โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (Body dysmorphic disorder) | |
---|---|
![]() ผู้ป่วยมักเห็นภาพตนเองในกระจกผิดปกติไปจากความเป็นจริง | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | F45.2 |
ICD-9 | 300.7 |
DiseasesDB | 33723 |
eMedicine | med/3124 |
โรคคิดว่าตนเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ หรือ ดิสมอร์เฟีย (อังกฤษ: Body dysmorphic disorder ย่อว่า BDD) เดิมรู้จักกันในชื่อโรคกลัวพิการ (อังกฤษ: Dysmorphophobia[1]) เป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่เกิดจากความไม่พอใจในรูปร่างของตนเอง จากการตรวจสอบพบกว่าโรคนี้มักจะพบในกลุ่มบุคคลที่สนใจในรูปร่างของตนเองมาก กลุ่มคนที่เข้างานสังคมบ่อย ๆ หรือกลุ่มคนที่เป็นที่สนใจจากคนอื่น ๆ และสังคม บุคคลที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงนี้ได้แก่ ดารา นางแบบ ศิลปินดนตรี วัยรุ่น นักเรียนมัธยม และนักศึกษามหาวิทยาลัย หรือใคร ๆ ก็ตามที่ต้องทำงานหน้ากล้อง
ปัจจัยในการตรวจสอบ[แก้]
วิธีในการตรวจสอบว่าโรคนี้จากสมาคมนักจิตวิทยาอเมริกัน (the American Psychiatric Association) ได้แยกปัจจัยการตรวจสอบค้นหาโรคดิสมอร์เฟียนี้ออกเป็นสามปัจจัยด้วยกันคือ
- การมีความหมกมุ่นเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงในรูปร่างของตน หากพบความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย บุคคลคนนี้จะมีความวิตกกังวลอย่างมาก
- ความหมกมุ่นทำให้เกิดความโศกเศร้า ความทุกข์ ความเครียด และทำให้ความสามารถทั้งทางครอบครัว การงาน สังคม ฯลฯ ลดน้อยลง
- ความหมกมุ่นนี้ไม่ได้เกิดจากการมีปัญหาทางด้านจิตใจอื่น ๆ (คือไม่ได้เป็นโรคจิตอื่นอยู่แล้วหรือมีความผิดปกติทางสมองหรือจิตใจ)
รูปแบบของโรค[แก้]
โรคนี้จะเกิดขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยสามารถแบ่งออกเป็นสามประเภทหลัก ๆ คือ
- โรคไบกอร์เร็กเซีย หรือโรคที่คิดว่าตนเองตัวเล็กเกินไป (มักจะเกิดในผู้ชาย)
- โรคโบลิเมียหรืออนอร์เร็กเซีย คือโรคที่คิดว่าตนเองอ้วนเกินไป (มักจะเกิดในผู้หญิง)
- โรคที่คิดว่าตนเองมีหน้าตาที่น่าเกลียดหรืออวัยวะในร่างกายที่น่าเกลียด
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Berrios GE, Kan CS (1996). "A conceptual and quantitative analysis of 178 historical cases of dysmorphophobia". Acta Psychiatr Scand. 94 (1): 1–7. doi:10.1111/j.1600-0447.1996.tb09817.x. PMID 8841670.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|month=
ถูกละเว้น (help)
![]() |
บทความเกี่ยวกับจิตวิทยา อารมณ์ หรือพฤติกรรมนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |