การแสดงลามกอนาจาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การแสดงลามกอนาจาร[1] (อังกฤษ: Indecent exposure) เป็นการแสดงส่วนหนึ่งหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายของบุคคล ต่อหน้าชุมนุมชนหรือในที่ที่สาธารณชนสามารถมองเห็นได้ ในสถานการณ์ที่เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ผิดไปจากมาตรฐานทางศีลธรรมหรือมาตรฐานอื่น ๆ เช่นความสงบเรียบร้อยของประชาชน ทัศนคติของสังคมและชุมชนเกี่ยวกับการแสดงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และกฎหมายที่ควบคุมการแสดงลามกอนาจาร แตกต่างกันอย่างสำคัญในประเทศต่าง ๆ ซึ่งห้ามตั้งแต่การแสดงบริเวณอวัยวะเพศ ก้น และหน้าอกหญิง แต่ว่าไม่ใช่ทุกประเทศที่มีกฎหมายเช่นนี้[ต้องการอ้างอิง] โดยประเทศไทยถือเป็นความผิดอาญาขั้นลหุโทษปรับไม่เกิน 500 บาท[2] การกระทำเช่นนี้บางครั้งก็เรียกว่า การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล (อังกฤษ: public indecency)

มาตรฐานความสุภาพเรียบร้อยขึ้นอยู่กับชุมชน ซึ่งบางครั้งจะกำหนดในกฎหมาย แต่อาจจะมีมูลฐานทางศาสนา ศีลธรรม หรือแม้แต่เพื่อให้ "เหมาะต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน"[3] การแสดงลามกอนาจารบางครั้งหมายถึง การแสดงอนาจาร (exhibitionism) หรือ การเปลือยกายในที่สาธารณะ (public nudity) แต่ไม่ได้หมายความจะต้องแสดงกิจกรรมทางเพศ แต่ถ้ามีกิจกรรมทางเพศ แม้ว่าจะไม่เปลือยกาย ก็อาจจะพิจารณาได้ว่าเป็น "การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล" และอาจจะผิดกฎหมายที่ร้ายแรงกว่า ในบางประเทศ การแสดงส่วนของร่างกายที่ผิดไปจากมาตรฐานชุมชนเกี่ยวกับความสุภาพเรียบร้อย (modesty) อาจจะจัดว่าเป็นการกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล[ต้องการอ้างอิง]

มาตรฐานทางกฎหมายและชุมชนว่า เปลื้องผ้าแค่ไหนเป็นการแสดงลามกอนาจารต่างกันมากมาย และยังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เกิดการแสดง และมาตรฐานเช่นนี้ก็ยังเปลี่ยนไปตามกาลเวลาอีกด้วย ทำให้นิยามของคำว่าการแสดงลามกอนาจารเป็นเรื่องยุ่งยาก[ต้องการอ้างอิง]

สาระสำคัญ[แก้]

อะไรเป็นการแสดงลามกอนาจารขึ้นอยู่กับมาตรฐานของความสุภาพเรียบร้อยในชุมชน ซึ่งต่าง ๆ กันไปเริ่มตั้งแต่มาตรฐานที่เข้มงวดเช่นในประเทศอัฟกานิสถานและซาอุดีอาระเบีย ซึ่งบังคับให้ปกปิดกายเกือบทั้งหมด จนไปถึงสังคมชนเผ่า เช่น คนปิราแฮน (Pirahã) หรือคนเมอร์สี (Mursi) ซึ่งการเปลือยทั้งหมดเป็นเรื่องปกติ[ต้องการอ้างอิง]

แม้ในชุมชนเดียวกัน อะไรเป็นอนาจารก็จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์ด้วย ยกตัวอย่างเช่น เป็นเรื่องปกติที่จะเห็นคนเปลือยในหาดเปลือยกาย แต่ว่า แม้แต่ในหาดเปลือยกาย ก็เป็นเรื่องที่ไม่ปกติที่จะเห็นกิจกรรมทางเพศแบบโจ่งแจ้ง[ต้องการอ้างอิง]

มาตรฐานความสุภาพเรียบร้อยต่าง ๆ กันตามกาลเวลา ยกตัวอย่างเช่น ในโลกตะวันตกสมัยวิกตอเรีย การแสดงขาและแขนเป็นบางส่วนของหญิง ถือเป็นเรื่องอนาจาร แม้แต่ผมก็ยังบังคับให้ปิดในงานพิธีต่าง ๆ โดยใช้หมวก จนถึงบางส่วนของคริสต์ทศวรรษ 1950 ทั้งชายและหญิงที่อาบหรือว่ายน้ำในที่สาธารณะ จะต้องใส่ชุดว่ายน้ำที่ปิดสูงจนเหนือเอว หญิงที่เปิดสะดือถือว่าเป็นอนาจารจนกระทั่งคริสต์ทศวรรษ 1970 และแม้แต่บางส่วนของ 1980 แต่ค่านิยมทางศีลธรรมก็ได้เปลี่ยนไปอย่างมากในช่วงทศวรรษ 1990 และ 2000 และดังนั้น เกณฑ์ของการแสดงอนาจารก็เปลี่ยนไปด้วย การแสดงสะดือไม่เป็นไรในช่วงทศวรรษ 1990 ในที่ต่าง ๆ เช่นชายหาด และในทศวรรษ 2000 การแสดงก้นก็ไม่เป็นไรถ้าใส่กางเกงว่ายน้ำแบบ thong แต่ในปัจจุบัน เป็นเรื่องค่อนข้างสามัญที่จะเห็นหญิงเปลือยท่อนบนในชายหาดสาธารณะทั่วยุโรปและอเมริกาใต้ และแม้แต่บางที่ในสหรัฐอเมริกา[ต้องการอ้างอิง]

ปรากฏการณ์ที่รู้จักกันว่า flashing เป็นการที่หญิงแสดงหัวนมโดยเปิดเสื้อหรือยกทรงขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่ไม่ได้ตั้งใจ แต่ว่าก็ยังเป็นการแสดงอนาจารในสาธารณชนและผิดกฎหมายหลายรัฐในสหรัฐอเมริกา[4]

แรงจูงใจในการแสดงอนาจารบางครั้งอาจจะเป็นเพราะว่ามันเป็นเรื่องแปลก เพื่อเรียกร้องความสนใจ ปลุกอารมณ์ทางเพศ หรือในกรณีที่เป็นการประท้วง เป็นการแสดงความดูถูกต่อพวกตรงข้าม ผลที่ได้รวมทั้งผลลบ อาจจะขยายผลเพราะมีการเผยแพร่ภาพหรือวิดีโอของเหตุการณ์ที่ตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ ซึ่งบางครั้งรวมการเปิดยื่นก้นให้ดูด้วย[ต้องการอ้างอิง]

ส่วนการให้ลูกดูดนมแม่ในที่สาธารณะไม่เป็นการแสดงอนาจารตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย หรือสกอตแลนด์[5] ในสหรัฐอเมริกา ทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลรัฐโดยมากได้ออกกฎหมายโดยเฉพาะ เพื่อป้องกันมารดาจากการก่อกวนโดยผู้อื่นเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งมีตั้งแต่ยกเว้นการให้ลูกดูดนมจากกฎหมายแสดงอนาจาร จนถึงการป้องกันสิทธิอย่างสมบูรณ์แบบเพื่อให้ลูกดูดนม[ต้องการอ้างอิง]

กฎหมายในเขตต่าง ๆ[แก้]

ไทย[แก้]

การเปลือยกายต่อหน้าธารกำนัลจัดเป็นการละเมิดกฎหมายอาญาขั้นลหุโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 388 ซึ่งเป็นการกระทำที่น่าอับอายหรือลามก เช่น เปลือยกาย เปิดอวัยวะเพศ หรือทำสิ่งที่น่าอับอายต่อหน้าธารกำนัลอย่างอื่น ๆ ปรับไม่เกิน 500 บาท ไม่มีโทษจำคุก[2][6][7] แต่การเผยแพร่สิ่งลามกทางสื่อหรือคอมพิวเตอร์จะทำให้ต้องโทษหนักกว่าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นได้[6]

อินเดีย[แก้]

กฎหมายอาญาอินเดีย (Indian Penal Code) บ่อยครั้งใช้เพื่อกล่าวหาผู้ที่ทำงานทางเพศด้วยอาชญากรรมที่คลุมเครือเช่นการกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล หรือว่าเป็นเหตุรำคาญต่อสาธารณชน โดยไม่นิยามให้ชัดเจนว่าอาชญากรรมเหล่านี้คืออะไรกันแน่

ออสเตรเลีย[แก้]

ผู้ประท้วงใส่แต่ป้ายยืนอยู่นอกศาล เพื่อประท้วงการจับกุมผู้จัดงานขี่จักรยานเปลือยโลกในเมืองออกแลนด์

ในรัฐและอาณาเขตของประเทศออสเตรเลีย การเปิดอวัยวะเพศของตน (ที่เรียกตามกฎหมายว่า การเปิดตน) ในที่สาธารณะหรือในที่เห็นได้จากที่สาธารณะ เป็นการละเมิดกฎหมายอาญาหรือกฎหมายที่ตัดสินอย่างรวบรัดได้[8] แต่ในบางเขต การเปิดอวัยวะเพศอย่างเดียวไม่ถือเป็นการละเมิดยกเว้นถ้าประกอบด้วการอนาจารอย่างอื่น ความตั้งใจที่จะก่อกวน หรือความตั้งใจไว้ก่อน แต่กฎหมายต่างกันในเขตต่าง ๆ และในบางเขตไม่มีการละเมิดโดยการแสดงลามกอนาจาร[ต้องการอ้างอิง]

การลงโทษต่าง ๆ กันในเขตต่าง ๆ รวมทั้ง

ยุโรป[แก้]

ในเขตสแกนดิเนเวีย การเปลือยกายเป็นเรื่องสบาย ๆ และการเปิดให้เห็นอวัยวะเพศหรือหัวนมไม่ถือว่าเป็นอนาจารหรือลามก ดังนั้น ทั้งกฎหมายและมุมมองของสังคมในเรื่องนี้จึงค่อนข้างสบาย ๆ[19] ในประเทศฟินแลนด์ เป็นเรื่องปกติที่จะอบไอน้ำแบบเปลือยทั้งตัว นักศึกษามหาวิทยาลัย โดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ ถึงกับมีประเพณี "การแสดงลามกอนาจาร"[โปรดขยายความ][20] ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในสถานที่ต่าง ๆ รวมทั้งหาดเปลือยกาย ห้องอบไอน้ำรวมเพศ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าของสระว่ายน้ำ การไม่ยอมถอดเสื้อผ้าเป็นเรื่องที่ถูกเพ่งเล็ง และถือว่าเป็นมรรยาทที่จะถอดเสื้อผ้า การเปลือยกายในเนเธอร์แลนด์เป็นเรื่องเกี่ยวกับเพศน้อยกว่าประเทศยุโรปตะวันตกอื่น ๆ การเปลือยกายในที่สาธารณะอนุญาตในสถานที่ที่กำหนดโดยเจ้าหน้าที่และ "สถานที่ที่สมควรอื่น ๆ"[21]

ในเมืองบาร์เซโลนา การเปลือยกายในที่สาธารณะเคยจัดเป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ว่า ในปี 2011 สภาเทศบาลได้ออกข้อบัญญัติห้ามการเดิน "เปลือยหรือเกือบเปลือยกายในที่สาธารณะ" และให้ใส่ชุดว่ายน้ำจำกัดเป็นที่รวมทั้งสระว่ายน้ำ ชายหาด ถนนที่อยู่ใกล้ ๆ หรือสถานที่เดินตามชายฝั่งทะเล

สหราชอาณาจักร[แก้]

ในประเทศอังกฤษและเวลส์ กฎหมายเกี่ยวกับ "การแสดงลามกอนาจาร" และความผิดทางเพศอื่น ๆ ได้เปลี่ยนมาเป็นกฎหมายที่จำเพาะเจาะจงและชัดเจนกว่าโดยการออกพระราชบัญญัติความผิดทางเพศ 2003 (Sexual Offences Act 2003) มาตราที่ 66 กฎหมายฉบัยนี้ไม่ได้กล่าวถึง "การเปลือยกาย" และบัญญัติโดยที่จะไม่สามารถใช้กับการว่ายน้ำเปลือย การอาบแดดเปลือย และกิจกรรมคล้าย ๆ กัน กฎหมายมุ่งบังคับใช้กับการแสดงอวัยวะเพศโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเขย่าขวัญบุคคลที่ไม่ต้องการเห็น โทษหนักที่สุดก็คือการจำคุก 2 ปี แต่เป็นการลงโทษที่เกิดน้อยมากเพราะโดยมากแค่ถูกปรับ[22][23] การเปลือยกายในที่สาธารณะยังสามารถลงโทษได้โดยเป็น "ความประพฤติที่ก่อกวนความสงบเรียบร้อยของประชาชน" ภายใต้กฎหมายว่าด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน 1986 (Public Order Act 1986) มาตรา 4A และ 5[24] นักร้องชาวอังกฤษจอร์จ ไมเคิลเคยถูกจับเพราะแสดงที่ลับให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่ง

ส่วนสถานะในไอร์แลนด์เหนือค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากว่ากฎหมายนี้บังคับใช้ในบางเขต แต่ไม่บังคับใช้ในเขตอื่น ในขณะที่สภากำลังพิจารณากฎหมายใหม่[ต้องการอ้างอิง] ส่วนสำหรับกฎหมายของสกอตแลนด์ การกระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัลอยู่ใต้บังคับของกฎหมายอาชญากรรมเกี่ยวกับการกระทำอนาจาร (Crimes of indecency)[ต้องการอ้างอิง]

นอกจากนั้นแล้ว กฎหมายของสหราชอาณาจักรคือกฎหมายว่าด้วยการจรจัด (Vagrancy Act 1824) ก็ยังบังคับใช้ในปัจจุบันซึ่งรวมมาตราคือ

"ทุกคนที่ตั้งใจเปิดกายอย่างเปิดเผย อย่างลามก อย่างอนาจารที่ถนนหนทางหรือในทางหลวง หรือในที่ที่มองเห็นได้ หรือว่าในที่ที่เป็นสาธารณะไหนก็ได้ โดยตั้งใจที่จะหมิ่นประมาทหญิง..."

สหรัฐอเมริกา[แก้]

ในสหรัฐอเมริกา รัฐบัญญัติในรัฐโดยมากห้ามการแสดงอวัยวะเพศหรือหัวนมหญิงในที่สาธารณะ แต่ก็มีบางรัฐที่ห้ามการเปลือยกายเท่านั้นแต่สามารถใช้ความตั้งใจที่จะเขย่าขวัญ กระตุ้น หรือรบกวนคนอื่นเป็นหลักฐานว่ามีพฤติกรรมดังที่ว่า ยกตัวอย่างเช่น ในรัฐโดยมาก เป็นอาชญากรรมมีโทษปรับหรือ/และจำคุก และ/หรือมีข้อบังคับและข้อจำกัดในฐานะเป็นผู้ทำผิดทางเพศที่ต้องลงทะเบียน บางรัฐยังอนุญาตให้เทศบาลในพื้นที่ตั้งมาตรฐานของตนเอง ส่วนในรัฐแคลิฟอร์เนีย การเปลือยกายในที่สาธารณะไม่ใช่อาชญากรรมทั่วทั้งรัฐตั้งแต่ศาลอุทธรณ์ตัดสินคดีในปี 2000 และไม่มีการดำเนินคดีหรือตัดสินว่าผิด แม้ว่าจะมีการจับบ้าง แต่ว่าเป็นกรณีที่พิเศษมาก[25] ส่วนรัฐเวอร์มอนต์เพียงแต่ห้าม "ความลามกที่เปิดเผยและหยาบช้า และพฤติกรรมที่เสื่อมเสียทางเพศ"[26] ซึ่งก็หมายความว่า ความเปลือยกายในที่สาธารณะหลายรูปแบบจึงถูกกฎหมาย

ส่วนการแสดงลามกอนาจารเป็นอาชญากรรมตามกฎหมายทหารมาตรา 120(n) ของกฎหมาย Uniform Code of Military Justice[27]

ข้อยกเว้นในการให้ลูกดูดนม[แก้]

รัฐโดยมากยกเว้นการให้ลูกดูดนมจากการดำเนินคดีตามกฎหมายเหล่านี้[28] และกฎหมายของรัฐบาลกลางที่ออกเมื่อปี 1999 อนุญาตโดยเฉพาะว่า หญิงสามารถจะให้ลูกดูดนมได้ในที่ไหนก็ได้ภายในอาคารหรือในสถานที่ของรัฐบาลกลาง ถ้าหญิงและลูกมีสิทธิที่จะอยู่ ณ ที่นั้น[29]

แคนาดา[แก้]

การวิ่งเปลือยกายผ่านที่สาธารณชนที่เรียกว่า "streaking" ทำระหว่างการแข่งขันกีฬา
การวิ่งเปลือยกายผ่านที่สาธารณชนที่เรียกว่า "streaking" ทำระหว่างการแข่งขันกีฬา

ในประเทศแคนาดา กฎหมายอาชญากรรมปี 1985[30] ห้ามการกระทำลามกอนาจาร[31] แต่ว่าไม่มีนิยามในกฎหมายว่าอะไรเป็นการกระทำลามกอนาจาร นอกจากการแสดงอวัยวะเพศหรือหัวนมหญิงเพื่อจุดประสงค์ทางเพศกับบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปี ดังนั้น การตัดสินว่าการเปลื้องผ้าแค่ไหน "อนาจาร" และผิดกฎหมาย จึงเป็นเรื่องขึ้นอยู่กับผู้พิพากษา ยกตัวอย่างเช่น ผู้พิพากษาได้ตัดสินว่า การอาบแดดเปลือยไม่เป็นอนาจาร[32] นอกจากนั้นแล้ว การวิ่งเปลือยกายผ่านที่สาธารณชนที่เรียกว่า "streaking" ก็ไม่เป็นอนาจารเช่นกัน[33][34] มาตรา 174 ห้ามการเปลือยกายถ้าเป็นการทำลายความสุภาพหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่ว่า ศาลถือว่าการว่ายน้ำเปลือยไม่เป็นการละเมิดตามนิยามนี้[35]

นอกจากนั้นแล้ว หญิงเปลือยท่อนบนก็ไม่เป็นอนาจารเช่นเดียวกัน มีหญิงคนหนึ่งปี 1991 ที่ถูกจับเมื่อเดินเปลือยท่อนบนที่ถนนในเมือง แต่ต่อมาปี 1996 ศาลอุทธรณ์ปล่อยตัวจำเลยในฐานะว่าการเปลือยท่อนบนไม่ใช่การกระทำทางเพศและไม่เป็นอนาจาร[36] ซึ่งต่อมาใช้เป็นคดีอ้างอิงว่า การเปลือยกายในที่สาธารณะเพียงอย่างเดียวโดยไม่เกี่ยวกับเพศ ไม่เป็นอนาจาร และไม่ใช่การละเมิดกฎหมาย[37] และตั้งแต่นั้นมา หญิงเดินเปลือยท่อนบนในที่สาธารณะทุกแห่งในรัฐออนแทรีโอจึงถูกกฎหมาย[38]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. "indecent exposure", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕, (นิติศาสตร์) การแสดงลามกอนาจาร
  2. 2.0 2.1 โกวิท ทาตะรัตน์. "แค่ไหนถึงจะเรียกว่า..อนาจาร". Lawyer Thai. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. "Indecent exposure". Merriam-Webster's Collegiate Dictionary (Tenth ed.). Merriam-Webster. 2001. p. 589. ISBN 0-87779-713-7.
  4. "Criminal Code". Topical Index: State Statutes 2. Cornell University Law School. สืบค้นเมื่อ 2010-09-14.
  5. Queen's Printer for Scotland. "Breastfeeding etc. (Scotland) Act 2005". สืบค้นเมื่อ 2007-05-22.
  6. 6.0 6.1 ชนินทร์ ศรีอาค๊ะ (2013-05-30). "เปลือยกายเต้นแน่นอก!!! อัฟลง Face book ผิดกฎหมายนะจ๊ะ". LawDDBlogging.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  7. "ประมวลกฎหมายอาญาไทย (ฉบับปรับปรุงเป็นปัจจุบัน)/ภาค ๓". th.wikisource.org. มาตรา ๓๘๘ (กระทำอนาจารต่อหน้าธารกำนัล). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-04-10.
  8. "NSWSC 452 - Regina v Eyles Matter No 60305/97 (1997)". 1997-10-01.
  9. "Crimes Act 1900 - Sect 393". Australian Capital Territory Consolidated Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  10. "Nudity Act 1976". Australian Capital Territory Consolidated Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  11. "Summary Offences Act 1988 - Sect 5". New South Wales Consolidated Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  12. "Summary Offences Act - Section 50". Northern Territory Consolidated Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  13. "Summary Offences Act 1953 - Section 23". South Australian Consolidated Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  14. "Summary Offences Act 2005 No. 4 - Section 9". Queensland Numbered Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  15. "Police Offences Act 1935 - Section 21". Tasmanian Consolidated Acts. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  16. "Summary Offences Act 1966 - Section 19". Victorian Consolidated Legislation. Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  17. "Nudity (Prescribed Areas) Act". Australasian Legal Information Institute. 1983.
  18. "WA Criminal Code Section 203". Australasian Legal Information Institute. สืบค้นเมื่อ 2012-08-23.
  19. Einhorn, Eric S.; Logue, John (2003). Modern Welfare States: Scandinavian Politics and Policy in the Global Age. Oxford: Harcourt. p. 309. ISBN 0-275-95044-1.
  20. "Viu-hah-hah-tajat". Ylioppilaslehti. 2003-03-03.
  21. "Nudity and the law". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12.
  22. Legislation.gov.uk (2003). "Sexual Offences Act 2003". Office of Public Sector Information. สืบค้นเมื่อ 2010-09-14.
  23. "Equality Act 2010". The National Archives. 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-01-26.
  24. "Freedom of expression - nakedness in a public place - UK Human Rights Blog". UK Human Rights Blog. 2013-10-31.
  25. "Lewd Conduct a Nuisance - Nude Lifestyle". San Francisco Chronicle. 2004-09-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-04-06.
  26. "Title 13: Crimes and Criminal Procedure, Chapter 59: Lewdness and Prostitution, 13 V.S.A. 2601. Lewd and lascivious conduct". The Vermont Statutes Online. สืบค้นเมื่อ 2006-10-15.
  27. "Article 120(n), Uniform Code of Military Justice". Cornell Law School.
  28. "Breastfeeding Laws". National Conference of State Legislatures. 2015-09. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)[ลิงก์เสีย]
  29. "U.S. Public Law 106-58 Sec. 647". United States Government Publishing Office.
  30. "Criminal Code of Canada, 1985, Part V, Sexual Offences". Efc.ca. 1985. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-15. สืบค้นเมื่อ 2013-03-14.
  31. Part 173(1) (a) of the Criminal Code provides, in part - Indecent acts - 173. (1) Every one who wilfully does an indecent act (a) in a public place in the presence of one or more persons...is guilty of an offence punishable on summary conviction.
  32. R. v. Beaupré, 1971, British Columbia Supreme Court. Held: "the phrase 'indecent act' connotes something more active, with greater moral turpitude than the mere state of being nude in a public place."
  33. R v Springer, 1975, Saskatchewan District Court
  34. R v Niman, 1974, Ontario Provincial Court
  35. R. v. Benolkin, 1977, Saskatchewan Court of the Queen's Bench. It was found that "It cannot be an offence to swim in the nude at a lonely place in Canada in summer. That is part of the pleasure of summer in Canada, particularly to young males. If somebody comes along unexpectedly or if the swimmer misjudged the loneliness of the place the act cannot suddenly become criminal.".
  36. "Judgment C12668, R. vs. Jacob". Province of Ontario Court of Appeal. 1996-12-09. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  37. See esp. para [49] and [55] "District of Maple Ridge v. Meyer, 2000 BCSC 902 (CanLII)". CanLII.
  38. See esp. para [2] "Topless in Guelph: I Started out as a Shy Event". Toronto Star. 2010-08-28.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]