เตหะราน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Tehran)
เตหะราน

تهران
تهران بزرگ
ธงของเตหะราน
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของเตหะราน
ตรา
เตหะรานตั้งอยู่ในประเทศอิหร่าน
เตหะราน
เตหะราน
ที่ตั้งกรุงเตหะรานในประเทศอิหร่าน
พิกัด: 35°41′21″N 51°23′20″E / 35.68917°N 51.38889°E / 35.68917; 51.38889พิกัดภูมิศาสตร์: 35°41′21″N 51°23′20″E / 35.68917°N 51.38889°E / 35.68917; 51.38889
ประเทศ อิหร่าน
จังหวัดจังหวัดเตหะราน
เทศมณฑลเตหะราน
เรย์
เชมีรอนอต
อำเภอกลาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีแอลีเรซอ ซอคอนี
 • ประธานสภานครเมฮ์ดี แชมรอน
พื้นที่[1]
 • เขตเมือง615 ตร.กม. (237 ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล2,235 ตร.กม. (863 ตร.ไมล์)
ความสูง[2]900 ถึง 1,830 เมตร (2,952 ถึง 6,003 ฟุต)
ประชากร
 • ความหนาแน่น11,800 คน/ตร.กม. (31,000 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง12,893,706[3] คน
 • รวมปริมณฑล16,000,378[4] คน
 • อันดับประชากรในประเทศอิหร่านอันดับที่ 1
เขตเวลาUTC+03:30 (เวลามาตรฐานอิหร่าน)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+04:30 (เวลาออมแสงอิหร่าน)
รหัสพื้นที่(+98) 021
ภูมิอากาศBSk
เว็บไซต์www.tehran.ir

เตหะราน (/tɛəˈræn, -ˈrɑːn, ˌt-/; เปอร์เซีย: تهران Tehrān [tehˈɾɒːn] ( ฟังเสียง)) เป็นนครในจังหวัดเตหะราน และเมืองหลวงของประเทศอิหร่าน มีประชากรราว 8.7 ล้านคนในเขตนครเตหะราน และราว 15 ล้านคนหากรวมเตหะรานและปริมณฑล ถือเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของประเทศอิหร่านและของเอเชียตะวันตก เตหะรานและปริมณฑลถือเป็นเขตมหานครที่มีประชากรมากที่สุดอันดับสอง ในตะวันออกกลาง รองจากไคโร ประเทศอียิปต์ และเป็นอันดับที่ 24 ของโลก

เตหะรานถูกเลือกให้เป็นเมืองหลวงของอิหร่านครั้งแรกโดยออฆอ โมฮัมมัด ข่าน แคแจร์ แห่งราชวงศ์แคแจร์ ในปี 1786 อันเป็นผลจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของอิหร่านที่ใกล้กับคอเคซัสซึ่งในเวลานั้นถูกตัดขาดจากอิหร่านด้วยสงครามกับรัสเซีย เมืองหลวงของอิหร่านมีการเปลี่ยนไปหลายครั้ง และเตหะรานเป็นเมืองหลวงที่ 32 ของเปอร์เซีย ในทศวรรษ 1920 ได้เริ่มมีการทุบทำลายและก่อสร้างเมืองขึ้นใหม่ขนานใหญ่ เตหะรานกลายมาเป็นจุดหมายปลายทางของการอพยพประชากรขนาดใหญ่จากพื้นที่อื่น ๆ ของอิหร่าน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา[6]

สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์มากมายในเตหะราน เช่น วังโกเลสตาน, วังซอแดแบด และ วังเนียแวแรน จุดหมายตาสำคัญของเตหะรานที่สร้างในยุคหลัง ๆ เช่น หอคอยออซอดีที่สร้างขึ้นโดยชาฮ์ในปี 1971 ในโอกาสครบรอบ 2,500 ปีของจักรวรรดิเปอร์เซีย, หอคอยมีลอด ซึ่งเป็นหอคอยที่สูงที่สุดในโลกอันดับที่หก สร้างเสร็จในปี 2007 และ สะพานแตเบียต ซึ่งสร้างเสร็จในปี 2014[7]

ที่มาของชื่อ[แก้]

ชื่อเมืองเตะหรานนั้นประกอบมาจากคำสองคำ คำแรกคือ "Tah" อันมีความหมายถึง จุดจบ จุดต่ำสุด กับอีกคำหนึ่งนั้นก็คือ "Ran" อันมีความหมายว่า หุบเขา ชื่อของเตหะรานจึงมีความหมายว่า เมืองที่อยู่ปลายตีนเขา อันมาจากสภาพที่ตั้งของเมือง ที่ตั้งอยู่บริเวณตีนเขาของกลุ่มเทือกเขาแอลโบร์ซ

ประวัติศาสตร์[แก้]

เตหะรานเป็นเพียงแค่ชุมชนเล็ก ๆ ในเขตเมืองเรห์ ซึ่งมีการตั้งหลักถิ่นฐานมาตั้งแต่คราวจักรวรรดินูเบีย เดิมเมืองนี้ไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรเท่าไหร่ และเป็นแค่เพียงเมืองเล็ก ๆที่อยู่ใต้เขตอิทธิพลของของเมืองเรห์ที่มีอำนาจมากและมีขนาดใหญ่ในตอนนั้น ด้วยความที่เมืองเรห์เป็นเมืองที่ใหญ่ และค่อนข้างจะเจริญรุ่งเรืองอยู่พอสมควร ทำให้เมืองเรห์เป็นจุดหมายปลายทางของชาวอาหรับในการเข้ามาค้าขาย หรือมาตั้งถิ่นฐานบนพื้นแผ่นดินชาวเปอร์เซีย

ความรุ่งเรืองของเมืองเรห์ทำให้เมืองเป็นเป้าถูกโจมตีหลายครั้ง จากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นพวกเซลจุก พวกเติร์ก และพวกควาราซเมียน เพื่อแย่งชิงดินแดน แต่ไม่มีครั้งไหนที่ทำให้เมืองพินาศได้เท่ากับการรุกรานของพวกมองโกลในศตวรรษที่ 13 การโจมตีของพวกมองโกลนำไปสู่การปล้นสะดม เผาทำลายเมือง และการสังหารหมู่ชาวเมือง ว่ากันว่าจำนวนประชากรนับกว่า 500,000 คนภายในเมืองเรห์ เหลือเพียงไม่กี่แสนคนในช่วงที่มองโกลรุกราน และเพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเมือง ทำให้ผู้คนที่เหลือรอดอยู่เลือกที่จะย้ายขึ้นเหนือไปอยู่ที่เตหะรานที่อยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้ชุมชนเล็ก ๆของเตหะรานค่อย ๆขยายตัวขึ้นมา โดยในช่วงปี 1404 บันทึกของคณะทูตชาวกัสติยาที่นำโดย รอย กอนซาเลส เดอ คัลวาโย (Ruy González de Clavijo) ก็ได้เดินทางผ่านเมืองเตหะราน ซึ่งบันทึกว่าไว้ว่ามีบ้านเรือนปลูกขึ้นราว 3000 หลังคาเรือน

เมืองเตหะรานกลับมามีบทบาทสำคัญมากขึ้นสมัยราชวงศ์กอญัร เมื่อพระเจ้าชาห์อัคกาห์ โมฮัมหมัด (Agha Mohammad Qajar) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์กอญัรได้ทรงย้ายเมืองหลวงขึ้นจากอิสฟาฮานขึ้นเหนือไปที่เตหะราน เมืองเล็ก ๆ แห่งหนึ่งทางตอนเหนือ ด้วยเหตุผลทางด้านความมั่นคงเพื่อหนีห่างจากกลุ่มขุนนางที่ยังคงมั่นคงในราชวงศ์เก่า รวมทั้งกลุ่มขุนนางพื้นถิ่นเดิม ด้วยความที่เตหะรานนั้นเป็นเมืองเล็ก ๆ ที่ขาดแคลนสาธารณูปโภคต่าง ๆ จึงเป็นโอกาสดีที่ทางพระเจ้าชาห์อัคกาห์ โมฮัมหมัดจะได้ตั้งตัวขึ้นมา และลดการต่อต้านของทั้งขุนนางและประชาชน ที่สำคัญเมืองแห่งนี้ยังอยู่ใกล้กับบริเวณเทือกเขาคอเคซัสและพื้นที่อาร์เซไบจาน ซึ่งเป็นพื้นที่่ความขัดแย้งที่กำลังปะทุขึ้นมาระหว่างเปอร์เซีย-รัสเซีย ในอนาคตอันสั้น

แผนที่ของเมืองเตหะรานในปี 1857

การย้ายมาปักหลักที่เตหะราน ทำให้ราชวงศ์กอญัรต้องพัฒนาเมืองหลวงขึ้นมาใหม่ เพราะแต่เดิมเตหะรานนั้นไม่มีอะไรเลย โดยทางราชำสำนักใช้เวลาร่วมกว่า 50 ปี ในการเนรมิตเมืองใหม่ขึ้นมา กำแพงเมืองแปดเหลี่ยมถูกสร้างขึ้นรอบเมืองอย่างสมมาตร ย่านการค้าและชุมชนขยายตัวไปทั่วเมืองและกระจายขยายออกไป ในเวลานั้นประชากรในเมืองขยายตัวเพิ่มขึ้น จนมีเกือบ 80,000 ครัวเรือนอาศัยอยู่ในเขตเมืองเตหะราน

ภาพถ่ายทางอากาศของเมืองเตหะรานในปี 1925

ภายใต้อำนาจราชวงศ์ปาห์ราวี[แก้]

หลังจากความวุ่นวายทางการเมืองหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่การมีระบบสภาและการเลือกตั้ง สภาความมั่นคงแห่งอาณาจักรก็ได้มีการแต่งตั้งเรซา ชาห์ ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่แห่งราชวงศ์ปาห์ราวี การขึ้นมามีอำนาจของราชวงศ์ปาห์ราวีนอกจากจะรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางอีกครั้งแล้ว ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ให้กับเตหะรานที่เป็นเมืองหลวงอีกต่างหาก

ในช่วงทศวรรษ 1920-1930 พระเจ้าชาห์เรซา ปาห์ราวี ทรงเริ่มวางแผนเมกะโปรเจกต์ขนานใหญ่ในการปรับปรุงภูมิทัศน์ของเมืองใหม่ ทั้งการบูรณะอาคารสถานที่ราชการและวังต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปลักษณ์ของศิลปกรรมแบบคลาสสิคเปอร์เซีย พื้นที่ภายในพระราชวังโกเลสถาน โรงละครแห่งชาติ หรือจัตุรัสกลางเมือง ทุกอย่างถูกเพิ่มศิลปกรรมแบบเปอร์เซียเข้าไป เช่นเดียวกับกลุ่มอาคารราชการสมัยใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่ อย่างธนาคารกลาง สถานีตำรวจ หรือว่าค่ายทหารเอง ก็จะถูกสร้างขึ้นมาด้วยศิลปกรรมแบบคลาสสิกเปอร์เซีย ในขณะเดียวกันตามแผนการพัฒนาเมืองยังมีการตัดถนนขนาดใหญ่ขึ้นรอบเมือง เพื่อสร้างพื้นที่สาธารณะและลานอเนกประสงค์ให้ประชาชนใช้งาน และการตัดถนนนั้นได้ทำให้พื้นที่ของตลาดขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองอย่าง แกรนด์ บาซซาร์ ต้องหายไปกว่าครึ่ง

การพัฒนาเมืองในครั้งนี้ พระเจ้าชาห์หวังให้เตหะรานมีความเจริญเทียบเท่ากับทางตะวันตก ที่เต็มไปด้วยจัตุรัสและพื้นที่โล่งให้คนมาเดินเล่น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังคงรักษากลื่นอายของความเป็นเปอร์เซียเอาไว้

ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เตหะรานเป็นพื้นที่กลางในการพบปะคุยกันของผู้นำกลุ่มสัมพันธมิตร ได้แก่วินสตัน เชอร์ชิล นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร แฟลงคิน ดี.โรสต์เวลล์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และโจเซฟ สตาลิน ผู้นำสูงสุดของสหภาพโซเวียต

โครงการทางด่วนในเมืองเตหะราน

ในช่วงทศวรรษที่ 1950-1960 เตหะรานเต็มไปด้วยโครงการสิ่งก่อสร้างจนาดใหญ่ที่แสดงถึงความทะเยอทะยานในการพัฒนาเมือง อย่างไรก็ตามเตหะรานก็เผชิญกับปัญหาไม่ต่างอะไรจากเมืองหลวงของประเทศกำลังพัฒนาทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นปัญหาประชาชนแออัดจากการเข้ามาของผู้คนในชนบทสู่เมืองหลวง ปัญหามลพิษทางอากาศจากพายุทราย ปัญหาเกี่ยวกับน้ำ ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีปัญหาทางเศรษฐกิจที่สร้างความเหลื่อมล้ำภายในเมืองที่มาจากภาคธุรกิจน้ำมันเป็นแกนหลักของประเทศ และปัญหาเหล่านั้นยิ่งตอกย้ำงมากในนโยบายการปฏิรูปที่ดินของพระเจ้าชาห์อีก

หอคอยอะซาดี อนุสรณ์สถานแห่งนี้สร้างในสมัยพระเจ้าชาห์โมฮัมเหม็ด เรซา ปาห์ราวี ในปี 1971




ภูมิอากาศ[แก้]

ข้อมูลภูมิอากาศของTehran
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 19.6
(67.3)
23
(73)
28
(82)
32.4
(90.3)
37
(99)
41
(106)
43
(109)
42
(108)
38
(100)
33.4
(92.1)
26
(79)
21
(70)
43
(109)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 7.9
(46.2)
10.4
(50.7)
15.4
(59.7)
22.1
(71.8)
27.9
(82.2)
33.9
(93)
36.6
(97.9)
35.6
(96.1)
31.6
(88.9)
24.4
(75.9)
16.2
(61.2)
10
(50)
22.7
(72.9)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1
(30)
1
(34)
5
(41)
12
(54)
16
(61)
22
(72)
26
(79)
24
(75)
21
(70)
14
(57)
7
(45)
2
(36)
12
(54)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -15
(5)
-13
(9)
-8
(18)
-4
(25)
2.4
(36.3)
5
(41)
14
(57)
13
(55)
9
(48)
2.8
(37)
-7
(19)
-13
(9)
−15
(5)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 34.6
(1.362)
32.2
(1.268)
40.8
(1.606)
30.7
(1.209)
15.4
(0.606)
3
(0.12)
2.3
(0.091)
1.8
(0.071)
1.1
(0.043)
10.9
(0.429)
26
(1.02)
34
(1.34)
232.8
(9.165)
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 166.6 172.7 210.9 267.0 287.8 348.2 366.4 351.4 327.4 278.6 147.4 141.2 3,065.6
แหล่งที่มา: [8]

เมืองพี่น้อง[แก้]

ภาพปริทัศน์[แก้]

ภาพปริทัศน์กรุงเตหะรานในฤดูหนาว
ภาพปริทัศน์กรุงเตหะราน
ภาพปริทัศน์กรุงเตหะราน
ภาพปริทัศน์กรุงเตหะรานในเวลากลางคืน

อ้างอิง[แก้]

  1. "City of Tehran Statisticalyearbook" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
  2. Tehran, Environment & Geography เก็บถาวร 2015-11-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Tehran.ir.
  3. "Statistical Center of Iran > Home" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-04-13. สืบค้นเมื่อ 2021-04-13.
  4. "Major Agglomerations of the World - Population Statistics and Maps". citypopulation.de. 2018-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-13.
  5. Urban population: Data for Tehran County. ~97.5% of county population live in Tehran city
    Metro population: Estimate on base of census data, includes central part of Tehran province and Karaj County and Fardis from Alborz province
  6. "Tehran (Iran) : Introduction – Britannica Online Encyclopedia". Encyclopædia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-30. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
  7. "Tabiat Pedestrian Bridge / Diba Tensile Architecture". ArchDaily. November 17, 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 23, 2015. สืบค้นเมื่อ October 12, 2015.
  8. TEHRAN MEHRABAD weather summary (1951). I.R OF IRAN METEOROLOGICAL ORGANIZATION (IRIMO)
  9. "Тверская 13" 4.12.04. el.mos.ru (in Russian)
  10. [1][ลิงก์เสีย]
  11. Goldkorn, Jeremy. "Tehran-Beijing direct flights?". Danwei.org. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
  12. "Gulf Region". Dfa.gov.za. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.
  13. "Sister Cities of Manila". City Government of Manila. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-06. สืบค้นเมื่อ 2009-09-02.
  14. "Каталог организаций — Минский городской исполнительный комитет". Minsk.gov.by. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 2010-09-25.
  15. "Tehran, Havana named sister cities". Payvand.com. 2006-11-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-04-11. สืบค้นเมื่อ 2011-03-15.
  16. "Special Features: Dubai's sister cities". Dubai City Guide. สืบค้นเมื่อ 2012-05-21.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]