ข้ามไปเนื้อหา

เท่ง เถิดเทิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ)
เท่ง เถิดเทิง
ชื่อเกิดพงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ
ชื่ออื่นตู้ เชิญยิ้ม, เท่ง จ๊กม๊ก, เท่ง เถิดเทิง
เกิด7 เมษายน พ.ศ. 2509 (58 ปี)
อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ประเทศไทย
ส่วนสูง1.73 เมตร (5 ฟุต 8 นิ้ว)
บิดาดิเรก พงษ์สุวรรณ
มารดารำภา แพรบุตร
คู่สมรสมาลา พงษ์สุวรรณ
บุตร3 คน
อาชีพ
  • นักแสดง
  • พิธีกร
  • นักร้อง
  • นักแสดงตลก
  • ผู้กำกับภาพยนตร์
  • ยูทูบเบอร์
  • นักธุรกิจ
ปีที่แสดงพ.ศ. 2538–ปัจจุบัน
ผลงานเด่นแก๊งสามช่า - ชิงร้อยชิงล้าน
เท่ง เถิดเทิง - ระเบิดเถิดเทิง
หลวงพี่เท่ง - หลวงพี่เท่ง (2548)
มิวสิกวิดีโอ เพลง อกข้างซ้าย ของ วงโมทีฟ (2544)
สังกัดเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์
โทรทัศน์ทองคำรางวัลทีมพิธีกรดีเด่น
พ.ศ. 2559 - รายการคุณพระช่วย

พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ เป็นที่รู้จักในชื่อ เท่ง เถิดเทิง (เกิด 7 เมษายน พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น เท่ง หรือก๋อง เป็นนักแสดงตลกชายชาวไทยจากแก๊งสามช่า มีชื่อเสียงจากการเป็นนักแสดงภาพยนตร์หลายเรื่อง และประกอบอาชีพหลายอย่าง ตั้งแต่ เล่นลิเก (มีคณะลิเกชื่อว่า ลิเกครื้นเครง เท่ง เถิดเทิง) ถีบรถสามล้อ ปัจจุบันเป็นนักแสดงตลกและพิธีกรในสังกัด รวมถึงเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ให้แก่ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

เนื่องจากได้รับรางวัล เอเชี่ยน เทเลวิชั่น อวอร์ด 2007 ประเภทนักแสดงตลกฝ่ายชายยอดเยี่ยม[1][2] เท่ง เถิดเทิงจึงได้รับฉายาว่า "ตลกเอเชีย" และ "ตลกอัจฉริยะ"

ประวัติ

[แก้]

เท่ง เถิดเทิง มีชื่อจริงว่า พงษ์ศักดิ์ พงษ์สุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2509 ที่ตรอกหางคลอง ถนนหลวงพ่อโตอำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย มีบิดาชื่อดิเรก พงษ์สุวรรณ มารดาชื่อรำภา แพรบุตรเป็นลูกคนที่ 3 จากพี่น้องทั้งหมด 6 คน มีพี่ชาย 2 คน และน้องสาว 3 คน โดยน้องสาวคนแรกคือ ส้มเช้ง สามช่า ครอบครัวมีฐานะยากจน เท่งจบการศึกษาประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาลสวรรคโลก แล้วออกมาฝึกลิเกกับคณะของญาติ โดยเริ่มที่บทพระเอกแต่ต่อมาผันมาแสดงเป็นบทตลกซึ่งเหมาะกับตนเองมากกว่า โดยใช้ชื่อทางการแสดงว่า "พงษ์ เม็ดพริก" ต่อมาได้ออกมาถีบสามล้อรับจ้างอยู่พักหนึ่งจึงกลับมาเล่นลิเกอีกครั้ง

เท่งเล่นลิเกอยู่หลายปีจึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ทำงานตั้งแต่ล้างจานได้รายได้วันละ 50 บาท เก็บตั๋วตามงานวัดหรือสวนสนุก ขายเสื้อผ้า ขายก๋วยเตี๋ยว ทำงานเกือบ 3 ปีเต็ม แล้วก็มาเล่นลิเกในกรุงเทพนาน 5 ปี ก่อนจะมาตั้งคณะตลกร่วมกับพี่ชายแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมา "ส้มเช้ง" ผู้เป็นน้องสาวได้ช่วยไปขอเบอร์โทรกับตลกที่ชื่อว่า "บังแหลก" บังแหลกได้ฝากตัวเท่งให้เข้าร่วมกับคณะตลกในชื่อ "มะกอกสามตะกร้า" ของเบญโล โดยเท่งทำงานอยู่หลายตำแหน่งตั้งแต่เด็กขนอุปกรณ์ มือกลอง จนในที่สุดก็ได้เล่นเป็นตลกประจำคณะ บังแหลกได้ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "ตู้" โดยมาจากการเล่นตลกที่พริ้วเหมือนกับ ตู้ ดิเรก เท่งอยู่คณะมะกอกสามตะกร้าได้ระยะหนึ่ง ก็ย้ายไปคณะ "สีแดงและเพื่อน" , คณะ "ยอดธง เทียนชัย" คณะ "ชูศรี เชิญยิ้ม" ตามลำดับ ในชื่อ "ตู้ เชิญยิ้ม" นั้น มาจากชื่อของ ตู้ - ดิเรก อมาตยกุล ที่กำลังมาแรงในขณะนั้นโดยบังแหลกเป็นผู้ตั้งให้ [3]

ต่อมาก็ออกมารวมตัวกับเพื่อนตั้งคณะใหม่ในชื่อ "เพื่อนอิสระ" แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่ง หม่ำ จ๊กมก ชักชวนไปร่วมคณะด้วย จึงทำให้เท่งได้มาเล่นตลกในคณะ "หม่ำ จ๊กมก (ชื่อเดิม : หม่ำและชาวบ้าน)" ก่อนจะได้มีโอกาสได้เข้าไปอยู่ในเวิร์คพอยท์ฯ ของ ปัญญา นิรันดร์กุล ในรายการแรก คือรายการ "ฮากลางแดด" ก่อนที่เท่ง จะได้รับบทบาทให้มาร่วมแสดงรายการ "ระเบิดเถิดเทิง" ปัญญา นิรันดร์กุล เปลี่ยนชื่อให้ใหม่เป็น "เท่ง เถิดเทิง" ซึ่งเป็นชื่อที่คนทั่วไปรู้จัก โดยรับบทเป็น เท่ง นักเลงประจำซอย ซึ่งเป็นคาแรกเตอร์ที่เป็นที่จดจำได้อย่างดีของผู้ชม นอกจากนี้ เท่งก็ยังได้รับบทเป็นตลกลูกคู่ของหม่ำ จ๊กมก ในรายการ ชิงร้อยชิงล้าน Super Game ก่อนที่ต่อมาจะกลายมาเป็น แก๊งสามช่า ในที่สุด ถือเป็นหนึ่งในสองสมาชิกรุ่นก่อตั้งของแก๊งสามช่าและยังเล่นภาพยนตร์ไทยอีกหลายเรื่อง

ผลงาน

[แก้]

รายการโทรทัศน์

[แก้]
พ.ศ. รายการ บทบาท เป็นพิธีกรร่วมกับ ออกอากาศ หมายเหตุ
2539 - 2541 ชิงร้อยชิงล้าน ซูเปอร์เกม นักแสดงตลกในช่วง "จริงหรือไม่" ปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
หม่ำ จ๊กมก
ช่อง 7
ช่อง 3
2540 - 2544 แสบคูณสอง นักแสดงตลกในช่วง "แสบปริศนา" (2540 - 2542)
นักแสดงตลกในช่วง "แสบไม่รู้ตัว" (2542)
นักแสดงตลกในช่วง "แสบ BIG STORY" (2543 - 2544)
เกียรติ กิจเจริญ
ติ๊ก กลิ่นสี
กอบโชค คล้ายสำริด
จิ้ม ชวนชื่น
ชูศรี เชิญยิ้ม
โหน่ง ชะชะช่า
แดนนี่ ศรีภิญโญ
นุ้ย เชิญยิ้ม
2540 - 2541 จารบีสีชมพู พิธีกร เกียรติ กิจเจริญ
ติ๊ก กลิ่นสี
ธงชัย ประสงค์สันติ
สกาวใจ พูนสวัสดิ์
ททบ.5 ในช่วงนั้น "เท่ง เถิดเทิง" รับหน้าที่แทน "ไพโรจน์ ใจสิงห์"
2541 จารบีปีเสือ ติ๊ก กลิ่นสี
ธงชัย ประสงค์สันติ
สกาวใจ พูนสวัสดิ์
แดนนี่ ศรีภิญโญ
จิ้ม ชวนชื่น
2541 - 2551
2552 - 2554
ชิงร้อยชิงล้าน ชะชะช่า พิธีกรและนักแสดงตลกในช่วง "ละคร 3 ช่า" ปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
ส้มเช้ง สามช่า
พัน พลุแตก
สุดารัตน์ บุตรพรม
ช่อง 3
ททบ.5
ช่อง 7
2542 อยากออกทีวี พิธีกร ปัญญา นิรันดร์กุล
สิรินยา วินศิริ
ททบ.5
2544 - 2547 เกมพันหน้า นักแสดงตลกในช่วง "ละครพันหน้า" เกียรติ กิจเจริญ
ติ๊ก กลิ่นสี
กอบโชค คล้ายสำริด
แดนนี่ ศรีภิญโญ
นุ้ย เชิญยิ้ม
ช่อง 7
2546 - 2551 ชัยบดินทร์โชว์ พิธีกร หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
ส้มเช้ง สามช่า
มยุรา เศวตศิลา
โมเดิร์นไนน์ทีวี
2547 - ปัจจุบัน คุณพระช่วย ธงชัย ประสงค์สันติ
ทอดด์ ทองดี
พัน พลุแตก
โมเดิร์นไนน์ทีวี
ช่องเวิร์คพอยท์
2551 - 2552 ชิงร้อยชิงล้าน ทเวนตี้ เซ็นจูรี่ ตั๊ก พิธีกรและนักแสดงตลกในช่วง "ละคร 3 ช่า" มยุรา เศวตศิลา
หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
ส้มเช้ง สามช่า
พัน พลุแตก
สุดารัตน์ บุตรพรม
ช่อง 7
2553 เท่ง โหน่ง ผจญภัย พิธีกร โหน่ง ชะชะช่า ททบ.5
2555 - 2558 ชิงร้อยชิงล้าน ซันไชน์ เดย์ พิธีกรและนักแสดงตลกในช่วง "ละคร 3 ช่า" ปัญญา นิรันดร์กุล
มยุรา เศวตศิลา
หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
ส้มเช้ง สามช่า
พัน พลุแตก
สุดารัตน์ บุตรพรม
วรัทยา นิลคูหา
ช่อง 3
2557 ขบวนการ 3 ช่า พิธีกร หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
พัชรศรี เบญจมาศ
2558 - 2566 ชิงร้อยชิงล้าน ว้าว ว้าว ว้าว พิธีกรและนักแสดงตลกในช่วง "ละคร 3 ช่า" ปัญญา นิรันดร์กุล
วรัทยา นิลคูหา
หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
ส้มเช้ง สามช่า
พัน พลุแตก
สุดารัตน์ บุตรพรม
ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
แจ๊ส ชวนชื่น
บอล เชิญยิ้ม
นาย เดอะคอมเมเดียน
ช่องเวิร์คพอยท์
2557 - 2562 เท่งโหน่งวิทยาคม พิธีกรและนักแสดงในช่วง "เท่ง-โหน่ง การละคร" โหน่ง ชะชะช่า
2561 - 2562 นักร้องสองไมค์ กรรมการ ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
สลา คุณวุฒิ
หนู มิเตอร์
เพชร สหรัตน์
จักรวาร เสาธงยุติธรรม
2562 3 เงาเขย่าเพลง
2566 ชิงร้อย THE STORY พิธีกรและนักแสดงตลกในช่วง "ละคร 3 ช่า" ศิวัฒน์ โชติชัยชรินทร์
โหน่ง ชะชะช่า
แจ๊ส ชวนชื่น
บอล เชิญยิ้ม
นาย เดอะคอมเมเดียน
2567 เพชรตัดเพชร สามสี (ซีซั่น 2) โค้ชเพชรสีน้ำเงิน

ช่องทางออนไลน์

[แก้]
  • YouTube : เท่ง เถิดเทิง แฟมิลี่ official (2564)

ละครโทรทัศน์

[แก้]
ปี พ.ศ. เรื่อง ออกอากาศ บทบาท หมายเหตุ
2540 บ้านผีปอบ ช่อง 5 นำแสดงโดย ศตวรรษ ดุลยวิจิตร, วฤนดา สมศิริ, ธงชัย ประสงค์สันติ, ณัฐนี สิทธิสมาน, ศุภกร อุดมชัย, หนู คลองเตย
2541 ลุ้นรักทะลุมิติ นำแสดงโดย ศตวรรษ เศรษฐกร, ไบรโอนี่ รอดโพธิ์ทอง
ยุ่งนักรักซะเลย ช่อง 3 สุรเชษฐ์ นำแสดงโดย พัสสน ศรินทุ, คาเรน คล่องตรวจโรค, ศตวรรษ เศรษฐกร, สายธาร นิยมการณ์, แทนคุณ จิตต์อิสระ, ธัญญ์ ธนากร, เป็ด เชิญยิ้ม
2542 มะปรางข้างรั้ว ช่อง 7 นำแสดงโดย รัฐธรรมนูญ ศรีฤกษ์, สุภาภรณ์ แสงทอง, ชลิต เฟื่องอารมย์, ดี๋ ดอกมะดัน, ธงชัย ประสงค์สันติ
พ่อ ตอน เพลงของพ่อ ช่อง 5 จ๊อด นำแสดงโดย นพพล โกมารชุน, มนตรี เจนอักษร, ชาย เมืองสิงห์, นันทวัฒน์ อาศิรพจนกุล, ปอรรัชม์ ยอดเณร, ปรียานุช ปานประดับ, ละอ่อน
2545 สวัสดีคุณนาย ช่อง 3 นำแสดงโดย ศศิกานต์ อภิชาตวรศิลป์, สมบัติ เมทะนี, เด่น ดอกประดู่, กรรชัย กำเนิดพลอย, พล ตัณฑเสถียร
2546 บ้านนี้ผี(ไม่)ปอบ แก๊งล่าผี 2 (รับเชิญ) นำแสดงโดย วัชระ ตังคะประเสริฐ, สุทธิดา เกษมสันต์ ณ อยุธยา, เบญจพล เชยอรุณ, นาคร ศิลาชัย, สีเทา เพ็ชรเจริญ, ดี๋ ดอกมะดัน, หม่ำ จ๊กมก
ตลาด โรงเจ ลิเก ความรัก ช่อง 7 นำแสดงโดย อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร, เกียรติ กิจเจริญ, ติ๊ก กลิ่นสี, ไดอาน่า จงจินตนาการ
2549 หัวใจทระนง ช่อง 3 นำแสดงโดย กัญญารัตน์ จิรรัชชกิจ, รอน บรรจงสร้าง, สหรัถ สังคปรีชา
2567 เพลงลำคำเขื่อนแก้ว ช่อง เวิร์คพอยท์ นำแสดงโดย หม่ำ จ๊กมก, ซี ศิวัฒน์, ไรอัล กาจบัณฑิต, ซัน วงศธร, ฟอร์ม ชลพิพรรธน์, โหน่ง ชะชะช่า, ครูสลา คุณวุฒิ, สุนารี ราชสีมา, มะนาว ศรศิลป์, โน๊ต เชิญยิ้ม

ซีรีส์

[แก้]

ซิตคอม

[แก้]
พ.ศ. รายการ บทบาท แสดงร่วมกับ ออกอากาศ หมายเหตุ
2538 - 2539 ฮากลางแดด เท่ง เถิดเทิง หม่ำ จ๊กมก และตัวแทนชาวคณะ ททบ.5 เป็นซิตคอมเรื่องแรกของ "เท่ง เถิดเทิง" และออกอากาศในช่วงกลางวัน โดยจะแสดงกันกลางแดด
2540 - 2552 ระเบิดเถิดเทิง เท่ง เกียรติ กิจเจริญ
หม่ำ จ๊กมก
หนู เชิญยิ้ม
เอกพัน บรรลือฤทธิ์
เด๋อ ดอกสะเดา
จตุรงค์ มกจ๊ก
แดนนี่ ศรีภิญโญ
โหน่ง ชะชะช่า
ดีใจ ดีดีดี
ลิซ่า ไปรพิศ
ส้มเช้ง สามช่า
สราวุฒิ พุ่มทอง
พุฒิพงศ์ พรหมสาขา ณ สกลนคร
ภาณุพันธ์ ครุฑโต
ในช่วงปี 2541 "จตุรงค์ มกจ๊ก" รับหน้าที่เป็นนักแสดงในช่วงละครแทน "หนู เชิญยิ้ม" เป็นการชั่วคราว
2546 - 2550 โคกคูนตระกูลไข่ เสธ.ชาคริต หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า
ส้มเช้ง สามช่า
จินตหรา สุขพัฒน์
ธงชัย ประสงค์สันติ
ช่อง 3
ททบ.5
2550 - 2551 รักต้องซ่อม สุดเขต ททบ.5
2552 - 2553 ระเบิดเถิดเทิง รุ่น 3 เท่ง
2553 - 2555 ระเบิดเถิดเทิง ลั่นทุ่ง
2555 - 2558 ระเบิดเที่ยงแถวตรง จ.ส.อ.เท่ง (จ่าเท่ง) ททบ.5
ช่องเวิร์คพอยท์
2558 - 2559 ระเบิดเถิดเทิงสิงโตทอง อาเท่ง ช่องเวิร์คพอยท์
2559 - 2560 ระเบิดเถิดเทิงแดนเซอร์ทะลวงไส้ เพชร ทรนง
2560 - 2561 ระเบิดเถิดเทิงแดร็กคูล่าหารัก แดร็ก(แดร็กคูล่า)
2561 - 2563 ระเบิดเถิดเทิงซอยข้าใครอย่าแตะ เท่ง
2564 เถิดเทิงม่วนคักฮักหลาย ครูเท่ง
2565 - ปัจจุบัน โอมเพี้ยงอาจารย์คง อาจารย์คง

ภาพยนตร์

[แก้]
ปี เรื่อง บทบาท แสดงร่วมกับ หมายเหตุ
2540 18 ฝน คนอันตราย ชาช่า อัลเทอร์เมท รับเชิญ
2541 ปาฏิหาริย์โอม+สมหวัง ยามหน้าโรงแรม หม่ำ จ๊กมก
สุพจน์ จันทร์เจริญ
ธนา สุทธิกมล
รับเชิญ
2544 มือปืน/โลก/พระ/จัน เอ๋อ เอลวิส
(โอ๋ M16 หมื่นศพสิงห์สำอาง)
หม่ำ จ๊กมก
เทพ โพธิ์งาม
ถั่วแระ เชิญยิ้ม
สมชาย เข็มกลัด
2545 7 ประจัญบาน หมัด เชิงมวย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ทศพล ศิริวัฒน์
อัมรินทร์ นิติพน
พิเศก อินทรครรชิต
แช่ม แช่มรัมย์
ค่อม ชวนชื่น
พรรณวรินทร์ ศรีสวัสดิ์
2546 แอบคนข้างบ้าน อ๊อด อัญชิสา เลี่ยวไพโรจน์
2548 หลวงพี่เท่ง หลวงพี่เท่ง โน้ต เชิญยิ้ม
สราวุฒิ พุ่มทอง
สาวิกา ไชยเดช
สมชาย ศักดิกุล
2549 โหน่ง เท่ง นักเลงภูเขาทอง บุญเท่ง โหน่ง ชะชะช่า
นิกัลยา ดุลยา
2550 บอดี้การ์ดหน้าเหลี่ยม 2 เจ้าพ่อปู่ หม่ำ จ๊กมก
เจเน็ต เขียว
รับเชิญ
เท่ง โหน่ง คนมาหาเฮีย เท่ง โหน่ง ชะชะช่า
จิรดา โยฮารา
แอนดี้ เขมพิมุก
ไพโรจน์ ใจสิงห์
2551 เทวดาท่าจะเท่ง กล้วย บงกช คงมาลัย
โก๊ะตี๋ อารามบอย
2553 ตุ๊กกี้ เจ้าหญิงขายกบ อิสมา ปาธาน
โป๊ะแตก เท่ง เถิดเทิง หม่ำ จ๊กมก
เทพ โพธิ์งาม
โหน่ง ชะชะช่า
สุดารัตน์ บุตรพรม
โจอี้ กาน่า
2554 จั๊กกะแหล๋น ผู้กองเท่ง รับเชิญ
เท่ง โหน่ง จีวรบิน พระเท่ง
ใหม่กะหม่ำ โดนกะโดน โกสน หม่ำ จ๊กมก
ใหม่ เจริญปุระ
โหน่ง ชะชะช่า
2556 แหยม ยโสธร 3 เท่ง เถิดเทิง หม่ำ จ๊กมก
เจเน็ต เขียว
เฉิน เชิญยิ้ม
รับเชิญ
2558 แคท อ่ะ แว้บ! โดด โหน่ง ชะชะช่า
2560 โรงเรียนผี ครูใหญ่ (เทิด) อาไท กลมกิ๊ก
อาภา ภาวิไล
หม่ำ จ๊กมก
2566 ทิดน้อย ทิดน้อย อนันดา เอเวอริ่งแฮม
พัชราภา ไชยเชื้อ

กำกับภาพยนตร์

[แก้]

มิวสิกวิดีโอ

[แก้]
ปี อัลบั้ม / SINGLE เพลง ศิลปิน แสดงร่วมกับ หมายเหตุ
2540 ผิดไหมที่ไม่แก่ ยอดรัก สลักใจ -
2541 ธงไชย เซอร์วิส ซ่อมได้ ธงไชย แมคอินไตย์ เก็จมณี วรรธนะสิน
คณิตกุล เนตรบุตร
บอกว่าอย่าน่ารัก ธงไชย แมคอินไตย์
เก็จมณี พิชัยรณรงค์สงคราม
2544 มันคือความมัน อกข้างซ้าย โมทีฟ
2548 Bird Volume 1 อยากถามก็ตอบ ธงไชย แมคอินไตย์ สัญญา คุณากร
พรชิตา ณ สงขลา
ธงไชย แมคอินไตย์
แจ็ค แฟนฉัน
2558 ไก๊ไก่ โหน่ง ชะชะช่า ศิลปิน / นักแสดง / พนักงานในสังกัดเวิร์คพอยท์
2565 ส.ย. สายยืน หม่ำ จ๊กมก
โหน่ง ชะชะช่า

ซิงเกิล

[แก้]
ปี SINGLE แสดงร่วมกับ หมายเหตุ
2554 กินตับ โหน่ง ชะชะช่า
สุดารัตน์ บุตรพรม (เวอร์ชั่นเพลงประกอบภาพยนตร์)
ในเพลงนี้ โหน่ง ชะชะช่า ร่วมร้องคอรัสในบางท่อน โดยเพลงนี้มี MUSIC VIDEO 2 ตัว คือเวอร์ชั่นต้นฉบับ และเวอร์ชั่นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง เท่ง โหน่ง จีวรบิน โดยเวอร์ชั่นหลังจะมีการปรับเนื้อเพลงในช่วงครึ่งเพลงหลังด้วย
2555 ร้องไห้หาพ่อเธอหรือ บริบูรณ์ จันทร์เรือง
ธนา สุทธิกมล
ศุภักษร เรืองสมบูรณ์
2556 อ๊อดแอด มาลา พงษ์สุวรรณ
พิษณุ นิ่มสกุล
ศิวดล จันทเสวี
ส้มเช้ง สามช่า
สุดารัตน์ บุตรพรม
2558 คนหน้าใส ครอบครัวพงษ์สุวรรณ (มาลา / โหงวเฮ้ง / พ้อยท์ / พลอย)
2559 พักตับ ในเพลงนี้ใช้ทำนองเพลงเดียวกันกับเพลง กินตับ และเป็นเพลงที่ใช้ในโครงการรณรงค์แคมเปญ งดเหล้าครบพรรษา "ดื่มมาหนัก พักตับบ้าง" ประจำปี พ.ศ. 2559 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
2560 โยกได้...ถ้าใช่เธอ
2561 15 ที่ข้าแพ้ ต้นฉบับของเพลงนี้ คือ ดาวสยาม สุริยะ

อื่น ๆ

[แก้]
  • โฆษณา : เดนทีน (คู่กับ แหม่ม-แคทลียา แมคอินทอช) (2540)
  • หนังสือ : รักนะ เท่ง เถิดเทิง (2548)
  • เพลง : ขอความสุขคืนกลับมา (19 พฤษภาคม 2553) - เพื่อเป็นกำลังใจแก่ชาวไทยที่มีความรู้สึกทุกข์ จากการสูญเสียสถานที่สำคัญต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร
  • โฆษณา : ปูนดอกบัว ชุด บัวแมน (2554)
  • โฆษณา : CP Fresh Mart (2554)
  • เพลง : ครองแผ่นดินโดยธรรม (ธันวาคม 2554) - เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
  • เพลง : สดุดีมหาราชา (สิงหาคม 2556) - เพื่อเทิดพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 86 พรรษา
  • เพลง : หลานสามช่า น้าคาราบาว (กุมภาพันธ์ 2558)
  • โฆษณา : โออิชิ “รหัสโออิชิ ลุ้นรวยทุกชั่วโมง” (คู่กับ โหน่ง ชะชะช่า และ ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน)
  • โฆษณา : ขนมทอดกรอบ ตะวัน (ร่วมกับ หม่ำ จ๊กมก และ โหน่ง ชะชะช่า)
  • The Mask Truce Day หรือ The Mask พักรบ ฉายาหน้ากากพญาเหยี่ยว (11 ตุลาคม 2561 - 18 ตุลาคม 2561)


รางวัลที่ได้รับ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. เวิร์คพอยท์ฯ พา เท่ง เถิดเทิง คว้าตลกชายยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย
  2. เท่ง เถิดเทิง เปิดใจ
  3. เล่าประวัติพ่อเท่ง Ep3 ตั้งคณะตลกครั้งแรกก่อนไปคณะ หม่ำ จ๊กมก เกือบโดน..!, สืบค้นเมื่อ 2021-06-04
  4. เท่ง โหน่ง จีวรบิน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]