การบุกครองอ่าวหมู
การบุกครองอ่าวหมู | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
แผนที่แสดงที่ตั้งของอ่าวหมู | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
คิวบา |
สหรัฐ แนวหน้าปฏิวัติประชาธิปไตยคิวบา | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
ฟิเดล กัสโตร |
จอห์น เอฟ. เคนเนดี แอลลิน ดัลลิส เปเป ซาน โรมัน เอร์เนย์โด โอลิบา | ||||||
กำลัง | |||||||
กองทัพคิวบา 25,000 นาย[3] กองกำลังอาสาคิวบา 200,000 นาย[3][4] ตำรวจ 9,000 นาย[3][4] |
กองกำลังภาคพื้นดิน 1,500 นาย[ A] เครื่องบินทิ้งระเบิด B-26 8 ลำ เรือสนับสนุน 5 ลำ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
กองทัพคิวบา : ตาย 176 นาย ได้รับบาดเจ็บกว่า 500 นาย[B] หรือตาย, บาดเจ็บ, หายไป 4,000 นาย[c] เครื่องบินคิวบาถูกยิงตก 6 ลำ |
} กองพล 2506 : ตาย 118 นาย ได้รับบาดเจ็บ 360 นาย[D] ถูกจับ 1,202 นาย[E] เครื่องบินทิ้งระเบิดถูกยิงตก 4 ลำ เรือสนับสนุนอับปาง 2 ลำ |
การรุกรานอ่าวหมู (อังกฤษ: Bay of Pigs Invasion, สเปน: Invasión de Bahía de Cochinos), การรุกรานหาดฮิรอน (Invasión de Playa Girón) หรือ ยุทธการที่ฮิรอน (Batalla de Girón) เป็นปฏิบัติการล้มเหลวที่ดำเนินการโดยซีไอเอให้การสนับสนุนกลุ่มทหารกองพลน้อย2506 ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2504 ทหารปฏิวัติ ผ่านการฝึกอบรมและได้รับทุนจากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาและสำนักข่าวกรองกลาง (ซีไอเอ) กองพลน้อย 2506 เป็นส่วนหนึ่งของแนวหน้าปฏิวัติประชาธิปไตยคิวบา (DRF) และตั้งใจที่จะโค่นล้มรัฐบาลคอมมิวนิสต์ของฟิเดล กัสโตรซึ่งได้ยกพลมาจากกัวเตมาลาและนิการากัว และได้เจอการต้านทานอย่างหนักและพ่ายแพ้ภายในสามวัน
การปฏิวัติคิวบา พ.ศ. 2495-2502 ได้บังคับเผด็จการฟุลเฮนซิโอ บาติสตา เป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาถูกเนรเทศ เขาถูกแทนที่โดยกลุ่มขบวนการ 26 กรกฎาคมนำโดยฟิเดล กัสโตร ตัดขาดกับสหรัฐหลังจากเข้ายึดสินทรัพย์กิจการอเมริกันในคิวบา (ธนาคาร, โรงกลั่นน้ำมัน, น้ำตาล และสวนกาแฟพร้อมกับธุรกิจอื่น ๆ ที่ชาวอเมริกันเป็นเจ้าของ) และการพัฒนาที่แข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ เป็นพันธมิตรสหภาพโซเวียตซึ่งในเวลานั้นที่สหรัฐอเมริกาเป็นกำลังวุ่นอยู่ในสงครามเย็น ประธานาธิบดีสหรัฐดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ เป็นกังวลมากในทิศทางที่รัฐบาลของกัสโตรกำลังกระทำอยู่และมีนาคม 1960 เขาได้รับการจัดสรร 13.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้ซีไอเอในการวางแผนล้มล้างของกัสโตร (แม้ว่าแผนการที่จะโค่นล้มกัสโตรจะถูกตัดสินใจโดยจอห์น เอฟ. เคนเนดีในเวลาต่อมา) ซีไอเอดำเนินการจัดระเบียบการดำเนินการด้วยความช่วยเหลือของกองกำลังปฏิวัติคิวบาต่าง ๆ การฝึกอบรมดับกองพลน้อย 2506 ในกัวเตมาลา จอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้รับการอนุมัติแผนบุกครั้งสุดท้ายเมื่อ 4 เมษายน 1961
กองกำลังกึ่งทหารกว่า 1,400 นาย แบ่งออกเป็นห้ากองพันทหารราบและกองพันผสมในกัวเตมาลาก่อนออกเดินทางไปคิวบาโดยเรือวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2504 สองวันต่อมาเมื่อวันที่ 15 เมษายน ซีไอเอได้นำเครื่องบินทิ้งระเบิด B-26 โจมตีสนามบินคิวบาและแล้วบินกลับสหรัฐอเมริกา
ในคืนวันที่ 16 เมษายน กองกำลังได้ยกพลขึ้นบกที่หาดฮิรอน (Playa Girón) ในอ่าวหมู ในตอนแรกกองกำลังได้ปะทะกับกองกำลังอาสาสมัครปฏิวัติท้องถิ่น กองทัพคิวบานำโดยโฮเซ รามอน เฟร์นันเดซ (José Ramón Fernández) ซึ่งภายหลังฟิเดล กัสโตรได้ตัดสินใจที่จะคุมเอง ทั่วโลกให้ความสำคัญในการบุกครั้งนี้, เคนเนดี้ตัดสินใจไม่ให้ในให้มีการโจมตีอากาศในการสนับสนุนปฏิบัติการบุก[5]ซึ่งผิดจากการแผนเดิมที่วางแผนของประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของเขาจำเป็นต้องใช้ทั้งอากาศและเรือสนับสนุน เมื่อวันที่ 20 เมษายนกองพลน้อย 2506ยอมจำนน หลังจากนั้นเพียงสามวัน ส่วนใหญ่ที่ถูกสอบปากนและส่งไปเรือนจำคิวบา
บุกที่ล้มเหลวช่วยในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งของการเป็นผู้นำของกัสโตรทำให้เขาเป็นวีรบุรุษของชาติ นอกจากนี้ยังมีความเข้มแข็งความสัมพันธ์ระหว่างคิวบาและสหภาพโซเวียต นี้นำไปสู่การเหตุการณ์ที่เกิดวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบาในปี พ.ศ. 2505 การบุกรุกเป็นความล้มเหลวที่สำคัญสำหรับนโยบายต่างประเทศของสหรัฐ เคนเนดี้มีคำสั่งให้ตรวจสอบทั่วละตินอเมริกา กองกำลังคิวบาภายใต้การนำของกัสโตรปะทะโดยตรงกับกองกำลังสหรัฐอีกครั้งในระหว่างการบุกกรีเนดาอีก 20 ปีต่อมา
อธิบาย
[แก้]- ^ กองกำลังภาคพื้นดิน 1,500 นาย (รวมพลร่ม 177 นาย) -ประมาณ1,300 นายที่ขึ้นฝั่ง นอกจากนี้ยังมีนักบินคิวบาพลัดถิ่น นักบินอเมริกันและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการของซีไอเอ[6]
- ^ กองกำลังของรัฐบาลคิวบาถูกฆ่าตาย176 นาย[6][7]
- ^ กองกำลังคิวบาได้รับบาดเจ็บ 500 นาย,[8] หรือ 4,000 นาย ฆ่าตาย,หายไปหรือได้รับบาดเจ็บ (รวมถึงกองกำลังติดอาวุธและพลเรือน)[9]
- ^ ในการยกพลมีคนตาย 118 นาย (แนวหน้าปฏิวัติประชาธิปไตยคิวบา 114 นาย นักบินอเมริกัน 4 นาย)[10]
- ^ ถูกจับ 1,202 นาย (ในการยกพล1,179 นาย,สมรู้ร่วมคิด 14 คน เสียชีวิตในระหว่างการเดินทาง 9 คน)[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Kellner 1989, pp. 69–70. "Historians give Guevara, who was director of instruction for Cuba's armed forces, a share of credit for the victory".
- ↑ Szulc (1986), p. 450. "The revolutionaries won because Castro's strategy was vastly superior to the Central Intelligence Agency's; because the revolutionary morale was high; and because Che Guevara as the head of the militia training program and Fernández as commander of the militia officers' school, had done so well in preparing 200,000 men and women for war."
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Szulc (1986)
- ↑ 4.0 4.1 FRUS X, documents 19, 24, 35, 245, 271.
- ↑ http://www.bbc.co.uk/news/world-latin-america-13066561
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Fernandez (2001)
- ↑ Triay (2001), pp. 83–113
- ↑ Rodriguez 1999. p. 180.
- ↑ Johnson 1964. p. 179.
- ↑ Wyden (1979)