ภาษาเตตุน
ภาษาเตตุน | |
---|---|
Tetun Prasa; Tétum Praça (โปรตุเกส) | |
Tetun Dili, Tetun Prasa | |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศติมอร์-เลสเต |
จำนวนผู้พูด | 390,000 คน (2009)[1] ภาษาที่สอง: 570,000 คนในประเทศติมอร์-เลสเต[2] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ภาษาถิ่น | Belunese (Tetun Belu)
Terik (Tetun Terik)
|
ระบบการเขียน | ละติน (อักษรเตตุน) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ติมอร์-เลสเต |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันภาษาศาสตร์แห่งชาติ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | tdt |
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาเตตุนเป็นภาษาแม่ในติมอร์-เลสเต | |
ภาษาเตตุง (โปรตุเกส), เตตุน (เตตุน) | |
---|---|
Lian Tetun | |
ประเทศที่มีการพูด | ติมอร์ตะวันตก, ติมอร์-เลสเต |
จำนวนผู้พูด | 500,000 คน ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย (2010–2011)[1] ผู้พูดภาษาที่สองในอินโดนีเซียและติมอร์-เลสเต 50,000 คน |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ภาษาถิ่น | Belunese (Tetun Belu)
Terik (Tetun Terik)
|
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | ติมอร์-เลสเต |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | อินโดนีเซีย (จังหวัดนูซาเติงการาตะวันออก) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-2 | tet |
ISO 639-3 | tet |
บริเวณที่มีผู้พูดภาษา Tetum Belu (ตะวันตก) และ Tetum Terik (ตะวันออกเฉียงใต้) ในติมอร์-เลสเต แผนที่นี้ไม่แสดงผู้พูดภาษาเตตุนส่วนใหญ่ในติมอร์ตะวันตก |
เตตุน (เตตุน: Tetun, ออกเสียง: [ˈt̪et̪un̪]) หรือ เตตุง (โปรตุเกส: Tetum, ออกเสียง: [ˈt̪et̪ũ])[3] เป็นภาษาประจำชาติของประเทศติมอร์-เลสเต เป็นภาษากลุ่มออสโตรนีเชียน ที่มีคำจำนวนมากมาจากภาษาโปรตุเกส รวมถึงภาษามลายูและภาษาอินโดนีเซีย
ประวัติ
[แก้]เตตุนเกิดเป็นภาษาสำหรับการติดต่อในคริสต์ศตวรรษที่ 16 หลังจากที่ได้กลายเป็นอาณานิคมของประเทศโปรตุเกส ภาษาหลักของภาษานี้ เป็นภาษาที่ใช้ในเมืองหลวงดิลี เรียกว่า เตตุน-ปราซา: Tetun-Prasa ส่วนรูปแบบพื้นเมืองที่ใช้พูดในชนบทเรียกว่า เตตุน-เตริก: Tetun-Terik
ถึงแม้ว่า ภาษาโปรตุเกสเป็นภาษาราชการของติมอร์ของโปรตุเกส ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เรียกในสมัยนั้น เตตุน-ปราซา เป็นภาษา lingua franca ที่ใช้กันเป็นหลัก ซึ่งยืมคำมาจากโปรตุเกสเป็นอย่างมาก เมื่อประเทศอินโดนีเซียบุกเข้ายึดครองติมอร์ตะวันออกเป็นจังหวัดที่ 27 ของสาธารณรัฐ ได้มีการห้ามใช้ภาษาโปรตุเกส อย่างไรก็ดี แทนที่ศาสนจักรนิกายคาทอลิก จะนำภาษาอินโดนีเซียมาใช้ในพิธีสวดมนต์ ก็ได้นำภาษาเตตุนมาใช้แทน ทำให้เป็นจุดรวมของเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและชาติ
ไวยากรณ์
[แก้]ไวยากรณ์ของภาษาเตตุนไม่ซับซ้อน ไม่มีการแบ่งเพศ ไม่มีการผันคำกริยา ไม่มีคำนำหน้านามชี้เฉพาะ ไม่มีคำกริยาที่ตรงกับ verb to be ของภาษาอังกฤษ แต่มีคำ la'ós (แปลว่าไม่เป็น) ซึ่งแสดงความปฏิเสธ
- Timor-oan la'ós Indonézia-oan.= ชาวติมอร์ไม่ได้เป็นชาวอินโดนีเซีย
- Lia-indonézia la'ós sira-nia lian. = ภาษาอินโดนีเซียไม่ใช่ภาษาของเรา
maka (ผู้ซึ่ง ที่ซึ่ง) ใช้เป็นคำคุณศัพท์ได้ เช่น
- Xanana Gusmão maka ita-nia Prezidente. = นี่คือ ซานานา กุสเมา ผู้เป็นประธานาธิบดีของเรา
- João maka gosta serveja. = จอห์นเป็นคนคนหนึ่งซึ่งชอบเบียร์
คำถามใช่/ไม่ใช่ สร้างโดยใช้คำ ka (หรือ) หรือ ka lae (หรือไม่)
- O bulak ka? = คุณบ้าหรือเปล่า
- O gosta ha'u ka lae? = คุณไม่ชอบฉันหรือ
รูปพหูพจน์ไม่นิยมใช้กับคำนาม ยกเว้นมีคำว่า sitra (พวกเขา) อยู่ด้วย เช่น fetu = ผู้หญิง (1 คน) fetu sitra = ผู้หญิง (หลายคน) ในกรณีของคำที่มาจากภาษาโปรตุเกส มีการแยกรูปพหูพจน์ (ลงท้ายด้วย s) เช่น Estadus Unidus = สหรัฐอเมริกา Nasoens Unidas = สหภาพแห่งชาติ
เปลี่ยนคำคุณศัพท์เป็นคำนาม เติมคำ oan เช่น malae = ต่างชาติ malae-oan = ชาวต่างชาติ ในทำนองเดียวกัน ชาวติมอร์เขียนว่า Timor-oan เมื่อกล่าวถึงประเทศของชาวติมอร์ใช้ Rai-Timor
ไม่แสดงรูปอดีตเว้นแต่มีคำบ่งชี้ เช่น ona (แล้ว) เช่น
- Ha'u han = ฉันกิน
- Ha'u han etu = ฉันกินข้าว (ปัจจุบัน/อดีต)
- Ha'u han etu ona = ฉันกินข้าวแล้ว (อดีต/ปัจจุบันสมบูรณ์)
ภาษาเตตุนมีคำว่า"เรา" 2 คำแบบเดียวกับภาษามลายู คือ ami (ไม่รวมผู้ฟัง) และ ita (รวมผู้ฟัง) เช่น ami-nia karreta = รถของเรา ita-nia rain = ประเทศของเรา
คำว่า nia แสดงถึงเหตุการณ์ที่ยังดำเนินอยู่ การแสดงความเป็นเจ้าของใช้คำว่า nian เช่น povu Timór Lorosa'e nian = ประชาชนของติมอร์-เลสเต
คำกริยาสร้างโดยใช้คำอุปสรรค "ha-" หรือ "hak-" นำหน้านามหรือคุณศัพท์ เช่น
- habeen - ทำให้เป็นของเหลว ละลาย- จาก been (ของเหลว)
- habulak - ขับอย่างบ้าคลั่ง- จาก bulak (บ้า)
- hamanas - ให้ความร้อน- จาก manas (ร้อน)
ในภาษาเตตุนไม่มีรูปประธานถูกกระทำ แต่คำอุปสรรค "na-" หรือ "nak-" ใช้เปลี่ยนรูปกริยาจากสกรรมกริยาเป็นอกรรมกริยา เช่น
- nabeen - (ถูก) ทำให้เหลว
- nabulak - (ถูก) ขับอย่างบ้าคลั่ง
- namanas - (ถูก) ทำให้ร้อน
ข้อความพื้นฐาน
[แก้]- Bondia - "สวัสดี (ตอนเช้า)" (จากภาษาโปรตุเกส Bom dia).
- Di'ak ka lae? - "เป็นอย่างไรบ้าง?" (แปลตรงตัว "คุณรู้สึกดีหรือไม่?")
- Ha'u di'ak - "ฉันสบายดี"
- Obrigadu/Obrigada - "ขอบคุณ", พูดโดยผู้ชาย/ผู้หญิง (จากภาษาโปรตุเกส Obrigado/Obrigada).
- Ita bele ko'alia Tetun? - "คุณพูดภาษาเตตุนได้ไหม?"
- Loos - "ใช่"
- Lae - "ไม่"
- Ha'u' [la] komprende - "ฉัน (ไม่) เข้าใจ" (จากภาษาโปรตุเกส compreender).
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 ภาษาเตตุง (โปรตุเกส), เตตุน (เตตุน) ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ "Table 14: Second language/dialect by sex for the population over four years of age". Timor-Leste Population and Housing Census 2015. Timor-Leste Ministry of Finance. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-01-27. สืบค้นเมื่อ 2022-02-08.
- ↑ Bauer, Laurie (2007). The Linguistics Student's Handbook. Edinburgh: Edinburgh University Press.
- National Institute of Linguistics, National University of East Timor (Archived) includes several bilingual Tetum dictionaries, and articles about Tetum
- Hull, Geoffrey, Standard Tetum-English Dictionary 2nd Ed, Allen & Unwin Publishers ISBN 978-1-86508-599-9
- Official Web Gateway to the Government of Timor-Leste – Religion & Language
- The standard orthography of the Tetum language (PDF)
- Matadalan Ortografiku ba Lia-Tetun - Tetum Spelling Guide
- Damien LEIRIS - Personal approach of the Tetum language (PDF)
- Colonization, Decolonization and Integration: Language Policies in East Timor, Indonesia, by Nancy Melissa Lutz
- Current Language Issues in East Timor (Dr. Geoffrey Hull)
- Van Klinken, Catharina (1999). A grammar of the Fehan dialect of Tetun, an Austronesian language of West Timor (PDF). Canberra: Pacific Linguistics, The Australian National University. doi:10.15144/PL-C155. ISBN 0858835142.
- Hull, Geoffrey (1998). "The Languages of Timor 1772-1997: A Literature Review". Estudos de Linguas e Culturas de Timor Leste (Studies in Languages and Cultures of East Timor). 1: 1–38.
- Ross, Melody A. (2017). Attitudes toward Tetun Dili, A Language of East Timor (PDF) (วิทยานิพนธ์ phd). University of Hawaiʻi at Mānoa. hdl:10125/62504.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Peace Corps East Timor Tetun Language Manual (2011, 2nd edition; 2015, 3rd edition เก็บถาวร 2022-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน)
- Intensive Tetun language courses at Dili Institute of Technology เก็บถาวร 2018-02-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Pictures from a Portuguese language course, using Tetum, published in the East Timorese newspaper Lia Foun in Díli (from Wikimedia Commons)
- Tetun website with sound files
- Teach yourself Tetum... an interview with some information on the history of Tetum
- Wordfinder (Tetun/English minidictionary) เก็บถาวร 2010-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน and other publications available from Dili
- Damien LEIRIS - Personal approach of the Tetum language (PDF)
- Tetun dictionary
- Tetum illustrated dictionary
- Dili Institute of Technology Institute of Technology website
- A Traveller's Dictionary in Tetun-English and English-Tetun includes some information on grammar, based on the Tetun-Terik dialect
- Sebastião Aparício da Silva Project for the Protection and Promotion of East Timorese Languages
- Suara Timor Lorosae Daily newspaper in Tetum and Indonesian
- Jornal Nacional Semanário Tetum page
- Tetum dictionaries เก็บถาวร 2008-02-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Tetun 1, Tetun 2 เก็บถาวร 2010-06-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Tetun writing courses for East Timorese university students, by Catharina Williams-van Klinken, Dili Institute of Technology
- Talk Tetum in Timor VisitEastTimor.com Travel Guide help you to talk in East Timor
- Robert Blust's field notes on Tetun are archived with Kaipuleohone