การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แหวนพรหมจรรย์มักถูกสวมโดยวัยรุ่นที่สัญญาว่าจะงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์[1]

การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ (อังกฤษ: sexual abstinence) เป็น การปฏิบัติโดยการละเว้นกิจกรรมทางเพศ ด้วยเหตุผลทางการแพทย์, จิตวิทยา, กฎหมาย, สังคม, การเงิน, ปรัชญา, ศีลธรรม, หรือ ศาสนา ความไม่ฝักใจทางเพศ แตกต่างกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ และ การอยู่เป็นโสด (celibacy) นับเป็นการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ที่มักได้รับแรงบันดาลใจจากปัจจัยอย่างความเชื่อส่วนตัวหรือความเชื่อทางศาสนา[2] การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรสนับเป็นบรรทัดฐานทางสังคมในบางที่ หรือ เป็นกฎหมายในบางประเทศ โดยนับเป็นส่วนหนึ่งของพรหมจรรย์ (chastity)

การงดเว้นอาจเกิดขึ้นโดยสมัครใจ (เช่น เมื่อบุคคลเลือกที่จะละเว้นกิจกรรมทางเพศด้วยเหตุผลทางศีลธรรม, ศาสนา, ปรัชญา, หรือ อื่น ๆ) หรือ อาจเกิดขึ้นเหนือความสมัครใจ โดยถูกบังคับโดยสถานการณ์ทางสังคม (เช่น เมื่อบุคคลไม่สามารถหาผู้ที่จะยินยอมร่วมเพศด้วยได้) หรือ ถูกบังคับโดยกฎหมาย (เช่น ในประเทศที่การร่วมเพศนอกเหนือการสมรสนั้นผิดกฎหมาย)

ประวัติ[แก้]

ความสำส่อน (promiscuity) ถูกมองเป็นเรื่องไม่ดีตั้งแต่สมัยโบราณ ด้วยเหตุผลทั้งทางสุขภาพและทางสังคม[3] พีทาโกรัส กล่าวไว้ตั้งแต่ 600 ปีก่อนก่อนคริสตกาลว่า เพศสัมพันธ์ควรมีในฤดูหนาว และไม่ควรมีในฤดูร้อน เพราะมันให้ผลเสียต่อสุขภาพของผู้ชายในทุกฤดู ด้วยความที่การเสียน้ำอสุจิเป็นสิ่งอันตราย ยากที่จะควบคุม และก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกายและจิตใจ ทว่าไม่มีผลต่อผู้หญิง ความคิดนี้อาจถูกรวมกับความคิดของศาสนาโซโรอัสเตอร์ในเรื่องความดีและความเลวในหลักปรัชญาที่เรียกว่าไญยนิยม ซึ่งส่งผลต่อทัศนคติที่ศาสนาคริสต์และอิสลามมีต่อกิจกรรมทางเพศ ทว่าคนอีกกลุ่มอ้างว่าศาสนาคริสต์ยึดถือความคิดเกี่ยวกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ก่อนไญยนิยมและศาสนาโซโรอัสเตอร์ โดยมีรากฐานที่ถูกพบในพันธสัญญาเดิม 

ในช่วงวันตกไข่[แก้]

แผนผังชี้ช่วงเวลาวันตกไข่ของผู้หญิง

การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์สามารถถูกใช้เมื่อผู้หญิงอยู่ในช่วงวันตกไข่และสามารถมีลูกได้[4]

ก่อนการแต่งงาน[แก้]

การถือพรหมจรรย์ก่อนการแต่งงาน[แก้]

ในบริบททางวัฒนธรรม ศีลธรรม และศาสนา ส่วนใหญ่ การร่วมเพศของคู่สมรส ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดการถือพรหมจรรย์ บางศาสนา กฎหมาย และบรรทัดฐานทางสังคมห้ามไม่ให้บุคคลมีเพศสัมพันธ์กับคนอื่นนอกเหนือจากคู่ครองตนเอง ในบริบทเหล่านี้ การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ถูกใช้กับคู่ที่ยังไม่ผ่านการสมรสเพื่อจุดประสงค์ทางการถือพรหมจรรย์ การถือพรหมจรรย์ มักถูกใช้ในความหมายเดียวกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ทั้งสองคำมีความหมายคล้ายกัน แต่ว่ามีพฤติกรรมและข้อห้ามที่ต่างกัน

ประเด็นทางกฎหมาย[แก้]

ในบางประเทศ กิจกรรมทางเพศนอกเหนือการสมรสถือว่าผิดกฎหมาย กฎหมายเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกผูกกับศาสนา และมีความแตกต่างกันในแต่ละประเทศ ในประเทศอิสลามบางประเทศ เช่น ซาอุดีอาระเบียปากีสถาน[5] อัฟกานิสถาน,[6][7][8] อิหร่าน คูเวต[9] มัลดีฟส์,[10] โมร็อกโก,[11] มอริเตเนีย,[12] สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์,[13][14] กาตาร์,[15] ซูดาน,[16] เยเมน,[17] กิจกรรมทางเพศทุกอย่างนอกเหนือการสมรสถือว่าผิดกฎหมาย

ความรุนแรง[แก้]

ในบางพื้นที่ ผู้ชาย ผู้หญิง เด็กชาย หรือ เด็กหญิง ที่ต้องสงสัยว่ามีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน หรือ มีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน อาจตกเป็นเหยื่อของการฆ่าเพื่อรักษาเกียรติ (Honour killings) โดยครอบครัวของพวกเขาเอง[18][19] บางที่ใช้การปาหินเพื่อลงโทษการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส[ต้องการอ้างอิง]

ความนิยมและประสิทธิผล[แก้]

การปรากฏตัวของโรคเอดส์ เพิ่มความนิยมของการงดเว้น อย่างไรก็ตาม รายงานการวิจัยโดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดเกี่ยวกับแผนการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ในสหรัฐอเมริกาเป็นจำนวน 13 แผนการ โดยมีผู้ร่วมโครงการกว่า 13,000 คน พบว่า แผนการงดเว้นไม่ได้หยุดพฤติกรรมทางเพศที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงและไม่แม้แต่ช่วยลดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์[20] งานวิจัยอื่นพบว่าระบบการศึกษาแบบการงดเว้นอย่างเดียวส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อ "อายุเริ่มร่วมเพศ; จำนวนคู่ร่วมเพศ; และอัตราการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์, การใช้ถุงยางอนามัย, การร่วมเพศ, การตั้งครรภ์, และการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (STI)" [21] ไม่นานมานี้รัฐสภาสหรัฐพบผลคล้ายกันจากงานวิจัยเกี่ยวกับการงดเว้นที่จัดทำโดย Mathematica Policy Research[22] ปัจจุบันยังมีประเด็นเกี่ยวกับความหมายของการงดเว้น ว่า หมายถึงการงดเว้นจากการร่วมเพศ หรือ จากพฤติกรรมทางเพศทั้งหมด ขบวนการอย่าง True Love Waits ในอเมริกา บอกให้วัยรุ่นละเว้นการร่วมเพศก่อนการสมรส มีผู้เห็นด้วยเป็นจำนวนมาก ทว่าแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของความนิยมการร่วมเพศทางปาก[23]

ผลกระทบของการงดเว้นต่อสังคม[แก้]

อัลเฟรด คินเซย์ (Alfred Kinsey) ถูกยกย่องให้เป็นบุคคลทางเพศวิทยาชาวอเมริกันคนแรกและถือเป็นหนึ่งในคนที่มีอิทธิพลด้านนี้ที่สุด งานวิจัยของเขาถูกกล่าวถึงว่าเป็นสิ่งที่ปูทางการสำรวจเรื่องเพศวิทยาระหว่างนักเพศวิทยาและสาธารณชน และยังถือเป็นงานที่ปลดปล่อยสภาพทางเพศของผู้หญิง[24][25] คินเซย์กล่าวว่าการเมินเฉยทางเพศนำสู่ความทุกข์ทรมานในสังคมและการปลดปล่อยทางเพศที่ตรงข้ามกับการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์เป็นกุญแจสู่ทั้งการสมรสที่แข็งแรงและชีวิตที่มีความสุข คินเซย์กล่าวว่า "ความผิดปกติทางเพศไม่กี่อย่างที่มีอยู่ได้แก่ การงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การครองโสดถาวร และการชะลอการแต่งงาน"[26]

เจ.ดี. อันวิน (J.D. Unwin) เคยเป็นนักชาติพันธุ์วิทยาและนักมานุษยวิทยาสังคม ณ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  เขาเขียนหนังสือหลายเล่มรวมไปทั้ง เซ็กส์และวัฒนธรรม (ค.ศ. 1934) ใน เซ็กส์และวัฒนธรรม อันวินศึกษา 80 ชนเผ่าดั้งเดิมและ 6 ซิวิไลเซชัน ผ่านประวัติศาสตร์กว่า 5,000 ปี และพบสหสัมพันธ์ทางบวกระหว่างความสำเร็จทางวัฒนธรรมกับข้อจำกัดทางเพศที่พบ ผู้เขียนพบว่ากลุ่มที่ประสบความสำเร็จทางวัฒนธรรมมากที่สุดมักแสดงความสัมพันธ์แบบมีคู่ครองคนเดียว และการงดเว้นการมีเพศสัมพันธ์นอกการสมรส[27] อันวินอ้างว่าเมื่อชาติมีความรุ่งเรือง มักตามมาด้วยความเสรีที่เพิ่มขึ้น รวมไปทั้งความเสรีทางเพศ เป็นผลให้สูญเสียความเชื่อมแน่นทางสังคม แรงกระตุ้น และ จุดประสงค์ และส่งผลทางลบต่อสังคม เขากล่าวว่า "ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติไม่เคยมีเหตุการณ์ที่กลุ่มมีอารยธรรม นอกจากกลุ่มเหล่านั้นจะเคยถือความสัมพันธ์แบบมีคู่ครองคนเดียว และยังไม่มีตัวอย่างของกลุ่มไหนที่สามารถคงวัฒนธรรมหลังจากนำจารีตประเพณีที่เข้มงวดน้อยลงมาใช้"[28]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. O'Brien, Jodi (2009). Encyclopedia of Gender and Society. SAGE Publications. p. 155. ISBN 9781412909167. In this subset of abstinence-only education programs, young people vow chastity until marriage and wear a "purity ring" to demonstrate a commitment to sexual abstinence.
  2. The American Heritage Dictionary of the English Language (3d ed. 1992), entries for celibacy and thence abstinence
  3. Uta Ranke.Heinman (1988). Eunuchs for the Kingdom of Heaven - the Catholic Church and Sexuality. Penguin Books USA. ISBN 0 385 26527 1.
  4. Abstinence during infertile period to prevent conception
  5. Jordan, Mary (21 August 2008). "Searching for Freedom, Chained by the Law". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  6. Ernesto Londoño (9 September 2012). "Afghanistan sees rise in 'dancing boys' exploitation". The Washington Post. DEHRAZI, Afghanistan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 May 2013.
  7. "Home". AIDSPortal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 October 2008. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  8. "Iran". Travel.state.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 August 2013. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  9. "United Nations Human Rights Website - Treaty Bodies Database - Document - Summary Record - Kuwait". Unhchr.ch. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  10. "Culture of Maldives". Every Culture. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  11. "Morocco: Should pre-marital sex be legal?". BBC News. 9 August 2012.
  12. "2010 Human Rights Report: Mauritania". State.gov. 8 April 2011. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  13. "Education in Dubai". Dubaifaqs.com. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  14. Judd, Terri; Sajn, Nikolina (10 July 2008). "Briton faces jail for sex on Dubai beach". The Independent. London. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  15. ""Sex outside of marriage is a criminal offense here," PH ambassador to Qatar warns Pinoys". SPOT.ph. 12 September 2011. สืบค้นเมื่อ 3 August 2013.
  16. "Sudan must rewrite rape laws to protect victims". Reuters. 28 June 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-06-15. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  17. "Women's Rights in the Middle East and North Africa - Yemen". Unhcr.org. สืบค้นเมื่อ 2 August 2013.
  18. "Shocking gay honor killing inspires movie - CNN.com". CNN. 13 January 2012.
  19. "Iraqi immigrant convicted in Arizona 'honor killing' awaits sentence". CNN. 23 February 2011.
  20. "No-sex programmes 'not working'". BBC News. 2 August 2007. สืบค้นเมื่อ 17 March 2009.
  21. Abby Wilkerson (March 2013). "I Want to Hold Your Hand: Abstinence Curricula, Bioethics, and the Silencing of Desire". Journal of Medical Humanities. 34 (2): 101–108.
  22. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-13. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
  23. Lisa Remez (Nov–Dec 2000). "Oral Sex among Adolescents: Is It Sex or Is It Abstinence?". Family Planning Perspectives. Family Planning Perspectives, Vol. 32, No. 6. 32 (6): 298–304. doi:10.2307/2648199. JSTOR 2648199. PMID 11138867. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 April 2005.
  24. Janice M. Irvine (2005). Disorders of Desire: Sexuality and Gender in Modern American Sexology. Temple University Press. pp. 37–43. ISBN 978-1592131518. สืบค้นเมื่อ 3 January 2012.
  25. Charles Zastrow (2007). Introduction to Social Work and Social Welfare: Empowering People. Cengage Learning. pp. 227–228. ISBN 0495095109. สืบค้นเมื่อ 15 March 2014.
  26. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-01-13. สืบค้นเมื่อ 2017-12-27.
  27. "Any human society is free to choose either to display great energy or to enjoy sexual freedom; the evidence is that it cannot do both for more than one generation." Unwin, J. D. (1934) Sex and Culture, p. 412.
  28. Unwin, J. D. (1927). "Monogamy as a Condition of Social Energy,” The Hibbert Journal, Vol. XXV, p. 662.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]