ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามกลางเมืองจีน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
7dayteam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ย้อนด้วยมือ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
7dayteam (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: ถูกย้อนกลับแล้ว แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
สมาชิกในกลุ่ม<br>
1.ภูมิธนัท เลขที่ 10 ชื่อเล่นแจ๊ค




{{Infobox military conflict
{{Infobox military conflict
|conflict= สงครามกลางเมืองจีน
|conflict= สงครามกลางเมืองจีน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:36, 16 กันยายน 2563

สมาชิกในกลุ่ม
1.ภูมิธนัท เลขที่ 10 ชื่อเล่นแจ๊ค



สงครามกลางเมืองจีน

ตามเข็มนาฬิกาจากบนสุด: กำลังคอมมิวนิสต์ ณ ยุทธการที่ซี่ผิง, ทหารมุสลิมแห่งกองทัพปฏิวัติชาติ, เหมา เจ๋อตุงในคริสต์ทศวรรษ 1930, เจียง ไคเช็กกำลังตรวจทหาร, พลเอกซู่ ยู่แห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีนตรวจกำลังพลไม่นานก่อนการทัพเมิ่งเหลียงกู้
วันที่12 เมษายน 1927 – กันยายน 1937[1]
31 มีนาคม 1946 – 1 พฤษภาคม 1950[2]
สถานที่
จีน
สถานะ
  • ไม่มีการลงนามการสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพ[3][4]
  • ชัยชนะทางทหารของพรรคคอมมิวนิสต์จีนในจีนแผ่นดินใหญ่
  • สาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับการสถาปนาขึ้นบนจีนแผ่นดินใหญ่
  • รัฐบาลสาธารณรัฐจีนย้ายไปยังกรุงไทเป
คู่สงคราม
พรรคก๊กมินตั๋ง
สาธารณรัฐจีน
หลังปี 1949:
สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน
พรรคคอมมิวนิสต์จีน
จีนโซเวียต
หลัง 1949:
 จีน
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ

ไต้หวัน เจียง ไคเช็ค
ไต้หวัน Tsou Hong Da
ไต้หวัน Bai Chongxi
ไต้หวัน เฉิน เฉิง
ไต้หวัน Li Zongren
ไต้หวัน Yan Xishan

ไต้หวัน He Yingqin
จีน เหมา เจ๋อตุง
จีน Zhu De
จีน Peng Dehuai
จีน Lin Biao
จีน He Long
กำลัง
4,300,000 (กรกฎาคม 1945)[5]
3,650,000 (มิถุนายน 1948)
1,490,000 (มิถุนายน 1949)
1,200,000 (กรกฎาคม 1945)[5]
2,800,000 (มิถุนายน 1948)
4,000,000 (มิถุนายน 1949)
ความสูญเสีย

1928–1936: ความสูญเสียทางทหาร ~2 ล้านนาย

1945–1949: เสียชีวิต ~1-3 ล้านคน[6]

สงครามกลางเมืองจีน (ค.ศ. 1927-1950) เป็นสงครามกลางเมือง สู้รบกันระหว่างพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคปกครองสาธารณรัฐจีน ฝ่ายหนึ่ง กับพรรคคอมมิวนิสต์จีนอีกฝ่ายหนึ่ง[7] เพื่อแย่งชิงการควบคุมประเทศจีน ซึ่งลงเอยด้วยการแตกออกเป็นสองประเทศ คือ สาธารณรัฐจีนบนเกาะไต้หวัน กับสาธารณรัฐประชาชนจีนบนแผ่นดินใหญ่ สงครามเริ่มขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1927 ท่ามกลางการกรีฑาทัพขึ้นเหนือ (Northern Expedition)[8] และสิ้นสุดลงเมื่อยุทธการสำคัญที่ดำเนินอยู่จบลงใน ค.ศ. 1949-1950 อย่างไรก็ดี มีการถกเถียงกันว่า สงครามได้หยุดลงอย่างเป็นทางการแล้วหรือยัง[9] ความขัดแย้งยังดำเนินต่อในรูปของการขู่ใช้กำลังทหารและการกดดันทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสถานะทางการเมืองของไต้หวัน ความตึงเครียดที่ดำเนินต่อมานั้นถูกเรียกว่าเป็น ความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ สงครามกลางเมืองจีนเป็นสงครามใหญ่ที่สุดอันดับสามที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ รองจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง

สงครามนี้เป็นสัญลักษณ์ของความแตกแยกทางอุดมการณ์ระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์จีน ในจีนแผ่นดินใหญ่ปัจจุบัน สามปีสุดท้ายของสงคราม (ค.ศ. 1947-1949) เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ สงครามปลดปล่อย หรืออีกชื่อหนึ่งว่า สงครามปฏิวัติภายในที่สาม (第三次國内革命戰爭) ในไต้หวัน สงครามยังรู้จักกันในชื่อ สงครามต่อต้านการก่อการกำเริบต่อคอมมิวนิสต์ (戡亂戰爭) ก่อน ค.ศ. 1991 หรือโดยทั่วไปคือ สงครามกลางเมืองชาตินิยม-คอมมิวนิสต์ (國共內戰) สำหรับทั้งสองฝ่าย

สงครามกลางเมืองดำเนินไปเป็นพัก ๆ กระทั่งสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สองนำพาให้ทั้งสองพรรคร่วมกันจัดตั้งแนวร่วมที่สอง การทัพของญี่ปุ่นพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945 เป็นการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และสงครามกลางเมืองเต็มขั้นของจีนดำเนินต่อมาใน ค.ศ. 1946 หลังจากสี่ปี ค.ศ. 1950 ได้มีการยุติความเป็นปรปักษ์ทางทหารสำคัญ โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ควบคุมจีนแผ่นดินใหญ่ (รวมทั้งไห่หนาน ส่วนย่อยของมณฑลกวางตุ้งขณะนั้น กระทั่ง ค.ศ. 1988) และเขตอำนาจของสาธารณรัฐจีนซึ่งถูกจำกัดเฉพาะเกาะไต้หวัน เผิงหู หมู่เกาะจินเหมิน หมู่เกาะหมาจู่และหมู่เกาะห่างไกลอีกมาก มีการสังเกตว่า ขบวนการสัตยาบันหยานอัน (Yan'an Rectification Movement) ซึ่งก่อร่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนขึ้นใหม่ การหยุดยิงเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1946 ที่ทูตพิเศษของสหรัฐอเมริกา จอร์จ มาร์แชลล์ เรียกร้องนั้น ขัดขวางความพยายามของจีนในการเอาชนะคอมมิวนิสต์ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ปัญหาสังคมและเศรษฐกิจที่ทวีความเลวร้ายในพื้นที่ซึ่งฝ่ายชาตินิยมควบคุมอยู่ การที่กองทัพโซเวียตส่งมอบปืนใหญ่ที่ยึดได้จากกองทัพคันโตให้แก่กองทัพปลดปล่อยประชาชนจีน (ตามคำอธิบายเพิ่มเติมในข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ 505) และการให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายชาตินิยมที่ขัดแย้งกันของอเมริกา ทั้งหมดล้วนเป็นปัจจัยสู่ความพินาศของสาธารณรัฐจีนบนจีนแผ่นดินใหญ่ในเวลาไม่ถึง 5 ปี

จวบจนทุกวันนี้ เนื่องจากไม่มีการลงนามการสงบศึกหรือสนธิสัญญาสันติภาพ สาธารณรัฐประชาชนจีนจึงยังอ้างสิทธิ์เหนือไต้หวันเป็นอาณาเขตส่วนหนึ่งของตน และยังขู่ใช้กำลังทหารต่อไต้หวัน ฝ่ายสาธารณรัฐจีนเองก็มีการอ้างสิทธิ์เหนือจีนแผ่นดินใหญ่ และทั้งสองยังต่อสู้กันเหนือในการรับรองทางการทูต สงครามด้วยอาวุธได้เปลี่ยนไปเป็นสงครามน้ำลาย ทุกวันนี้ สงครามเกิดขึ้นในแนวรบการเมืองและเศรษฐกิจในรูปของความสัมพันธ์ข้ามช่องแคบ สาธารณรัฐประชาชนจีนขู่ว่าจะใช้กำลังทหารรุกรานหากประกาศเอกราชไต้หวันอย่างเป็นทางการ โดยเปลี่ยนชื่อและได้รับการรับรองจากนานาชาติเป็นสาธารณรัฐไต้หวัน ทว่า รัฐทั้งสองที่แยกกันโดยพฤตินัยบนสองฟากของช่องแคบไต้หวันมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจใกล้ชิดกัน[10]

อ้างอิง

  1. "China". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. 15 November 2012.
  2. Gui, Heng Bin (2008). Landing on Hainan Island. China: Great Wall Press. ISBN 9787548300755.
  3. Tsang, Steve. Government and Politics. p. 241.
  4. Tsang, Steve. The Gold War's Odd Couple: The Unintended Partnership Between the Republic of China and the UK, 1950–1958. p. 62.
  5. 5.0 5.1 Hsiung, James C. Levine, Steven I. [1992] (1992). M.E. Sharpe publishing. Sino-Japanese War, 1937–1945. ISBN 1-56324-246-X.
  6. http://www.scaruffi.com/politics/massacre.html
  7. Gay, Kathlyn. [2008] (2008). 21st Century Books. Mao Zedong's China. ISBN 0-8225-7285-0. pg 7
  8. Hutchings, Graham. [2001] (2001). Modern China: A Guide to a Century of Change. Harvard University Press. ISBN 0-674-00658-5.
  9. Leslie C. Green. The Contemporary Law of Armed Conflict. p. 79.
  10. So, Alvin Y. Lin, Nan. Poston, Dudley L. Contributor Professor, So, Alvin Y. [2001] (2001). The Chinese Triangle of Mainland China, Taiwan and Hong Kong. Greenwood Publishing. ISBN 0-313-30869-1.

แหล่งข้อมูลอื่น