ข้ามไปเนื้อหา

วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วยาเชสลาฟ โมโลตอฟ
Вячеслaв Мoлотов
ประธานคณะกรรมการราษฎร
แห่งสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
19 ธันวาคม ค.ศ. 1930 – 6 พฤษภาคม ค.ศ. 1941
ก่อนหน้าอะเลคเซย์ รืยคอฟ
ถัดไปโจเซฟ สตาลิน
รองประธานคณะรัฐมนตรีสหภาพโซเวียต
ดำรงตำแหน่ง
16 สิงหาคม ค.ศ. 1942 – 29 มิถุนายน ค.ศ. 1957
หัวหน้ารัฐบาลโจเซฟ สตาลิน
เกออร์กี มาเลนคอฟ
นีโคไล บุลกานิน
ก่อนหน้าNikolai Voznesensky
ถัดไปนีโคไล บุลกานิน
กรรมการราษฎรฝ่ายกิจการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
3 พฤษภาคม ค.ศ. 1939 – 4 มีนาคม ค.ศ. 1949
หัวหน้ารัฐบาลโจเซฟ สตาลิน
ก่อนหน้าMaxim Litvinov
ถัดไปอันเดรย์ วืยชินสกี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
5 มีนาคม ค.ศ. 1953 – 1 มิถุนายน ค.ศ. 1956
หัวหน้ารัฐบาลเกออร์กี มาเลนคอฟ
นีโคไล บุลกานิน
ก่อนหน้าอันเดรย์ วืยชินสกี
ถัดไปDmitri Shepilov
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Vyacheslav Mikhailovich Skryabin

9 มีนาคม ค.ศ. 1890(1890-03-09)
คูคาร์คา, จักรวรรดิรัสเซีย
เสียชีวิต8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986(1986-11-08) (96 ปี)
มอสโก, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย, สหภาพโซเวียต
สัญชาติโซเวียต
เชื้อชาติรัสเซีย
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต
คู่สมรสPolina Zhemchuzhina
ลายมือชื่อ

วยาเชสลาฟ มีไฮโลวิช โมโลตอฟ (รัสเซีย: Вячесла́в Миха́йлович Мо́лотов ชื่อเดิม: สคร์ยาบีน รัสเซีย: Скря́бин; 9 มีนาคม ค.ศ. 1890 – 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1986) เป็นนักการเมืองและนักการทูตชาวโซเวียต เป็นบอลเชวิคเก่าและเป็นผู้นำในรัฐบาลโซเวียตจากคริสต์ทศทวรรษ 1920 เมื่อเขาขึ้นสู่อำนาจในฐานะที่โปรดปรานของโจเซฟ สตาลิน โมโลตอฟทำหน้าที่ในฐานะประธานคณะกรรมการราษฎร (นายกรัฐมนตรี) จาก ค.ศ. 1930 ถึง ค.ศ. 1941 และในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตั้งแต่ ค.ศ. 1939 ถึง ค.ศ. 1949 และ ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1959 จากตั้งแต่ ค.ศ. 1953 ถึง ค.ศ. 1959 เขาดำรงตำแหน่งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่หนึ่งจาก ค.ศ. 1942 ถึง ค.ศ. 1957 เมื่อเขาถูกไล่ออกจากประธานคณะกรรมการกลางโดย นีกีตา ครุชชอฟ โมโลตอฟถูกปลดออกจากทุกตำแหน่งใน ค.ศ. 1961 หลังจากความสับสนในหลายปีที่ผ่านมา

โมโลตอฟเป็นผู้ลงนามหลักในกติกาสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี–สหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1939 (ยังเป็นที่รู้จักกันในนามกติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ) ซึ่งมีการเพิ่มบทบัญญัติที่สำคัญที่สุดในรูปแบบของพิธีสารลับที่กำหนดให้มีการบุกครองโปแลนด์และแบ่งเขตแดนระหว่างนาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียต เขารับรู้ถึงการสังหารหมู่กาตึญที่กระทำโดยเจ้าหน้าที่โซเวียตในช่วงเวลานี้

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง (มหาสงครามของผู้รักชาติ) โมโลตอฟมีส่วนเกี่ยวข้องในการเจรจากับพันธมิตรตะวันตกซึ่งเขามีชื่อเสียงด้านทักษะการทูตของเขา เขายังคงใช้ตำแหน่งของเขาในฐานะนักการทูตและนักการเมืองชั้นนำของสหภาพโซเวียตจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1949 เมื่อเขาหลุดจากการเป็นที่โปรดปรานของสตาลินและสูญเสียตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศให้กับอันเดรย์ วืยชินสกี ความสัมพันธ์ของโมโลตอฟกับสตาลินแย่ลงไปอีกโดยสตาลินวิพากษ์วิจารณ์โมโลตอฟต่อสุนทรพจน์ในการประชุมครั้งที่ 19 อย่างไรก็ตามหลังจากการอสัญกรรมของสตาลินใน ค.ศ. 1953 โมโลตอฟถูกต่อต้านอย่างแข็งขันด้วยนโยบายโต้อภิวัฒน์สตาลินของครุสชอฟอย่างแข็งขัน โมโลตอฟปกป้องนโยบายและมรดกของสตาลินจนกระทั่งเขาเสียชีวิตใน ค.ศ. 1986 และวิพากษ์วิจารณ์ผู้สืบทอดต่อจากสตาลินอย่างรุนแรงโดยเฉพาะครุสชอฟ

หนังสือเพิ่มเติม

[แก้]
  • Brown, Archie (2009). The Rise & Fall of Communism. Bodley Head.
  • van Goudoever, A.P. (1986). The limits of destalinization in the Soviet Union: political rehabilitations in the Soviet Union since Stalin. Taylor & Francis. ISBN 0-7099-2629-4.
  • McCauley, Martin. Who's Who in Russia since 1900 (1997) pp 146–47
  • Roberts, Geoffrey. Molotov: Stalin's Cold Warrior (Washington, DC: Potomac Books, 2012)
  • Sebag-Montefiore, Simon (2005). Stalin: The Court of the Red Tsar. Vintage Books. ISBN 1-4000-7678-1.
  • Service, Robert (2003). History of Modern Russia: From Tsarism to the Twenty-first Century. Penguin Books Ltd. ISBN 0-14-103797-0.
  • Martinovich Zubok, Vladislav; Pleshakov, Konstantin (1996). Inside the Kremlin's Cold War: from Stalin to Khrushchev. Harvard University Press. ISBN 0-674-45531-2.

Primary sources

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]