ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศติมอร์-เลสเต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{กล่องข้อมูล ประเทศ
| native_name = {{lang|tet|Repúblika Demokrátika Timór-Leste}} <small>{{tet icon}}</small><br />{{lang|pt|República Democrática de Timor-Leste}} <small>{{pt icon}}</small>
| conventional_long_name = สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต
| common_name = ติมอร์-เลสเต
| image_flag = Flag of East Timor.svg
| image_coat = Coat of arms of East Timor.svg
| image_map = LocationEastTimor.svg
| national_motto = Unidade, Acção, Progresso<br /> ([[ภาษาโปรตุเกส|โปรตุเกส]]: เอกภาพ การกระทำ ความก้าวหน้า) ''</small>
| national_anthem = [[ปาตรียา]] ("ปิตุภูมิ")
| official_languages = [[ภาษาเตตุม]]และ[[ภาษาโปรตุเกส]]<sup><small>1<small></sup>
| capital = [[ดิลี]]
| latd = 8 |latm=34 |latNS=S |longd=125 |longm=34 |longEW=E
| largest_city = [[ดิลี]]
| government_type = [[สาธารณรัฐ]]
| leader_title1 = [[รายนามประธานาธิบดีติมอร์-เลสเต|ประธานาธิบดี]]
| leader_title2 = [[รายนามนายกรัฐมนตรีติมอร์-เลสเต|นายกรัฐมนตรี]]
| leader_name1 = [[ฟรังซิชกู กูแตรึช]]
| leader_name2 = [[มารี อัลกาตีรี]]
| area_rank = 155
| area_magnitude = 1 E10
| area_km2 = 15,007
| area_sq_mi = 5,640 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| percent_water = น้อยมาก
| population_estimate = 1,177,834
| population_estimate_rank = 155
| population_estimate_year = ก.ค. 2554<!-- cia.gov -->
| population_census =
| population_census_year =
| population_density_km2 = 76
| population_density_sq_mi = 179.7 <!-- Do not remove per [[WP:MOSNUM]]-->
| population_density_rank = 118
| GDP_PPP_year = 2560
| GDP_PPP = $ 4.567 พันล้าน
| GDP_PPP_rank =
| GDP_PPP_per_capita = $ 3,774
| GDP_PPP_per_capita_rank =
| GDP_nominal_year = 2560
| GDP_nominal = $ 2.727 พันล้าน
| GDP_nominal_rank =
| GDP_nominal_per_capita = $ 2,253
| GDP_nominal_per_capita_rank =
| sovereignty_type = เอกราช
| sovereignty_note = จาก [[ประเทศโปรตุเกส|โปรตุเกส]]<sup><small>2</small></sup> และ[[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]]
| established_event1 = ประกาศ
| established_event2 = เป็นที่ยอมรับ
| established_date1 = [[28 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2518]]
| established_date2 = [[20 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]]
| HDI_year = 2558
| HDI = {{increase}} 0.605
| HDI_rank = 133rd
| HDI_category = <font color="orange">ปานกลาง</font>
| currency = [[ดอลลาร์สหรัฐ]]<sup><small>3<small></sup>
| currency_code = USD
| country_code =
| time_zone =
| drives_on = ซ้ายมือ
| utc_offset = +9
| time_zone_DST =
| utc_offset_DST =
| cctld = [[.tl]]
| calling_code = 670
| footnotes = <sup>1</sup> รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้[[ภาษาอังกฤษ]]และ[[ภาษาอินโดนีเซีย]] เป็น '''[[ภาษาปฏิบัติการ]]'''<br />
<sup>2</sup> [[ประเทศอินโดนีเซีย|อินโดนีเซีย]]ยึดครองติมอร์-เลสเตในวันที่ [[7 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2518]] และถอนไปในปี [[พ.ศ. 2542]]<br />
<sup>3</sup> นอกจากนี้ยังใช้[[เซนตาวูติมอร์-เลสเต|เหรียญเซนตาวู]]
}}

'''ติมอร์-เลสเต''' ({{lang-pt|Timor-Leste}}, {{IPA-pt|tiˈmoɾ ˈlɛʃtɨ|pron}}, ''ตีโมร์แลชตือ'') หรือ '''ติมอร์ตะวันออก''' ({{lang-tet|Timór Lorosa'e}}) มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า '''สาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์-เลสเต''' ({{lang-pt|República Democrática de Timor-Leste}}; {{lang-tet|Repúblika Demokrátika Timór-Leste}}) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่บน[[เกาะ]]ในภูมิภาค[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] ประกอบด้วย[[เกาะติมอร์]]ด้านตะวันออก เกาะอาเตารู (Atauro) และเกาะฌากู (Jaco) ที่อยู่ใกล้เคียง และ[[เทศบาลโอเอกูซี]] (Oecusse) ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของเกาะติมอร์ ติมอร์ตะวันออกถูกล้อมรอบโดยพื้นที่ของ[[ประเทศอินโดนีเซีย]]

แต่เดิมประเทศติมอร์-เลสเตถูกปกครองโดย[[ประเทศอินโดนีเซีย]] ซึ่งได้ยึดครองติมอร์ตะวันออกเป็น[[จังหวัด]]หนึ่งของประเทศเมื่อปี [[พ.ศ. 2518]] (ค.ศ. 1975) และในปี [[พ.ศ. 2542]] (ค.ศ. 1999) ติมอร์ตะวันออกได้แยกตัวเป็นอิสระ และได้รับเอกราชอย่างเต็มตัวเมื่อวันที่ [[20 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2545]] (ค.ศ. 2002) เมื่อประเทศติมอร์ตะวันออกเข้าร่วม[[องค์การสหประชาชาติ]]ในปีเดียวกัน ก็ได้ตกลงว่าจะเรียกประเทศอย่างเป็นทางการว่า "ติมอร์-เลสเต" ซึ่งเป็นชื่อใน[[ภาษาโปรตุเกส]]

== ภูมิศาสตร์ ==
== ภูมิศาสตร์ ==
[[ไฟล์:Tasitolu,_Dili,_East_Timor_(310331891).jpg|thumb|200px|ชายฝั่งทาซิโตลู]]
[[ไฟล์:Tasitolu,_Dili,_East_Timor_(310331891).jpg|thumb|200px|ชายฝั่งทาซิโตลู]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:47, 18 มกราคม 2561

ภูมิศาสตร์

ชายฝั่งทาซิโตลู

ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นประเทศหมู่เกาะ จัดเป็นเกาะในกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เรียกว่า เกาะติมอร์ ด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์ที่เป็นเกาะขนาดเล็ก เกาะติมอร์ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย และอยู่ห่างจากกรุงจาการ์ตา ของประเทศอินโดนีเซียไปทางตะวันออกประมาณ 2,100 กิโลเมตร ประเทศติมอร์ตะวันออกประกอบไปด้วยดินแดนส่วนปลายด้านตะวันออกของเกาะติมอร์ และมีดินแดนส่วนแยกเทศบาลโอเอกูซีที่ตั้งอยู่บนชายฝั่งทางตอนเหนือของติมอร์ตะวันตกซึ่งอยู่ในการปกครองของประเทศอินโดนีเซีย

ภูมิอากาศ

ประเทศติมอร์-เลสเตมีเพียงสองฤดูเช่นเดียวกับทางภาคใต้ของประเทศไทย คือมีฤดูฝนและฤดูร้อน ภูมิอากาศบางแห่งมีภูมิอากาศแบบสะวันนา ด้วยเหตุที่ได้รับลมแล้งจากทะเลทรายทางตอนเหนือของประเทศออสเตรเลีย ทรัพยากรทางธรรมชาติของติมอร์ตะวันออกคือ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งอาจมีมากไม่แพ้ประเทศบรูไนที่อยู่ในทะเลลึกที่เรียกว่า Timor Gap ซึ่งอยู่ครึ่งทางระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย ส่วนพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ กาแฟ มะพร้าว โกโก้ ข้าวโพด และปศุสัตว์ที่สำคัญได้แก่ โค กระบือ แกะ ม้า และทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มากมาย

ประวัติศาสตร์

อาณานิคมโปรตุเกส

ดินแดนติมอร์ตะวันออกเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2063 (ค.ศ. 1520)

การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราช

การอ้างสิทธิ์เรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

ภายหลังโปรตุเกสถอนตัวออกไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 โดยมิได้จัดการปกครองให้แก่ติมอร์ตะวันออกแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ประเทศอินโดนีเซียได้ส่งทหารเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกโดยผนวกเข้าเป็นจังหวัดที่ 27 ของประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งต่อมาได้ถูกคัดค้านจากประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกเป็นเหตุให้เกิดความรุนแรงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การชุมนุมทางศาสนาในพิธีมิสซาที่โบสถ์โมตาเอล (Motael) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม ค.ศ. 1991 ริมทะเลกรุงดิลี โดยผู้ชุมนุมได้เดินขบวนไปยังสุสานซานตาครูซจำนวนผู้ร่วมชุมนุมจึงมีมากขึ้น และการชุมนุมก็เปลี่ยนเป็นการเรียกร้องเอกราช โดยมีนายชานานา กุฌเมา เป็นผู้นำที่มีบทบาทอย่างมากต่อการเรียกร้องเอกราชจากอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ดีเมื่อรัฐบาลอินโดนีเซียยินยอมให้ชาวติมอร์ตะวันออกลงประชามติเพื่อแยกตัวเป็นเอกราชจากอินโดนีเซีย ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542 ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกกว่าร้อยละ 80 ออกเสียงสนับสนุนการแยกตัวเป็นเอกราช จึงก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงในติมอร์ตะวันออกโดยกลุ่มกองกำลังมิลิเทีย (militia) ที่นิยมอินโดนีเซีย สหประชาชาติจึงได้ตัดสินใจจัดตั้งกองกำลังนานาชาติ (International Force in East Timor – INTERFET) เมื่อ 15 กันยายน 2542 เพื่อส่งเข้าไปรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ก่อนที่จะประกาศเอกราชในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545 ในขณะนี้ สหประชาชาติดำเนินการสนับสนุนติมอร์ตะวันออกภายใต้ United Nations Mission of Support in East Timor (UNMISET) ตั้งแต่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2545

วิกฤตการเมือง พ.ศ. 2449

ความวุ่นวายได้เริ่มขึ้นในติมอร์-เลสเตเมื่อเดือนเมษายน พ. หลังจากที่การชุมนุมเพื่อสนับสนุนทหารติมอร์-เลสเต 600 นาย ซึ่งถูกปลดออกจากราชการเนื่องจากหนีทัพกลายเป็นการจลาจลที่มีผู้เสียชีวิต 5 คน และมีมากกว่า 20000 คนที่หนีจากบ้านของตัวเอง

การต่อสู้อันรุนแรงทหารที่สนับสนุนรัฐบาลกับทหารฟาลินติลที่ไม่พอใจได้เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม 2549[1] แม้ว่าจะยังไม่มีความชัดเจน แรงจูงใจเบื้องหลังการต่อสู้ คาดว่าจะเป็นการกระจายของกองทุนน้ำมัน และการจัดการไม่ดีของกองทัพและตำรวจติมอร์-เลสเต ซึ่งรวมถึงตำรวจอินโดนีเซียเดิมและกบฏติมอร์เดิม นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้เรียกความรุนแรงนี้ว่าเป็นการรัฐประหาร และได้ยอมรับความช่วยเหลือจากกองทัพจากต่างประเทศหลายชาติ[2][3] ณ วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ประเทศออสเตรเลีย โปรตุเกส นิวซีแลนด์ และมาเลเซียได้ส่งทหารมายังติมอร์-เลสเตเพื่อปราบปรามความไม่สงบ [4][5]

เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ประธานาธิบดีชานานา กุฌเมา ได้ขอร้องอย่างเป็นทางการให้นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ลาออก ซึ่งสมาชิกพรรคเฟรตีลินส่วนใหญ่ได้ข้อรองให้นายกรัฐมนตรีลาออก โดยกล่าวหาว่า ได้พูดเท็จเกี่ยวกับการกระจายอาวุธให้พลเรือน[6] เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2549 นายกรัฐมนตรีมารี อัลกาตีรี ได้ลาออกโดยกล่าวว่า เป็นไปเพื่อหลีกเลี่ยงการลาออกของประธานาธิบดี[7] ฌูแซ รามุช-ออร์ตา ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีคนใหม่เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2549[8]

การปกครอง

ฟรังซิชกู กูแตรึช ประธานาธิบดีติมอร์-เลสเตคนปัจจุบัน

ปัจจุบันประเทศติมอร์-เลสเตมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ด้วยความที่เป็นประเทศใหม่ ซึ่งต้องเผชิญกับเหตุการณ์สงครามกลางเมือง และการรุกรานจากประเทศอื่น เพื่อให้การดำเนินการในติมอร์ตะวันออกเป็นไปโดยสงบ องค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการเพื่อสนับสนุนภารกิจของในติมอร์ตะวันออก (United Nation Mission of Support in East Timor: UNMISET) เป็นหน่วยงานที่คอยให้การสนับสนุนการดำเนินการต่าง ๆ ในติมอร์-เลสเตให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย ประเทศติมอร์-เลสเตเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเมื่อวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2545

การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเขตเทศบาลต่าง ๆ ของติมอร์-เลสเต

ติมอร์-เลสเตแบ่งเขตการปกครองเป็น 13 เทศบาล ([munisípiu] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ); [município] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ข้อความมีมาร์กอัปตัวเอียง (ช่วยเหลือ)) ดังนี้

  1. กอวาลีมา
  2. ดิลี
  3. เบาเกา
  4. โบโบนารู
  5. มานาตูตู
  6. มานูฟาฮี
  7. ลีกีซา
  8. เลาเต็ง
  9. วีเกเก
  10. เอร์เมรา
  11. โอเอกูซี
  12. ไอนารู
  13. ไอเลอู

ต่างประเทศ

โครงสร้างเศรษฐกิจ

  1. การเพาะปลูก ปลูกยางพารา มะพร้าว ผัก ผลไม้ แต่พื้นที่มีจำกัด
  2. อาศัยวัตถุดิบจากประเทศเพื่อนบ้าน มีอุตสาหกรรมเบา เช่น ผลิตยางพารา ขนมปัง เครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมหนัก เช่น อู่ต่อเรือ ทำเหล็กกล้า ยางรถยนต์ มีกิจการกลั่นน้ำมันซึ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐอเมริกาและเป็นผู้สร้างแท่นขุดเจาะน้ำมันรายใหญ่ด้วย
  3. การค้าขาย เป็นท่าเรือปลอดภาษี ประเทศต่าง ๆ ส่งสินค้าต่าง ๆ มายังสิงคโปร์เพื่อส่งออก และสิงคโปร์ยังรับสินค้าจากยุโรป สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เพื่อส่งไปขายต่อยังประเทศเพื่อนบ้าน มีท่าเรือน้ำลึก เหมาะในการจอดเรือส่งสินค้า

สถานการณ์เศรษฐกิจ

ตลาดในโลสปาโลส

ลู่ทางการค้าการลงทุนในติมอร์-เลสเตที่มีศักยภาพ คือ ไร่กาแฟ การประมง ธุรกิจการท่องเที่ยว รวมถึงแหล่งทรัพยากรประเภทน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในเขต Timor Gap ซึ่งอยู่ระหว่างติมอร์-เลสเตกับออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี ธุรกิจเหล่านี้ยังจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและการสนับสนุนด้านการเงินจากนักลงทุนภายนอกอยู่มาก เนื่องจากติมอร์-เลสเตยังขาดเงินทุน และชาวติมอร์-เลสเตยังขาดทักษะในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ประกอบกับในปัจจุบันมีอัตราผู้ว่างงานสูงประมาณร้อยละ 80 ซึ่งในส่วนของนักธุรกิจไทยจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ของระเบียบรวมถึงอุปสรรคดังกล่าวต่าง ๆ ข้างต้น เพื่อประกอบการพิจารณาถึงความเสี่ยงในการลงทุนในติมอร์-เลสเต และขณะนี้สินค้าส่วนใหญ่ในติมอร์-เลสเตนำเข้าจากออสเตรเลีย เพื่อรองรับการบริโภคของคณะเจ้าหน้าที่จากสหประชาชาติและคณะทูตที่ปฏิบัติงานในติมอร์-เลสเต

การท่องเที่ยว

โครงสร้างพื้นฐาน

การคมนาคม และ โทรคมนาคม

เส้นทางคมนาคม

ท่าอากาศยานนานาชาติดิลี (Presidente Nicolau Lobato International Airport)

ท่าอากาศยานนานาชาติดิลี (Presidente Nicolau Lobato International Airport) เป็นสนามบินนานาชาติเพียงแห่งเดียวในติมอร์-เลสเต และท่าเรือติมอร์และท่าเรือดิลี ท่าเรือสำคัญของประเทศ

โทรคมนาคม

การศึกษา

วิทยาศาสตร์ และ เทคโนโลยี

สาธารณสุข

สวัสดิการสังคม

ประชากร

เชื้อชาติ

งานแต่งงานของชาวติมอร์เชื้อสายจีนแคะ ปี ค.ศ. 2006

ประเทศติมอร์-เลสเตมีประชากรประมาณ 1,040,880 คน โดยประชากรมีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์

ภาษา

ภาษาที่มีถึง 30 กลุ่ม โดยต่างคนต่างอยู่ นอกจากนี้ยังมีชุมชนชาวติมอร์เชื้อสายจีน และคนไทยในกรุงดิลี ส่วนภาษาทางการนั้นไม่เป็นที่ตกลงแน่นอนว่าจะใช้ภาษาใดเป็นภาษาทางการ แต่ภาษาที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในติมอร์-เลสเต คือ ภาษาเตตุม ภาษาโปรตุเกส ภาษาอินโดนีเซีย และภาษาอังกฤษ โดยสองภาษาหลังนี้ทางการถือเป็นภาษาปฏิบัติการ นอกจากนี้ยังมีภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองต่าง ๆ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ศาสนา

รูปปั้นพระแม่มารีของศาสนาคริสต์ในกรุงดิลี
ศาสนา จำนวนศาสนิก[9] ร้อยละ
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 715,285 คน 96.5 %
ศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ 16,616 คน 2.2 %
นับถือผี/ไสยศาสตร์ 5,883 คน 0.8 %
ศาสนาอิสลาม 2,455 คน 0.3 %
ศาสนาพุทธ 484 คน 0.06 %
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 191 คน 0.02 %
อื่นๆ 616 คน 0.08 %
รวม 741,530 คน 100.00 %

ประชากรส่วนใหญ่ในประเทศติมอร์-เลสเตนับถือศาสนาคริสต์ โดยแยกเป็นสองนิกายหลัก คือ นิกายโรมันคาทอลิก มีศาสนิกกว่าร้อยละ 96 ส่วนนิกายโปรเตสแตนต์นั้นมีร้อยละ 2.2 มีส่วนน้อยนับถือศาสนาอิสลามซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบซุนนี นอกนั้นนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และอื่น ๆ[9]

วัฒนธรรม

ประชาชนชาวติมอร์-เลสเตส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามชนบท โดยส่วนมากยังทำการเกษตรแบบดั้งเดิมและพึ่งพาตนเอง มีการศึกษาต่ำ มีการจับปลาและเลี้ยงสัตว์ ผู้คนส่วนใหญ่ค้าขายไม่เป็น ไม่มีความรู้เกี่ยวกับอุตสาหกรรม เครื่องจักรกล แต่ชาวติมอร์-เลสเตนั้นมีความเคารพในระบบอาวุโส มีระบบเครือญาติที่แข็งแกร่ง รักพวกพ้อง รักขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยสตรีชาวติมอร์-เลสเตนั้นจะทำงานหนักในขณะที่บุรุษมักไม่ค่อยช่วยงานบ้าน

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น