ซอฟต์พาวเวอร์

ซอฟต์พาวเวอร์ (อังกฤษ: soft power) หรือ มานานุภาพ หรือ พลังเย็น[a] ในวิชาการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง ความสามารถในการดึงดูดและสร้างการมีส่วนร่วม โดยไม่ต้องบังคับหรือให้เงิน ในปัจจุบันใช้ในกรณีของการเปลี่ยนแปลงและสร้างอิทธิพลต่อความคิดของสังคมและประชาชนในประเทศอื่น[1] โดยอาศัยทรัพยากรพื้นฐาน 3 ประการ ได้แก่ วัฒนธรรม ค่านิยมทางการเมือง[2] และนโยบายต่างประเทศ[3] ได้รับการอธิบายไว้เป็นครั้งแรกโดยโจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด[4]
คำอธิบาย[แก้]
โจเซฟ เนย์ ได้กล่าวว่าแหล่งทรัพยากรสำคัญของ soft power ประกอบไปด้วย 3 ประการดังนี้
- วัฒนธรรม (culture) ถ้าวัฒนธรรมของประเทศหนึ่งมีความสอดคล้องกับผลประโยชน์และค่านิยมของประเทศอื่น ๆ โอกาสที่วัฒนธรรมดังกล่าวจะกลายเป็น soft power ของประเทศนั้นก็จะมีมากขึ้น ช่องทางที่ทำให้วัฒนธรรมของประเทศหนึ่งเป็นที่รู้จักในประเทศอื่น ๆ นั้นมีมากมายหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการค้า การเยี่ยมเยือน การติดต่อสื่อสาร และการแลกเปลี่ยน[1]
- ค่านิยมทางการเมือง (political values) ถ้าประเทศดังกล่าวมีค่านิยมทางการเมืองที่สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ soft power ของประเทศนั้นจะเพิ่มขึ้น ในทางกลับกันถ้าค่านิยมของประเทศดังกล่าวขัดกับค่านิยมของประเทศอื่น ๆ อย่างชัดเจน soft power ของประเทศนั้นก็จะลดลง ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐอเมริกาในทศวรรษ 1950 ยังคงมีการแบ่งแยกสีผิว (racial segregation) ทำให้ soft power ของสหรัฐอเมริกาในทวีปแอฟริกานั้นมีน้อย เป็นต้น[2]
- นโยบายต่างประเทศ (foreign policies) ถ้าประเทศหนึ่งดำเนินนโยบายที่หน้าไหว้หลังหลอก (hypocritical) ก้าวร้าว และไม่แยแสต่อท่าทีของประเทศอื่น ๆ โอกาสที่จะสร้าง soft power จะมีน้อย ดังเช่นกรณีของสหรัฐอเมริกาที่บุกยึดอิรักใน ค.ศ. 2003 โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของประเทศอื่น ๆ เป็นต้น แต่ถ้าประเทศดังกล่าวมีแนวนโยบายต่างประเทศที่รักสันติภาพและเคารพในสิทธิมนุษยชน โอกาสที่จะสร้าง soft power ให้เกิดขึ้นจะมีมาก[3]
การวัด[แก้]
ความสำเร็จของอำนาจอ่อนขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของตัวแสดงในชุมชนระหว่างประเทศ ตลอดจนการไหลของสารนิเทศระหว่างตัวแสดง ดังนั้นอำนาจอ่อนจึงมักสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของโลกาภิวัฒน์และทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแบบเสรีนิยมใหม่ มักชี้กันว่าวัฒนธรรมสมัยนิยมและสื่อมวลชนเป็นบ่อเกิดของอำนาจอ่อน[5] เช่นเดียวกับการแพร่หลายของภาษาประจำชาติหรือชุดโครงสร้างบรรทัดฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ยิ่งไปกว่านั้น ข่าวต่างประเทศพบว่ามีความสำคัญในการก่อกำเนิดภาพลักษณ์และชื่อเสียงของต่างประเทศ ตัวอย่างเช่น การที่สหรัฐมีความโดดเด่นในข่าวต่างประเทศมีการเชื่อมโยงกับอำนาจอ่อนของสหรัฐด้วย[6]
Brandfinance's Global Soft Power 2022[7] |
Monocle's Soft Power Survey 2020[8] |
Portland's The Soft Power 30 Report 2019[9] | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|
|
ตัวอย่าง[แก้]
ประเทศไทย[แก้]
หมายเหตุ[แก้]
- ↑ ศัพท์นิเทศศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิตยสภา พ.ศ. 2566
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 คอลัมภ์อำนาจอ่อน-อำนาจแข็ง โดยบวร โทศรีแก้ว ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 จากเว็บไซต์ไทยรัฐออนไลน์ สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ 2.0 2.1 ที่มาของ soft power โดยสิทธิพล เครือรัฐติกาล, Ph.D. สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ 3.0 3.1 พลังอำนาจแบบแข็ง ( Hard Power ) และพลังอำนาจแบบอ่อน ( Soft Power ) โดย ดร.อนันท์ งามสะอาด[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ คอลัมภ์พลังอำนาจแบบฉลาด โดยชัชรินทร์ ไชยวัฒน์ ณ วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552 จากเว็บไซต์ไทยโพสต์[ลิงก์เสีย] สืบค้นวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557
- ↑ "Economic warfare on the silver screen". FRANCE 24. 28 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-01-28.
- ↑ Blondheim, Menahem; Segev, Elad (2015). "Just Spell US Right: America's News Prominence and Soft Power". Journalism Studies. 18 (9): 1128–1147. doi:10.1080/1461670X.2015.1114899. S2CID 146592424.
- ↑ "Global Soft Power Index 2022: USA bounces back better to top of nation brand ranking | Press Release | Brand Finance".
- ↑ "Korea ranked 2nd in soft power by UK magazine Monocle : Korea.net : The official website of the Republic of Korea".
- ↑ "The Soft Power 30 - Ranking". Portland.
- Nye, Jr., Joseph S. (2004). Soft Power: The Means to Success in World Politics. New York: PublicAffairs.