ความสำส่อน
ความสำส่อน (อังกฤษ: promiscuity) คือการมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งคราว บ่อยครั้งกับหลายคน โดยไม่เลือกคู่นอน[1] ส่วนใหญ่มีความหมายในแง่ลบ เรื่องศีลธรรมในสังคมที่เชื่อว่าการมีเพศสัมพันธ์คือความสัมพันธ์แบบคู่สมรส ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่แสดงถึงความสำส่อนได้แก่ การมีคู่นอนคืนเดียว นักวิจัยใช้ความถี่เป็นตัววัดความสำส่อน[2]
พฤติกรรมทางเพศใดที่ถือว่าเป็นสิ่งที่สำส่อนแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เช่นเดียวกับความแพร่หลายของความสำส่อนทางเพศ มาตรฐานที่แตกต่างกันมักใช้กับเพศและสถานะทางแพ่งต่าง ๆ นักคตินิยมสิทธิสตรีโต้เถียงกันอย่างมีนัยสำคัญ ถึงความสองมาตรฐานที่มีอยู่ระหว่างวิธีการที่ชายและหญิงได้รับการตัดสินสำหรับความสำส่อนทางเพศ
ในอดีต สามัญทัศน์ของผู้หญิงสำส่อนมีแนวโน้มที่จะอยู่ในแง่ลบ เช่น "หญิงมั่วโลกีย์" หรือ "หญิงแพศยา" ในขณะที่ของผู้ชายมีความหลากหลายกว่า บางก็แสดงความเห็นชอบ เช่น "ผู้ชายที่เก่งในการผลิตลูก" หรือ "ผู้เล่น" ในขณะที่บางคำหมายถึง ความแตกต่างจากทางสังคม เช่น "คนเจ้าชู้" หรือ "คนหัวงู"[3] อย่างไรก็ตามการศึกษาในภายหลังแสดงหลักฐานถึงความมีสองมาตรฐานระหว่างชายและหญิง[4][5][6]
การศึกษาทั่วโลก
[แก้]ใน พ. ศ. 2551 งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยของสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับความสำส่อนทางเพศในแต่ละประเทศพบว่าคนฟินแลนด์มีคู่นอนเยอะที่สุดในโลกอุตสาหกรรม และชาวอังกฤษมีจำนวนคู่นอนมากที่สุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรมตะวันตก โดยงานวิจัยได้วัดทัศนคติต่อเพศสัมพันธ์เป็นครั้งคราว คู่นอนคืนเดียว และจำนวนคู่นอนทั้งหมด[7][8][9]การสำรวจทั่วประเทศในสหราชอาณาจักรประจำปี พ.ศ. 2557 ระบุว่าลิเวอร์พูลเป็นเมืองที่สำส่อนมากที่สุดของประเทศ[10]
ตำแหน่งของสหราชอาณาจักรในดัชนีระหว่างประเทศ "อาจเชื่อมโยงกับการยอมรับทางสังคมที่เพิ่มขึ้นของความสำส่อนในหมู่ผู้หญิงและผู้ชาย" การจัดอันดับของสหราชอาณาจักรได้รับการกล่าวถึงปัจจัยต่าง ๆ เช่นการลดลงของศีลธรรมทางศาสนาเกี่ยวกับเซ็กส์นอกการแต่งงาน การเติบโตของการจ่ายเงินเท่ากันและสิทธิอันเท่าเทียมกันสำหรับสตรีและบุรุษ และวัฒนธรรมป๊อปที่สงเสริมเสรีภาพทางเพศ
10 อันดับแรกในดัชนีความสำส่อน ของกลุ่มประเทศ OECD ซึ่งมีประชากรมากกว่า 10 ล้านคน โดยเรียงลำดับจากน้อยไปมาก คือ สหราชอาณาจักร เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ตุรกี เม็กซิโก และแคนาดา
การสำรวจที่ดำเนินการใน พ.ศ. 2550 โดยผู้ผลิตถุงยางอนามัย Durex ได้ทำการวัดความสำส่อน โดนการนับจำนวนคู่นอนทั้งหมด ผลการสำรวจพบว่าชายออสเตรียมีจำนวนคู่นอนมากที่สุดในโลก โดยเฉลี่ยมี 29.3 คน สตรีนิวซีแลนด์มีจำนวนคู่นอนมากที่สุดสำหรับสตรีในโลกโดยเฉลี่ย 20.4 คน ในทุกประเทศที่ได้รับการสำรวจผู้ชายรายงานว่าเป็นคู่นอนมากกว่าผู้หญิงยกเว้นในประเทศนิวซีแลนด์[11]
การวิจัยพบว่าผู้คนจากประเทศตะวันตกที่พัฒนาแล้วมีคู่นอนมากกว่าผู้ที่มาจากประเทศกำลังพัฒนา ทว่าอัตราการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในประเทศกำลังพัฒนากลับสูงกว่า
ตามการสำรวจเพศทั่วโลกประจำ พ.ศ. 2548 โดย Durex คนโดยเฉลี่ยมี 9 คู่นอน มากที่สุดในตุรกี (14.5) และออสเตรเลีย (13.3) และอย่างน้อยที่สุดในอินเดีย (3) และจีน (3.1)[12]
ความสำส่อนในชาย
[แก้]การศึกษาในสหรัฐในค.ศ.1994 ซึ่งสำรวจจำนวนคู่นอนพบว่า 20% ของชายรักต่างเพศมีคู่นอนคนเดียว 55% มีระหว่าง 2 - 20 คน และ 25%มีคู่นอนมากกว่า 20 คน [13] การศึกษาในค.ศ. 2012 ก็ให้ผลใกล้เคียงกัน[14]
การศึกษาในสหรัฐในค.ศ.1989 พบ การมีคู่นอนมากกว่า 100 คน แต่ไม่เยอะนัก[15] ข้อมูลการสำรวจทางสังคมโดยทั่วไปแสดงให้เห็นว่าจำนวนคู่นอนของผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายและผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับหญิงมีความคล้ายคลึงกัน แต่ความแตกต่างดังกล่าวมีสัดส่วนของผู้ที่มีจำนวนคู่รักมาก จะมากกว่าในเกย์ แต่เป็นชนกลุ่มน้อยสำหรับทั้งสองกลุ่ม[16] ในปี 2014 เว็บไซต์ OkCupid ได้เผยแพร่ข้อมูลว่าผู้ใช้เกย์มีค่ามัธยฐานคู่นอนตลอดชีพ 4 คน ซึ่งน้อยกว่าชายรักต่างเพศที่ 6 คน[17] การศึกษาในปี 2007 พบว่าชายเกย์ส่วนใหญ่มีเซ็กส์กับคู่นอนโดยไม่ป้องกันจำนวนไม่ต่างจากชายรักต่างเพศ[18][19]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Promiscuous - definition of promiscuous by the Free Online Dictionary". The Free Dictionary. สืบค้นเมื่อ 21 September 2013.
- ↑ "UK's most promiscuous city in 'one night stand' poll revealed". Metro.co.uk. Associated Newspapers Limited.
- ↑ Marks, Michael; Fraley, R. (2005). "The Sexual Double Standard: Fact or Fiction?". Sex Roles. 52 (3–4): 175–186. doi:10.1007/s11199-005-1293-5.
- ↑ Erin A. Vogel (2012). "Attachment Theory and the Sexual Double Standard". Illinois Wesleyan University Honors Project.
- ↑ ""Would You Go To Bed With Me Tonight?": Stigma and the Sexual Double Standard - - - Science of Relationships". scienceofrelationships.com.
- ↑ "Motives for the Sexual Double Standard: A Test of Female Control Theory". SPSP.
- ↑ Waite, Roger (2008-11-30). "Britain on top in casual sex league". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ Beckford, Martin; Jamieson, Alastair (2008-11-30). "Britain is among casual sex capitals of the Western world, research claims". The Daily Telegraph. London. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-16. สืบค้นเมื่อ 2010-05-22.
- ↑ "British top promiscuity study". UPI.
- ↑ "Liverpool named UK's most promiscuous city". themetro.co.uk. Mark Molloy.
- ↑ New Zealand women most promiscuous The Sydney Morning Herald
- ↑ http://www.data360.org/pdf/20070416064139.Global%20Sex%20Survey.pdf เก็บถาวร 2019-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, page 6
- ↑ Seidman, S. N.; Rieder, R. O. (1994). "A review of sexual behavior in the United States". Am J Psychiatry. 151: 330–341. doi:10.1176/ajp.151.3.330.
- ↑ Lehmiller, J. J. (2012). "What's Your Number?". The Psychology of Human Sexuality.
- ↑ Friedman, Richard C.; Downey, Jennifer I. (October 6, 1994). "Homosexuality". New England Journal of Medicine. Massachusetts Medical Society. 331 (14): 923–930. doi:10.1056/NEJM199410063311407. PMID 8078554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-19. สืบค้นเมื่อ 2018-02-05.
- ↑ Tim Fisher (November 1, 2006). A Response to David Glesne, Regarding Promiscuity Statisticsin the context of his book, Understanding Homosexuality (Report).
- ↑ Christian Rudder (2014). Dataclysm: Who We Are (When We Think No One's Looking). Crown. p. 180. ISBN 978-0385347372.
The number of reported lifetime sex partners among all four groups is essentially the same. The median for gay men and straight women is four; for lesbians and straight men, it's five, but just barely...
- ↑ "Sexual Behavior Does Not Explain Varying HIV Rates Among Gay And Straight Men". Medical News Today.
- ↑ Goodreau SM, Golden MR (October 2007). "Biological and demographic causes of high HIV and sexually transmitted disease prevalence in men who have sex with men". Sex Transm Infect. 83 (6): 458–62. doi:10.1136/sti.2007.025627. PMC 2598698. PMID 17855487.