวที่ชุมชน (agoraphobia) ที่ 9.4% คนไข้โรคตื่นตระหนกที่ 2.3%[ต้องการอ้างอิง] ส่วนงานศึกษาตามยาวตามรุ่น (longitudinal cohort study) พบว่าผู้ร่วมงานศึกษา 12% จาก 972 คนมี GAD ร่วมกับ MDD[55]
หลักฐานที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แสดงว่า คนไข้ที่มีโรคซึมเศร้าร่วมกับโรควิตกกังวลมักจะมีอาการหนักกว่าและตอบสนองต่อการรักษาน้อยกว่าคนไข้ที่มีโรคเพียงอย่างเดียว[56] นอกจากนั้นแล้ว การดำเนินชีวิตทางสังคมและคุณภาพชีวิตก็แย่กว่ามาก แต่สำหรับคนเป็นจำนวนมาก อาการทั้งของโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวลไม่รุนแรงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ dysthymia ซึ่งเป็นความผิดปกติทางอารมณ์อย่างหนึ่ง ก็ยังเป็นโรคร่วมชุกที่สุดในคนไข้ GAD คนไข้ยังสามารถจัดได้ว่าเป็นโรคผสมระหว่างโรควิตกกังวล-โรคซึมเศร้า (mixed anxiety-depressive disorder) ซึ่งเสี่ยงต่อโรควิตกกังวลหรือโรคซึมเศร้าอย่างเต็มตัวสูงขึ้นอย่างสำคัญ[ต้องการอ้างอิง]
การเสพสาร[แก้]
คนไข้ GAD มีความชุกตลอดชีวิตที่จะเกิดโรคร่วมกับโรคจิตที่เกิดจากการเสพสุรา (alcohol use disorder) ที่ 30-35% และจากการเสพสารอื่น ๆ (substance use disorder) ที่ 25-30%[57] และคนไข้ที่มีทั้ง GAD และเสพสารเสพติดยังมีความชุกตลอดชีวิตที่จะเป็นโรคอื่นร่วมด้วยที่สูงกว่า[57] งานศึกษาหนึ่งพบว่า GAD เป็นโรคหลักในคนไข้กว่าครึ่งหนึ่งในบรรดา 18 คนที่ร่วมการศึกษาผู้มีโรคร่วมเป็นโรคจิตที่เกิดจากการเสพสุรา[58]
โรคร่วมอื่น ๆ[แก้]
นอกจากจะเกิดร่วมกับโรคซึมเศร้าแล้ว งานวิจัยแสดงว่า GAD ยังบ่อยครั้งเกิดร่วมกับโรคอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับความเครียด เช่น กลุ่มอาการลำไส้ไวเกินต่อการกระตุ้น (IBS)[59] คนไข้ GAD บางครั้งจะมีอาการนอนไม่หลับ หรือปวดหัว ร่วมกับความเจ็บปวด ปัญหาโรคหัวใจ หรือปัญหาความสัมพันธ์กับคนอื่น[60] งานวิจัยอื่นแสดงว่า คนไข้โรคสมาธิสั้น (ADHD) 20-40% มีโรควิตกกังวลเป็นโรคร่วม โดยมี GAD สามัญที่สุด[61]
โรคร่วมและการรักษา[แก้]
งานศึกษาปี 2553 เกี่ยวกับการเกิดร่วมของโรค GAD และโรคซึมเศร้าอื่น ๆ แสดงว่า การรักษาไม่ได้มีประสิทธิผลที่ดีกว่าหรือแย่กว่าเมื่อมีโรคเกิดร่วมกัน[62] ความรุนแรงของอาการยังไม่มีผลต่อการรักษาในกรณีเหล่านี้ด้วย
วิทยาการระบาด[แก้]
โปรเจ็กต์ภาระโรคของโลก (Global Burden of Disease) ขององค์การอนามัยโลกไม่ได้รวม GAD[63] ดังนั้น แทนที่สถิติทั่วโลก นี่เป็นอัตราความชุกโรคจากรอบ ๆ โลก
- ออสเตรเลีย ผู้ใหญ่ 3%[63]
- แคนาดา ผู้ใหญ่ 3-5%[ต้องการอ้างอิง]
- อิตาลี 2.9%[64]
- ไต้หวัน 0.4%[64]
- สหรัฐอเมริกา ประมาณ 3.1% ของคนอายุ 18 ปีขึ้นในปีหนึ่ง ๆ (ประมาณ 9.5 ล้านคน)[6]
อายุที่เริ่มเป็นโรคต่าง ๆ กัน เริ่มตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุ โดยมีอายุมัธยฐานประมาณ 31 ปี[65] และอายุเฉลี่ยที่ 32.7 ปี[66] งานศึกษาโดยมากพบว่า GAD เกิดขึ้นเมื่ออายุน้อยกว่าและค่อย ๆ เกิด เทียบกับโรควิตกกังวลอื่น ๆ ความชุกของ GAD ในเด็กอยู่ที่ประมาณ 3% ส่วนในวัยรุ่นมีรายงานว่าสูงถึง 10.8%[67] ถ้าเด็กหรือวัยรุ่นเป็น GAD ก็มักจะเริ่มที่อายุ 8-9 ขวบ[68]
กลุ่มประชากรที่วินิจฉัยว่าเป็น GAD ในอัตราที่สูงกว่าคือบุคคลที่มีความกดดันสูงจากประเพณีและสังคม รวมทั้งคนที่มีฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจต่ำและปานกลาง คนที่แยกอยู่จากคู่ชีวิต หย่า หรือเป็นม่าย หญิงมีโอกาสเป็นมากกว่าชาย 2 เท่า โดยหลักก็เพราะว่าหญิงมีโอกาสยากจน ถูกเกียดกัน และถูกทารุณกรรมทั้งทางเพศและทางกายมากกว่า[69] ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกามีโอกาสมี GAD สูงกว่า ที่มักจะปรากฏในรูปแบบที่ต่างจากปกติ[70][71] กลุ่มอื่นที่มีโอกาสมีโรคสูงกว่า ก็คือคนที่อยู่คนเดียว มีการศึกษาต่ำ และไม่มีงานทำ[72] GAD ยังเป็นโรคสามัญในผู้สูงอายุ[73]
เทียบกับกลุ่มประชากรปกติ คนไข้ที่มีโรคจิตและพฤติกรรมที่เก็บความรู้สึก/ปัญหาไม่บอกคนอื่น เช่น โรคซึมเศร้า GAD และความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ (PTSD) จะมีอัตราการเสียชีวิตที่สูงกว่า แม้ว่าจะเสียชีวิตจากโรคที่สัมพันธ์กับอายุเหมือนกับกลุ่มประชากรปกติ เช่น โรคหัวใจ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง และมะเร็ง[74]
เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]
- ↑ บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับประเทศไทย ICD-10-TM
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 Association, American Psychiatric (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders : DSM-5 (5th ed.). Washington, D.C.: American Psychiatric Association. p. 222. ISBN 978-0-89042-554-1.
- ↑ 3.0 3.1 "What Is Generalized Anxiety Disorder?". National Institute of Mental Health. สืบค้นเมื่อ 2008-05-28.
- ↑ Torpy, Janet M.; Burke, AE; Golub, RM (2011). "Generalized Anxiety Disorder". JAMA. 305 (5): 522. doi:10.1001/jama.305.5.522. PMID 21285432.
- ↑ 5.0 5.1 International Classification of Diseases ICD-10
- Also diagnositic details in Barton, Samantha; Karner, Charlotta; Salih, Fatima; Baldwin, David S; Edwards, Steven J (2014-08). "Clinical effectiveness of interventions for treatment-resistant anxiety in older people: a systematic review" (PDF). Health Technology Assessment. 18 (50). Appendix 1, pp. 43-48. doi:10.3310/hta18500. ISSN 1366-5278.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
- Also diagnositic details in Barton, Samantha; Karner, Charlotta; Salih, Fatima; Baldwin, David S; Edwards, Steven J (2014-08). "Clinical effectiveness of interventions for treatment-resistant anxiety in older people: a systematic review" (PDF). Health Technology Assessment. 18 (50). Appendix 1, pp. 43-48. doi:10.3310/hta18500. ISSN 1366-5278.
- ↑ 6.0 6.1 "The Numbers Count". National Institute of Mental Health. สืบค้นเมื่อ 2007-05-28.
- ↑ Lieb, Roselind; Becker, Eni; Altamura, Carlo (2005). "The epidemiology of generalized anxiety disorder in Europe". European Neuropsychopharmacology. 15 (4): 445–52. doi:10.1016/j.euroneuro.2005.04.010. PMID 15951160.
- ↑ "In The Clinic: Generalized Anxiety Disorder". Annals Of Internal Medicine. 159 (11). 2013.
- ↑ Rickels, K; Schweizer, E (1990). "The clinical course and long-term management of generalized anxiety disorder". Journal of Clinical Psychopharmacology. 10 (3 Suppl): 101S–110S. doi:10.1097/00004714-199006001-00017. PMID 1973934.
- ↑ Spitzer, Robert L.; Kroenke, K; Williams, JB; Löwe, B (2006). "A Brief Measure for Assessing Generalized Anxiety Disorder". Archives of Internal Medicine. 166 (10): 1092–7. doi:10.1001/archinte.166.10.1092. PMID 16717171.
- ↑ Ballenger, JC; Davidson, JR; Lecrubier, Y; Nutt, DJ; Borkovec, TD; Rickels, K; Stein, DJ; Wittchen, HU (2001). "Consensus statement on generalized anxiety disorder from the International Consensus Group on Depression and Anxiety". The Journal of Clinical Psychiatry. 62 Suppl 11: 53–8. PMID 11414552.
- ↑ Hettema, J. M.; Neale, MC; Kendler, KS (2001). "A Review and Meta-Analysis of the Genetic Epidemiology of Anxiety Disorders". American Journal of Psychiatry. 158 (10): 1568–78. doi:10.1176/appi.ajp.158.10.1568. PMID 11578982.
- ↑ Donner, Jonas; Pirkola, Sami; Silander, Kaisa; Kananen, Laura; Terwilliger, Joseph D.; Lönnqvist, Jouko; Peltonen, Leena; Hovatta, Iiris (2008). "An Association Analysis of Murine Anxiety Genes in Humans Implicates Novel Candidate Genes for Anxiety Disorders". Biological Psychiatry. 64 (8): 672–80. doi:10.1016/j.biopsych.2008.06.002. PMC 2682432. PMID 18639233.
- ↑ Galanter, Marc (2008-07-01). The American Psychiatric Publishing Textbook of Substance Abuse Treatment (American Psychiatric Press Textbook of Substance Abuse Treatment) (4 ed.). American Psychiatric Publishing, Inc. p. 197. ISBN 978-1-58562-276-4.
- ↑ Ashton, Heather (2005). "The diagnosis and management of benzodiazepine dependence". Current Opinion in Psychiatry. 18 (3): 249–55. doi:10.1097/01.yco.0000165594.60434.84. PMID 16639148.
- ↑ Lindsay, S.J.E.; Powell, Graham E., บ.ก. (1998-07-28). The Handbook of Clinical Adult Psychology (2nd ed.). Routledge. p. 173. ISBN 978-0-415-07215-1.
- ↑ Cargiulo, T. (2007). "Understanding the health impact of alcohol dependence". American Journal of Health-System Pharmacy. 64 (5 Supplement 3): S5-11. doi:10.2146/ajhp060647. PMID 17322182.
- ↑ Wetterling, T; Junghanns, K (2000). "Psychopathology of alcoholics during withdrawal and early abstinence". European Psychiatry. 15 (8): 483–8. doi:10.1016/S0924-9338(00)00519-8. PMID 11175926.
- ↑ 19.0 19.1 Cohen, SI (1995). "Alcohol and benzodiazepines generate anxiety, panic and phobias". Journal of the Royal Society of Medicine. 88 (2): 73–7. PMC 1295099. PMID 7769598.
- ↑ Morissette, Sandra Baker; Tull, Matthew T.; Gulliver, Suzy Bird; Kamholz, Barbara Wolfsdorf; Zimering, Rose T. (2007). "Anxiety, anxiety disorders, tobacco use, and nicotine: A critical review of interrelationships". Psychological Bulletin. 133 (2): 245–72. doi:10.1037/0033-2909.133.2.245. PMID 17338599.
- ↑ Bruce, MS; Lader, M; Lader (2009). "Caffeine abstention in the management of anxiety disorders". Psychological Medicine. 19 (1): 211–4. doi:10.1017/S003329170001117X. PMID 2727208.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ 22.0 22.1 22.2 22.3 Etkin, Amit; Prater, Katherine E.; Schatzberg, Alan F.; Menon, Vinod; Greicius, Michael D. (2009). "Disrupted Amygdalar Subregion Functional Connectivity and Evidence of a Compensatory Network in Generalized Anxiety Disorder". Archives of General Psychiatry. 66 (12): 1361–72. doi:10.1001/archgenpsychiatry.2009.104. PMID 19996041.
- ↑ Möller, Hans-Jürgen; Bandelow, Borwin; Bauer, Michael; Hampel, Harald; Herpertz, Sabine C.; Soyka, Michael; Barnikol, Utako B.; Lista, Simone; Severus, Emanuel; Maier, Wolfgang (2014-08-26). "DSM-5 reviewed from different angles: goal attainment, rationality, use of evidence, consequences—part 2: bipolar disorders, schizophrenia spectrum disorders, anxiety disorders, obsessive-compulsive disorders, trauma- and stressor-related disorders, personality disorders, substance-related and addictive disorders, neurocognitive disorders". European Archives of Psychiatry and Clinical Neuroscience. 265: 87–106. doi:10.1007/s00406-014-0521-9.
- ↑ 24.0 24.1 Kessler, Ronald C.; Keller, Martin B.; Wittchen, Hans-Ulrich (2001-03-01). "The Epidemiology of Generalized Anxiety Disorder". Psychiatric Clinics of North America. doi:10.1016/S0193-953X(05)70204-5.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 Craighead, W. Edward (2013). Psychopathology: History, Diagnosis, and Empirical Foundations. John Wiley & Sons, Inc.
- ↑ Breslau, Naomi; Davis, Glenn C. (1985-07). "DSM-III generalized anxiety disorder: An empirical investigation of more stringent criteria". Psychiatry Research. doi:10.1016/0165-1781(85)90080-0.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Wittchen, Hans-Ulrich; Kessler, Ronald C.; Zhao, Shanyang; Abelson, Jamie (March–April 1995). "Reliability and clinical validity of UM-CIDI DSM-III-R generalized anxiety disorder". Journal of Psychiatric Research. doi:10.1016/0022-3956(94)00044-R.
{{cite journal}}
: CS1 maint: date format (ลิงก์) - ↑ Dinsmoor, Robert Scott; Odle, Teresa G. (2015). "Generalized Anxiety Disorder". The Gale Encyclopedia of Medicine. 4 (5): 2149–2150.
{{cite journal}}
:|access-date=
ต้องการ|url=
(help) - ↑ Bruce, M. S.; Lader, M. (2009). "Caffeine abstention in the management of anxiety disorders". Psychological Medicine. 19 (1): 211–4. doi:10.1017/S003329170001117X. PMID 2727208.
- ↑ Morissette, SB; Tull, MT; Gulliver, SB; Kamholz, BW; Zimering, RT (2007-03). "Anxiety, anxiety disorders, tobacco use, and nicotine: a critical review of interrelationships". Psychological Bulletin. 133 (2): 245–72. doi:10.1037/0033-2909.133.2.245. PMID 17338599.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Gould, Robert A.; Otto, Michael W.; Pollack, Mark H.; Yap, Liang (1997). "Cognitive behavioral and pharmacological treatment of generalized anxiety disorder: A preliminary meta-analysis". Behavior Therapy. 28 (2): 285–305. doi:10.1016/S0005-7894(97)80048-2.
- ↑ Bandelow, Borwin; Sher, Leo; Bunevicius, Robertas; Hollander, Eric; Kasper, Siegfried; Zohar, Joseph; Möller, Hans-Jürgen (June 2012). "Guidelines for the pharmacological treatment of anxiety disorders, obsessive–compulsive disorder and posttraumatic stress disorder in primary care" (PDF). International Journal of Psychiatry in Clinical Practice. 16 (2): 77–84. doi:10.3109/13651501.2012.667114. PMID 22540422. S2CID 16253034. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2018-04-03. สืบค้นเมื่อ 24 November 2015.
- ↑ 33.0 33.1 Behar, Evelyn; Dimarco, Ilyse Dobrow; Hekler, Eric B.; Mohlman, Jan; Staples, Alison M. (2009). "Current theoretical models of generalized anxiety disorder (GAD) : Conceptual review and treatment implications". Journal of Anxiety Disorders. 23 (8): 1011–23. doi:10.1016/j.janxdis.2009.07.006. PMID 19700258.
- ↑ Ruiz, F. J. (2010). "A review of Acceptance and Commitment Therapy (ACT) empirical evidence: Correlational, experimental psychopathology, component and outcome studies". International Journal of Psychology and Psychological Therapy. 10 (1): 125–62.
- ↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 35.4 35.5 Hoyer, Jürgen; van der Heiden, Colin; Portman, Michael E. (February 2011). "Psychotherapy for Generalized Anxiety Disorder". Psychiatric Annals. 41 (2): 87–94. doi:10.3928/00485713-20110203-07.
- ↑ "A Guide to Understanding Cognitive and Behavioural Psychotherapies". British Association for Behavioural and Cognitive Psychotherapies. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-05-05. สืบค้นเมื่อ 2007-05-29.
- ↑ 37.0 37.1 37.2 "Generalized anxiety disorder". Mayo Clinic. สืบค้นเมื่อ 2007-05-29.
- ↑ Barlow, DH (2007). Clincical Handbook of Psychological Disorders (4th ed.).[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Roemer, Lizabeth; Orsillo, Susan M. (2006). "Expanding Our Conceptualization of and Treatment for Generalized Anxiety Disorder: Integrating Mindfulness/Acceptance-Based Approaches with Existing Cognitive-Behavioral Models". Clinical Psychology: Science and Practice. 9: 54–68. doi:10.1093/clipsy.9.1.54.
- ↑ Smout, M (2012). "Acceptance and commitment therapy - pathways for general practitioners". Australian family physician. 41 (9): 672–6. PMID 22962641.
- ↑ 41.0 41.1 Baldwin, David S.; Allgulander, Christer; Bandelow, Borwin; Ferre, Francisco; Pallanti, Stefano (October 2012). "An international survey of reported prescribing practice in the treatment of patients with generalised anxiety disorder". The World Journal of Biological Psychiatry. 13 (7): 510–516. doi:10.3109/15622975.2011.624548. ISSN 1814-1412. PMID 22059936. S2CID 35359537.
- ↑ Bech P, Lönn SL, Overø KF (2010). "Relapse prevention and residual symptoms: a closer analysis of placebo-controlled continuation studies with escitalopram in major depressive disorder, generalized anxiety disorder, social anxiety disorder, and obsessive-compulsive disorder". Journal of Clinical Psychiatry. 71 (2): 121–9. doi:10.4088/JCP.08m04749blu. PMID 19961809.
- ↑ Wagstaff, Antona J.; Cheer, Susan M.; Matheson, Anna J.; Ormrod, Douglas; Goa, Karen L. (2002-01-01). "Paroxetine: an update of its use in psychiatric disorders in adults". Drugs. 62 (4): 655–703. doi:10.2165/00003495-200262040-00010. ISSN 0012-6667. PMID 11893234. S2CID 195692589.
- ↑ "Antidepressant Medications for Children and Adolescents: Information for Parents and Caregivers". NIMH. National Institute of Mental Health. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-03-01. สืบค้นเมื่อ 2015-09-01.
- ↑ Barlow, DH; Durand, VM (2009). Abnormal Psychology: An Integrative Approach (5th ed.). Belmont: Wadsworth Cengage Learning.[ต้องการเลขหน้า]
- ↑ Durham, Rob C. (2007). "Treatment of generalized anxiety disorder". Psychiatry. 6 (5): 183–187. doi:10.1016/j.mppsy.2007.03.003.
- ↑ Allgulander, C; Bandelow, B; Hollander, E; Montgomery, SA; Nutt, DJ; Okasha, A; Pollack, MH; Stein, DJ; Swinson, RP; World Council Of, Anxiety (2003). "WCA recommendations for the long-term treatment of generalized anxiety disorder". CNS spectrums. 8 (8 Suppl 1): 53–61. PMID 14767398.
- ↑ Stewart, S.; Westra, H. (2002). "Introduction to the Special Issue on: Benzodiazepine Side-Effects: From the Bench to the Clinic". Current Pharmaceutical Design. 8 (1): 1–3. doi:10.2174/1381612023396708. PMID 11812246.
- ↑ Bandelow, Borwin; Wedekind, Dirk; Leon, Teresa (2007). "Pregabalin for the treatment of generalized anxiety disorder: A novel pharmacologic intervention". Expert Review of Neurotherapeutics. 7 (7): 769–81. doi:10.1586/14737175.7.7.769. PMID 17610384.
- ↑ Owen, R.T. (2007). "Pregabalin: Its efficacy, safety and tolerability profile in generalized anxiety". Drugs of Today. 43 (9): 601–10. doi:10.1358/dot.2007.43.9.1133188. PMID 17940637.
- ↑ Wensel, T. M.; Powe, K. W.; Cates, M. E. (2012). "Pregabalin for the Treatment of Generalized Anxiety Disorder". Annals of Pharmacotherapy. 46 (3): 424–9. doi:10.1345/aph.1Q405. PMID 22395254.
- ↑ Rif S. El-Mallakh; S. Nassir Ghaemi (2007-04-02). Bipolar Depression: A Comprehensive Guide. American Psychiatric Pub. p. 158. ISBN 978-1-58562-651-9.
- ↑ Stephen M. Stahl; Bret A. Moore (2013-02-13). Anxiety Disorders: A Guide for Integrating Psychopharmacology and Psychotherapy. Routledge. p. 65. ISBN 978-1-136-44588-0.
- ↑ Reynolds, D John; Coleman, Jamie; Aronson, Jeffrey (2011-11-10). Oxford Handbook of Practical Drug Therapy. Oxford University Press. p. 765. ISBN 978-0-19-956285-5.
- ↑ Moffitt, Terrie E.; Harrington, H; Caspi, A; Kim-Cohen, J; Goldberg, D; Gregory, AM; Poulton, R (2007). "Depression and Generalized Anxiety Disorder". Archives of General Psychiatry. 64 (6): 651–60. doi:10.1001/archpsyc.64.6.651. PMID 17548747.
- ↑ Wolitzky-Taylor, Kate B.; Castriotta, Natalie; Lenze, Eric J.; Stanley, Melinda A.; Craske, Michelle G. (2010). "Anxiety disorders in older adults: A comprehensive review". Depression and Anxiety. 27 (2): 190–211. doi:10.1002/da.20653. PMID 20099273.
- ↑ 57.0 57.1 Scott, EL (2011-09-06). "Anxiety Disorders With Comorbid Substance Abuse". Psychiatric Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-12. สืบค้นเมื่อ 2013-07-01.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Smith, Joshua P.; Book, Sarah W. (2010). "Comorbidity of generalized anxiety disorder and alcohol use disorders among individuals seeking outpatient substance abuse treatment". Addictive Behaviors. 35 (1): 42–5. doi:10.1016/j.addbeh.2009.07.002. PMC 2763929. PMID 19733441.
- ↑ Lee, S.; Wu, J.; Ma, Y. L.; Tsang, A.; Guo, W.-J.; Sung, J. (2009). "Irritable bowel syndrome is strongly associated with generalized anxiety disorder: A community study". Alimentary Pharmacology & Therapeutics. 30 (6): 643–651. doi:10.1111/j.1365-2036.2009.04074.x. PMID 19552631.
- ↑ http://web.a.ebscohost.com.une.idm.oclc.org/ehost/pdfviewer/pdfviewer?sid=250bfc45-6db0-46c5-9d2a-21828b2116ea%40sessionmgr4002&vid=4&hid=4112
- ↑ Stephen V. Faraone, PhD; Arun R. Kunwar, MD. "ADHD in Children With Comorbid Conditions: ADHD and Anxiety". Medscape. สืบค้นเมื่อ 2013-01-15.
{{cite web}}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์) - ↑ Newman, Michelle; Przeworski, Amy; Fisher, Aaron; Borkovec, Thomas (2010). "Diagnostic Comorbidityin Adults With Generalized Anxiety Disorder: Impact of Comorbidity on Psychotherapy Outcome and Impact of Psychotherapy on Comorbidity Diagnoses". Behav Ther. 41: 59–72. doi:10.1016/j.beth.2008.12.005. PMC 2827339. PMID 20171328.
- ↑ 63.0 63.1 "Relating the burden of anxiety and depression to effectiveness of treatment" (PDF). World Health Organization. 2000.
- ↑ 64.0 64.1 Yates, William R. "Anxiety Disorders". eMedicine.
- ↑ Kessler, Ronald C.; Chiu, WT; Demler, O; Merikangas, KR; Walters, EE (2005). "Prevalence, Severity, and Comorbidity of 12-Month DSM-IV Disorders in the National Comorbidity Survey Replication". Archives of General Psychiatry. 62 (6): 617–27. doi:10.1001/archpsyc.62.6.617. PMC 2847357. PMID 15939839.
- ↑ Grant, Bridget F.; Hasin, Deborah S.; Stinson, Frederick S.; Dawson, Deborah A.; June Ruan, W.; Goldstein, Risë B.; Smith, Sharon M.; Saha, Tulshi D.; Huang, Boji (2005). "Prevalence, correlates, co-morbidity, and comparative disability of DSM-IV generalized anxiety disorder in the USA: Results from the National Epidemiologic Survey on Alcohol and Related Conditions". Psychological Medicine. 35 (12): 1747–59. doi:10.1017/S0033291705006069. PMID 16202187.
- ↑ Albano, Anne Marie; Chorpita, Bruce F.; Barlow, David H. (2003). "Childhood Anxiety Disorders". ใน Mash, Eric J.; Barkley, Russell A. (บ.ก.). Child Psychopathology (2nd ed.). New York: Guilford Press. pp. 279–329. ISBN 978-1-57230-609-7.
- ↑ Keeton, CP; Kolos, AC; Walkup, JT (2009). "Pediatric generalized anxiety disorder: epidemiology, diagnosis, and management". Paediatric Drugs. 11 (3): 171–83. doi:10.2165/00148581-200911030-00003. PMID 19445546. S2CID 39870253.
- ↑ Schacter, Daniel L.; Gilbert, Daniel T.; Wegner, Daniel M. (2011). "Generalized Anxiety Disorders". Psychology (2nd ed.). New York: Worth, Incorporated. pp. 559–560.
- ↑ Soto, José A.; Dawson-Andoh, Nana A.; Belue, Rhonda (March 2011). "The relationship between perceived discrimination and Generalized Anxiety Disorder among African Americans, Afro Caribbeans, and non-Hispanic Whites". Journal of Anxiety Disorders. 25 (2): 258–265. doi:10.1016/j.janxdis.2010.09.011. PMC 3053120. PMID 21041059.
- ↑ Neal, Angela M.; Turner, Samuel M. (May 1991). "Anxiety disorders research with African Americans: Current status". Psychological Bulletin. 109 (3): 400–410. doi:10.1037/0033-2909.109.3.400. PMID 2062979.
- ↑ "Socioeconomic correlates of generalized anxiety disorder and major depression in primary care: The GADIS II study (Generalized Anxiety and Depression Impact Survey II)". Depression and Anxiety. 2007-06-26. doi:10.1002/da.20306.
- ↑ Cameron, Alasdair (2004). Crash Course Psychiatry. Elsevier Ltd. ISBN 0-7234-3340-2.
- ↑ Shalev, I; Moffitt, Terrie Edith; Braithwaite, A W; Danese, A; Fleming, N I; Goldman-Mellor, S; Harrington, H L; Houts, R M; Israel, S; Poulton, R; Robertson, S P; Sugden, K; Williams, B; Caspi, A; และคณะ (2014-01-14). "Internalizing disorders and leukocyte telomere erosion: a prospective study of depression, generalized anxiety disorder and post-traumatic stress disorder" (PDF). Molecular Psychiatry. 19 (11): 1163–1170. doi:10.1038/mp.2013.183. PMC 4098012. PMID 24419039. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-04-23. สืบค้นเมื่อ 21 April 2014.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Brown, TA; O'Leary, TA; Barlow, DH (2001). Generalised anxiety disorder. In D.H. Barlow (Ed.), Clinical handbook of psychological disorders: A step-by-step treatment manual (3rd ed.). New York: Guilford Press.
- Barlow, DH; Durand, VM (2005). Abnormal psychology: An integrative approach. Australia; Belmont, CA: Wadsworth.
- Tyrer, Peter; Baldwin, David (2006). "Generalised anxiety disorder". The Lancet. 368 (9553): 2156–66. doi:10.1016/S0140-6736(06)69865-6. PMID 17174708.
- Mayo Clinic - Information on diagnosis and treatment for GAD
- WebMD - Information on symptoms and causes of GAD
- Anxiety Disorders Association of America - Information for families, clinicians and researchers
- Generalized Anxiety Disorder on Medium - A patient's perspective
- CS1 maint: uses authors parameter
- CS1: abbreviated year range
- CS1 errors: access-date without URL
- บทความวิกิพีเดียที่ต้องการอ้างอิงหมายเลขหน้าตั้งแต่2013-11
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่2014-03
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่2013-06
- บทความที่ขาดแหล่งอ้างอิงเฉพาะส่วนตั้งแต่2010-11
- โรควิตกกังวล
- โรคประสาท ความผิดปกติที่สัมพันธ์กับความเครียด และโรคโซมาโตฟอร์ม
- การวินิจฉัยจิตเวช