รายชื่อประเทศที่ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร
รายชื่อประเทศและดินแดนดังต่อไปนี้ในอดีตถูกปกครองในฐานะอาณานิคมของสหราชอาณาจักร หรือเคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิอังกฤษ และยังมีวันเอกราชกำกับด้วย โดยบางประเทศไม่ได้รับเอกราชในวันใดวันหนึ่ง ดังนั้นจะแสดงวันที่ล่าสุดที่ได้รับเอกราชแทน โดยมีทั้งหมด 65 ประเทศที่ได้รับเอกราชเป็นของตน
อาณานิคม รัฐในอารักขา และดินแดนในอาณัติ
[แก้]ประเทศ | ชื่อก่อนได้รับเอกราช (กรณีคนละชื่อ) |
วันที่ | ปีที่ได้รับเอกราช หรือระยะแรกของการได้รับเอกราช | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|
อัฟกานิสถาน | เปอร์เซียเหนือ | 19 สิงหาคม | 1919 | สนธิสัญญาอังกฤษ-อัฟกานิสถาน (ค.ศ. 1919) |
แอนทีกาและบาร์บิวดา | แอนทีกา หมู่เกาะลีเวิร์ด | 1 พฤศจิกายน | 1981 | |
ออสเตรเลีย | 11 ธันวาคม | 1901 | พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 และธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931 ปาปัวนิวกินี ได้รับเอกราชจากออสเตรเลียเมื่อวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1975 | |
บาฮามาส | 10 กรกฎาคม | 1973 | ||
บาห์เรน | 15 สิงหาคม | 1971 | ||
บาร์เบโดส | 30 พฤศจิกายน | 1966 | สมเด็จพระราชินีนาถฯ ลงพระปรมาภิไธยให้สภาสามัญชนรับรองพระราชบัญญัติเอกราชบาร์เบโดส ค.ศ. 1966 ซึ่งยินยอมให้มีกิจกรรมทางการเมืองโดยอิสระในวันนักบุญอันดรูว์ | |
เบลีซ | บริติชฮอนดูรัส | 21 กันยายน | 1981 | September Celebrations of Belize |
บอตสวานา | เบชวานาแลนด์ | 30 กันยายน | 1966 | |
บรูไน | 1 มกราคม | 1984 | ||
แคเมอรูน | เซาเทิร์นแคเมอรูนส์ | 1 ตุลาคม | 1961 | เซาเทิร์นแคเมอรูนส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคเมอรูนเมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1961 |
แคนาดา | 1 กรกฎาคม | 1867 | พระราชบัญญัติอเมริกาเหนือของบริเตนใหญ่ ค.ศ. 1867, 1 กรกฎาคม (วันแคนาดา)
ธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 1931
| |
ไซปรัส | 16 สิงหาคม | 1960 | วันเอกราชไซปรัส โดยปกติเฉลิมฉลองกันในวันที่ 1 ตุลาคม[1] | |
ดอมินีกา | ดอมินีกา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 3 พฤศจิกายน | 1978 | |
อียิปต์ | 28 กุมภาพันธ์ | 1922 | อำนาจในการควบคุมคลองสุเอซคงอยู่จนถึง ค.ศ. 1952 | |
เอสวาตินี | สวาซีแลนด์ | 6 กันยายน | 1968 | |
ฟีจี | 10 ตุลาคม | 1970 | ||
แกมเบีย | แกมเบีย | 18 กุมภาพันธ์ | 1965 | |
กานา | โกลด์โคสต์และโตโกแลนด์ (โตโกแลนด์ถูกผนวกเข้ากับโกลด์โคสต์ใน ค.ศ. 1957) | 6 มีนาคม | 1957 | |
กรีเนดา | กรีเนดา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 7 กุมภาพันธ์ | 1974 | วันเอกราช |
กายอานา | บริติชกีอานา | 26 พฤษภาคม | 1966 | |
อินเดีย | บริติชอินเดีย | 15 สิงหาคม | 1947 | วันเอกราช |
อิรัก | 3 ตุลาคม | 1932 | ||
อิสราเอล | ปาเลสไตน์ในอาณัติ | 14 พฤษภาคม | 1948 | สิ้นสุดการอยู่ภายใต้อาณัติของสหราชอาณาจักร วันชาติอิสราเอล ปาเลสไตน์ ประกาศเอกราชจากอิสราเอลเมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1988 |
จาเมกา | 6 สิงหาคม | 1962 | วันเอกราช (6 สิงหาคม) | |
จอร์แดน | ทรานส์จอร์แดน | 25 พฤษภาคม | 1946 | |
เคนยา | 12 ธันวาคม | 1963 | ||
คิริบาส | หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ | 12 กรกฎาคม | 1979 | |
คูเวต | 19 มิถุนายน | 1961 | ||
เลโซโท | บาซูโตแลนด์ | 4 ตุลาคม | 1966 | |
ลิเบีย | 24 ธันวาคม | 1951 | ลิเบียซึ่งเคยอยู่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันตั้งแต่กลางศตวรรษที่สิบหก ซึ่งต่อมาภายหลังสงครามอิตาลี-ตุรกีใน ค.ศ. 1912 นั้น ลิเบียได้ตกเป็นอาณานิคมของอิตาลี ซึ่งเมื่อได้เป็นฝ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง อิตาลีจึงเสียการควบคุมลิเบีย โดยต่อมาตกเป็นประเทศในกำกับดูแลขององค์การสหประชาชาติ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมระหว่างฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร โดยฝรั่งเศสกำกับดูแลจังหวัดเฟซซัน ในขณะที่สหราชอาณาจักรกำกับดูแลจังหวัดไซเรไนกาและตริโปลิเตเนีย ต่อมาใน ค.ศ. 1949 สมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติได้ประกาศว่าลิเบียควรจะได้รับเอกราชภายในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1952 และเมื่อ 24 ธันวาคม ค.ศ. 1951 ลิเบียได้ประกาศเอกราชจากฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักรโดยกลายเป็นสหราชอาณาจักรลิเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยมีพระเจ้าอิดริสที่ 1เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรก | |
มาลาวี | นยาซาแลนด์ | 6 กรกฎาคม | 1964 | |
มาเลเซีย | สี่ส่วน ได้แก่ มาลายา บอร์เนียวเหนือ สิงค์โปร์ และซาราวัก | 31 สิงหาคม | 1957 | ได้รับเอกราชในฐานะสหพันธรัฐมาลายา (พระราชบัญญัติเอกราชแห่งสหพันธรัฐมาลายา ค.ศ. 1957) บอร์เนียวเหนือ (รัฐซาบะฮ์ในปัจจุบัน), ซาราวัก และสิงคโปร์ได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ และเข้าร่วมกับมาเลเซียเมื่อ 16 กันยายน ค.ศ. 1963 ภายใต้ข้อตกลงมาเลเซีย (พระราชบัญญัติมาเลเซีย ค.ศ. 1963) สิงคโปร์ ได้รับเอกราชจากมาเลเซียเมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965 |
มัลดีฟส์ | 26 กรกฎาคม | 1965 | ||
มอลตา | 21 กันยายน | 1964 | แม้ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงการทำประชามติเพื่อควบรวมมอลตาเข้ากับสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1956 แต่เป็นไปตามการลงประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1964 | |
มอริเชียส | 12 มีนาคม | 1968 | ||
พม่า | 4 มกราคม | 1948 | ได้รับเอกราชในนาม "เบอร์มา" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็น "เมียนมาร์" ใน ค.ศ. 1989 แต่ในสหราชอาณาจักรยังใช้เรียกโดยทางการว่า "เบอร์มา" | |
นาอูรู | 31 มกราคม | 1968 | รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ เมื่อ 31 มกราคม ค.ศ. 1968 | |
นิวซีแลนด์ | 11 ธันวาคม | 1931 | Dominion Day
| |
ไนจีเรีย | นอร์เทิร์นแคเมอรูนส์ | 1 ตุลาคม | 1960 | |
โอมาน | รัฐสุลต่านแห่งมัสกัตและโอมาน | 20 ธันวาคม | 1951 | |
ปากีสถาน | บริติชอินเดีย | 14 สิงหาคม | 1947 | การขีดเส้นแบ่งอินเดีย บังกลาเทศ ได้รับเอกราชจากปากีสถานเมื่อ 26 มีนาคม ค.ศ. 1971 |
กาตาร์ | บริติชกาตารีในอารักขา | 3 กันยายน | 1971 | |
เซนต์ลูเชีย | เซนต์ลูเชีย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 22 กุมภาพันธ์ | 1979 | |
เซนต์คิตส์และเนวิส | เซนต์คิตส์-เนวิส และแองกวิลลา หมู่เกาะลีเวิร์ด | 19 กันยายน | 1983 | |
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ | เซนต์วินเซนต์ หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 27 ตุลาคม | 1979 | |
เซเชลส์ | 29 มิถุนายน | 1976 | ||
เซียร์ราลีโอน | 27 เมษายน | 1961 | ||
สิงคโปร์ | 3 มิถุนายน | 1959 | ได้รับสถานะปกครองตนเองเมื่อ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1959 ต่อมาได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์จากมาเลเซียเมื่อ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1965[2] | |
หมู่เกาะโซโลมอน | หมู่เกาะบริติชโซโลมอน | 7 กรกฎาคม | 1978 | |
แอฟริกาใต้ | 22 พฤษภาคม | 1934 | สหภาพแอฟริกาใต้ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1910 และต่อมาได้รับเอกราชโดยสมบูรณ์ภายหลังการรับรองธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ใน ค.ศ. 1934
| |
โซมาลีแลนด์ | บริติชโซมาลีแลนด์ในอารักขา | 26 มิถุนายน | 1960 | บริติชโซมาลีแลนด์ในอารักขาได้รับเอกราชเมื่อ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1960 จากนั้นได้เข้าร่วมกับดินแดนในภาวะทรัสตีโซมาเลียเมื่อ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1960 เพื่อก่อตั้งสาธารณรัฐโซมาลี และต่อมาได้แยกออกไปในภายหลังเพื่อก่อตั้งเขตปกครองตนเองโซมาลีแลนด์ |
ศรีลังกา | ซีลอน | 4 กุมภาพันธ์ | 1948 | ได้รับเอกราชในฐานะประเทศซีลอนในเครือจักรภพ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นศรีลังกาใน ค.ศ. 1972 |
ซูดาน | 1 มกราคม | 1956 | ซูดานใต้ ได้รับเอกราชจากซูดานเมื่อ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 | |
แทนซาเนีย | แทนกันยีกา | 9 ธันวาคม | 1961 | แทนกันยีกาได้รับเอกราชเมื่อ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1961 และร่วมกับรัฐสุลต่านแห่งแซนซิบาร์เมื่อ 25 เมษายน ค.ศ. 1964 เพื่อก่อตั้งเป็นประเทศแทนซาเนีย |
ตองงา | 4 มิถุนายน | 1970 | ||
ตรินิแดดและโตเบโก | 31 สิงหาคม | 1962 | ||
ตูวาลู | หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ | 1 ตุลาคม | 1978 | |
ยูกันดา | 9 ตุลาคม | 1962 | ||
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ | รัฐทรูเชียล | 2 ธันวาคม | 1971 | วันชาติ |
สหรัฐ | สิบสามอาณานิคมแห่งอเมริกา | 4 กรกฎาคม | 1776 | วันประกาศอิสรภาพ แถลงการคำประกาศอิสรภาพจากราชอาณาจักรบริเตนใหญ่ใน ค.ศ. 1776 และยุทธการสำคัญครั้งสุดท้ายในสงครามปฏิวัติอเมริกาใน ค.ศ. 1781 โดยรัฐบาลบริเตนใหญ่ได้รับรองเอกราชใน ค.ศ. 1783 |
วานูวาตู | นิวเฮบริดีส | 30 กรกฎาคม | 1980 | ได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรและสาธารณรัฐฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. 1980 |
เยเมน | รัฐในอารักขาแห่งอาระเบียใต้ สหพันธรัฐอาระเบียใต้ |
30 พฤศจิกายน | 1967 | เยเมนใต้ ค.ศ. 1967 |
แซมเบีย | นอร์เทิร์นโรดีเชีย | 24 ตุลาคม | 1964 | |
ซิมบับเว | เซาเทิร์นโรดีเชีย | 18 เมษายน | 1980 | เซาเทิร์นโรดีเชียประกาศเอกราชจากสหราชอาณาจักร เมื่อ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 |
การเปลี่ยนผ่านระหว่างประเทศราชไปสู่เอกราช
[แก้]ประเทศ | วันที่ขึ้นเป็นประเทศราช | วันที่ได้รับธรรมนูญเวสต์มินสเตอร์ | วันที่สิ้นสุดอำนาจปกครองของสหราชอาณาจักร | เหตุการณ์สุดท้าย | วันสำคัญอื่นๆ |
---|---|---|---|---|---|
ออสเตรเลีย | 1 มกราคม 1901 | 9 ตุลาคม 1942 (มีผลตั้งแต่ ค.ศ. 1939) | 3 มีนาคม 1986 | พระราชบัญญัติออสเตรเลีย ค.ศ. 1986 | |
แคนาดา | 1 กรกฎาคม 1867 | 11 ธันวาคม 1931 | 17 เมษายน 1982 | พระราชบัญญัติแคนาดา ค.ศ. 1982 | |
ไอร์แลนด์ | 6 ธันวาคม 1922 | 11 ธันวาคม 1931 | 18 เมษายน 1949 | รัฐบัญญัติสาธารณรัฐไอร์แลนด์ และพระราชบัญญัติไอร์แลนด์ ค.ศ. 1949 | ในการประกาศเอกราชของสาธารณรัฐไอริช ค.ศ. 1916 และคำประกาศอิสรภาพไอริช ค.ศ. 1919 ไม่ได้รับการยอมรับโดยสหราชอาณาจักรแต่ใช้โดยผู้นำไอริชภายหลัง ค.ศ. 1922 ในเชิงสัญลักษณ์ โดยตั้งแต่การเลือกตั้งทั่วไปใน ค.ศ. 1932 รัฐบาลไอร์แลนด์ในสมัยต่อๆ มาได้แก้ไขสถานะของรัฐโดยฝ่ายเดียวผ่านทางกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ (เพิกถอนสัตยาบัน) เมื่อ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นการยกเลิกสนธิสัญญาอังกฤษ-ไอร์แลนด์ ค.ศ. 1921, พระราชบัญญัติการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งที่ 27 พร้อมกับพระราชบัญญัติความสัมพันธ์ภายนอกเมื่อ 12 ธันวาคม ค.ศ. 1936 เพื่อลดทอนบทบาทของพระมหากษัตริย์, การผ่านร่างรัฐธรรมนูญไอร์แลนด์เมื่อ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งจัดตั้งตำแหน่งประธานาธิบดีไอร์แลนด์; กฎหมายสาธารณรัฐไอร์แลนด์เริ่มบังคับใช้เมื่อ 18 เมษายน ค.ศ. 1949 ซึ่งทำให้ไอร์แลนด์แยกตัวจากเครือจักรภพอย่างสมบูรณ์ ส่วนกฎหมายของสหราชอาณาจักรที่เกี่ยวข้องได้แก่ พระราชบัญญัติเอเรอ (การรับรองข้อตกลง) ค.ศ. 1938 และพระราชบัญญัติไอร์แลนด์ ค.ศ. 1949 |
นิวฟันด์แลนด์ | 26 กันยายน 1907 | — | 17 เมษายน 1982 | พระราชบัญญัติแคนาดา ค.ศ. 1982 | นิวฟันด์แลนด์ลงมติเข้าร่วมกับแคนาดาใน ค.ศ. 1948 ด้วยคะแนนเสียง 52 ต่อ 48 ซึ่งมีผลเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1949 |
แอฟริกาใต้ | 31 พฤษภาคม 1910 | 11 ธันวาคม 1931 | 21 พฤษภาคม 1961 | พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญแอฟริกาใต้ ค.ศ. 1961 | |
นิวซีแลนด์ | 26 กันยายน 1907 | 25 พฤศจิกายน 1947 | 13 ธันวาคม 1986 | พระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1986 | คำประกาศอิสรภาพนิวซีแลนด์ ค.ศ. 1835, สนธิสัญญาไวตางี ค.ศ. 1840 |
อดีตดินแดนอาณานิคมของสหราชอาณาจักรที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของอีกดินแดนอาณานิคมของสหราชอาณาจักรซึ่งต่อมาได้ขอคืนสถานะ
[แก้]ประเทศ | วันที่ | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
แองกวิลลา | กรกฎาคม | 1971 |
แองกวิลลาได้ประกาศเอกราชจากเซนต์คิตส์และเนวิสใน ค.ศ. 1967 ในเหตุการปฏิวัติแองกวิลลา เพื่อที่จะกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรใน ค.ศ. 1971 และมีสถานะเป็นดินแดนอาณานิคมแห่งสหราชอาณาจักรอย่างเต็มตัว (ต่อมาใน ค.ศ. 2002 ได้เปลี่ยนการเรียกเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร) มีผลใน ค.ศ. 1980 |
ดินแดนที่เคยอยู่ภายใต้กำกับของบริการอาณานิคมแห่งสหราชอาณาจักรที่ต่อมาได้รับเอกราช
[แก้]ประเทศ | ชื่อก่อนได้รับเอกราช (กรณีต่างชื่อ) |
วันที่ | ปีที่ได้รับเอกราช |
---|---|---|---|
แอนทีกาและบาร์บิวดา | แอนทีกา หมู่เกาะลีเวิร์ด | 1 พฤศจิกายน | 1981 |
บาฮามาส | 10 กรกฎาคม | 1973 | |
บาร์เบโดส | 30 พฤศจิกายน | 1966 | |
บอตสวานา | เบชวานาแลนด์ | 30 กันยายน | 1966 |
แคเมอรูน | นอร์เทิร์นแคเมอรูนส์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของไนจีเรียเมื่อ 1 มิถุนายน ค.ศ. 1961 ส่วนเซาเทิร์นแคเมอรูนส์กลายเป็นส่วนหนึ่งของแคเมอรูนเมื่อ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1961 | 1 ตุลาคม | 1961 |
ไซปรัส | 16 สิงหาคม | 1960 | |
ดอมินีกา | ดอมินีกา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 3 พฤศจิกายน | 1978 |
เอสวาตินี | สวาซีแลนด์ | 6 กันยายน | 1968 |
แกมเบีย | แกมเบีย | 18 กุมภาพันธ์ | 1965 |
กานา | โกลด์โคสต์ | 6 มีนาคม | 1957 |
กรีเนดา | กรีเนดา หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 7 กุมภาพันธ์ | 1974 |
กายอานา | บริติชกีอานา | 26 พฤษภาคม | 1966 |
ฮ่องกง | กลายเป็นเขตบริหารพิเศษแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | 1 กรกฎาคม | 1997 |
จาเมกา | 6 สิงหาคม | 1962 | |
เคนยา | 12 ธันวาคม | 1963 | |
คิริบาส | หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ | 12 กรกฎาคม | 1979 |
เลโซโท | บาซูโตแลนด์ | 4 ตุลาคม | 1966 |
มาลาวี | นยาซาแลนด์ | 6 กรกฎาคม | 1964 |
มาเลเซีย | สี่ส่วน ได้แก่ มาลายา บอร์เนียวเหนือ ซาราวัก และสิงคโปร์ | 31 สิงหาคม | 1957 |
มัลดีฟส์ | 26 กรกฎาคม | 1965 | |
ไนจีเรีย | 1 ตุลาคม | 1960 | |
อิสราเอล | 14 พฤษภาคม | 1948 | |
เซนต์ลูเชีย | เซนต์ลูเชีย หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 22 กุมภาพันธ์ | 1979 |
เซนต์คิตส์และเนวิส | เซนต์คิตส์-เนวิส และแองกวิลลา หมู่เกาะลีเวิร์ด | 19 กันยายน | 1983 |
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ | เซนต์วินเซนต์ หมู่เกาะวินด์เวิร์ด | 27 ตุลาคม | 1979 |
เซเชลส์ | 29 มิถุนายน | 1976 | |
เซียร์ราลีโอน | 27 เมษายน | 1961 | |
โซมาเลีย | บริติชโซมาลีแลนด์กลายเป็นส่วนหนึ่งของโซมาเลีย | 26 มิถุนายน | 1960 |
ศรีลังกา | ซีลอน | 4 กุมภาพันธ์ | 1948 |
แทนซาเนีย | แทนกันยีกา ซึ่งต่อมาได้รับเอกราชเมื่อ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1961 และต่อมาเข้าร่วมกับแซนซิบาร์ เมื่อ 25 เมษายน ค.ศ. 1964 เพื่อก่อตั้งประเทศแทนซาเนีย | 9 ธันวาคม | 1961 |
ตรินิแดดและโตเบโก | 31 สิงหาคม | 1962 | |
ตูวาลู | หมู่เกาะกิลเบิร์ตและหมู่เกาะเอลลิซ | 1 ตุลาคม | 1978 |
ยูกันดา | 9 ตุลาคม | 1962 | |
วานูวาตู | นิวเฮบริดีส | 30 กรกฎาคม | 1980 |
เยเมน | อาณานิคมเอเดนและดินแดนในอารักขา ต่อมากลายเป็นเยเมนใต้ใน ค.ศ. 1967 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเยเมนใน ค.ศ. 1990 | 30 พฤศจิกายน | 1967 |
แซมเบีย | นอร์เทิร์นโรดีเชีย | 24 ตุลาคม | 1964 |
ซิมบับเว | 18 เมษายน | 1980 |
ดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรที่มีประชามติไม่รับเอกราช
[แก้]ประเทศ | วันที่ | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
เบอร์มิวดา | 16 สิงหาคม | 1995 | ชาวเบอร์มิวดามีมติไม่รับเอกราชจากสหราชอาณาจักรในการลงประชามติใน ค.ศ. 1995 โดยคะแนนร้อยละ 73.6 ต่อ 25.7 |
ยิบรอลตาร์ | 7 พฤศจิกายน | 2002 | ยิบรอลตาร์มีการทำประชามติใน ค.ศ. 2002 โดยมีวัตถุประสงค์ในการรับรองการมีอธิปไตยร่วมกับประเทศ โดยผลการลงประชามติไม่รับถึงร้อยละ 98.48 ต่อร้อยละ 1.02 โดยยังคงถือเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักรแต่เพียงประเทศเดียว |
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ | 11 มีนาคม | 2013 | ประชาชนชาวหมู่เกาะฟอล์กแลนด์ลงประชามติใน ค.ศ. 2013 เพื่อยังคงสถานะการเป็นดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร โดยมีคะแนนรับรองถึงร้อยละ 99.8 ต่อร้อยละ 0.2 |
ดินแดนที่ไม่ได้มีประชามติในเอกราชซึ่งต่อมาพ้นสถานะการเป็นอาณานิคม
[แก้]ประเทศ | วันที่ | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ฮ่องกง | 30 มิถุนายน | 1997 | ใน ค.ศ. 1984 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ลงนามในปฏิญญาร่วมจีน-อังกฤษ กับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน และตกลงจะส่งมอบฮ่องกงและดินแดนในปกครองให้กับประเทศจีนใน ค.ศ. 1997 โดยไม่เคยได้ผ่านการรับรองโดยการลงประชามติจากประชาชน และยังไม่เคยได้รับการรับรองโดยลงมติโดยสภานิติบัญญัติที่มาจากการเลือกตั้ง โดยการส่งมอบฮ่องกงคืนให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีนเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ค.ศ. 1997 ในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 |
ประเทศในสหราชอาณาจักรที่มีมติไม่รับเอกราช
[แก้]ประเทศ | วันที่ | ปี | หมายเหตุ |
---|---|---|---|
ไอร์แลนด์เหนือ | 8 มีนาคม | 1973 | ในการทำประชามติ ค.ศ. 1973 ผู้ลงคะแนนในไอร์แลนด์เหนือต้องทำการลงประชามติเพื่อจะคงอยู่ในสหราชอาณาจักรหรือจะแยกตนออกเป็นเอกราชและเข้าร่วมกับสาธารณรัฐไอร์แลนด์ โดยผลการลงประชามติมีเอกฉันท์เพื่อคงอยู่กับสหราชอาณาจักรด้วยคะแนนร้อยละ 98.9 ต่อร้อยละ 1.1 อย่างไรก็ตามเหล่าผู้รักชาติชาวไอริชได้คว่ำบาตรการลงคะแนนในครั้งนี้ |
สกอตแลนด์ | 18 กันยายน | 2014 | ในการลงประชามติเพื่อการรับเอกราชของสกอตแลนด์เมื่อ ค.ศ. 2014 ผู้ลงคะแนนร้อยละ 55.3 ของประชากรที่เป็นผู้มีถิ่นอาศัยในสกอตแลนด์ลงมติ "ไม่เห็นด้วย" ในคำถาม "สกอตแลนด์ควรจะแยกตนเป็นประเทศที่มีเอกราชหรือไม่?" ส่วนผู้ลงคะแนนร้อยละ 44.7 ตอบ "เห็นด้วย" ต่อมาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 ได้มีการต่อรองเบื้องต้นเพื่อจะทำการเตรียมการด้านข้อตกลงในการลงประชามติเรื่องเอกราชของสกอตแลนด์ครั้งที่สองซึ่งได้ถูกเสนอโดยรัฐสภาสกอตแลนด์ แต่ได้ถูกปฏิเสธโดยนายกรัฐมนตรี โดยการยื่นขอลงประชามติครั้งที่สองนี้เกิดขึ้นในภายหลังจากผลของการลงคะแนนเบร็กซิต ซึ่งเสียงส่วนมากในอังกฤษและเวลส์นั้นต้องการออกจากสหภาพยุโรป ในขณะที่เสียงส่วนมากในสกอตแลนด์และไอร์แลนด์เหนือนั้นต้องการอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไป |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "United Nations Member States". Un.org. สืบค้นเมื่อ 4 November 2008.
- ↑ https://www.bbc.com/news/world-asia-15971013