รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2478-2530
ในปีพ.ศ. 2477 ได้มีการแก้ไขกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 โดยเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการตัดศีรษะเป็นการยิงด้วยปืน และเปลี่ยนผู้มีอำนาจการสั่งโทษจากพระมหากษัตริย์เป็นเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่[note 1] โดยประกาศใช้กฎหมายนั้นเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2478[1] ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499 ยังคงให้ใช้การยิงด้วยปืนเป็นวิธีการประหารชีวิต[2] ปืนที่ใช้ในการประหารชีวิตตั้งแต่ปีพ.ศ. 2478 - พ.ศ. 2527 คือเอ็มเพ 18 หรือ เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 ซึ่งใช้ในการประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2478 ในเวลาต่อมาได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากเบิร์กมันน์เป็นเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5 หรือ ปืนกลมือเอ็มพี 5 เอสดี 3 และใช้เป็นครั้งแรกในปีพ.ศ. 2527 และเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5ถูกใช้จนกระทั่งการประหารชีวิตสุดใจ ชนะซึ่งเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า[3][4]
หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆาตกรรม ประเทศไทยได้ไม่มีการประหารชีวิตเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุ่น เลื่อมใส เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[5][6] และมีการประหารชีวิตอีก 42 ครั้งหลังจากพรหมมาศ ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[7]
รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าตั้งแต่ปีพ.ศ.2478 - พ.ศ 2520
[แก้]นี่คือรายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตโดยเพชฌฆาตของกรมราชทัณฑ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 - พ.ศ.2530 โดยไม่รวมถึงการประหารชีวิตนอกเรือนจำโดยเพชณฆาตซึ่งเป็นตำรวจหรือทหาร หลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" ในปี พ.ศ. 2477 ซึ่งรายชื่อดังกล่าวถูกรวบรวมตามข้อมูลที่บันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค แฟนคลับยุทธ บางขวาง เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558 โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ อดีตเจ้าพนักงานอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญงาน เรือนจำกลางบางขวาง และเป็นอดีตพี่เลี้ยงนักโทษประหาร
ลำดับที่ | ชื่อ | อายุ | เพศ | วันที่ถูกประหารชีวิต | ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี | ความผิดฐาน | เพชฌฆาต | นายกรัฐมนตรี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | สวัสดิ์ มะหะหมัด[note 2][8][9] | - | ชาย | 11 กันยายน พ.ศ 2478[10][11] | ศาลพิเศษ | ประทุษร้ายต่อพระบรมราชตระกูล | ทิพย์ มียศ | พระยาพหลพลพยุหเสนา |
2 | เขียน บุญกันสอน[12] | 40 | ชาย | 12 กรกฎาคม พ.ศ 2480[note 3] | พิษณุโลก | สมคบคิดกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ||
3 | เคลิ้ม น้ำทอง | - | ชาย | 27 กันยายน พ.ศ 2481 | อ่างทอง | ฆ่าคนด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส | ||
4 | คูณ นกอิน | 41 | ชาย | 16 ธันวาคม พ.ศ 2481 | สุโขทัย | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ||
5 | เขียว จ้อยขำ | 32 | ชาย | 7 มกราคม พ.ศ 2481[note 4] | นครนายก | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น | แปลก พิบูลสงคราม | |
6 | นิตย์ อินสมุทร์ | - | ชาย | 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2481[note 4] | สมุทรปราการ | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
7 | สมบุญ พรรณขาม | 41 | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 | ราชบุรี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา,ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, วางเพลิงจุดเผาเคหะสถานบ้านเรือนซึ่งเป็นที่สำหรับอยู่อาศัย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | |
8 | เจียม ใจเลิศ | 26 | ชาย | สุพรรณบุรี | ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและร่วมกันฆ่าคนเพื่อหลบหนีพาเอาทรัพย์ไปให้พ้นจากการจับกุม | ทิพย์ มียศ | ||
9 | จอม ใจเลิศ | 24 | ชาย | |||||
10 | เบี่ยง สังข์พันธ์เคราะห์ | 27 | ชาย | เพชรบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
11 | หับ พัดริน | - | ชาย | 29 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 | สุราษฎร์ธานี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | |
12 | พุด วงษ์เจริญ | 37 | ชาย | ชลบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายเพื่อจะเอาผลประโยชน์และสะดวกในการปล้น | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
13 | ชม พึ่งยนต์ | 31 | ชาย | นครนายก | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | |||
14 | ปาน จุนทอง | 36 | ชาย | พัทลุง | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
15 | พระสุวรรณชิต (วร กังสวร) | - | ชาย | 30 พฤศจิกายน พ.ศ 2482 | ศาลพิเศษ | สมคบกันกระทำการประทุษร้ายเพื่อจะทำลายรัฐบาล[13] | ทิพย์ มียศ | |
16 | เผ่าพงษ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
17 | ผุดพันธ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
18 | บุญมาก ฤทธิสิงห์ | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
19 | ขุนคลี่พลพฤณฑ์ (คลี่ สุนทรารชุน) | - | ชาย | 1 ธันวาคม พ.ศ 2482 | ทิพย์ มียศ | |||
20 | แม้น เลิศนาวี | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
21 | หลวงมหิทธิโยธี (สุ้ย ยุกตวิสาร) | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
22 | พระสิทธิเรืองเดชพล (แสง พันธ์ประภาส) | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
23 | แสง วัณณะศิริ | - | ชาย | 2 ธันวาคม พ.ศ 2482 | ทิพย์ มียศ | |||
24 | ขุนไววิทยาศร (เสงี่ยม ไวยวิทย์) | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
25 | ขุนนามนฤนาท (นาม ประดิษฐานนท์) | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
26 | จรัส สุนทรภักดี | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
27 | สัย เกษจินดา | - | ชาย | 3 ธันวาคม พ.ศ 2482 | ทิพย์ มียศ | |||
28 | ทง ช่างชาญกล | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
29 | เสริม พุ่มทอง | - | ชาย | |||||
30 | พวง พลนาวี | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
31 | ณเณร ตาละลักษณ์ | - | ชาย | ทิพย์ มียศ[note 5] | ||||
32 | ลี บุญตา | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
33 | หยุง ซิมแซ | 34 | ชาย | 5 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | กาญจนบุรี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | |
34 | มิ่ง อิ่มอ้น | 41 | ชาย | สุโขทัย | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
35 | หง แซ่เซียว | 26 | ชาย | กาญจนบุรี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | ||
36 | มัด ศรีมัย | - | ชาย | 6 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | อุตรดิตถ์ | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
37 | ค่ำ สระทองสังข์ | 47 | ชาย | นครปฐม | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
38 | ผาย อุทัยวรรณ | 36 | ชาย | พิจิตร | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | ||
39 | ยัง เม่นรักษ์ | 48 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
40 | นงค์ ขันอาษา | 28 | ชาย | ประจวบคีรีขันธ์ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาและฉุดคร่าเพื่อทำอนาจาร | ทิพย์ มียศ | ||
41 | เทียบ เขียวไปรเวศ | 28 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
42 | เหลา โกฏละออง | 33 | ชาย | 8 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | สวรรคโลก | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | |
43 | กราน ใจแน่ | 37 | ชาย | พิษณุโลก | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
44 | แคล้ว สังข์ลอย | 31 | ชาย | ราชบุรี | ร่วมกันปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น | ทิพย์ มียศ | ||
45 | เถา อารมย์ดี | 31 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
46 | ใบ เพ็ชร์นิลบุตร์ | 43 | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
47 | นวม ขันอาษา | 31 | ชาย | ประจวบคีรีขันธ์ | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
48 | สังข์ สว่างใจ หรือ สมีสังข์[14] | 33 | ชาย | 10 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | ธนบุรี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | |
49 | ใช้ วะตัญญู | 40 | ชาย | ราชบุรี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
50 | จันทา สายทัน | 29 | ชาย | อุบลราชธานี | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย และด้วยกระทำทรมาน หรือแสดงความดุร้ายทำแก่ผู้ตายให้ได้ความลำบากอย่างสาหัส | ทิพย์ มียศ | ||
51 | ชั้น น้ำจันทร์ | 26 | ชาย | ชัยนาท | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
52 | วัน มายัง | 31 | ชาย | พิจิตร | สมคบคิดกันปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์, ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำผิดอย่างอื่น | ทิพย์ มียศ | ||
53 | สวัสดิ์ ชูนาม | 28 | ชาย | ราชบุรี | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและลักทรัพย์โดยมีอาวุธติดตัวไปด้วย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
54 | อันตรา คาน | 29 | ชาย | 15 มกราคม พ.ศ. 2482[note 4] | พิษณุโลก | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | |
55 | หลวงทิพอักษร (ทิพ รัตตะพันธ์) | - | ชาย | 22 มกราคม พ.ศ. 2484 | ศาลพิเศษ | สมคบกับคนใช้ของรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสนำเอกสารอันปกปิดเป็นความลับสำหรับป้องกันภยันตรายแก่ราชอาณาจักร ไปพิมพ์และถ่ายรูปแล้วนำส่งไปให้กับฝรั่งเศส และอินโดจีนฝรั่งเศส ต่อมานั้นฝรั่งเศสที่ได้เอาใจไปเผื่อแผ่ได้กระทำมารบพุ่งแก่ประเทศไทย | ||
56 | ทอง สุทธิโสภา | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
57 | เจริญ แซ่ลี้ | - | ชาย | 3 มีนาคม พ.ศ. 2484 | เอาใจเผื่อแผ่ช่วยราชศัตรูที่กระทำรบพุ่งต่อราชอาณาจักร โดยมีลักษณะยุยงคนซึ่งรับราชการในทหารบกของกกองทัพไทยให้หลบหนี, ให้ก่อกำเริบขึ้น และละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ | ทิพย์ มียศ | ||
58 | งาม ใยบัวเทศ | 40 | ชาย | 7 มีนาคม พ.ศ. 2484 | อาญากรุงเทพ | ฆ่าเจ้าพนักงาน, ประทุษร้ายต่อเจ้าพนักงานและพยายามลักทรัพย์ในเคหะสถานในเวลาค่ำคืน | ||
59 | มงคล อินสอน | 25 | ชาย | สวรรคโลก | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
60 | ไปล่ บุญเพ็ชร์ | 48 | ชาย | สุโขทัย | ร่วมกันฆ่าวางเพลิงและฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย | ทิพย์ มียศ | ||
61 | ย้อย แสงอ่ำ | 48 | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
62 | ปัน ธรรมวงศ์ | 40 | ชาย | ลำพูน | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดและหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญา | ทิพย์ มียศ | ||
63 | เม้า ดิษฐวงษ์[15] | - | ชาย | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2484 | ศาลพิเศษ | เอาใจเผื่อแผ่ช่วยราชศัตรูที่กำลังทำการรบพุ่งต่อราชอาณาจักรไทย โดยช่วยสอดแนมสืบกิจการ นำทางให้ราชศัตรูรอบรู้ข้อราชการเรื่องกำลังและที่ตั้งของทหาร ตำรวจ แห่งประเทศไทย | ||
64 | อิ๊ด เป้าจินดา | 41 | ชาย | 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 | นครปฐม | ใช้ให้ผู้อื่นกระทำผิดและปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | ||
65 | ใย สนบำรุง[note 6] | 62 | หญิง | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
66 | มี เจนสาริกิจ | 41 | ชาย | อุทัยธานี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ทิพย์ มียศ | ||
67 | พุด สานะเสน | - | ชาย | 14 ธันวาคม พ.ศ. 2485 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 3[note 7] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่ | ||
68 | สวัสดิ์ นิ่มละม่อม | - | ชาย | 24 ธันวาคม พ.ศ. 2485 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 7] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนเพื่อที่จะเอาผลประโยชน์อันเกิดแต่การกระทำผิดอย่างอื่นมาเป็นของมัน หรือเพื่อจะปกปิดการกระทำผิดอย่างอื่น หรือเพื่อจะหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิด | ||
69 | หมู มูนดา | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 7] | ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
70 | มี มินโสด | - | ชาย | ศาลทหารกรุงเทพ[note 7] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและฆ่าเจ้าพนักงานผู้ประจำหน้าที่ | ทิพย์ มียศ | ||
71 | สนอง คชริทธิ์ | - | ชาย | 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 7] | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
72 | ตุง แซ่หว่อง | 28 | ชาย | 15 เมษายน พ.ศ. 2486 | เลย | ฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมายและซ่อนเร้นศพ | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | |
73 | อ่อน แดงกูล | - | ชาย | กาญจนบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และพยายามฆ่าเจ้าพนักงาน | |||
74 | กุลยา มันคาล | - | ชาย | 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 | ปัตตานี | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
75 | น้อย ลังกะวงส์ | - | ชาย | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2486 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 7] | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
76 | แอ๊ว ชูนาม[note 8] | - | ชาย | 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 | ฆ่าเจ้าพนักงาน | |||
77 | พัน จูจัน | - | ชาย | ฆ่าเจ้าพนักงาน และหลบหนีที่คุมขัง | ทิพย์ มียศ | |||
78 | โปร่ง สมบุญ | - | ชาย | 12 กรกฎาคม พ.ศ 2486 | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย | |||
79 | ก๋อ สมบุญ | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
80 | สอน กันสิริ | - | ชาย | ทิพย์ มียศ | ||||
81 | เปล่ง สมบุญ | - | ชาย | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||||
82 | หวน สานุสิส | - | ชาย | 30 ตุลาคม พ.ศ 2486 | ศาลมณฑลทหารบกที่4[note 7] | ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมายและละทิ้งเด็ก | ทิพย์ มียศ | |
83 | ผิน เจริญสุข | - | ชาย | ศาลทหารกรุงเทพ[note 7] | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | เหรียญ เพิ่มกำลังเมือง | ||
84 | แสง ปัญญาวุทโท หรือ สังวาล กสิรัต | - | ชาย | 4 มกราคม พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
85 | อุดม บุนนาค | - | ชาย | 10 มีนาคม พ.ศ 2487 | ฆ่าเจ้าพนักงาน | |||
86 | ฉาย ยิ้มสุข | - | ชาย | 19 เมษายน พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
87 | สุชิต เหล็งสิทธิ | - | ชาย | 24 พฤษภาคม พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
88 | แว่ว อำพันภูธร | - | ชาย | 1 กรกฎาคม พ.ศ 2487 | ฆ่าคนตายโดยเจตนาด้วยความพยาบาทมาดหมาย | |||
89 | กี่ โพธิ์สลัก | - | ชาย | 1 พฤศจิกายน พ.ศ 2494 | ตราด | ฆ่าบิดามารดา หรือฆ่าญาติที่สืบสายโลหิตโดยตรงขึ้นไป | ||
90 | จิตต์ ศิริสวัสดิ์ | - | ชาย | สงขลา[note 9] | ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | |||
91 | บุรี ศรีรอดบาง | - | ชาย | |||||
92 | เฉลียว ปทุมรส | 52 | ชาย | 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 | อาญากรุงเทพ | สมคบกันประทุษร้ายต่อองค์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว[16] | ||
93 | บุศย์ ปัทมศริน | 55 | ชาย | |||||
94 | ชิต สิงหเสนี | 50 | ชาย | |||||
95 | สิงห์ อินทนนท์ | 26 | ชาย | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2498 | เชียงใหม่ | ฆ่าบุพการีด้วยความทารุณ และพยายามฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
96 | ประถม อุบลอิ่มชัย | - | ชาย | 31 สิงหาคม พ.ศ. 2499 | บุรีรัมย์ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | ||
97 | ประยูร กกประโคน | - | ชาย | |||||
ไม่ถูกนับ | ศุภชัย ศรีสติ[17] | 34 | ชาย | 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2502 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | กระทำการร้ายเพื่อบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรและราชบัลลังก์, คุกคามความสงบภายในประเทศไทย | เพี้ยน คนแรงดี | สฤษดิ์ ธนะรัชต์ |
98 | ลีอุย แซ่อึ้ง[18][19][20] | 32 | ชาย | 16 กันยายน พ.ศ. 2502 | ระยอง | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย | ||
99 | โฉม ฉิมมา | - | ชาย | 30 ธันวาคม พ.ศ. 2502 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 10] | ร่วมกันฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | ||
100 | ใจ ฉิมมา | - | ชาย | |||||
101 | เชื่อม เมฆอ่ำ | - | ชาย | 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2503 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 10] | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
102 | ดุ่ย ศุภรังษี | - | ชาย | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||||
103 | ม้วน คล้ายสกุล | - | ชาย | นครสวรรค์ | ฆ่าคนเพื่อประโยชน์ที่จะตระเตรียมการ หรือให้เป็นความสะดวกในการที่จะกระทำอย่างอื่น และเพื่อปกปิดความผิดอื่น, ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||
104 | กอง ผาวัน | - | ชาย | อุบลราชธานี | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
105 | บัน ใจกล้า | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่7[note 10] | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
106 | อั้น แซ่พู่ | - | ชาย | 19 สิงหาคม พ.ศ.2503 | ระนอง | เป็นโจรสลัดปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
107 | เล็ก วิเชียรลักษณ์ | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
108 | สง ทองสองแก้ว | - | ชาย | 11 ตุลาคม พ.ศ.2503 | ศาลมณฑลทหารบกที่5[note 10] | ฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
109 | เลี้ยงฮ้อ แซ่เล้า[21] | - | ชาย | 29 สิงหาคม พ.ศ.2504 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย[note 11] | ||
110 | ลี อยู่พงษ์[note 12][22] | - | ชาย | 31 ตุลาคม พ.ศ.2504 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 10] | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย | เพี้ยน คนแรงดี | |
111 | เฟือง มากศิริ | - | ชาย | ปากพนัง | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
112 | เฉลียง ไวทยาพิศาล | - | ชาย | นราธิวาส | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | ||
113 | ฟ้อน คำภินวม | - | ชาย | 16 มีนาคม พ.ศ.2505 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 10] | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | ||
114 | อั้น องอาจ | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 10] | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
115 | อิน ชาญสูงเนิน | - | ชาย | สวรรคโลก | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
116 | ราม หริอ รวม วงศ์พันธ์[23][24][25] | 40 | ชาย | 24 เมษายน พ.ศ.2505 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | การกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
117 | สำเนียง ต้นแขม | - | ชาย | 12 พฤษภาคม พ.ศ.2505[note 13] | นครสวรรค์ | ปล้นทรัพย์ และฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | เพี้ยน คนแรงดี | |
118 | ประเสริฐ โพธิ์ทอง | - | ชาย | 10 กรกฎาคม พ.ศ.2505 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 10] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||
119 | นุกูล ปานเทศ | - | ชาย | 1 ตุลาคม พ.ศ.2505 | นครศรีธรรมราช | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
120 | สำลี ฤทธิ์รื่น | - | ชาย | หล่มสัก | ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย ,ฆ่าผู้อื่นเพื่อเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | เพี้ยน คนแรงดี | ||
121 | เขียว ทาคำมา | - | ชาย | เชียงราย | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
122 | เจือ กาญจนรักษ์ | - | ชาย | ฉะเชิงเทรา | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดและเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ | เพี้ยน คนแรงดี | ||
123 | แอ๊ว คำสัตย์ | - | ชาย | 26 ธันวาคม พ.ศ.2505 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 10] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอื่น | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
124 | บุญยืน แสงชมพู | - | ชาย | 9 เมษายน พ.ศ. 2506 | เชียงใหม่ | มีวัตถุระเบิดสําหรับใช้เฉพาะแต่ในการสงคราม และฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 14] | เพี้ยน คนแรงดี | |
125 | ปัญญา หงส์ป้อง | - | ชาย | กบินทร์บุรี | พาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้าย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเรา | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
126 | สุวรรณ สวัสดี หรือ ชิต เรืองสวัสดิ์ | - | ชาย | ฉะเชิงเทรา | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | เพี้ยน คนแรงดี | ||
127 | พวน บำเพ็ญทาน | - | ชาย | อ่างทอง | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
128 | ประจวบ พันธ์เจริญ | - | ชาย | 25 มิถุนายน พ.ศ. 2506 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 10] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | |
129 | เลย ทาวรรณ์ | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 7[note 10] | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
130 | สี เย็นจิตร | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
131 | สมพงษ์ ละอองสะอาด | - | ชาย | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2506 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 10] | ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดฐานลักทรัพย์ และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ||
132 | คล่อง ทองแก้ว | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 10] | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
133 | หนม เจริญสุข | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 10] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดและปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | |||
134 | โฉม ม่วงวงศ์ | 59 | ชาย | 28 สิงหาคม พ.ศ. 2506 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 10] | จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | |
135 | ทรวง ดวงนภา | - | ชาย | 10 ตุลาคม พ.ศ. 2506 | อาญากรุงเทพ[note 15] | ร่วมกันฆ่าคนตายด้วยความพยาบาทมาดหมาย(ทรวง,สุวรรณ และซ้อน)/ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน(เตี้ย) [note 16] | ||
136 | สุวรรณ อุยะตุง | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
137 | ซ้อน ผลวานิช | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
138 | เตี้ย วิรัช | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 2[note 17] | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |||
139 | อนันต์ เกิดบ้านใหม่ | - | ชาย | 26 ตุลาคม พ.ศ. 2507 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 10] | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | เพี้ยน คนแรงดี | ถนอม กิตติขจร |
140 | ห้อย อยู่ยา | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 10] | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
141 | สวัสดิ์ ศิริศรี | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 10] | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
142 | จำลอง แจ่มจำรัส | - | ชาย | 21 มกราคม พ.ศ. 2508 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 10] | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการที่จะปล้นทรัพย์ และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | ||
143 | ปิ่น ศรัทรา | - | ชาย | 10 มิถุนายน พ.ศ. 2508 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 10] | ฆ่าบุพการีโดยไตร่ตรองไว้ก่อน,พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิด | ||
144 | จง ศรีงามฉ่ำ | - | ชาย | 24 กันยายน พ.ศ. 2508 | สุพรรณบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
145 | ฉลวย ทับวิเศษ | - | ชาย | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 10] | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น | เพี้ยน คนแรงดี | |
146 | เซ่ง ศิริพัน | - | ชาย | 4 ตุลาคม พ.ศ. 2508 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 10] | จับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
147 | เย็น วงค์ใน | - | ชาย | 10 มีนาคม พ.ศ. 2509 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 7[note 10] | จ้างวานให้ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | |
148 | หลั่น ดอกดิน | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
149 | บุญมี เชี่ยวบางยาง[26][27] | 25 | ชาย | 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ปล้นทรัพย์, ฆ่าคนตาย บ่อนทำลายและคุกคามความสงบภายในราชอาณาจักรและกระทบกระเทือนต่อการปกครอง | เพี้ยน คนแรงดี | |
150 | เสี่ยงเอี้ยว แซ่เซียว | - | ชาย | 10 มีนาคม พ.ศ. 2510 | ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย | เพี้ยน คนแรงดี | ||
151 | จิ้วซิว แซ่ฉั่ว | - | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
152 | น้อย แหลมไธสง[28] | - | ชาย | 15 มีนาคม พ.ศ. 2510 | นครราชสีมา | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อตระเตรียมการหรือเพื่อความสะดวกในการปล้นทรัพย์ และเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | เพี้ยน คนแรงดี | |
153 | เชื่อม เหมือนนรุธ | - | ชาย | 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2510 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 10] | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนา | มุ่ย จุ้ยเจริญ | |
154 | ถนอม ฝากฝัง | - | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
155 | วิชิต เกตุคำศรี[29][30][31] | - | ชาย | 1 สิงหาคม พ.ศ. 2510 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 17 | ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์ | ||
156 | ก๊กง้วน แซ่ฉั่ว | - | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2510 | ผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่าย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
157 | บุญมี ดวงภูเขียว | 28 | ชาย | 18 มีนาคม พ.ศ. 2511 | ขอนแก่น | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เพี้ยน คนแรงดี | |
158 | ถนอม โรจนภัทร์ภาษิต | 31 | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
159 | เขียด สุระกำแหง | - | ชาย | 4 มิถุนายน พ.ศ. 2512 | สงขลา | ร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
160 | บุญธรรม โพธิ์รอด | - | ชาย | 9 กันยายน พ.ศ. 2512 | สุพรรณบุรี | หลบหนีไประหว่างที่ถูกคุมขัง,ทำร้ายร่างกาย และร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
161 | สัมฤทธิ์ พวงเนียม | - | ชาย | |||||
162 | ฟ่อน พิทักษ์ | - | ชาย | 27 ตุลาคม พ.ศ. 2513 | สุราษฎร์ธานี[note 18] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||
163 | ดีน เหล้หวัน | 30 | ชาย | 21 มกราคม พ.ศ. 2514 | นครศรีธรรมราช | ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย,ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | ||
164 | วินัย โพธิ์ภิรมย์ หรือ นัย ตะขาบ | 19 | ชาย | 17 ธันวาคม พ.ศ. 2514 | ประหารชีวิตตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติ | สมคบกันโดยมีอาวุธปล้นทรัพย์ และฆ่าเจ้าทรัพย์ | ||
165 | เสน่ห์ อ่อนแก้ว | 21 | ชาย | 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2515 | ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
166 | ซ้งหลี แซ่ตั้ง | 20 | ชาย | 9 เมษายน พ.ศ. 2515 | ปล้นฆ่าเจ้าทรัพย์[note 19] | |||
167 | ปิยะ อำพันปอง หรือ ซ้ง แซ่โค้ว | 27 | ชาย | |||||
168 | เจริญ ยิ้มละมุน | 34 | ชาย | 15 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | ลพบุรี | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย,พยายามฆ่าเจ้าพนักงาน และต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน | ||
169 | สมศักดิ์ ปาทาน หรือ ศักดิ์ มุ่งจงรักษ์ | 29 | ชาย | ชลบุรี | สมคบกันปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธ, ร่วมกันโทรมหญิง, สมคบกันฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ และมีอาวุธปืนไม่มีทะเบียนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต | |||
170 | ธวัช สุธากุล หรือ เปี๊ยก เฉลิมไทย | 28 | ชาย | |||||
171 | หงี ลิ้มประเสริฐ | 33 | ชาย | 16 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | ประหารชีวิตตามคำสั่งของหัวหน้าคณะปฎิวัติ | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาด้วยความทารุณโหดร้ายและไตร่ตรองไว้ก่อน | ||
172 | จำเนียร จันทรา | 19 | ชาย | 19 มิถุนายน พ.ศ. 2515 | สมคบกันพยายามลักทรัพย์ และฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
173 | ธนูชัย มนตรีวัต | 19 | ชาย | |||||
174 | สนอง โพธิ์บาง | 20 | ชาย | |||||
175 | ชู ภักดี | 36 | ชาย | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2515 | ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอย่างทารุณโหดร้ายในลักษณะโทรมหญิงและพยายามฆ่าคนเพื่อปกปิดความผิด[note 20] | |||
176 | ไส้ออก ชื่นบุญ | 34 | ชาย | |||||
177 | ชัยยศ สมบูรณ์ | 19 | ชาย | 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 | ชิงทรัพย์และฆ่าคนตาย | |||
178 | จุ่งเพ้ง แซ่ตียว | - | ชาย | 18 ธันวาคม พ.ศ. 2515 | ร่วมกันผลิตและจำหน่ายเฮโรอีน | |||
179 | ซ้ง แซ่เอี่ยว | - | ชาย | |||||
180 | ภิญโญ ชูช่วยสุวรรณ | - | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 21] | ฆ่าคนตายโดยเจตนา | สัญญา ธรรมศักดิ์ | |
181 | สมยศ ปิ่นเกตุ | - | ชาย | ชุมพร | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||
182 | บัณฑิต รักษ์พันธิ์ | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 21] | ข่มขืนกระทำชำเรา และฆ่าคนตายโดยเจตนา | |||
183 | สุพรรณ์ บุญศัทธา | - | ชาย | 11 ธันวาคม พ.ศ. 2516 | ศรีสะเกษ | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
184 | น้อย วิลากลาง | 26 | ชาย | 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2517 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 7[note 21] | สมคบคิดกันฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน | ||
185 | มนัส อุนจะนำ | 29 | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
186 | สมจิตร สำเนียงดี | 28 | ชาย | อาญากรุงเทพ | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
187 | สม จันทร์ติ๊บ | 25 | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 7[note 21] | ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||
188 | ชาญ เอ่งฉ้วน[32] | 37 | ชาย | กระบี่ | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน และพาอาวุธไปในเมือง | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||
189 | อำคา ฟองดี | - | ชาย | 4 มีนาคม พ.ศ. 2517 | ลพบุรี | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
190 | ประเสริฐ ซื่อสัตย์ | 24 | ชาย | 16 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 7[note 21] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เพี้ยน คนแรงดี | |
191 | ธรรมศิริ ซื่อสัตย์ | 32 | ชาย | มุ่ย จุ้ยเจริญ | ||||
192 | ศรีนวล นาวาระ | 30 | ชาย | เพี้ยน คนแรงดี | ||||
193 | สำรอง นิรโส | 34 | ชาย | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2517 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 21] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ||
194 | นิรันดร์ เกิดผิวดี | 22 | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 3[note 21] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||
195 | ไฉน พบพิมาย | 30 | ชาย | ปล้นทรัพย์โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำรวจ หรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำรวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิด หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการจับกุมจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย |
รายชื่อบุคคลที่ถูกยิงเป้าในช่วงปีพ.ศ. 2520 - พ.ศ. 2530
[แก้]หลังจากธานินทร์ กรัยวิเชียร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 ต่อมาพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ได้ทำรัฐประหารธานินทร์ กรัยวิเชียรแล้วให้พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีการใช้มาตรา 27 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2520 และ มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521[33] ซึ่งนายกรัฐมนตรีจะมีอำนาจที่จะสั่งการหรือกระทำใดๆก็ได้ เช่นประหารชีวิตในกรณีที่เห็นสมควร เพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หรือราชบัลลังก์ หรือการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลาย ก่อกวน หรือคุกคามความสงบที่เกิดขึ้นภายในหรือมาจากภายนอกราชอาณาจักร[34] โดยการประหารชีวิตในท้องที่เกิดเหตุในช่วงเวลาดังกล่าวต่างจากการประหารชีวิตโดยอำนาจมาตรา 17[35] ซึ่งการประหารโดยอำนาจมาตรา 17 จะเกิดในที่สาธารณะ และดำเนินการโดยเพชฌฆาตที่เป็นทหารหรือตำรวจ[36] ส่วนการประหารชีวิตในช่วงการใช้มาตรา 21 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2519 จนถึง มาตรา200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ.2521 การประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีในท้องที่เกิดเหตุจะเกิดขึ้นภายในเรือนจำของจังหวัดท้องที่เกิดเหตุ และประหารชีวิตโดยเพชฌฆาตจากกรมราชฑัณฑ์ แต่การประหารชีวิตมาตรา 27 จะดำเนินการภายในเรือนจำกลางบางขวางเท่านั้น
หลังจากการประหารชีวิตพลทหารสายทอง แสงแก้ว เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ที่เรือนจำจังหวัดอุดรธานี การประหารชีวิตถัดจากนั้นทั้งหมดได้เกิดที่เรือนจำกลางบางขวางจนถึงปัจจุบัน หลังจากการประหารชีวิตคำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ก่อนจะว่างเว้นการประหารชีวิตไปเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือจุ่น เลื่อมใส อายุ 38 ปี เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539[37]
ลำดับที่ | ชื่อ | อายุ | เพศ | วันที่ถูกประหารชีวิต | ศาล/คำสั่งนายกรัฐมนตรี | สถานที่ประหารชีวิต | ความผิดฐาน | เพชฌฆาต | นายกรัฐมนตรี |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
196 | ถาวร แซ่โค้ว หรือ ถาวอน อุดมรืเดด,เชนติงเยน,อาข่าน,เอาซู | 44 | ชาย | 14 เมษายน พ.ศ 2520 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 | เรือนจำกลางบางขวาง | ร่วมกันมีไว้ครอบครองและมีไว้เพื่อขาย ซึ่งยาเสพติดให้โทษชนิดเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ | ประถม เครือเพ่ง | ธานินทร์ กรัยวิเชียร |
197 | ฉลาด หิรัญศิริ[38][39][40][41] | 54 | ชาย | 21 เมษายน พ.ศ 2520 | บ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ราชบัลลังก์ เศรษฐกิจของประเทศ หรือราชการแผ่นดิน , ร่วมกันเป็นตัวการสำคัญในการสะสมกำลังพลและอาวุธเพื่อเป็นกบฎ, ฆ่าเจ้าพนักงานโดยทารุณโหดร้าย | ||||
198 | สมปอง พุมวงศ์ | 21 | ชาย | 21 พฤษภาคม พ.ศ 2520 | เรือนจำจังหวัดนครนายก | ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน | |||
199 | หมั่นโคก บุญประเสริฐ | - | ชาย | 14 มิถุนายน พ.ศ 2520 | เรือนจำจังหวัดปราจีนบุรี | บังอาจกระทำความผิดต่อประเทศชาติอย่างร้ายแรง[42][43] | |||
200 | อยู่ จาก | - | ชาย | ||||||
201 | เตี้ย จันทร์ตรา | - | ชาย | ||||||
202 | อัศวิน พูนเต่า[44] | 24 | ชาย | 1 กรกฎาคม พ.ศ 2520 | เรือนจำกลางบางขวาง | ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้ายและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน | ธิญโญ จันทร์โอทาน[note 22] | ||
203 | สมพร สีม่วง | 19 | ชาย | 26 สิงหาคม พ.ศ 2520 | เรือนจำจังหวัดหนองคาย | ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน | ประถม เครือเพ่ง | ||
204 | วิชิต ปานนท์ | 25 | ชาย | เรือนจำกลางนครสวรรรค์ | ข่มขืนกระทำชำเราโดยมีลักษณะโทรมหญิงและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิด | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
205 | อุดร อำรินทร์ | 23 | ชาย | เรือนจำจังหวัดระยอง | ข่มขืนกระทำชำเรา,ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน และเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดที่ตนได้กระทำไว้ | เรียบ เทียมสระคู | |||
206 | ดอน เกิดเป็ง | 22 | ชาย | 7 กันยายน พ.ศ 2520 | เรือนจำกลางเชียงใหม่ | ข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกินสิบห้าปีและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน | ประถม เครือเพ่ง | ||
207 | เล่าฝั่น แซ่ย่าง หรือ ฝั่น ชูเสียง | 39 | ชาย | 3 พฤศจิกายน พ.ศ 2520[note 23] | เรือนจำกลางบางขวาง | ได้บังอาจร่วมกันมีไว้ในครอบครอง และมีไว้เพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษชนิดเฮโรอีนไฮโดรคลอไรด์ และมอร์ฟีนไฮโดรคลอไรด์[note 24] | สงัด ชลออยู่ | ||
208 | ชาญ ศรีผดุงกุล | 42 | ชาย | ||||||
209 | วิเชียร ชูทอง[45] | 25 | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 25] | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา,ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใด ๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย ได้กระทำโดยทำให้ผู้ถูกกระทำเข้าใจว่าผู้กระทำมีอาวุธปืน, ชิงทรัพย์โดนมีอาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
210 | คำหล้า คำลือวงศ์ หรือ หล้า สอนขันธ์ | 28 | ชาย | 23 มิถุนายน พ.ศ 2521 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 27 | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตาย | ประถม เครือเพ่ง | เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | |
211 | ซิม ผึงหว่าง | - | ชาย | 3 สิงหาคม พ.ศ 2521 | ร่วมกันผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายและมีไว้ครอบครอบโดยผิดกฎหมาย | ||||
212 | ฮีเซี้ยม แซ่เฮ้ง | 40 | ชาย | ||||||
213 | ปังจอง แซ่อึ้ง หรือ อึ้งปังจอง, พังฉ่าง | 42 | ชาย | 4 ตุลาคม พ.ศ 2521 | ร่วมกันมีเฮโรอีน,มอร์ฟีน และฝิ่น ไว้ครอบครองเพื่อจำหน่ายและส่งขายไปยังต่างประเทศ โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย | ||||
214 | ปลั่ง ยิ่งสกุล | 37 | ชาย | 27 ตุลาคม พ.ศ 2521 | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายเพื่อปกปิดความผิดของตน | ||||
215 | วิเชียร อ่างแก้ว | 22 | ชาย | ข่มขืนกระทำชำเรา, ฆ่าคนตายเพื่อปกปิดคามผิดของตน, ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส | |||||
216 | แสวง อินปรางค์ | 50 | ชาย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2521 | ข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าชิงทรัพย์ | ||||
217 | กิ่งแก้ว ลอสูงเนิน[46] | 28 | หญิง | 13 มกราคม พ.ศ 2522 | ประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 200 | ร่วมกันจับคนเพื่อได้มาซึ่งค่าไถ่และฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดของตน[47] | |||
218 | เกษม สิงห์ลา | - | ชาย | ||||||
219 | ปิ่น พึ่งญาติ | 28 | ชาย | ||||||
220 | สมคิด ศรีบัวขาว | - | ชาย | 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522 | เรือนจำกลางอุดรธานี | ร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิงและร่วมกันฆ่าคนตายโดยเจตนาเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราอันมีลักษณะโทรมหญิง | |||
221 | นิยม แก้วมาตย์ | - | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
222 | คำสิงห์ อาจหาญ | - | ชาย | ||||||
223 | สายทอง แสงแก้ว | - | ชาย | 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522[note 26] | ประถม เครือเพ่ง | ||||
224 | มะดะโอ๊ะ แวมายอ | - | ชาย | 21 กรกฎาคม พ.ศ 2523 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 27] | เรือนจำกลางบางขวาง | ฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | เปรม ติณสูลานนท์ | |
225 | น้อม จำปาทอง[note 28] | 61 | ชาย | 24 พฤศจิกายน พ.ศ 2523 | นครปฐม | ร่วมกันเอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่เป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไปถึงแก่ความตาย | |||
226 | อรรณพ จำปาทอง | 31 | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
227 | จรูญ คงระเรื่อย | 32 | ชาย | 8 เมษายน พ.ศ 2524 | สุราษฎร์ธานี | ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่ | ประถม เครือเพ่ง | ||
228 | ประกอบ สกุลจันทร์ หรือ น้อย ชาสูงเนิน | 22 | ชาย | 22 พฤษภาคม พ.ศ 2524 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 3[note 27] | พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, มีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต, ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
229 | สมบัติ เกตุจันทร์ | 30 | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
230 | จ้อย โนนกระโทก | 24 | ชาย | ||||||
231 | ชลอ อยู่หล่ำ | - | ชาย | 9 มิถุนายน พ.ศ 2524 | พิษณุโลก | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, พยายามฆ่า,หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายผู้แทนรัฐต่างประเทศซึ่งได้รับแต่งตั้งให้มาสู่พระราชสำนัก และกระทำความผิดอีกในระหว่างที่ยังจะต้องรับโทษอยู่ หรือ ภายในเวลาห้าปีนับแต่วันพ้นโทษ | ประถม เครือเพ่ง | ||
232 | บรรจง สว่างจิตร | - | ชาย | 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2525 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 27] | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
233 | เล็ก เพชรบูรณ์ | - | ชาย | 8 มีนาคม พ.ศ 2525 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 27] | จ้างวานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
234 | วัน ถวิลรัมย์ | - | ชาย | 29 เมษายน พ.ศ 2525 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 3[note 27] | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | |||
235 | บุญธรรม ขวัญสุข | - | ชาย | ศาลทหารกรุงเทพ[note 27] | ปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
236 | ถาวร พูลศิลป์ | - | ชาย | ||||||
237 | สมนึก สุขศรี | - | ชาย | 30 มกราคม พ.ศ 2527 | นครสวรรค์ | กระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีซึ่งมิใช่ภริยาหรือสามีของตนจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย, พรากผู้เยาวน์เพื่อการอนาจาร และฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตน | ประถม เครือเพ่ง | ||
238 | ชัยพร ไชยมหาพรหม | - | ชาย | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2527 | พะเยา | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, มีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ ,พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต | |||
239 | เชาวลิต เกลี้ยงขำ หรือ ฆธาวุฒิ รัตนวงศ์ | - | ชาย | นครศรีธรรมราช | ปล้นทรัพย์โดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำผิดเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
240 | ประเสริฐ ฉิมเจริญ | 33 | ชาย | 2 พฤษภาคม พ.ศ 2527 | สมุทรสาคร | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย และพกพาอาวุธมีด | ประถม เครือเพ่ง | ||
241 | บุญส่ง ตาละคำ | - | ชาย | 5 มิถุนายน พ.ศ 2527 | กาญจนบุรี | ฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
242 | ชวลิต มีสมยา | - | ชาย | 12 มิถุนายน พ.ศ 2527 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 27] | พาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
243 | ละมัย โพธิ์สุวรรณ หรือ บุญชู ชอ้อนปั้น[48] | 27 | ชาย | 3 กรกฎาคม พ.ศ 2527 | สมุทรปราการ | ข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยใช้กำลังประทุษร้ายเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำถึงแก่ความตาย | |||
244 | จำลอง ปัญญาวงษ์ | - | ชาย | ตราด | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานปล้นทรัพย์ | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
245 | มนตรี อินทรัตน์ | - | ชาย | 11 ตุลาคม พ.ศ 2527 | ทุ่งสง | ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้ายเพื่อปกปิดความผิดของตนเอง, ข่มขืนกระทำชำเราโดยใช้กำลังประทุษร้าย | |||
246 | ฉลอง อำภา | - | ชาย | 9 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 | เชียงใหม่ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ปล้นทรัพย์โดยใช้อาวุธปืน, มีเครื่องกระสุนปืนซึ่งมิใช่สำหรับใช้กับอาวุธปืนที่ตนได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ | |||
247 | ณรงค์ ปิ่นแก้ว | 30 | ชาย | 23 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 | อาญากรุงเทพ | ฆ่าเจ้าพนักงาน ซึ่งกระทำการตามหน้าที่,ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น เพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย[49] | |||
248 | สำราญ ปิ่นแก้ว | 34 | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||||
249 | หลี แดงอร่าม | 49 | ชาย | ||||||
250 | สด เปล้ากระโทก | - | ชาย | 28 พฤศจิกายน พ.ศ 2527 | นครราชสีมา | ฆ่าบุพการี และพยายามฆ่าบุพการี | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
251 | สิงห์ อนันทภักดิ์ | - | ชาย | 25 ธันวาคม พ.ศ 2527 | จันทบุรี | ฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดฐานชิงทรัพย์ | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | ||
252 | สมศักดิ์ ฉั่วตระกูล หรือ อับดุลลา | 27 | ชาย | 15 มีนาคม พ.ศ 2528 | อาญากรุงเทพ | ชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย, ฆ่าผู้อื่นเพื่อสะดวกในการกระทำผิดและปกปิดความผิดให้พ้นจากคดีอาญา และพกพาอาวุธมีดโดยไม่ได้รับอนุญาต | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
253 | แก้วมณี ปั้นมาดี | - | ชาย | 27 มีนาคม พ.ศ 2528 | พิจิตร | มีอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาต, ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
254 | ชูชาติ เมฆสุทัศน์ | 36 | ชาย | 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2529 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 27] | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | |||
255 | จรูญ ฉายวงษ์ | 34 | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||||
256 | วรา วรดิลก หรือ ไข่ดำ ทับเหลียว | 35 | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 27] | ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาดไป | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
257 | สนั่น อำกอง[50] | 54 | ชาย | 20 สิงหาคม พ.ศ 2529 | ชุมพร | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | |||
258 | เกรียง พิมพ์ทอง | - | ชาย | 24 ธันวาคม พ.ศ 2529 | เชียงใหม่ | ฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน, พยายามฆ่าฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, ลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์สินเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | ||
259 | วัฒนา ทิพวรรณ | - | ชาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||||
260 | หล่ง ยินดี | 35 | ชาย | 26 มกราคม พ.ศ 2530 | พะเยา | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยไตร่ตรองไว้ก่อน, พยามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา[note 29] | |||
261 | เสนอ โพธิ์ยงค์ | - | ชาย | สุราษฎร์ธานี | ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, ลักทรัพย์โดยมีอาวุธ หรือโดยร่วมกระทำความผิดด้วยกันตั้งแต่สองคนขึ้นไป | ประถม เครือเพ่ง | |||
262 | เฉ่วเหงียน แซ่ว่อง | - | ชาย | สุพรรณบุรี | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์,ปล้นทรัพย์ | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
263 | กมล เอี่ยมน้อย หรือ ศักดิ์สิทธิ์ พรประเสริฐ | - | ชาย | ศาลมณฑลทหารบกที่ 4[note 27] | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||
264 | เจริญ แก้วบางพระ | - | ชาย | 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | ทุ่งสง | ร่วมกันลักทรัพย์โดยใช้อาวุธ, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา, วางเพลิงโรงเรือนที่คนอยู่อาศัย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
265 | ทองพูน ชะลอนันท์[note 30] | - | ชาย | 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 27] | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | |||
266 | อุส่าห์ ทะเดช | - | ชาย | ทุ่งสง | ลักทรัพย์โดยใช้อาวุธปืนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||
267 | สุชาติ ประสาททอง หรือ สานนท์ สังข์ทอง[note 30] | - | ชาย | 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530 | ศาลทหารกรุงเทพ[note 27] | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น, พยายามฆ่าผู้อื่นเพื่อตระเตรียมการ หรือเพื่อความสะดวกในการที่จะกระทำความผิดอย่างอื่น และปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
268 | สำรวม ชะเอมไทย[note 30] | - | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||||
269 | อินสอน ชัยมูล | - | ชาย | 11 มิถุนายน พ.ศ. 2530 | เชียงใหม่ | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | ธิญโญ จันทร์โอทาน | ||
270 | ไข่ พนาลี | - | ชาย | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2530 | นครศรีธรรมราช | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์ | |||
271 | สมศักดิ์ อุดมโสภกิจ หรือ อ้อ โสภากิจ | - | ชาย | 9 กันยายน พ.ศ. 2530 | เชียงใหม่ | พาอาวุธปืนที่ไม่มีใบอนุญาตติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต, ฆ่าคนตายโดยเจตนา, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | |||
272 | สมโภชน์ ชื่นชม | 32 | ชาย | 18 กันยายน พ.ศ. 2530 | ศาลมณฑลทหารบกที่ 5[note 31] | ร่วมกันฆ่าคนตายโดยเหตุฉกรรจ์, พยายามฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา | |||
273 | ไพริน ณ วันดี | 25 | ชาย | สมุทรปราการ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตองไว้ก่อน, มีเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ | |||
274 | คำพัน อรรถศรี | 27 | ชาย | อาญากรุงเทพ | ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน | ธิญโญ จันทร์โอทาน | |||
275 | สุวรรณ คำภูษา | 28 | ชาย | เชาวเรศน์ จารุบุณย์ |
ข้อมูลประชากร
[แก้]ประเภทของศาล | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
ศาลทั่วไป | 124 | |||||
ศาลทหาร | 79 | |||||
ศาลพิเศษ | 23 | |||||
คำสั่งนายกรัฐมนตรี | 48 | |||||
เพศ | ||||||
ชาย | 274 | |||||
หญิง | 2 | |||||
สถานที่ประหารชีวิต | ||||||
เรือนจำกลางบางขวาง | 263 | |||||
เรือนจำจังหวัดท้องที่เกิดเหตุ | 12 | |||||
ป้อมพระจุลจอมเกล้า | 1 | |||||
หมวดหมู่ความผิด | ||||||
ความผิดต่อชีวิต | 230 | |||||
ยาเสพติด | 12 | |||||
ข่มขืนโดยเหยื่อไม่เสียชีวิต | 2 | |||||
ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ | 4 | |||||
ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร | 23 | |||||
ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร | 4 | |||||
กระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ | 1 | |||||
ปีที่ประหารชีวิต | ||||||
2478 - 2480 | 2 | |||||
2481 - 2490 | 86 | |||||
2491 - 2500 | 9 | |||||
2501 - 2510 | 59 | |||||
2511 - 2520 | 52 | |||||
2521 - 2530 | 65 | |||||
นายกรัฐมนตรี | ||||||
พระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) | 4 | |||||
แปลก พิบูลสงคราม | 93 | |||||
สฤษดิ์ ธนะรัชต์ | 42 | |||||
สัญญา ธรรมศักดิ์ | 16 | |||||
ธานินทร์ กรัยวิเชียร | 11 | |||||
สงัด ชลออยู่ | 3 | |||||
เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ | 14 | |||||
เปรม ติณสูลานนท์ | 52 |
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ แต่ไม่ตัดสิทธิ์ของผู้ต้องโทษที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
- ↑ ผู้ต้องโทษประหารชีวิตคนแรกที่ถูกประหารด้วยการยิง ตามคำพิพากษาของศาลพิเศษในคดีกบฏนายสิบ โดยถูกประหารชีวิตที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า เนื่องจากยังไม่มีพื้นที่ประหารชีวิตเป็นการเฉพาะ หลังจากการประหารครั้งนี้ อาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า) ในเรือนจำกลางบางขวางสร้างแล้วเสร็จ ผู้ถูกประหารรายต่อ ๆ มาจะถูกประหารในอาคารนั้น เว้นแต่มีคำสั่งเป็นอื่นไป
- ↑ เป็นบุคคลแรกที่ถูกประหารชีวิตในอาคารสถานที่หมดทุกข์ (อาคารประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า)
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 4.4 4.5 4.6 ในปีพ.ศ. 2432 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวัน 1 เมษายน จนกระทั่งในวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2483 แปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศให้ใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ แทนวันที่ 1 เมษายน ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2483 มี 9 เดือน
- ↑ ทิพย์ มียศทำหน้าที่เป็นเพชฌฆาตมือหนึ่งยิงเป้าณเณรที่หลักประหารหลักที่ 1 ส่วนเหรียญ เพิ่มกำลังเมืองเพชฌฆาตมือสองยิงเป้าลี หลังจากการยิงชุดแรกลีได้เสียชีวิต แต่ณเณรยังไม่เสียชีวิตและเขาได้ตะโกนว่าผมยังไม่ตาย..ยิงผมอีก ทิพย์เกิดอาการมือไม้สั่นและผงะออกจากแท่นปืน ทำให้เหรียญ เพิ่มกำลังเมืองต้องทำหน้าที่แทนทิพย์และยิงณเณรจากแท่นปืนของทิพย์จำนวน 1 ชุดและณเณรก็เสียชีวิตจากการยิงในชุดที่สอง
- ↑ เป็นนักโทษหญิงรายแรกที่ถูกประหารชีวิต
- ↑ 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จอมพลแปลก พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกและจัดตั้งศาลทหารระหว่างวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2484 จนถึง วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2489 โดยมีการนำคดีของพลเรือนหลายประเภทมาขึ้นศาลทหาร ซึ่งนักโทษจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา
- ↑ แอ้วหรือชั้น,สน ชูนาม พี่ชายของสวัสดิ์ ผู้สมรุร่วมคิดของสวัสดิ์ ชูนาม ได้ร่วมกันก่อคดีฆาตกรรมผล ชูนาม ลูกพี่ลูกน้องของเขา ที่จังหวัดราชบุรี สวัสดิ์ถูกจับกุมและถูกประหารชีวิตในปี พ.ศ 2482 แต่แอ้วหลบหนีไปและได้ก่อคดีไว้หลายคดี และแอ้วยังได้ก่อเหตุฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะยิงต่อสู้เจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อหลบหนีการจับกุม ก่อนที่เขาจะถูกจับกุมในปี พ.ศ. 2486 แอ้วถูกศาลทหารกรุงเทพตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เนื่องจากเป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก แอ้วถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและถูกประหารชีวิตในวันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2486 พร้อมกับพัน จูจันในคดีฆ่าเจ้าพนักงานซึ่งคนละคดีกัน
- ↑ โจรสลัดตะรุเตาซึ่งก่อเหตุในท้องทะเลหลวงและในเขตจังหวัดสตูล คณะกรรมการสอบสวนได้โอนคดีจากศาลจังหวัดสตูลไปยังศาลจังหวัดสงขลาเพื่อให้พ้นเขตอิทธพลของขุนอภิพัฒน์สุรทัณฑ์ซึ่งเป็นหัวหน้าโจรสลัดและผู้อำนวยการนิคมตะรุเตา
- ↑ 10.00 10.01 10.02 10.03 10.04 10.05 10.06 10.07 10.08 10.09 10.10 10.11 10.12 10.13 10.14 10.15 10.16 10.17 10.18 10.19 10.20 10.21 10.22 10.23 หลังจากจอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2501 ได้มีการออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 16 เพื่อให้พลเรือนขึ้นศาลทหารในความผิดหลายประเภทเช่น คอมมิวนิสต์, เพศ, ร่างกาย, ยาเสพติด และทรัพย์ โดยคำสั่งได้ระบุให้ศาลอาญาและศาลจังหวัดเป็นศาลมณฑลทหารบกในแต่ละพื้นที่ และให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา, ผู้พิพากษาศาลอาญา และผู้พิพากษาศาลจังหวัดทุกศาลเป็นตุลาการศาลทหาร และให้จ่าศาลอาญาและจ่าศาลจังหวัดเป็นจ่าศาลทหาร รวมถึงให้พนักงานอัยการเป็นอัยการทหาร ส่วนสถานที่ทำการศาลอาญาและสถานที่ทำการศาลจังหวัดจะถูกใช้เป็นศาลทหาร ซึ่งจำเลยจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา และไม่สามารถแต่งตั้งทนายได้
- ↑ เป็นนักโทษคดียาเสพติดรายแรกที่ถูกประหารชีวิต
- ↑ เฉลิม กัปตันแดงผู้สมรุร่วมคิดของลีซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตได้แหกคุกเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สำเร็จ โดยถูกพบเห็นเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ที่ป่าในจังหวัดบุรีรัมย์ บริเวณชายแดนไทย–กัมพูชา หลังจากนั้นก็ไม่มีใครพบเห็นเขาอีกเลย
- ↑ หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 และถูกนำกลับไปคุมขังที่เรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ก่อนจะมีคำสั่งให้ประหารชีวิตในอีกสองวันต่อมาและการประหารชีวิตเกิดขึ้นเมื่อเวลา01.24 น.ของวันถัดมา
- ↑ หนึ่งในสามนักโทษประหารแหกคุกที่สามารถหลบหนีออกจากเรือนจำกลางบางขวางเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ก่อนจะถูกจับกุมในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2505
- ↑ สำหรับทรวง,สุวรรณ และซ้อน ซึ่งถูกจับกุมมาก่อน ศาลชั้นต้นได้พิพากษาจำคุกตลอดชีวิตทั้งสามตามประมวลกฎหมายลักษณะอาญามาตรา250(3)ในปี พ.ศ. 2500 ศาลเห็นว่าคดีเกิดก่อนการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย จึงยังใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 มาพิจารณาคดี ต่อศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2506 ศาลฎีกาได้แก้คำตัดสินจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิต
- ↑ ทรวง ,สุวรรณ,ซ้อน,เตี้ย และสิบตำรวจตรีทรงศักดิ์ วัจวาทินได้ร่วมกันพาพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนไปยังตำบลไร่วุ้ง อำเภอเกาะกง จังหวัดกำปอด เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ 2498 เมื่อเดินทางเข้าไปถึงป่ารกในเกาะกง ทั้ง 5 คนได้ใช้ปืนจี้พ่อค้าวัวควายและปลดทรัพย์สินก่อนจะยิงทั้ง 4 คนจนเสียชีวิต
- ↑ เตี้ยหนึ่งในผู้ก่อเหตุฆาตกรรมพ่อค้าวัวควายผิดกฎหมาย 4 คนที่อำเภอเกาะกง เตี้ยถูกจับกุมในปีพ.ศ. 2506 ในช่วงเวลาดังกล่าวอยู่ในระหว่างช่วงที่สฤษดิ์ ธนะรัชต์เป็นนายกรัฐมนตรี และมีการประกาศใช้กฏอัยการศึก ซึ่งผู้ที่กระทำความผิดจะถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหารโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์หรือฎีกา เขาถูกตัดสินตามประมวลกฎหมายอาญาในปี พ.ศ. 2499
- ↑ ก่อเหตุปล้นฆ่านายคร้าวและนางยก แล้วยังได้จับตัวนางสาวปรานี หลานสาวของผู้ตายไปข่มขืนถึง 12 ครั้ง เหตุเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ฟ่อนถูกจับที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีและถูกศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีตัดสินประหารชีวิต
- ↑ ปิยะได้พาพรรคพวกรวม 7 คนบุกเข้าปล้นธนาคารไทยพัฒนา เมื่อปีพ.ศ. 2515 ระหว่างการประกาศใช้กฎอัยการศึกโดยคณะปฎิวัติ เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คนแต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
- ↑ การประหารชีวิตชู และไส้ออกนับเป็นการประหารขีวิตครั้งแรกและครั้งเดียวสำหรับผู้ก่อเหตุข่มขืนแต่เหยื่อไม่เสียชีวิต
- ↑ 21.0 21.1 21.2 21.3 21.4 21.5 21.6 จอมพลถนอม กิตติขจรได้ใช้ประกาศเช่นเดียวกับของจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งจำเลยที่ถูกตัดสินโดยศาลทหารรูปแบบดังกล่าวจะไม่มีสิทธิอุทธรณ์,ฏีกา ไม่สามารถแต่งตั้งทนายได้ แต่สามารถทำหนังสือถวายฎีกาทูลเกล้าขอพระราชทานอภัยโทษ
- ↑ ประถม เครือเพ่งเพชฌฆาตมือหนึ่งได้มอบหมายให้ธิญโญ จันทร์โอทาน เพชฌฆาตมือสองทำหน้าที่แทน แต่ในบันทึกการประหารชีวิตระบุว่าประถมเป็นผู้ทำหน้าที่เพชฌฆาต
- ↑ เล่าฝั่น แซ่ย่าง และชาญ ศรีผดุงกุล พ่อค้าเฮโรอีนรายใหญ่ ถูกประหารชีวิตตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจมาตรา 21 ในช่วงเช้า ส่วนวิเชียร ชูทอง นักฆ่าผู้ก่อเหตุรับงานฆ่านายโสภณ ผู้ใหญ่บ้านตำบลนบปริง หลังที่เขาฆ่าโสภณแล้วเขาได้นำภรรยาของโสภณมาข่มขืนที่หน้าบ้าน ซึ่งเขาถูกตัดสินโดยศาลทหารและถูกประหารชีวิตในช่วงเย็นของวันเดียวกัน
- ↑ พลเรือเอกสงัด ชะลออยู่ หัวหน้าคณะปฎิวัติได้ออกคำสั่งให้ประหารชีวิตเล่าฝั่น แซ่ย่าง, ชาญ ศรีผดุงกรุง และนายแว่นโค แซ่แว่น หรือเล่าซู แต่เล่าซูได้หลบหนีจากโรงพยาบาลกลางไป และไปอยู่กับกลุ่มค้ายาเสพติดของเขา ซึ่งเขาถูกตำรวจชายแดนที่3และกองกำลังอาสาสมัครชาวเขาวิสาม้ญฆาตกรรมพร้อมสมาชิกกลุ่มค้ายาเสพติด 1 คน ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526 ที่อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากการปะทะกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
- ↑ พลทหารวิเชียร ชูทองได้ก่อเหตุฆ่าผู้ใหญ่บ้านและข่มขืนภรรยาของผู้ใหญ่บ้านที่ตำบลนบปริง อำเภอเมืองพังงา เมื่อต้นปีพ.ศ. 2520 นายเชาวน์วัศ สุดลาภา อดีตผู้ว่าราชการจังหวัด พังงาได้เสนอให้ดำเนินใช้อำนาจมาตรา 21 ประหารชีวิตวิเชียร แต่คดีของวิเชียรถูกนำขึ้นศาลทหารเนื่องจากการกระทำความผิดเกิดขึ้นหลังวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นช่วงประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ซึ่งคดีของวิเชียรอยู่ในหมวดความผิดเกี่ยวกับชีวิต,เพศและทรัพย์ นับเป็นความผิดที่แนบท้ายประกาศคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ ลงวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ เนื่องจากคดีที่มีข้อหาความผิดแนบท้ายประกาศดังกล่าวจะถูกพิจารณาคดีโดยศาลจังหวัดที่ทำหน้าที่เป็นทหาร วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2520 วิเชียรจึงถูกศาลมณฑลทหารบกที่ 5 (ศาลจังหวัดพังงา)ตัดสินประหารชีวิตโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ หรือฎีกา
- ↑ พลทหารสายทอง แสงแก้ว หนึ่งในสี่ผู้ร่วมก่อเหตุโทรมหญิงและฆาตกรรมที่อำเภอโนนสัง ซึ่งถูกคุมขังที่เรือนจำทหารจังหวัดนครราชสีมา วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ 2522 เวลา 04.30 น. เขาถูกเบิกตัวออกจากห้องขังรวมไปยังห้องควบคุมพิเศษเพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจจากจังหวัดอุดรธานีรับตัวไปประหารชีวิต เมื่อนำตัวสายทองเข้าไปในห้องขัง เขาไปพบขวดน้ำปลาเก่าอยู่ในห้องจึงทุบเป็นปากฉลามแล้วพยามยามฆ่าตัวตายด้วยการแทงจนได้รับบาดเจ็บสาหัสเนื่องจากเขาทราบว่าตัวเองกำลังจะถูกประหารชีวิต ผู้คุมเรือนจำทหารจึงนำตัวสายทองส่งโรงพยาบาลค่ายสุรนารีและแพทย์ได้ผ่าตัดจนรอดชีวิต แต่ต้องให้น้ำเกลือและออกซิเจนตลอดเวลาเนื่องจากอาการยังอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้มีคำสั่งให้ประหารชีวิตสมคิด,นิยม และคำสิงห์ ในวันเดียวกัน หลังจากแพทย์ได้รักษาสายทองจนพ้นขีดอันตราย ในตอนแรกการประหารชีวิตสายทองจะเกิดขึ้นในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ แต่วันดังกล่าวเป็นวันมาฆบูชาจึงเลื่อนการประหารชีวิตไปเป็นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ และประหารชีวิตสายทองเมื่อเวลา 17.45 น. การประหารชีวิตสายทองนับเป็นการประหารชีวิตครั้งสุดท้ายที่เกิดขึ้นนอกเรือนจำกลางบางขวาง
- ↑ 27.00 27.01 27.02 27.03 27.04 27.05 27.06 27.07 27.08 27.09 27.10 27.11 ถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่เป็นศาลทหาร ซึ่งจำเลยจะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ หรือฎีกา
- ↑ ในตอนแรกน้อมและอรรณพจะถูกประหารพร้อมกัน แต่น้อมได้ขอร้องให้นำตัวเขาไปประหารก่อนเพียงคนเดียวเพราะเขาทำใจไม่ได้ที่จะรู้ว่าลูกชายต้องมาตายอยู่ด้วยกันใกล้ๆ น้อมจึงถูกนำตัวไปประหารชีวิตก่อน หลังจากประหารชีวิตน้อมได้นำตัวอรรณพเข้ามาประหารชีวิต
- ↑ ถูกตัดสินประหารชีวิตเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2526 จากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง นักร้องเพลงลูกทุ่งที่สนามโรงเรียนบ้านจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา และยังถูกตัดสินประหารชีวิตในคดีฆ่านายเสา หวนอารมณ์ที่อำเภอจุน จังหวัดพะเยา แต่เขาถูกยกฎีกาและประหารชีวิตจากคดีฆาตกรรมสุริยัน ส่องแสง
- ↑ 30.0 30.1 30.2 สุชาติกับสำรวมผู้สมรุร่วมคิดของทองพูนซึ่งตัดสินประหารชีวิตในคดีเดียวกันแต่ถูกประหารชีวิตหลังจากทองพูน 3 วันเนื่องจากคำสั่งประหารตกมาไม่พร้อมกัน
- ↑ ถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่เป็นศาลทหาร ซึ่งสมโภชน์จะไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์ หรือฎีกา สมโภชน์นับเป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตจากการตัดสินโดยไม่มีสิทธิ์อุทธรณ์และฎีกา เนื่องจากประเทศไทยลงนามในกติการะหว่างประเทศเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539
ดูเพิ่ม
[แก้]- กบฏในประเทศไทย
- โทษประหารชีวิตในประเทศไทย
- รายชื่อผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2477
- รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2539
- รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตในที่สาธารณะตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยทหารและตำรวจ
- การประหารชีวิตด้วยการยิง
- เรือนจำกลางบางขวาง
- ทัณฑสถานหญิงกลาง
ลิงก์จากภายนอก
[แก้]- ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม ๒๕ ลงวันที่ ๑ มิถุนายน ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑) ซึ่งลงประกาศกฎหมายลักษณอาญา ประมวลกฎหมายสมัยใหม่ฉบับแรกของประเทศสยาม
- กระบวนการสู่การกระทำความผิดในคดีฆาตกรรมของนักโทษประหาร หน้าที่ 67
- การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทย
- คำสั่งประหารชีวิตหมั่นโคก บุญประเสริฐ,อยู่ จาก และเตี้ย จันทรา
- คำสั่งประหารชีวิตอัศวิน พูลเต่า
- คำสั่งประหารวิชิต ปานนท์,อุดร อัมรินทร์ และสมพร สีม่วง
- คำสั่งประหารดอน เกิดเป็ง
- คำสั่งประหารชีวิตปังจอง แซ่อึ้ง
- คำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ 10/2521 (คำสั่งประหารคำหล้า คำลือวงศ์)
- คำสั่งประหารชีวิตซิม ผึงหว่า และฮีเซียม แซ่เฮ้ง
- คำสั่งประหารชีวิตแสวง อินปรางค์
- คำสั่งนายกรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (คำสั่งประหารชีวิตกิ่งแก้ว ลอสูงเนิน, ปิ่น พึ่งญาติ และเกษม สิงห์ลา)
- คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2522 ตามมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 (คำสั่งประหารชีวิตสมคิด ศรีบัวขาว, นิยม แก้วมาตย์, คำสิงห์ อาจหาญ และสายทอง แสงแก้ว)
บันทึกการประหารชีวิตซึ่งถูกบันทึกไว้โดยเรือนจำกลางบางขวางและเผยแพร่ผ่านทางเฟสบุ๊ค โดยอรรถยุทธ พวงสุวรรณ
[แก้]- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่1-41
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่42-83
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่84-123
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่124-162
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่163-201
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่202-240
- นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่241-280
บรรณานุกรม
[แก้]- เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). The Last Executioner Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. ISBN 9781905379262.
- 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2549). เพชฌฆาตคนสุดท้ายเล่มที่ 1. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789749244463.
- 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). บันทึก.....แดนประหาร คุกบางขวาง. กรุงเทพ: ดอกหญ้า 2000. ISBN 9789746907576.
- 'เชาวเรศน์ จารุบุณย์ (2553). ปิดตำนาน เพชฌฆาต. กรุงเทพ: Thinkplus. ISBN 978-974-235-886-0.
- อรรถยุทธ พวงสุวรรณ (2565). คำสารภาพสุดท้ายของนักโทษประหาร. กรุงเทพ: เพชรประกาย. ISBN 9786165786645.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- “ประถม เครือเพ่ง” ชีวิตเพชฌฆาตมัจจุราชคนเป็น l บุคคลในตำนาน EP10
- เส้นทางสู่ความตายของนักโทษประหาร | ทอล์คในตำนาน ซีซั่น 4
- การยิงเป้าของประเทศไทย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ s:พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะอาชญา พุทธศักราช 2477 (ฉะบับที่ 6) ประกอบกับs:คำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 29 เมษายน 2478 (ฉบับที่ 3)
- ↑ ประมวลกฎหมายอาญา
- ↑ "การประหารชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-24. สืบค้นเมื่อ 2024-01-18.
- ↑ สถิติการประหารชีวิต เก็บถาวร 2009-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จาก เรือนจำกลางบางขวาง, สืบค้นวันที่ 19 พ.ย. 2552
- ↑ Thailand: Executions / fear of further executions
- ↑ Thailand: Fear of imminent execution: one unnamed prisoner
- ↑ รายงานพิเศษ : เปิดประวัติศาสตร์การลงทัณฑ์ประหาร
- ↑ 3 ส.ค.2478 "กบฏนายสิบ" จบแต่ยังไม่เริ่ม!
- ↑ กบฏนายสิบ
- ↑ กลุ่มนายสิบรวมหัวทำรัฐประหาร ชิงอำนาจถวายคืนพระปกเกล้าฯ!สังเวยชีวิตเพื่อราชบัลลังก์!!
- ↑ ย้อนรอย “ประหารชีวิต” ก่อนนับหนึ่งใหม่ ฟื้นโทษฉีดยาพิษรอบ 9 ปี
- ↑ การซ้อนทับจับวางของวาทกรรมทัณฑวิทยา: วงศาวิทยาของการใช้โทษประหารและความรุนแรงเพื่อการลงทัณฑ์ในประวัติศาสตร์ไทยหน้าที่ 116 - 118
- ↑ 20 พ.ย.2482 18 กบฏ โทษประหาร โดยศาลพิเศษ
- ↑ หนังสือพิมพ์สยามราษฎร์ ฉบับวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2481
- ↑ นักโทษประหารคดี ติดตาม ดักฟัง จารกรรมความลับ เพื่อทำลายความมั่นคงของไทย
- ↑ ลาก่อนชีวิต... ลาก่อนแม้แต่สิ่งอันสุดที่รัก !
- ↑ ประหารชีวิต "ศุภชัย ศรีสติ" วิศวะนักเรียนนอก วัย 34ปี ปลุกระดมต้านรัฐบาล
- ↑ ปิดตำนาน “คนกินคน” 60 ปีข่าวสยองขวัญ “ซีอุย”
- ↑ ปิดตำนาน 61 ปี ตีตรา " ซีอุย มนุษย์กินคน"
- ↑ ซีอุย : ฌาปนกิจร่าง "ซีอุย แซ่อึ้ง" ปิดตำนานผู้ที่ถูกสังคมตั้งฉายา "มนุษย์กินคน"[ลิงก์เสีย]
- ↑ สฤษดิ์ลุยปราบสารเสพติด เบื้องหลังยกเลิก “ฝิ่น” ถึงประหารชีวิตพ่อค้า “เฮโรอีน” ด้วย ม.17
- ↑ หนังสือพิมพ์อาณาจักรไทย วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2504 ราคา 1 บาท
- ↑ 'ประธานผู้ลี้ภัย' งัวเงียตื่น! ควัก ม. 17 คำสั่ง 'สฤษดิ์' ประหารผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
- ↑ การปราบปรามคอมมิวนิสต์ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ พ.ศ. 2501-2506
- ↑ "ปืนปิดปาก ประหารชีวิต" ปราบคอมมิวนิสต์ยุค "สฤษดิ์ ธนะรัชต์" ที่สุดของเผด็จการ
- ↑ “หากทำผิดแล้ว ผมจับไม่ไว้หน้าใครทั้งนั้น”
- ↑ สูญเสียปูชนียบุคคล
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1101/2509
- ↑ ตำนานนักโทษประหาร
- ↑ โจรผยองปิดตลาดปล้น! นายกฯใช้ ม.๑๗ สั่งปล้นที่ไหนยิงเป้าที่นั่นโดย ๖ นาย ตร.ประกบ ๖ โจร!!
- ↑ [หนังสือประวัติ อำเภอท่าเรือ เรียบเรียงโดยสุรศักดิ์ พุ่มวันเพ็ญ ]
- ↑ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ฉบับสอง วันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2514
- ↑ มาตรา 17 พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ จะมีอยู่ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ?
- ↑ มีอะไรใน รัฐ/ธรรมนูญชั่วคราว ฉบับ คณะรัฐประหาร
- ↑ ความล่มสลายของสถาบันรัฐประหาร (ตอนที่ 1): รัฐประหารในประเทศไทยและการทำให้รัฐประหารเป็นสถาบันทางการเมือง
- ↑ การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งรัฐธรรมนูญไทย
- ↑ หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539
- ↑ คณะทหารหนุ่ม (16) | ทำไมต้องประหาร พล.อ.ฉลาด หิรัญศิริ
- ↑ ข้าพเจ้าเห็นการยิงเป้า
- ↑ 26 มี.ค.2520 เหตุการณ์ที่นำมาสู่ การประหารชีวิตกบฏคนสุดท้าย!
- ↑ รัฐประหารซ้ำซ้อน ฉีก”รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย2519 (ฉบับที่ 11)EP.10
- ↑ The Last Executioner Page 8
- ↑ The Last Executioner Page 9
- ↑ “ผมมันคนชอบทำไม่เหมือนชาวบ้าน เวลาแกะรอยตามคดีต่าง ๆ”
- ↑ เดลินิวส์ฉบับวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 หน้าที่ 3
- ↑ ไทยรัฐออนไลน์ (17 พฤศจิกายน 2562). "3 นาทีคดีดัง : เรื่องจริง "กิ่งแก้ว" นักโทษประหารหญิง ยิงเป้าไม่ยอมตาย (คลิป)". กรุงเทพมหานคร: ไทยรัฐ. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2563.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|access-date=
(help) - ↑ จารุบุณย์, เชาวเรศน์ (2015). The Last Executioner: Memoirs of Thailand's Last Executioner (ภาษาอังกฤษ). Maverick House. p. 100. ISBN 978-1-908518-41-5.
- ↑ นักโทษประหารด้วยการยิงเป้ารายที่243 ของไทย "ไอ้ม้าซาดิสม์"
- ↑ The Last Executioner Page 10
- ↑ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681/2527