เอียวหู (หยาง หยง)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เอียวหู (จ๊กก๊ก))
เอียวหู (หยาง หยง)
楊顒
ขุนนางสำนักตะวันออก (東曹屬 ตงเฉาฉู่)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
นายทะเบียน (主簿 จู่ปู้)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
เจ้าเมืองปากุ๋น (巴郡太守 ปาจฺวิ้นไท่โฉ่ว)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
นครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
อาชีพขุนนาง
ชื่อรองจื่อเจา (子昭)

เอียวหู[1] มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หยาง หยง (จีน: 楊顒; พินอิน: Yáng Yóng) ชื่อรอง จื่อเจา (จีน: 子昭; พินอิน: Zǐzhāo) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน

ประวัติ[แก้]

เอียวหูเป็นชาวเมืองซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) ในมณฑลเกงจิ๋ว ซึ่งอยู่บริเวณนครเซียงหยาง มณฑลหูเป่ย์ในปัจจุบัน เอียวหูเป็นคนในตระกูลเดียวกันเอียวหงี ได้ติดตามเล่าปี่เข้ามณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่ของมณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) ได้รับตำแหน่งเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองปากุ๋น (巴郡 ปาจฺวิ้น) และตำแหน่งนายทะเบียน (主簿 จู่ปู้) ของจูกัดเหลียง[2] ทั้งเอียวหูและเอียวหงีอาศัยอยู่ริมแม่น้ำไกซุย (沔水 เหมี่ยนฉุ่ย) โดยเอียวหงีอาศัยอยู่ต้นน้ำและเอียวหูอาศัยอยู่ปลายน้ำ[3]

ในช่วงที่เอียวหูเป็นนายทะเบียนของจูกัดเหลียงผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊ก เอียวหูเห็นจูกัดเหลียงตรวจสอบบัญชีด้วยตนเอง จึงแนะนำจูกัดเหลียงอย่างตรงไปตรงมาว่า "การปกครองรัฐก็เฉกเช่นเดียวกับการปกครองบ้าน มีการระบบจัดการและการแบ่งหน้าที่ให้ทำเป็นที่แน่นอน ยกตัวอย่างในการปกครองบ้าน บ่าวไพร่มีหน้าที่ทำนา หญิงรับใช้มีหน้าที่ทำอาหาร ไก่มีหน้าที่ขัน สุนัขมีหน้าที่เฝ้าบ้านป้องกันผู้ร้าย วัวมีหน้าที่บรรทุกของ และม้ามีหน้าที่ควบทางไกล แต่ละคนมีหน้าที่ของตนเอง แบ่งสรรปันส่วนอย่างชัดเจน เจ้านายจึงพักผ่อนได้อย่างสงบ อยู่กินได้อย่างสบายใจ หากลงมือจัดการทุกอย่างด้วยตนเอง โดยไม่แบ่งงานให้ทำ ก็มีแต่จะทำให้ตัวเองเหนื่อยล้าทั้งกายและใจ ในท้ายที่สุดก็ไม่สำเร็จการใด ๆ ความสามารถและสติปัญญาของนายท่านเทียบไม่ได้กับบ่าวไพร่ ไก่ และสุนัขไม่ใช่หรือ เทียบไม่ได้เลย แต่นายท่านกลับกระทำขัดกับหลักการของผู้เป็นนาย" เอียวหงียังยกตัวอย่างอุทาหรณ์จากกรณีของปิ่ง จี๋ (丙吉) และตันแผง (陳平 เฉินผิง) เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของการแบ่งงานและความรับผิดชอบ จูกัดเหลียงขอบคุณเอียวหูสำหรับความคิดเห็นนี้[4]

ต่อมาเอียวหูได้เป็นขุนนางสำนักตะวันออก (東曹屬 ตงเฉาฉู่) ทำหน้าที่คัดเลือกคนเข้ารับราชการ เอียวหูเสียชีวิตระหว่างปฏิบัติหน้าที่ จูกัดเหลียงเสียใจอย่างมากและร้องไห้เป็นเวลา 3 วัน[5] ในช่วงเวลาเดียวกัน ล่าย สฺยง (賴厷) บุตรชายของล่าย กง (賴恭) ผู้เป็นเสมียนของสำนักตะวันตก (西曹令史 ซีเฉาลิ่งฉื่อ) ก็เสียชีวิตเช่นกัน จูกัดเหลียงเขียนจดหมายถึงเตียวอี้และเจียวอ้วนว่า "เหล่าขุนนางได้สูญเสียล่าย สฺยง ส่วนเหล่าขุนทหารก็สูญเสียเอียวหู นี่เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่ของราชสำนัก" [6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. (เอียวหูจึงว่าแก่ขงเบ้งว่า ท่านคิดการทั้งปวงเห็นจะเหนื่อย เอาเหงื่อต่างน้ำอดกินอดนอนจนซูบผอมถึงเพียงนี้ ข้าพเจ้าเห็นจะต้องคำสุมาอี้ว่า) "สามก๊ก ตอนที่ ๗๘". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2023.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. (楊顒字子昭,楊儀宗人也。入蜀,為巴郡太守、丞相亮主簿。) อรรถาธิบายจากเซียงหยางจี้ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
  3. (洲大岸西有洄湖,停水數十畮,長數里,廣減百步,水色常綠。楊儀居上洄,楊顒居下洄,與蔡洲相對,在峴山南廣昌里。) ฉุ่ยจิงจู้ เล่มที่ 28.
  4. (亮嘗自校簿書,主簿楊顒直入,諫曰:“為治有體,上下不可相侵。請為明公以作家譬之。今有人,使奴執耕稼,婢典炊爨,雞主司晨,犬主吠盜,牛負重載,馬涉遠路。私業無曠,所求皆足,雍容高枕,飲食而已。忽一旦盡欲以身親其役,不復付任,勞其體力,為此碎務,形疲神困,終無一成。豈其智之不如奴婢雞狗哉?失為家主之法也。是故古人稱'坐而論道,謂之王公;作而行之,謂之士大夫。'故丙吉不問橫道死人而憂牛喘,陳平不肯知錢穀之數,云'自有主者',彼誠達於位分之體也。今明公為治,乃躬自校簿書,流汗終日,不亦勞乎!”亮謝之。) จือจือทงเจี้ยน เล่มที่ 70.
  5. (後為東曹屬典選舉。顒死,亮垂泣三日。) เซียงหยางจี้.
  6. (恭子厷,為丞相西曹令史,隨諸葛亮於漢中,早夭,亮甚惜之,與留府長史參軍張裔、蔣琬書曰:“令史失賴厷,掾屬喪楊顒,為朝中損益多矣。”顒亦荊州人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45

บรรณานุกรม[แก้]