ชีอะฮ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชีอะหฺ)

ชีอะฮ์ (อาหรับ: شِيعَة ชีอะฮ์ จาก ชีอะตุอะลี شِيعَة عَلِيّ "สาวกของอะลี"; شِيعِيّ ชีอีย์ เป็นเอกพจน์ شِيَاع ชิยาอ์ เป็นพหุพจน์,[1]) เป็นหนึ่งในสองแขนงของศาสนาอิสลาม โดยถือว่าศาสดามุฮัมมัดแต่งตั้งอะลีเป็นผู้สืบทอดและอิหม่ามหลังจากท่าน[2] สิ่งที่อะลีไม่เหมือนกับสามเคาะลีฟะฮ์คือ เขามาจากบนูฮาชิม ตระกูลเดียวกันกับมุฮัมมัด เป็นลูกพี่ลูกน้อง และเป็นชายคนแรกที่นับถือศาสนาอิสลาม[3]

ชีอะฮ์เป็นนิกายที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสองของศาสนาอิสลาม โดยในช่วงปลายทศวรรษ 2000 มีประชากรชีอะฮ์อยู่ร้อยละ 10–15% ของมุสลิมทั้งหมด[4] และสำนักชีอะฮ์สิบสองอิมามเป็นสำนักชีอะฮ์ที่นับถือมากที่สุด[5] โดยในปี ค.ศ. 2012 คาดการว่ามีอยู่ร้อยละ 85%[6]

คำศัพท์[แก้]

คำว่า ชีอะฮ์ (อาหรับ: شيعة) ตามอักษรหมายถึง "ผู้ติดตาม"[7] และเป็นประโยคสั้นของคำว่า ชีอะตุอะลี (شيعة علي /ˈʃiːʕatu ˈʕaliː/) ซึ่งหมายถึง "ผู้ติดตามของอะลี"[8]

ประวัติ[แก้]

การสืบทอดของอะลี[แก้]

เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์[แก้]

การแต่งตั้งอะลีที่ฆอดิรคุมม์ (MS Arab 161, fol. 162r, AD 1309/8 Ilkhanid manuscript illustration)

เหตุการณ์ที่ฆอดิรคุมม์ เกิดขึ้นในเดือนมีนาคม ค.ศ. 632 ในขณะกลับจากการทำฮัจญ์ ศาสดามุฮัมมัดได้เรียกชาวมุสลิมที่อยู่รอบ ๆ มารวมตัวกันแล้วให้โอวาส ในตอนนั้น มุฮัมมัดชูแขนอะลีแล้วกล่าวว่า "ใครสำคัญไปกว่าตนเอง?" ชาวมุสลิมกล่าวว่า "อัลลอฮ์และศาสนทูตของพระองค์"[9]

เหตุการณ์นี้ได้ถูกบันทึกทั้งฝ่ายชีอะฮ์และซุนนี[10][11][12][13]

รัฐเคาะลีฟะฮ์ของอะลี[แก้]

อัรบะอีนในกัรบะลา

เมื่อมุฮัมมัดเสียชีวิตในปีค.ศ. 632 และญาติของมุฮัมมัดกำลังจัดงานศพ ในขณะที่เตรียมร่างกายนั้น อะบูบักร์, อุมัร และอบูอุบัยดะฮ์ อิบน์ อัลญัรเราะฮ์พบกับผู้นำแห่งมะดีนะฮ์และเลือกอบูบักร์เป็นเคาะลีฟะฮ์ อะลีปฏิเสธความเป็นเคาะลีฟะฮ์ของอะบูบักร์และไม่ให้สัตยาบันแก่เขา รายงานนี้มีทั้งสายซุนนีและชีอะฮ์

อะลีไม่ได้เป็นเคาะลีฟะฮ์ จนกระทั่งอุสมาน เคาะลีฟะฮ์คนที่สามถูกลอบสังหารในปีค.ศ. 657 และอะลีก็กลายเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่สี่[14] แล้วย้ายเมืองหลวงไปที่กูฟะฮ์ในอิรัก[8]

ในช่วงที่อะลีปกครอง สังคมมุสลิมมักจะมีโต้แย้ง และมีสงครามเกือบบ่อย ซึ่งมีผลทำให้เกิดฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง ซึ่งเป็นสงครามกลางเมืองใหญ่ครั้งแรกในรัฐเคาะลีฟะฮ์อิสลาม[14] อะลีปกครองตั้งแต่ปีค.ศ. 656 ถึงค.ศ. 661[14] สิ้นสุดโดยการถูกลอบสังหาร[15] ในตอนที่กำลังละหมาด (สุญูด) และมุอาวิยะฮ์ ศัตรูหลักของอะลี ประกาศตนเองเป็นเคาะลีฟะฮ์[16]

ฮะซัน อิบน์ อะลี[แก้]

หลังอะลีเสียชีวิต ฮะซัน อิบน์ อะลี ลูกชายคนโตกลายเป็นเคาะลีฟะฮ์แห่งกูฟะฮ์ และหลังจากต่อสู้ระหว่างกูฟะฮ์กับทหารของมุอาวิยะฮ์ ฮะซํนยอมโอนอำนาจให้มุอาวิยะฮ์และทำสนธิสัญญาสันติภาพภาพใต้ข้อเงื่อนไข:[17][18]

  1. บังคับยกเลิกการกล่าวสาปแช่งอะลีในที่สาธารณะ เช่น ในเวลาละหมาด เเละเวลาคุตบะห์
  2. มุอาวิยะฮ์ไม่ควรใช้เงินภาษีกับความจำเป็นส่วนตัว
  3. ควรสงบศึก และผู้ติดตามฮะซํนจะได้รับสิทธิและความปลอดภัย
  4. มุอาวิยะฮ์จะไม่แต่งตั้งตนเองเป็นอะมีรุลมุอ์มินีน
  5. มุอาวิยะฮ์จะไม่ให้มีใครเป็นผู้สืบทอด

ฮะซันเกษียณในมะดีนะฮ์ และในปีค.ศ. 670 เขาถูกฆ่าด้วยยาพิษโดยญะดา บิยต์ อัลอัชอัษ อิบน์ ก็อยส์ ภรรยาของท่าน โดยมุอาวิยะฮ์แอบติดต่อเธอให้ฆ่าฮะซัน เพื่อให้มุอาวิยะฮ์ยกตำแหน่งให้กับยะซีด ลูกชายของตนเอง

ฮุซัยน์ อิบน์ อะลี[แก้]

เทวสถานอิหม่ามฮุซัยน์ที่กัรบะลาอ์

ฮุซัยน์ น้องชายของฮะซัน และลูกคนเล็กของอะลี ได้เรียกร้องให้รวมอำนาจเคาะลีฟะฮ์ ในปีค.ศ. 680 มุอาวิยะฮ์เสียชีวิตแล้วยกตำแหน่งให้ยะซีด และทำลายสนธิสัญญาของฮะซัน อิบน์ อะลี ดังนั้น ฮุซัยน์ได้รวบรวมครอบครัวกับผู้ติดตามในมะดีนะฮ์ เดินทางไปที่กูฟะฮ์ แต่ถูกขวางโดยทหารของยะซีด ที่ใกล้กัรบะลา (ปัจจุบันอยู่ในอิรัก) และฮุซัยน์กับครอบครัวและผู้ติดตามอีกประมาณ 72 คนถูกฆ่าในยุทธการที่กัรบะลาอ์

ชีอะฮ์ยกย่องฮุซัยน์เป็นผู้พลีชีพ (ชะฮีด) และนับท่านเป็นอิหม่ามจากอะฮ์ลุลบัยต์[19] ยุทธการที่กัรบะลามักถูกกล่าวเป็นจุกแยกระหว่างซุนนีกับชีอะฮ์ของอิสลาม และในทุก ๆ ปี มุสลิมชีอะฮ์จะร่วมกันรำลึกในวันอาชูรออ์

สังคม[แก้]

ประชากร[แก้]

ศาสนาอิสลามในแต่ละประเทศ     ซุนนี     ชีอะฮ์   อิบาดี
สำนักของซุนนี, ชีอะฮ์, กุรอานนิยม, อิบาดี และNondenominational Muslim

รายงานจากมุสลิมชีอะฮ์ไว้ว่า การทำสำมะโนมักนำโดยนิกายซุนนี ซึ่งอาจจะทำให้ข้อมูลบางส่วนไม่เป็นจริง เช่น ในค.ศ. 1926 ในช่วงที่ราชวงศ์ซะอูดได้แยกชีอะฮ์ออก[20] ชาวชีอะฮ์มีอยู่ร้อยละ 21% ของประชากรมุสลิมในเอเชียใต้ ถึงแม้ว่าข้อจำกัดนี้จะเป็นอุปสรรคก็ตาม[21] จนกระทั่งมีการสรุปว่ามีอยู่แค่ 15%[22][23][24][25]

ประชากรทั่วโลก[แก้]

ตารางข้างล่างคือรายงานจาก Pew Research Center เรื่อง Mapping the Global Muslim Population ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2009[24][25]

ประเทศที่มีมุสลิมชีอะฮ์มากกว่า 100,000 คน[24][25]
ประเทศ ประชากรชีอะฮ์[24][25] ร้อยละของมุสลิมที่เป็นชีอะฮ์[24][25] ร้อยละของชีอะฮ์ทั่วโลก[24][25] ประมาณต่ำสุด ประมาณสูงสุด
อิหร่าน &000000000006600000000074,000,000–78,000,000 &000000000000009000000090–95 &000000000000003700000037–40 78,661,551[26][27]
ปากีสถาน &000000000001700000000017,000,000–26,000,000 &000000000000001100000010–15 &000000000000001100000010–15 43,250,000[28]–57,666,666[29][30]
อินเดีย &000000000001600000000017,000,000–26,000,000 &000000000000001100000010–15 &00000000000000090000009–14 40,000,000[31]–50,000,000.[32]
อิรัก &000000000001900000000019,000,000–22,000,000 &000000000000006500000065–70 &000000000000001100000011–12
เยเมน &00000000000080000000008,000,000–10,000,000 &000000000000003500000035–40 &0000000000000005000000~5
ตุรกี &00000000000070000000007,000,000–11,000,000 &000000000000001100000010–15 &00000000000000040000004–6 22 ล้าน[26]
อาเซอร์ไบจาน &00000000000050000000005,000,000–7,000,000 &000000000000006500000065–75 &00000000000000030000003–4 8.16 ล้าน[26] ประชากร 85% ของประเทศ[33]
อัฟกานิสถาน &00000000000030000000003,000,000–4,000,000 &000000000000001100000010–15 &0000000000000001000000~2 6.1 ล้าน[26] ประชากร 15–19% ของประเทศ[34]
ซีเรีย &00000000000030000000003,000,000–4,000,000 &000000000000001200000015–20 &0000000000000001000000~2
ซาอุดีอาระเบีย &00000000000020000000002,000,000–4,000,000 &000000000000001500000010–15 &00000000000000010000001–2
ไนจีเรีย &0000000000003999000000<4,000,000 &0000000000000004000000<5 &0000000000000001000000<2 22–25 ล้าน[35][ไม่อยู่ในแหล่งอ้างอิง]
บังกลาเทศ 40,000–50,000 &0000000000000000000000<1 &0000000000000000000000<1 10,840,000[36]
เลบานอน &00000000000010000000001,000,000–2,000,000 &0000000000000050000000 45–55 &0000000000000000000000<1 โดยประมาณ, ไม่มีสำมะโนทางการ[37] 50–55%[38][39][40]
แทนซาเนีย &0000000000001999000000<2,000,000 &0000000000000009000000<10 &0000000000000000000000<1
คูเวต &0000000000000500000000500,000–700,000 &000000000000003000000020–25 &0000000000000000000000<1 30–35% ต่อมุสลิม 1.2 ล้านคน (ประชากรในประเทศเท่านั้น)[41][42]
เยอรมัน &0000000000000400000000400,000–600,000 &000000000000001100000010–15 &0000000000000000000000<1
บาห์เรน &0000000000000400000000400,000–500,000 &000000000000006600000065–70 &0000000000000000000000<1 100,000 (66%[43] ของประชากร) 200,000 (70%[44] ของประชากร)
ทาจิกิสถาน &0000000000000400000000~400,000 &0000000000000007000000~7 &0000000000000000000000~1
สหรัฐอาหรับเอมิเรต &0000000000000300000000300,000–400,000 &000000000000001000000010 &0000000000000000000000<1
สหรัฐ &0000000000000200000000200,000–400,000 &000000000000001100000010–15 &0000000000000000000000<1
โอมาน &0000000000000100000000100,000–300,000 &00000000000000050000005–10 &0000000000000000000000<1 948,750[45]
สหราชอาณาจักร &0000000000000100000000100,000–300,000 &000000000000001100000010–15 &0000000000000000000000<1
กาตาร์ &0000000000000100000000~100,000 &0000000000000010000000~10 &0000000000000000000000<1

การข่มเหง[แก้]

มีหลายช่วงที่กลุ่มชีอะฮ์ถูกประหาร[46][47][48][49][50][51]

ในปีค.ศ. 1514 สุลต่านเซลิมที่ 1 ทรงมีรับสั่งให้สังหารชาวชีอะฮ์อนาโตเลีย 40,000 คน[52] รายงานจาก Jalal Al-e-Ahmad "สุลต่านเซลิมที่ 1 ทรงดำเนินไปไกลมาก จนมีการประกาศว่าการฆ่าชีอะฮ์หนึ่งคนมีค่าเท่ากับการฆ่าชาวคริสต์ถึง 70 คน"[53]

ภายใต้การปกครองของซัดดัม ฮุสเซนในประเทศอิรัก มุสลิมชีอะฮ์ส่วนใหญ่มักถูกจำคุก, ทรมาน และถูกฆ่า[54] และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2011 ทางรัฐบาลมาเลเซียประกาศให้ชีอะฮ์เป็นสังกัดที่ "แปลกแยก" และถูกห้ามไม่ให้เผยแผ่หลักศรัทธาของพวกเขา แต่ยังคงดำเนินตามศาสนพิธีได้ตามที่ส่วนตัว[55][56]

วันหยุด[แก้]

วันทั่วไปที่ฉลองทั้งซุนนีและชีอะฮ์คือ:

วันด้านล่างนี้ เป็นวันสำคัญของชีอะฮ์:

สถานที่ศักดิ์สิทธิ์[แก้]

ชีอะฮ์มีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สี่แห่ง คือมักกะฮ์ (มัสยิด อัลฮะรอม), มะดีนะฮ์ (มัสยิด อันนะบะวี), เยรูซาเลม (มัสยิด อัลอักซอ) และกูฟะฮ์ (มัสยิดกูฟะฮ์) สำหรับชีอะฮ์แล้ว มัสยิดอิหม่ามฮุซัยน์, มัสยิดอัล อับบาสที่กัรบะลาอ์ และมัสยิดอิหม่ามอะลีที่นาจาฟก็สำคัญเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชีอะฮ์ส่วนใหญ่ในประเทศซาอุดีอาระเบียถูกทำลายโดยอัลอิควาน[61]

สาขา[แก้]

สิบสองอิหม่าม[แก้]

ชื่อของอิหม่ามทั้ง 12 เขียนในรูปภาษาอาหรับของคำว่า على อะลี

ชีอะฮ์สิบสองอิมาม หรือ อิษนาอะชารียะฮ์ เป็นสาขาของชีอะฮ์ที่ใหญ่ที่สุด ชื่อของสาขานี้มาจากกลุ่มของสิบสองอิหม่าม ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่ประเทศอิหร่าน (90%),[62] อาเซอร์ไบจาน (85%),[8][63] บาห์เรน (70%), อิรัก (65%), เลบานอน (65% ของมุสลิม)[64][65][66]

หลักศรัทธา[แก้]

ชีอะฮ์สิบสองอิมามมีหลักศรัทธาห้าประการ[67] ซึ่งมีชื่อว่า อุศูลุดดีน โดยเรียงได้ดังนี้:[68][69]

  1. เอกเทวนิยม, พระเจ้ามีองค์เดียวและไม่เหมือนใคร.
  2. ความยุติธรรม, ความถูกต้องที่ยึดถือตามจริยธรรม, ความยุติธรรม และความเท่าเทียมกัน
  3. ศาสนทูต, บทบัญญัติที่พระเจ้าส่งมาให้ทูต หรือศาสดาชี้นำทางมนุษย์
  4. ผู้นำ สำนักที่สืบทอดจากสำนักของศาสดา
  5. วันสุดท้าย วันชำระบัญชีของพระเจ้า

อิสมาอิลี[แก้]

อิสมาอิลีมีชื่อมาจากอิสมาอิล อิบน์ ญะฟัรตามลำดับผู้สืบทอด (อิหม่าม) ของญะอ์ฟัร อัศศอดิก โดยพวกเขาเชื่อว่า มูซา อัล-คอดิม เป็นอิหม่ามคนต่อไป

ปัจจุบัน อิสมาอิลีส่วนใหญ่มักพบอยู่ในสังคมอินโด-อิหร่าน[70] แต่ก็พบในอินเดีย, ปากีสถาน, ซีเรีย, ปาเลสไตน์, ซาอุดีอาระเบีย,[71] เยเมน, จีน,[72] จอร์แดน, อุซเบกิสถาน, ทาจิกิสถาน, อัฟกานิสถาน, แอฟริกาตะวันออก และแอฟริกาใต้ และมีบางส่วนย้ายถิ่นฐานไปที่ยุโรป, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์ และอเมริกาเหนือ[73]

เสาหลัก[แก้]

อิสมาอิลีมี เสาหลัก 7 ประการ:

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wehr, Hans. "Dictionary of Modern Written Arabic". Archive.org. p. 498. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
  2. Olawuyi, Toyib (2014). On the Khilafah of Ali over Abu Bakr. p. 3. ISBN 978-1-4928-5884-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 เมษายน 2016.
  3. Triana, María (2017). Managing Diversity in Organizations: A Global Perspective (ภาษาอังกฤษ). Taylor & Francis. p. 159. ISBN 978-1-317-42368-3. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 กันยายน 2017.
  4. "Mapping the Global Muslim Population". 7 ตุลาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2014. The Pew Forum's estimate of the Shia population (10–13%) is in keeping with previous estimates, which generally have been in the range of 10–15%.
  5. Newman, Andrew J. (2013). "Introduction". Twelver Shiism: Unity and Diversity in the Life of Islam, 632 to 1722. Edinburgh University Press. p. 2. ISBN 978-0-7486-7833-4.
  6. Guidère, Mathieu (2012). Historical Dictionary of Islamic Fundamentalism. Scarecrow Press. p. 319. ISBN 978-0-8108-7965-2.
  7. Duncan S. Ferguson (2010). Exploring the Spirituality of the World Religions: The Quest for Personal, Spiritual and Social Transformation. Bloomsbury Academic. p. 192. ISBN 978-1-4411-4645-8.
  8. 8.0 8.1 8.2 The New Encyclopædia Britannica, Jacob E. Safra, Chairman of the Board, 15th Edition, Encyclopædia Britannica, Inc., 1998, ISBN 0-85229-663-0, Vol 10, p. 738
  9. Majd, Vahid. The Sermon of Prophet Muhammad (saww) at Ghadir Khum. p. 151.
  10. Musnad Ahmad Ibn Hanbal, Volume 4. p. 281.
  11. al-Razi, Fakhr. Tafsir al-Kabir, Volume 12. pp. 49–50.
  12. al-Tabrizi, al-Khatib. Mishkat al-Masabih. p. 557.
  13. Khand, Mir. Habib al-Siyar, Volume 1, Part 3. p. 144.
  14. 14.0 14.1 14.2 Merriam-Webster's Encyclopedia of World Religions, Wendy Doniger, Consulting Editor, Merriam-Webster, Incorporated, Springfield, MA 1999, ISBN 0-87779-044-2, LoC: BL31.M47 1999, p. 525
  15. "Esposito, John. "What Everyone Needs to Know about Islam" Oxford University Press, 2002. ISBN 978-0-19-515713-0. p. 46
  16. The New Encyclopædia Britannica, Jacob E. Safra, Chairman of the Board, 15th Edition, Encyclopædia Britannica, Inc., 1998, ISBN 0-85229-663-0, Vol 10, p. tid738
  17. ""Solhe Emam Hassan"-Imam Hassan Sets Peace". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 มีนาคม 2013.
  18. تهذیب التهذیب. p. 271.
  19. Discovering Islam: making sense of Muslim history and society (2002) Akbar S. Ahmed
  20. "Discrimination towards Shia in Saudi Arabia". Wsws.org. 8 ตุลาคม 2001. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011.
  21. Momen 1985, p. 277
  22. "Religions". CIA. The World Factbook. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2011. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2010.
  23. "Shīʿite". Encyclopædia Britannica Online. 2010. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 สิงหาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2010.
  24. 24.0 24.1 24.2 24.3 24.4 24.5 "Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population". Pew Research Center. 7 ตุลาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2010.
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 25.4 25.5 Miller, Tracy, บ.ก. (October 2009). Mapping the Global Muslim Population: A Report on the Size and Distribution of the World's Muslim Population (PDF). Pew Research Center. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 January 2010. สืบค้นเมื่อ 8 October 2009.
  26. 26.0 26.1 26.2 26.3 Husain, Rahat (26 ตุลาคม 2015). "Analysis indicates Shia populations are being underreported". Communities Digital News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 กันยายน 2016. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2016.
  27. "The World Factbook – Central Intelligence Agency". www.cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2012.
  28. "CIA – The World Factbook". Cia.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011.
  29. "Violence Against Pakistani Shias Continues Unnoticed | International News". Islamic Insights. 30 มีนาคม 2009. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011.
  30. "Taliban kills Shia school children in Pakistan". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011.
  31. "Shia women too can initiate divorce". The Times of India. 6 พฤศจิกายน 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 มีนาคม 2014. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2010.
  32. "30,000 Indian Shia Muslims Ready to Fight Isis 'Bare Handed' in Iraq". International Business Times UK. 27 มิถุนายน 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2015.
  33. "Religion" (PDF). Administrative Department of the President of the Republic of Azerbaijan – Presidential Library. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2015.
  34. "Shia women too can initiate divorce" (PDF). Library of Congress Country Studies on Afghanistan. August 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 April 2014. สืบค้นเมื่อ 27 August 2010. Religion: Virtually the entire population is Muslim. Between 80 and 85 percent of Muslims are Sunni and 15 to 19 percent, Shia.
  35. "'No Settlement with Iran Yet'". This Day. 16 November 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 May 2013.
  36. "Shia Population in Bangladesh". World Shia Muslims Population. พฤศจิกายน 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2018.
  37. Growth of the world's urban and rural population: 1920–2000, p. 81. United Nations. Dept. of Economic and Social Affairs
  38. Hassan, Farzana. Prophecy and the Fundamentalist Quest, p. 158
  39. Corstange, Daniel M. Institutions and Ethnic politics in Lebanon and Yemen, p. 53
  40. Dagher, Carole H. Bring Down the Walls: Lebanon's Post-War Challenge, p. 70
  41. "International Religious Freedom Report for 2012". US State Department. 2012.
  42. "The New Middle East, Turkey, and the Search for Regional Stability" (PDF). Strategic Studies Institute. April 2008. p. 87. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 18 March 2015.
  43. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 February 2012. สืบค้นเมื่อ 3 March 2012.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  44. "Why Bahrain blew up". New York Post. 17 กุมภาพันธ์ 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2011.
  45. Top 15 Countries with Highest Proportion of Shiites in the Population เก็บถาวร 7 กรกฎาคม 2010 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, 7 July 1999
  46. (Ya'qubi; vol. III, pp. 91–96, and Tarikh Abul Fida', vol. I, p. 212.)
  47. Stevan Lars Nielson, PhD; E. Thomas Dowd, PhD, ABPP (2006). The Psychologies in Religion: Working with the Religious Client. Springer Publishing Company. p. 237. ISBN 978-0-8261-2857-7.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  48. "Basra handover completed". Inthenews.co.uk. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 สิงหาคม 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011.
  49. Maddox, Bronwen (30 December 2006). "Hanging will bring only more bloodshed". The Times. London. สืบค้นเมื่อ 23 May 2010.
  50. "Al-Ahram Weekly | Region | Shiʻism or schism". Weekly.ahram.org.eg. 17 มีนาคม 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2011.
  51. The Shia, Ted Thornton, NMH, Northfield Mount Hermon เก็บถาวร 13 สิงหาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  52. George C. Kohn (2007). Dictionary of Wars. Infobase Publishing. p. 385. ISBN 0-8160-6577-2
  53. Al-e Ahmad, Jalal. Plagued by the West (Gharbzadegi), translated by Paul Sprachman. Delmor, NY: Center for Iranian Studies, Columbia University, 1982.
  54. Gritten, David (25 กุมภาพันธ์ 2006). "Long path to Iraq's sectarian split". BBC News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 กรกฎาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 19 เมษายน 2015.
  55. "Malaysian government to Shia Muslims: Keep your beliefs to yourself". globalpost.com. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2014. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2014.
  56. "Malaysia" (PDF). state.gov. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2014.
  57. Paula Sanders (1994), Ritual, politics, and the city in Fatimid Cairo, p. 121
  58. Bernard Trawicky, Ruth Wilhelme Gregory, (2002), Anniversaries and holidays, p. 233
  59. "Mawlid al-Nabi (the Prophet's birthday)". Islamqa.info. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 ธันวาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2015.
  60. "Lady Fatima inspired women of Iran to emerge as an extraordinary force". 18 March 2017.
  61. Laurence Louėr (2008), Transnational Shia politics: religious and political networks in the Gulf, p. 22
  62. "Esposito, John. "What Everyone Needs to Know about Islam" Oxford University Press, 2002. ISBN 978-0-19-515713-0. p. 45.
  63. "Administrative Department of the President of the Republic of Azerbaijan – Presidential Library – Religion" (PDF). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011.
  64. Esposito, John. "What Everyone Needs to Know about Islam" Oxford University Press, 2002. ISBN 978-0-19-515713-0. p. 45
  65. John Pike. "Bahrain – Religion". globalsecurity.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มกราคม 2012.
  66. "Challenges For Saudi Arabia Amidst Protests In The Gulf – Analysis". Eurasia Review. 25 มีนาคม 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 เมษายน 2012.
  67. "Shiʿite Doctrine". iranicaonline.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2015.
  68. Joanne Richter, (2006), Iran the Culture, p. 7
  69. Mulla Bashir Rahim, An Introduction to Islam เก็บถาวร 14 ตุลาคม 2009 ที่ Portuguese Web Archive, by Ahlul Bayt Digital Islamic Library Project
  70. Nasr, Vali, The Shia Revival, Norton, (2006), p. 76
  71. "Congressional Human Rights Caucus Testimony – NAJRAN, The Untold Story". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ธันวาคม 2006. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2007.
  72. "News Summary: China; Latvia". 22 กันยายน 2003. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 พฤษภาคม 2007. สืบค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2007.
  73. Daftary, Farhad (1998). A Short History of the Ismailis. Edinburgh: Edinburgh University Press. pp. 1–4. ISBN 978-0-7486-0687-0.

สารานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]