การคุกคามทางเพศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพ ที่ทาเวิร์น (At the Tavern) โดย Johann Michael Neder ค.ศ. 1833 ในพิพิธภัณฑ์ทางด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เยอรมันนี

การคุกคามทางเพศ เป็นการคุกคามรูปแบบหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ดีทั้งกายและวาจา[1] การคุกคามทางเพศนั้นสามารถเกิดในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ที่ทำงาน ที่บ้าน โรงเรียน และอื่น ๆ เหยื่อของการคุกคามทางเพศนั้นสามารถเป็นเพศใดก็ได้[2]

ในบริบททางกฎหมายสมัยใหม่นั้นส่วนใหญ่แล้วการล่วงละเมิดทางเพศเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่ว่าคำจำกัดความทางกฎหมายของการล่วงละเมิดนั้นไม่ได้นับร่วม การล้อ การแหย่ การพูดโดยไม่คิด[3] การคุกคามทางเพศในที่ทำงานนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมายและถ้าหากเกิดขึ้นบ่อยสังคมในที่ทำงานนั้นจะก่อให้เกิดความไม่สบายใจต่อผู้ถูกกระทำจนนำไปสู่การออกจากตำแหน่งหรือลาออก อย่างไรก็ตามความเข้าใจทางกฎหมายและสังคมเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรม

การล่วงละเมิดทางเพศโดยนายจ้างเป็นหนึ่งในรูปแบบของการเลือกปฏิบัติที่ผิดกฎหมาย องค์กรหลายแห่งเริ่มมีการตั้งเป้าในการป้องกันไม่ให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและการปกป้องพนักงานจากการล่วงละเมิดทางเพศ

สถานการณ์[แก้]

การล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์และในสถานที่ต่าง ๆ เช่นโรงงาน โรงเรียน มหาวิทยาลัย โรงละคร และสถานบันเทิง[4][5][6][7][8][9][10] ซึ่งบ่อยครั้งที่ผู้กระทำมักมีอำนาจมากกว่าเหยี่อ (เนื่องจากมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ต่างกัน การศึกษา ตำแหน่งและอายุ) ความสัมพันธ์ของการล่วงละเมิดมีการระบุไว้หลายประการ:

  • ผู้กระทำผิดเป็นใครก็ได้ไม่ว่าจะเป็น ลูกค้า เพื่อนร่วมงาน พ่อ แม่ หรือผู้ปกครองตามกฎหมาย ญาติ ครูหรืออาจารย์ เพื่อนหรือคนแปลกหน้า
  • การล่วงละเมิดอาจเกิดขึ้นได้ที่ใดก็ได้ไม่ว่าจะเป็น โรงเรียน[11] วิทยาลัย สถานที่ทำงาน ที่สาธารณะและที่อื่น ๆ
  • การล่วงละเมิดเกิดขึ้นได้ไม่ว่าจะมีพยานรู้เห็นหรือไม่
  • ผู้กระทำผิดอาจไม่รู้ว่าพฤติกรรมของตนเป็นการคุกคามหรือก่อให้เกิดการล่วงละเมิดทางเพศและไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย[2]
  • การล่วงละเมิดอาจเกิดขึ้นได้แม้บุคคลเป้าหมายไม่ทราบหรือเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
  • เกิดผลกระทบต่อเหยื่อทำให้เกิดความเครียด ไม่อยากเข้าสังคม นอนไม่หลับ กินอาหารไม่ได้ และความผิดปกติทางสุขภาพอื่น ๆ
  • เหยื่อและผู้กระทำผิดเป็นเพศใดก็ได้
  • ผู้กระทำผิดสามารถเป็นเพศเดียวกันก็ได้
  • อาจเกิดจากความเข้าในผิดของผู้กระทำความผิดและเหยื่อ ซึ่งความเข้าใจผิดนี้อาจอาจสมเหตุสมผลหรือไม่สมเหตุสมผล

นอกจากนี้การเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมรวมทำให้มีการล่วงละเมิดทางเพศบนโลกออนไลน์มากขึ้น เช่นในวิดีโอเกมหรือในห้องสนทนา

จากสถิติการวิจัย PEW ค.ศ. 2014 เกี่ยวกับการล่วงละเมิดบนโลกออนไลน์ ผู้หญิง 25% และผู้ชาย 13% ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 24 ปีเคยถูกคุกคามทางเพศบนโลกออนไลน์[12]

พฤติกรรม[แก้]

การคุกคามทางเพศที่เหยื่อไม่ต้องการ

พฤติกรรมของผู้คุกคามนั้นมีหลายรูปแบบและในกรณีส่วนใหญ่ (แม้ว่าจะไม่ใช่ในทุกกรณี) เหยื่อจะอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาประสบมาได้ยาก นักเขียนนาม มาร์ธา เลงกาแลน (Martha Langelan) อธิบายการคุกคามสี่รูปแบบ:[13]

  • คุกคามแบบล่า (A predatory harasser) เป็นพวกที่รู้สึกดีกับการที่ทำให้เหยื่อรู้สึกอับอาย ในบางกรณีผู้คุกคามประเภทนี้มักมีการขู่กรรโชก บางครั้งจะทำการคุกคามเพื่อดูว่าเหยื่อจะตอบสนองอย่างไรหากเหยื่อไม่มีท่าทีต่อต้านก็อาจกลายเป็นเป้าในการข่มขืนได้
  • คุกคามแบบมีอำนาจเหนือกว่า (A dominance harasser) เป็นประเภทที่พบบ่อยที่สุด ผู้คุกคามทำเพื่อเพิ่มอีโก้ตัวเอง
  • คุกคามแบบแสดงความเป็นใหญ่ (A strategic or territorial harassers) ผู้ที่ต้องการรักษาสิทธิพิเศษในที่ทำงาน เช่นผู้ชายคนหนึ่งล่วงละเมิดพนักงานหญิงในอาชีพที่ส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
  • คุกคามบนท้องถนน (A street harasser) การล่วงละเมิดทางเพศประเภทหนึ่งมักเกิดจากคนแปลกหน้าในที่สาธารณะ การคุกคามแบบนี้ร่วมถึงการใช้วาจาและอวัจนภาษาด้วย การคุกคามทางคำพูดเช่น แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพเป็นต้น[14]

อ้างอิง[แก้]

  1. Dziech, Billie Wright; Weiner, Linda. The Lecherous Professor: Sexual Harassment on Campus.[ต้องการเลขหน้า] Chicago Illinois: University of Illinois Press, 1990. ISBN 978-0-8070-3100-1; Boland, 2002[ต้องการเลขหน้า]
  2. 2.0 2.1 "Sexual Harassment". U.S. Equal Employment Opportunity Commission. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-13. สืบค้นเมื่อ 2010-07-16.
  3. Text of Oncale v.Sundowner Offshore Services, Inc., 528 U.S. 75 (1998) is available from:  Findlaw  Justia 
  4. Philips, Chuck (April 18, 1993). "Cover Story: You've Still Got a Long Way to Go, Baby". LA Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  5. Becklund Philips, Laurie Chuck (November 3, 1991). "Sexual Harassment Claims Confront Music Industry: Bias: Three record companies and a law firm have had to cope with allegations of misconduct by executives". LA Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012.
  6. Philips, Chuck (March 5, 1992). "'Anita Hill of Music Industry' Talks : * Pop music: Penny Muck, a secretary whose lawsuit against Geffen Records sparked a debate about sexual harassment in the music business, speaks out in her first extended interview". LA Times. สืบค้นเมื่อ February 11, 2020.
  7. Philips, Chuck (November 17, 1992). "Geffen Firm Said to Settle Case of Sex Harassment : Litigation: An out-of-court settlement of $500,000 is reportedly reached in one suit, but another may be filed". LA Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012.
  8. Philips, Chuck (July 21, 1992). "Controversial Record Exec Hired by Def". LA Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 22 July 2012.
  9. Laursen, Patti (May 3, 1993). "Women in Music". LA Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 September 2013. สืบค้นเมื่อ 10 September 2013.
  10. Barnet, Richard; Burriss, Larry; Fischer, Paul (September 30, 2001). Controversies in the music business. Greenwood. pp. 112–114. ISBN 978-0313310942.
  11. "Reporting of violence against women in University. [Social Impact]. VGU. Gender-based Violence in Spanish Universities (2006-2008)". SIOR, Social Impact Open Repository. Universitat de Barcelona. 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-07-18.
  12. Duggan, Maeve (October 22, 2014). "Online Harassment". Pew Research Center. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2020. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  13. Langelan, Martha. Back Off: How to Confront and Stop Sexual Harassment and Harassers เก็บถาวร 2016-01-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Fireside, 1993. ISBN 978-0-671-78856-8.
  14. Bowman, Cynthia Grant (Jan 1993). "Street Harassment and the Informal Ghettoization of Women". Harvard Law Review. 106 (3): 517–80. doi:10.2307/1341656. JSTOR 1341656. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-09. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.