เมาลิด
เมาลิด | |
---|---|
มุสลิมในประเทศมาเลเซียทำพิธีเมาลิดในใจกลางปูตราจายา ค.ศ. 2013 | |
ชื่ออื่น | เมาลิดินนะบะวี (المولد النبوي), อีดิลมิลาดุนนะบี, Havliye, Donba, Gani[1] |
จัดขึ้นโดย | ทั้งซุนนี, ชีอะฮ์ และกลุ่มอื่น ๆ |
ประเภท | อิสลาม |
ความสำคัญ | การระลึกวันเกิดของมุฮัมมัดในแบบดั้งเดิม |
การถือปฏิบัติ | ฮัมด์, ตัสบีฮ์, ถือศีลอด, เดินขบวนสาธารณะ, นะอ์อัต (กวีศาสนา), รวมญาติและผู้คน, ตกแต่งถนนและบ้าน |
วันที่ | 12 เราะบีอุลเอาวัล |
ความถี่ | หนึ่งครั้งทุกปีอิสลาม |
เมาลิด หรือ เมาลิดินนะบี (อาหรับ: مَولِد النَّبِي บางครั้งเรียกสั้น ๆ ในภาษาพูดว่า مولد (เมาลิด, มูลุด) คู่กับการสะกดแบบท้องถิ่น; บางครั้งเรียกเป็น ميلاد (มีลาด)) เป็นพิธีวันเกิดของศาสดามุฮัมมัด ซึ่งจัดในเดือนเราะบีอุลเอาวัล เดือนที่สามในปฏิทินอิสลาม[2] วันที่ยอมรับโดยนักวิชาการซุนนีคือวันที่ 12 เราะบีอุลเอาวัล[3] ในขณะที่นักวิชาการชีอะฮ์ส่วนใหญ่ยอมรับเป็นวันที่ 17 เราะบีอุลเอาวัล
ประวัติของการฉลองสืบได้ถึงช่วงแรกของอิสลาม เมื่อตาบิอูนบางส่วนเริ่มการประชุมที่มีการอ่านกวีและเพลงที่แต่งไว้สรรเสริญมุฮัมมัด[4] จักรวรรดิออตโตมันประกาศให้เป็นวันหยุดราชการใน ค.ศ. 1588[5] ที่รู้จักกันในชื่อ เมฟลิดกันดิล (Mevlid Kandil)[6]
นิกายส่วนใหญ่ในศาสนาอิสลามยอมรับการฉลองวันเกิดมุฮัมมัด[7][8] อย่างไรก็ตาม ด้วยการเกิดขึ้นของวะฮาบีย์/ซะละฟีและอะฮ์มะดียะฮ์[9] มุสลิมหลายคนเริ่มไม่ยอมรับการฉลอง โดยถือว่าเป็นสิ่งอุตริทางศาสนาที่ต้องห้าม (บิดอะฮ์)[10][11] เมาลิด เป็นวันหยุดราชการในประเทศมุสลิมส่วนใหญ่ ยกเว้นประเทศซาอุดีอาระเบียและประเทศกาตาร์[12][13][14] บางประเทศที่มีมุสลิมเป็นจำนวนมาก เช่น ประเทศอินเดีย เป็นต้น ก็ถือเป็นวันหยุดราชการ[15]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]เมาลิด มีรากจากอักษรอาหรับว่า วะละดะ (อาหรับ: ولد) หมายถึง เพื่อให้กำเนิด, คลอดลูก, ลูกหลาน[16] ในการใช้งานร่วมสมัย เมาลิดอิงถึงการฉลองวันเกิดมุฮัมมัด[2]
วันที่
[แก้]รายงานจากมุสลิมซุนนีส่วนใหญ่ และชีอะฮ์บางส่วน มุฮัมมัดเกิดในวันที่ 12 เราะบีอุลเอาวัล[17][18][19][20] ส่วนชีอะฮ์สิบสองอิมามถือว่าท่านเกิดในวันที่ 17 เราะบีอุลเอาวัล[17][18] แม้ว่าจะมีการอิคติลาฟ หรือการปฏิเสธ เนื่องจากนักวิชาการชีอะฮ์ เช่น กุลัยนี, อิบน์ บาบะวัยฮ์, อัษษานี และคนอื่น ยืนยันว่าท่านเกิดในวันที่ 12 เราะบีอุลเอาวัล[21][22] ถึงกระนั้น กลุ่มอื่นโต้แย้งว่าไม่มีใครทราบวันเกิดของมุฮัมมัด และไม่ได้มีการบันทึกในธรรมเนียมอิสลาม[23][24][25][26] ปัญหาเกี่ยวกับวันเมาลิดที่แท้จริงถูกบันทึกโดยอิบน์ ค็อลลิกาน โดยเป็นคนแรกที่ไม่เห็นด้วยกับการเฉลิมฉลอง[27]
ประวัติ
[แก้]ในช่วงแรกของอิสลาม การฉลองวันเกิดมุฮัมมัดถือเป็นวันศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมักจัดงานแบบลับ ๆ และต่อมามีผู้มาเยี่ยมบ้านเมาลิดเพิ่มขึ้นจนต้องเปิดบ้านทั้งวันในวันนี้โดยเฉพาะ[28] การฉลองนี้ถูกนำไปใช้ที่เซวตาโดยอบูลอับบาส อัลอะซะฟี เพื่อเสริมความเข้มแข็งในสังคมมุสลิม และต่อต้านวัฒนธรรมคริสเตียน[29][ลิงก์เสีย] การฉลองช่วงแรก มีอิทธิพลของศูฟี เชือดพลีสัตว์ และเดินขบวนคบเพลิง พร้อมกับการเทศนาในที่สาธารณะกับงานเลี้ยง[7][30]
ต้นกำเนิดที่แท้จริงของเมาลิดเป็นสิ่งที่ติดตามได้ยาก[31] รายงานจาก Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God เหตุการณ์นี้เกิดจากการที่มุฮัมมัดถือศีลอดในวันจันทร์ ซึ่งอิงว่าท่านเกิดในวันนั้น และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่อุมัรเลือกเป็นปีเริ่มต้นของฮิจเราะห์ศักราช[31] รายงานจาก Festivals in World Religions มีการจัดเมาลิดครั้งแรกโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ที่แบกแดด[32] มีการแนะนำว่ามีการทำพิธีเมาลิดอย่างเป็นทางการโดยอัลค็อยซุรอนแห่งรัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์[31] อิบน์ ญุบัยร์เขียนใน ค.ศ. 1183 ว่ามีการฉลองวันเกิดศาสดามุฮัมมัดทุกวันจันทร์ของเดือนเราะบีอุลเอาวัล[31][18] รายงานจากสันนิษฐานของ Nico Kaptein จากมหาวิทยาลัยไลเดิน เมาลิดถูกริเริ่มโดยรัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์[33] โดย Marion Holmes Katz กล่าวเพิ่มว่า "ในปัจจุบัน แนวคิดการฉลอง เมาลิด ซึ่งมีที่มาจากราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ เกือบเป็นที่ยอมรับโดยสากลทั้งนักโต้เถียงศาสนาและนักวิชาการฆราวาส"[34] ต้นกำเนิดฝั่งชีอะฮ์มักถูกอ้างอิงจากฝ่ายซุนนีที่ต่อต้านเมาลิด[35]
รายงานจาก สารานุกรมบริแทนนิกา พวกฟาฏิมิดจัดงานนี้แค่ในพระราชฐานของเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์เท่านั้น[36] ดังนั้น จึงมีการสรุปว่า งานเมาลิดที่จัดในที่สาธารณะครั้งแรกโดยซุนนีเมื่อ ค.ศ. 1207 โดยมุซัฟฟารุดดีน เกิกเบอรี (Muẓaffar al-Dīn Gökburi)[36][37][38]
การปฏิบัติ
[แก้]มีการฉลองเมาลิดในประเทศอิสลามเกือบทุกประเทศ และในประเทศที่มีประชากร เช่น เอธิโอเปีย, อินเดีย, สหราชอาณาจักร, ตุรกี, ไนจีเรีย, ศรีลังกา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อิตาลี, อิรัก, อิหร่าน, มัลดีฟส์, โมร็อกโก, จอร์แดน, ลิเบีย, รัสเซีย[39] และแคนาดา[40][41][42][43][44][45][46][47][48] ยกเว้นกาตาร์และซาอุดีอาระเบียที่ห้ามฉลองและไม่ใช่วันหยุดราชการ[49][50][51] อย่างไรกตาม ในช่วงปลายทศวรรษของศตวรรษที่ 20 มีเทรนด์ "ห้ามหรือทำลายชื่อเสียง" ของเมาลิดในโลกมุสลิมซุนนี[52][53]
ในประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม ประเทศอินเดียมีการฉลองเมาลิด[54] มีการตั้งเรลิกของมุฮัมมัดหลังละหมาดช่วงเช้าในชัมมูและกัศมีร์ที่เทวสถานฮัซรัตบัล ซึ่งมีการละหมาดกลางคืนเป็นเวลานานด้วย[55]
ข้อความเมาลิด
[แก้]ในงานฉลองวันเกิดศาสดามุฮัมมัด จะมีการอ่านกวีในวันนั้น ซึ่งมีเขียนหลายภาษา เช่น ภาษาอาหรับ, เคิร์ด และตุรกี[56] ในข้อความเหล่านี้มีรายละเอียดเกี่ยวกับชีวิตของมุฮัมมัด ซึ่งสรุปได้ดังนี้:[57]
- บรรพบุรุษของมุฮัมมัด
- แนวคิดของมุฮัมมัด
- ถือกำเนิดมุฮัมมัด
- แนะนำแก่ฮะลีมะฮ์
- ชีวิตของมุฮัมมัดวัยเด็กในชนเผ่าเบดูอิน
- มุฮัมมัด ผู้เป็นเด็กกำพร้า
- การท่องคาราวานครั้งแรกของหลายชายอบูฏอลิบ
- การจัดงานแต่งงานระหว่างมุฮัมมัดกับเคาะดีญะฮ์
- อัลอิสรออ์
- อัลมิอ์รอจญ์ หรือการขึ้นไปบนชั้นฟ้า
- ฮิรอ โองการแรก
- ผู้เข้ารับอิสลามช่วงแรก
- ฮิจเราะห์
- มุฮัมมัดเสียชีวิต
การอนุญาต
[แก้]ในกลุ่มนักวิชาการมุสลิม การยอมรับเมาลิดตามกฎหมาย "เป็นประเด็นหลักของการโต้แย้ง" และถูกกล่าวว่า "อาจเป็นหนึ่งในการอภิปรายโต้แย้งมากที่สุดตามกฎหมายอิสลาม"[26] ตามธรรมเนียมแล้ว นักวิชาการซุนนีส่วนใหญ่และชีอะฮ์เกือบทั้งหมดยอมรับการฉลองเมาลิด[7][8][58][59][60] ในขณะที่นักวิชาการซะละฟีกับอะฮ์มะดียะฮ์ต่อต้านการฉลองนี้[11][61][62]
สนับสนุน
[แก้]ตัวอย่างนักวิชาการซุนนีที่อนุญาตเมาลิดได้แก่ อัสซุยูตี นักวิชาการมัซฮับชาฟิอี (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 911) ที่กล่าวว่า:
คำตอบของผมในเรื่องสถานะการอนุญาตเมาลิด – ตราบเท่าที่ผู้คนยังรวมตัวกัน, มีการอ่านอัลกุรอาน, การเล่าสายรายงานที่ส่งต่อมาจากจุดเริ่มต้น (ชีวประวัติ) ของท่านศาสดา – ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮ์ และความสันติจงมีแด่ท่าน – และสิ่งอัศจรรย์ในช่วงที่ท่านเกิด ทั้งหมดนั้นตามมาด้วยงานเลี้ยง-เป็นนวัตกรรมที่ดี (บิดอะฮ์ฮะซะนะฮ์) ...เพราะมีการเคารพฐานะศาสดา – ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮ์ และความสันติจงมีแด่ท่าน – ในนั้น และเป็นการแสดงความรื่นเริงและความสุขในการถือกำเนิดของท่านศาสดา – ขอความโปรดปรานแห่งอัลลอฮ์ และความสันติจงมีแด่ท่าน –[63]
อิบน์ ฮะญัร อัลอัสเกาะลานี (เสียชีวิตใน ค.ศ. 852) นักวิชาการมัซฮับชาฟิอี[64] อบูชามะฮ์ (เสียชีวิตใน ค.ศ. 1268) ก็สนับสนุนเมาลิดด้วย[65][66]เช่นเดียวกันกับ อิบน์ อัลฮาจญ์ อัลอับดะรี นักวิชาการมัซฮับมาลิกี (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 737) ที่กล่าวถึงเมาลิดในแง่บวกในหนังสือ อัลมัซกัล[67] ในทำนองเดียวกัน อิบน์ ฮะญัร อัลฮัยตะมี นักวิชาการอียิปต์มัซฮับชาฟิอี (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 974) สนับสนุนเมาลิดและเขียนข้อความสรรเสริญมัน[68] อะลี อัลกอรี (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 1014) มุฟตีมัซฮับฮะนะฟี ก็ทำแบบนั้น[69] เช่นเดียวกันกับมุฮัมมัด อิบน์ ญะอ์ฟัร อัลกัตตานี นักวิชาการมัซฮับมาลิกี (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 1345)[70] อิบน์ อัลญะซะรี นักวิชาการซีเรียมัซฮับชาฟิอี (เสียชีวิตใน ฮ.ศ. 833) พิจารณาการฉลองเมาลิดเปรียบเสมือนกับการได้เข้าสวรรค์[71]
ในโลกมุสลิม นักวิชาการซุนนีส่วนใหญ่ยังคงชอบเมาลิด[72] ดังตัวอย่างจากคำพูดของอดีตแกรนด์มุฟตีแห่งมหาวิทยาลัยอัลอัซฮัร อะลี ญุมอะฮ์,[73] มุฮัมมัด อิบน์ อะละวี อัลมาลิกี[74][75]แห่งซาอุดีอาระเบีย, ยูซุฟ อัลเกาะเราะฎอวี[76][77] นักวิชาการหลักของขบวนการอิควานมุสลิมีน, อะลี อัลญิฟรี,[78] มุฮัมมัด ฏอฮิรุลกอดรี,[79][80] มุฮัมมัด อิบน์ ยะฮ์ยา อันนิโนวี[80][81]แห่งซีเรีย, มุฮัมมัด อิบน์ อะฮ์มัด อัลค็อซเราะญี ประธานคณะกรรมการมรดกและประวัติศาสตร์แห่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (the Heritage and History Committee of the United Arab Emirates)[82] และซัยด์ ชากิร
ต่อต้าน
[แก้]มุมมองเกี่ยวกับเมาลิดของอิบน์ ตัยมียะฮ์ถูกนักวิชาการบางส่วนมองว่า "ขัดแย้ง" และ "ซับซ้อน" เขากล่าวว่าเป็นสิ่งที่น่าตำหนิ (มักรูฮ์) และวิจารณ์ผู้ที่ฉลองเมาลิดว่าเลียนแบบวันประสูติของพระเยซูโดยคริสต์ศาสนิกชน[83][84] ในเวลาเดียวกัน เขาได้รับการยอมรับว่าการฉลองวันเกิดของศาสดามุฮัมมัดเพื่อแสดงถึงความรักและความคารวะ สมควรได้รับรางวัลที่ยิ่งใหญ่[83][85][86][87] ฮามิด อัลฟิกี นักเขียนซะละฟี (เสียชีวิตใน ค.ศ. 1959) วิจารณ์มุมมองของอิบน์ ตัยมียะฮ์ และกล่าวว่า "พวกเขาจะได้รับรางวัลอย่างไรถ้าพวกเขาต่อต้านทางชี้แนะของศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ศ็อล)?"[75]
พวกวะฮาบีย์และซะละฟีไม่ยอมรับเมาลิด[88] ตาญุดดีน อัลฟากิฮานี (เสียชีวิต ค.ศ. 1331) ชาวอียิปต์สำนักมาลิกี พิจารณาว่าเมาลิดเป็นนวัตกรรมที่ควรถูกตำหนิ ซึ่งอยู่ในกลุ่มมักรูฮ์หรือฮะรอม อิบน์ อัลฮาจญ์ อัลอับดะรี ชาวอียิปต์สำนักเดียวกัน ได้แบ่งปันมุมมองนี้เพิ่มเติมว่า ชาวซะลัฟไม่เคยทำพิธีนี้มาก่อน[89] อย่างไรก็ตาม อิบน์ อัลฮาจญ์ ยืนยันคุณสมบัติที่เป็นมงคลของเดือนเมาลิดในความยิ่งใหญ่[90] และถือว่าวันเกิดของมุฮัมมัดเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของปี[91] อัชชาฏิบี นักวิชาการมัซฮับมาลิกี พิจารณาว่า เมาลิดเป็นนวัตกรรมที่ผิดทำนองคลองธรรม[92] อบูอับดุลลอฮ์ อัลฮัฟฟาร นักกฏหมายชาวอัลอันดะลุส (เสียชีวิตใน ค.ศ. 1408) ต่อต้านเมาลิด โดยกล่าวว่า แม้ว่าเศาะฮาบะฮ์จะฉลอง วันที่แน่นอนนั้นไม่น่าจำเป็น[93] อับดุลอะซีซ อิบน์ บาซ อดีตแกรนด์มุฟตีซาอุดีอาระเบีย ร่วมกับ ฮัมมูด อิบน์ อับดุลลอฮ์ อัตตุวัยญิรี (เสียชีวิตใน ค.ศ. 1992) นักวิชาการซาอุดีอีกคน ต่อต้านแล้วโต้แย้งว่า มีวันสำคัญอื่น ๆ ในชีวิตของศาสดามุฮัมมัดที่เขาไม่เคยฉลอง เช่น การเปิดเผยโองการแรกของอัลกุรอาน การเดินทางในเวลากลางคืน และการฮิจเราะห์[94][75]
ภาพ
[แก้]-
การฉลอง กาเรอเบิก ในงานฉลองเมาลิดที่ยกยาการ์ตา, เกาะชวา, ประเทศอินโดนีเซีย
-
การฉลองเมาลิดที่ไคโร ค.ศ. 1878
-
เมาลิด ภายใต้การดูแลของชัยค์ ศูฟี รีอัซ อาฮ์เหม็ด นักชะบันดี อัสลามี, ค.ศ. 2007
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Mawlid in Africa". Muhammad (pbuh) – Prophet of Islam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-14. สืบค้นเมื่อ 2 February 2016.
- ↑ 2.0 2.1 Mawlid. Reference.com
- ↑ The Sealed Nectar.
- ↑ "Mawlid an-Nabi: Celebrating Prophet Muhammad's (s) Birthday". The Islamic Supreme Council of America (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 5 November 2018.
- ↑ Shoup, John A. (1 January 2007). Culture and Customs of Jordan (ภาษาอังกฤษ). Greenwood Publishing Group. p. 35. ISBN 9780313336713.
- ↑ Manuel Franzmann, Christel Gärtner, Nicole Köck Religiosität in der säkularisierten Welt: Theoretische und empirische Beiträge zur Säkularisierungsdebatte in der Religionssoziologie Springer-Verlag 2009 ISBN 978-3-531-90213-5 page 351
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Schussman, Aviva (1998). "The Legitimacy and Nature of Mawid al-Nabī: (analysis of a Fatwā)". Islamic Law and Society. 5 (2): 214–234. doi:10.1163/1568519982599535.
- ↑ 8.0 8.1 McDowell, Michael; Brown, Nathan Robert (3 March 2009). World Religions At Your Fingertips (ภาษาอังกฤษ). Penguin. p. 106. ISBN 9781101014691.
- ↑ Observing Islam in Spain: Contemporary Politics and Social Dynamics BRILL, 09.05.2018 ISBN 9789004364998 p. 101
- ↑ http://islamqa.info/en/249 Muhammed Salih Al-Munajjid.
- ↑ 11.0 11.1 A Guide to Shariah Law and Islamist Ideology in Western Europe 2007–2009 เก็บถาวร 2023-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Centre for Islamic Pluralism (2009), p.84
- ↑ March, Luke (24 June 2010). Russia and Islam. Routledge. p. 147. ISBN 9781136988998. สืบค้นเมื่อ 10 May 2015.
- ↑ Merkel, Udo (11 February 2015). Identity Discourses and Communities in International Events, Festivals and Spectacles (ภาษาอังกฤษ). Palgrave Macmillan. p. 203. ISBN 9781137394934.
- ↑ Woodward, Mark (28 October 2010). Java, Indonesia and Islam (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 169. ISBN 9789400700567.
- ↑ https://www.timeanddate.com/holidays/india/milad-un-nabi
- ↑ อาหรับ: قاموس المنجد – Moungued Dictionary (paper), or online: Webster's Arabic English Dictionary เก็บถาวร 12 กุมภาพันธ์ 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ 17.0 17.1 Mahjubah, vol. 16, 1997, p. 8
- ↑ 18.0 18.1 18.2 The Princeton Encyclopedia of Islamic Political Thought, Princeton University Press, 2013, p. 335, ISBN 978-0691134840
- ↑ Tahir ul Qadri (2014), Mawlid Al-nabi: Celebration and Permissibility, Minhaj-ul-Quran Publications, p. 25, ISBN 9781908229144
- ↑ John L. Esposito (1995), The Oxford Encyclopedia of the Modern Islamic World, Oxford University Press, p. 121, ISBN 978-0-19-506613-5
- ↑ Mohsen Kadivar, روز میلاد پیامبر بازگشت به رای متقدم تشیع, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-21, สืบค้นเมื่อ 2020-10-04
- ↑ Rasool Jafariyan, ولادت رسول خدا (ص) در دوازدهم یا هفدهم ربیع الاول؟
- ↑ Sanjuán, Alejandro García, บ.ก. (2007). Till God Inherits the Earth: Islamic Pious Endowments in Al-Andalus (9–15th Centuries) (illustrated ed.). BRILL. p. 235. ISBN 9789004153585.
- ↑ Annemarie Schimmel (1994). Deciphering the signs of God: a phenomenological approach to Islam (illustrated ed.). Edinburgh University Press. p. 69.
- ↑ Eliade, Mircea, บ.ก. (1987). The Encyclopedia of religion, Volume 9 (illustrated ed.). Macmillan. p. 292. ISBN 9780029098004.
- ↑ 26.0 26.1 Fitzpatrick, Coeli; Walker, Adam Hani, บ.ก. (2014). Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God [2 volumes] (illustrated ed.). ABC-CLIO. p. 368. ISBN 9781610691789.
- ↑ N. J. G. Kaptein (1993). Muḥammad's Birthday Festival: Early History in the Central Muslim Lands and Development in the Muslim West Until the 10th/16th Century. BRILL. p. 74. ISBN 9789004094529.
- ↑ Fuchs, H.; Knappert J. (2007). "Mawlid (a.), or Mawlud". ใน P. Bearman; T. Bianquis; C. E. Bosworth (บ.ก.). Encyclopedia of Islam. Brill. ISSN 1573-3912.
- ↑ "Mawlid". Encyclopedia of Islam, Second Edition. BrillOnline Reference Works.
- ↑ "Mawlid". Encyclopædia Britannica. Encyclopædia Britannica, Inc. 2007.
- ↑ 31.0 31.1 31.2 31.3 Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God, ABC-CLIO, 2014, pp. 365–368, ISBN 9781610691789
- ↑ Festivals in World Religions, Longman, 1986, pp. 230, 286, ISBN 9780582361966
- ↑ Katz (2007), p. 2
- ↑ Katz (2007), p. 3
- ↑ Katz (2007), p. 113
- ↑ 36.0 36.1 Mawlid, Encyclopædia Britannica
- ↑ Katz (2007), p. 50
- ↑ Katz (2007), p. 67
- ↑ "Mawlid celebration in Russia". Islamdag.info. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 September 2011. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ "q News". q News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2011. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ "Arts Web Bham". Arts Web Bham. 14 August 1996. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ "Buildings of London". Buildings of London. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ Js Board เก็บถาวร 17 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "United Kingdom". Sunni Razvi Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 February 2001.
- ↑ Bednikoff, Emilie. "Montreal Religious Sites Project". Mrsp.mcgill.ca. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ "Muslim Media Network". Muslim Media Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 July 2012. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ Canadian Mawlid เก็บถาวร 9 ตุลาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Religion & Ethics – Milad un Nabi". BBC. 7 September 2009. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ "Moon Sighting". Moon Sighting. 20 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ Jestice, Phyllis G., บ.ก. (2004). Holy People of the World: A Cross-Cultural Encyclopedia. ABC-CLIO. p. 410. ISBN 9781576073551.
- ↑ Elie Podeh (2011). The Politics of National Celebrations in the Arab Middle East (illustrated ed.). Cambridge University Press. pp. 256–7. ISBN 9781107001084.
- ↑ Reuven Firestone (2010). An Introduction to Islam for Jews (revised ed.). Jewish Publication Society. p. 132. ISBN 9780827610491.
- ↑ Katz (2007), p. 184.
- ↑ "Milad Celebrated". The Times of India. 14 May 2003. สืบค้นเมื่อ 20 November 2011.
- ↑ TajaNews เก็บถาวร 14 ธันวาคม 2007 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Kenan Aksu Turkey: A Regional Power in the Making Cambridge Scholars Publishing, 18.07.2014 ISBN 9781443864534 p. 231
- ↑ Knappert, J (1988). "The Mawlid". Orientalia Lovaniensia Periodica. 19: 209–215.
- ↑ Katz (2007), p. 169
- ↑ "Mawlid: The conservative view".
- ↑ "Mawlid al-Nabi: Celebrations across the Middle East". Middle East Eye. สืบค้นเมื่อ 28 February 2016.
- ↑ "True Commemoration of the blessed life of the Holy Prophet (pbuh)", Al Islam Online
- ↑ Battram, Robert A. (22 July 2010). Canada in Crisis (2): An Agenda for Survival of the Nation. ISBN 9781426933936.
- ↑ Kaptein (1993), p. 49
- ↑ Katz (2007), p. 108
- ↑ Katz (2007), p. 63
- ↑ Rapoport, Yosef (2010). Ibn Taymiyya and His Times. Oxford: Oxford University Press. p. 328. ISBN 9780199402069.
- ↑ Kaptein (1993), p. 58
- ↑ Spevack, Aaron (9 September 2014). The Archetypal Sunni Scholar: Law, Theology, and Mysticism in the Synthesis of al-Bajuri (ภาษาอังกฤษ). SUNY Press. p. 77. ISBN 9781438453729.
- ↑ Katz (2007), p. 112
- ↑ Katz 2007, p. 102: "there is no doubt that the Prophet's (s) recompense to someone who does something for him will be better, more momentous, more copious, greater and more abundant than [that person's] action, because gifts correspond to the rank of those who give them and presents vary according to their bestowers; it is the custom of kings and dignitaries to recompense small things with the greatest of boons and the most splendid treasures, so what of the master of the kings of this world and the next?
- ↑ Katz 2007, p. 109: "If Abu Lahab, the unbeliever whose condemnation was revealed in the Qur'an, was rewarded (juziya) in hell for his joy on the night of the Prophet's birth, what is the case of a Muslim monotheist of the community of Muhammad the Prophet who delights in his birth and spends all that he can afford for love of him? By my life, his reward (jaza ') from the Beneficent God can only be that He graciously causes him to enter the gardens of bliss!"
- ↑ Katz (2007), p. 169: "In the eighteenth and nineteenth century, the celebration of the Prophet's (s) birthday and the recitation of mawlid texts were ubiquitous practices endorsed by the majority of mainstream Sunni scholars... by the modern period the celebration of the Mawlid was overwhelmingly accepted and practiced at all levels of religious education and authority. Prominent elite scholars continued to contribute to the development of the tradition."
- ↑ Gomaa, Sheikh Ali (1 January 2011). Responding from the Tradition: One Hundred Contemporary Fatwas by the Grand Mufti of Egypt (ภาษาอังกฤษ). Fons Vitae. ISBN 9781891785443.
- ↑ Katz (2007), p. 253
- ↑ 75.0 75.1 75.2 Rapoport, Yosef (2010). Ibn Taymiyya and His Times. Oxford: Oxford University Press. p. 322. ISBN 9780199402069.
- ↑ Shaykh Qardawi Approves of Celebrating Mawlid. Yusuf Al-Qardawi.
- ↑ "Shaykh Qardawi Approves of Celebrating Mawlid". www.sunnah.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-22. สืบค้นเมื่อ 26 March 2016.
- ↑ [1][ลิงก์เสีย]
- ↑ Tahir-ul-Qadri, Dr Muhammad (1 May 2014). Mawlid Al-nabi: Celebration and Permissibility (ภาษาอังกฤษ). Minhaj-UL-Quran Publications. ISBN 9781908229144.
- ↑ 80.0 80.1 "Milad-un-Nabi gets colourful, elaborate – Times of India". The Times of India. สืบค้นเมื่อ 26 March 2016.
- ↑ "Mass Moulood celebrated in Green Point | IOL". IOL. สืบค้นเมื่อ 3 June 2016.
- ↑ Katz (2007), p. 203
- ↑ 83.0 83.1 Marion Holmes Katz (2007). The Birth of The Prophet Muhammad: Devotional Piety in Sunni Islam. Routledge. p. 117. ISBN 9781135983949.
The rationale of expressing love for the Prophet was so compelling that it occasionally forced even opponents of the mawlid celebration to qualify their disapproval. Ibn Taymiya remarks that people may celebrate the mawlid either in order to emulate the Christians' celebration of Jesus's birthday, or "out of love (mahabba) and reverence (ta'zim) for the Prophet." Although the first motive is manifestly invalid, Ibn Taymiya acknowledges the latter intention as legitimate; one who acts on this motivation may be rewarded for his love and his effort, although not for the sinful religious innovation in itself.
- ↑ Rapoport, Yosef (2010). Ibn Taymiyya and His Times. Oxford: Oxford University Press. pp. 324–325. ISBN 9780199402069.
At the same time, Ibn Taymiyya recognizes that people observe the mawlid for different reasons and should be recompessed according to their intentions. Some, for example, observe the mawlid out of a desire to imitate the Christian celebration of Jesus's birthday on Christmas. This intention is reprehensible
- ↑ Islamic Law in Theory: Studies on Jurisprudence in Honor of Bernard Weiss (ภาษาอังกฤษ). BRILL. 9 May 2014. ISBN 9789004265196.
Not only does Ibn Taymiyyah recognize the pious elements within devotional innovations, but he asserts that sincere practitioners of these innovations merit a reward. As I argue elsewhere, Ibn Taymiyyah's paradoxical position stems from a practical awareness of the way that Muslims of his day engaged in devotional practices. Ibn Taymiyya states that: "There is no doubt that the one who performs these [innovated festivals], either because of his own interpretation and independent reasoning or his being a blind imitator (muqallid) of another, receives a reward for his good purpose and for the aspects of his acts that confirm with the lawful and he is forgiven for those aspects that fall under the scope of the innovated if his independent reasoning or blind obedience is pardonable."
- ↑ Ukeles (2010), p. 320: "At the same time he recognized that some observe the Prophet's (s) birthday out of a desire to show their love of the Prophet and thus deserve a great reward for their good intentions."
- ↑ Woodward, Mark (28 October 2010). Java, Indonesia and Islam (ภาษาอังกฤษ). Springer Science & Business Media. p. 170. ISBN 9789400700567.
The Mawlid is among the most commonly mentioned examples of praiseworthy innovation. This view is shared even by some of the most strident opponents of most other modalities of popular Islam. Ibn Taymiyyah, the Kurdish reformer who most Indonesian and other Islamists take as their spiritual ancestor and mentor, was subdued in his critique of the Mawlid. His position was that those who performed it with pious intent and out of love for the Prophet Muhammad (s) would be rewarded for their actions, and forgiven any sin from bid'ah that they might incur.
- ↑ Bowering, Gerhard; Crone, Patricia; Kadi, Wadad; Stewart, Devin J.; Zaman, Muhammad Qasim; Mirza, Mahan (28 November 2012). The Princeton Encyclopedia of Islamic Political Thought (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. p. 335. ISBN 978-1400838554.
- ↑ Katz (2007), p. 71
- ↑ Katz (2007), p. 201
- ↑ Katz (2007), p. 65
- ↑ Katz (2007), p. 73
- ↑ Marion Holmes Katz (2007). The Birth of The Prophet Muhammad: Devotional Piety in Sunni Islam. Routledge. pp. 159–60. ISBN 9781135983949.
- ↑ Marion Holmes Katz (2007). The Birth of The Prophet Muhammad: Devotional Piety in Sunni Islam. Routledge. pp. 203–4. ISBN 9781135983949.
บรรณานุกรม
[แก้]- Kaptein, N. J. G. (1991). "Mawlid". ใน Bosworth, C. E.; van Donzel, E. & Pellat, Ch. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume VI: Mahk–Mid. Leiden: E. J. Brill. ISBN 978-90-04-08112-3.
- Kaptein, N. J. G. (1993). Muḥammad's Birthday Festival: Early History in the Central Muslim Lands and Development in the Muslim West Until the 10th/16th Century. Brill. ISBN 978-9-0040-9452-9.
- Katz, Marion Holmes (2007). The Birth of The Prophet Muhammad: Devotional Piety in Sunni Islam. Routledge. ISBN 978-1-1359-8394-9.
- Ukeles, Raquel (2010). "The Sensitive Puritan? Revisiting Ibn Taymiyya's Approach to Law and Spirituality in Light of 20th-century Debates on the Prophet's Birthday (mawlid al-nabī).". ใน Youssef Rapport; Shahab Ahmed (บ.ก.). Ibn Taymiyya and His Times. Karachi: Oxford University Press. pp. 319–337. ISBN 9780199402069.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Hagen, Gottfried (2014). "Mawlid (Ottoman)". ใน Fitzpatrick, C.; Walker, A. (บ.ก.). Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God (2 vols.). Santa Barbara: ABC-CLIO.
- Malik, Aftab Ahmed (2001). The Broken Chain: Reflections Upon the Neglect of a Tradition. Amal Press. ISBN 0-9540544-0-7.
- Picken, Gavin (2014). "Mawlid". ใน Fitzpatrick, C.; Walker, A. (บ.ก.). Muhammad in History, Thought, and Culture: An Encyclopedia of the Prophet of God (2 vols.). Santa Barbara: ABC-CLIO.
- Tahir-ul-Qadri, Muhammad (2014). Mawlid al-Nabi: Celebration and Permissibility. Minhaj-ul-Quran Publications. ISBN 978-1908229144.