ข้ามไปเนื้อหา

ซีเอ็ดยูเคชั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
ประเภทมหาชนจำกัด
การซื้อขาย
SET:SE-ED
อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
ก่อตั้ง10 ตุลาคม พ.ศ. 2517; 50 ปีก่อน (2517-10-10)
สำนักงานใหญ่อาคารอินเตอร์ลิงก์ ชั้น 19 เลขที่ 1858/87-90 ถ.เทพรัตน แขวงบางนาใต้ เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260
บุคลากรหลักเกษมสันต์ วีระกุล (ประธานคณะกรรมการบริษัท)
รุ่งกาล ไพสิฐพานิชตระกูล (กรรมการผู้จัดการ)
ผลิตภัณฑ์หนังสือ สิ่งพิมพ์
เว็บไซต์corporate.se-ed.com
ร้านหนังสือซีเอ็ด บุคเซ็นเตอร์

บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) มีชื่อย่อทางการค้า คือ ซีเอ็ด (SE-ED) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ด้วยทุนจดทะเบียน 99,000 บาท ได้รับอนุญาตให้เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อปลาย พ.ศ. 2534[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบัน เกษมสันต์ วีระกุล เป็น ประธานกรรมการบริษัท

เป็นบริษัทที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับ การเป็นตัวแทนจำหน่ายสื่อสิ่งพิมพ์ ของสำนักพิมพ์ต่าง ๆ โดยมีร้านจำหน่ายที่ตั้งอยู่ภายในห้างสรรพสินค้าชั้นนำเกือบทุกแห่ง

ณ วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551 บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนเป็น 328,345,090 บาท เรียกชำระแล้ว 323,921,130 บาท[ต้องการอ้างอิง]

ประวัติ

[แก้]
  • บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ได้ทำการจดทะเบียนจัดตั้ง ณ วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2517 ด้วยทุนจดทะเบียน 99,000 บาท
  • บริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้เป็น บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในภาคอุตสาหกรรมบริการ หมวดธุรกิจ สื่อและสิ่งพิมพ์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2534
  • เป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2536
  • ในเริ่มแรก ผลิตวารสารรายเดือน “เซมิคอนดัคเตอร์อิเล็กทรอนิกส์” และเป็นผู้แทนจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ
  • ใน พ.ศ. 2521 เริ่มผลิตวารสารรายเดือน “ทักษะฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี”
  • ใน พ.ศ. 2522 เริ่มผลิตวารสารรายเดือน “มิติที่ 4”
  • ใน พ.ศ. 2523 เริ่มผลิตหนังสือวิชาการด้านวิศวกรรมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ออกจำหน่าย ต่อมาได้ขยายสายงานผลิตออกมาเป็น ฝ่ายผลิตตำราและหนังสือเชิงวิชาการ
  • ใน พ.ศ. 2526 ผลิตวารสารรายเดือน ไมโครคอมพิวเตอร์ และเริ่มผลิตหนังสือด้านไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่าย พร้อมกันนี้ก็เริ่มต้น หมวดหนังสือบริหาร / การจัดการ
  • ใน พ.ศ. 2528 ซีเอ็ด เริ่มใช้ระบบการจัดจำหน่ายหนังสือแบบ Standing Order และได้รวมวารสาร ทักษะฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวารสาร มิติที่ 4 เข้าด้วยกัน และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวารสาร "รู้รอบตัว" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น "UpDATE" ขณะเดียวกันก็ได้ขยายสายงานผลิตหนังสือส่งเสริมเยาวชน
  • ต่อมาใน พ.ศ. 2529 “วิทยาศาสตร์อ่านสนุก” "รู้รอบตัวแสนสนุก" "ธรรมชาติมหัศจรรย์" เทคโนโลยีมหัศจรรย์" การ์ตูนชุดเสริมความรู้ชุดแรก ก็ได้ออกวางแผง
  • ซีเอ็ด บุกเบิกธุรกิจวารสาร และหนังสือเชิงวิชาการ และได้พัฒนามาเป็นสำนักพิมพ์สาระความรู้ และมีระบบจัดการจำหน่ายหนังสือที่มีมาตรฐาน ได้พัฒนามาเป็นผู้รับจัดจำหน่ายหนังสือให้กับสำนักพิมพ์อื่นที่ผลิตหนังสือประเภทแนวคล้าย ๆกัน
  • เมื่อได้สำรวจและได้ทำการประเมินตามสภาพจริง พบว่า ร้านหนังสือเดิมไม่พร้อมสำหรับการขยายงาน ขณะที่ระยะเวลาดังกล่าวศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้างต่าง ๆ ได้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมาก จึงเป็นแรงบันดาลใจให้ซีเอ็ด ได้เข้าไปเปิดศูนย์จำหน่ายภายในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และไม่เป็นการแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดของร้านหนังสือท้องถิ่นซึ่งมีอยู่แต่เดิม
  • ในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2533 ซีเอ็ดจึงยื่นเรื่องเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกันนี้ก็ได้เริ่มโครงการร้านหนังสือ “ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์” โดยตั้งอยู่ภายในห้างใหญ่ ขึ้นเพื่อเพิ่มช่องทางในการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ ผู้ที่ชื่นชอบการเดินเข้าห้างสรรพสินค้าใหญ่
  • ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์สาขาแรก ได้เปิดอย่างเป็นทางการขึ้นในปลาย พ.ศ. 2534 ที่ศูนย์การค้าฟอร์จูนทาวน์ (ฟอร์จูนทาวน์ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2522)
  • ใน พ.ศ. 2534 ผลิตพ็อตเก็ตบุ๊คเอาไว้อ่านเล่น ได้มีความรู้ทางวิชาการ เช่น "จริงสุดกู่ ตลกสุดกึ้น" "ธรรมชาติมหัศจรรย์" "เกมนักสืบ" "สนุกคิดสะกิดเชาวน์" "สนุกทายสนุกคิด" "เหลี่ยมเนรมิตรูป" "เคล็ดลับช่วยจำ" "ไม่เชื่อก็ลองทำ" "วิทยาศาสตร์มหัศจรรย์" "สนุกกับปฏิบัติการสายสืบ" "101 ไอเดียรอบตัว" "ลึกลับอมตะ" "202 ไอเดียรอบตัว" "ค้นคำถาม หาคำตอบกับ Fido Dido" "203 ไอเดียรอบบ้าน" ก็ได้ออกวางตลาด
  • ใน พ.ศ. 2534 ซีเอ็ดได้ก่อตั้งบริษัท ไลบรารี่ จำกัด (หรือสกอลลาร์ วิดีโอ) เป็นศูนย์จำหน่ายคอมแพ็ตดิสก์และเทปเพลงลูกทุ่งและเพลงสากลระดับนักบริหาร หนังสือเสียง และตัวแทนจำหน่ายวิดีโอภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ วิดีโอคาราโอเกะ วิดีโอสารคดีสัตว์โลก วิดีโอฟูตบอลโลก , แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และ ลิเวอร์พูล เพราะฉะนั้น โฮมคอลเลจได้เลิกตัวแทนจำหน่ายในเมื่อปี พ.ศ. 2539 สกอลลาร์ได้จำหน่ายวิดีโอสื่อการเรียนการสอน
  • ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ ได้เริ่มเปิดในซูเปอร์เซ็นเตอร์ อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2539 ที่โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ สาขาพัทยา โดยจัดวางผังร้าน หน้าร้าน เคาน์เตอร์ คลังสินค้า ให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยตรงตามมาตรฐานที่ได้วางไว้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและง่ายต่อการจัดการ
  • โดยในปี 2549 ได้เพิ่มพื้นที่ศูนย์จำหน่ายหนังสือ เดิมซึ่งมีจำนวนประมาณ 7,400 ตารางเมตร ได้ขยายพื้นที่ขึ้นเป็น 10,000 ตารางเมตร (ประมาณ 35%จากเดิม) และได้สร้างแบบจำลองทางความคิดเกี่ยวกับการอยู่รอดและการเติบโตของกิจการ(โดยได้ทำการทดลอง ปรับปรุง แก้ไข พัฒนา และประเมินผลตามสภาพจริงที่เกิดขึ้น หรือ การทดลองในเชิงปฏิบัติการตามสภาพเป็นจริง) จึงทำให้ซีเอ็ดบุ๊คเซ็นเตอร์ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว และทันพร้อมรองรับความต้องการของผู้บริโภค
  • ปลายปี 2549 กลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้เข้าลงทุน และเข้าซื้อหุ้นบริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้กลุ่ม จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุดในขณะนั้น แต่จากข้อมูลล่าสุดจากปิดสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นเพื่อสิทธิรับเงินปันผล เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2551 ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดคือ HSBC (SINGAPORE) NOMINEES PTE LTD ต่อมาในปี 2558 ทางกลุ่มจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ได้ขายหุ้น 12.64% ให้ นายวุฒิภูมิ จุฬางกูร [1]

รายนามประธานกรรมการ

[แก้]
  1. พลโท สัณห์ จิตรปฏิมา (พ.ศ. 2517-2519)
  2. พลเอก ทวนทอง สุวรรณทัต (พ.ศ. 2519-2522)
  3. โอสถ โกศิน (พ.ศ. 2522-2524)
  4. พัทยา สายหู (พ.ศ. 2524-2526)
  5. ท่านผู้หญิงไสว จารุเสถียร (พ.ศ. 2527-2529)
  6. คุณหญิงลลิลทิพย์ ธารวณิชกุล (พ.ศ. 2529-2531)
  7. คุณหญิงเต็มสิริ บุณยสิงห์ (พ.ศ. 2531-2533)
  8. พลเอก วันชัย เรืองตระกูล (พ.ศ. 2533-2536)
  9. ประยูร จินดาประดิษฐ์ (พ.ศ. 2536-2537)
  10. พลตำรวจตรี รังสิต ญาโณทัย (พ.ศ. 2538-2540)
  11. พลตำรวจเอก พรศักดิ์ ดุรงควิบูลย์ (พ.ศ. 2540-2541)
  12. วัลลภ ตันติกุล (พ.ศ. 2541-2543)
  13. เสาวนีย์ อัศวโรจน์ (พ.ศ. 2543-2545)
  14. อำพล จินดาวัฒนะ (พ.ศ. 2545-2548)
  15. ยุวรัตน์ กมลเวชช (พ.ศ. 2549-2551)
  16. สุพจน์ ไข่มุกด์ (พ.ศ. 2551-2553)
  17. คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล (พ.ศ. 2553-2555)
  18. พลตำรวจเอก วรพงษ์ ชิวปรีชา (พ.ศ. 2555-2557)
  19. พลเอก รักศักดิ์ โรจน์พิมพ์พันธุ์ (พ.ศ. 2557-2560)
  20. พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ (พ.ศ. 2560-2562)
  21. เกษมสันต์ วีระกุล (พ.ศ. 2562-ปัจจุบัน)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

[แก้]
  • ข้อมูล ณ วันที่ 11 มีนาคม 2562
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 นาย ทวีฉัตร จุฬางกูร 97,950,000 24.99%
2 นาย วุฒิภูมิ จุฬางกูร 51,550,512 13.15%
3 นาย ณัฐพล จุฬางกูร 40,656,400 10.37%
4 นาย ฤทธิ์ ธีระโกเมน 18,759,625 4.79%
5 DBS BANK LTD 18,377,800 4.69%

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]