ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง
ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง | ||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ ฟิตนะฮ์ | ||||||||
พื้นที่ที่เคาะลีฟะฮ์อะลีครอบครอง
พื้นที่ที่มุอาวิยะฮ์ครอบครอง | ||||||||
| ||||||||
คู่สงคราม | ||||||||
รัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน | กองทัพของมุอาวิยะฮ์และอาอิชะฮ์ | เคาะวาริจญ์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | ||||||||
ฮะซัน อิบน์ อะลี อัมมาร์ อิบน์ ยาซิร † มาลิก อัล-อัชตาร์ มุฮัมมัด อิบน์ อะบี บักร์ † ฮิจญร์ อิบน์ อะดี |
อาอิชะฮ์ ฏ็อลฮะฮ์ † สุบัยร อิบน์ อัล-เอาวาม † มุอาวิยะฮ์ที่ 1 อัมร์ อิบน์ อัล-อัส (ได้รับบาดเจ็บในขณะปฎิบัติหน้าที่) | อับดุลลอฮ์ อิบน์ วะฮับ อัรรอซิบี † | ||||||
ความสูญเสีย | ||||||||
ทั้งหมด: 25,407–25,513+
| ทั้งหมด: 47,500+ | 2,400 |
ฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง เป็นสงครามกลางเมืองครั้งแรกของประชาชาติมุสลิม นำไปสู่การล้มล้างรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูนและการก่อตั้งรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ ฟิตนะฮ์ครั้งนี้ประกอบด้วยการรบหลัก 3 ครั้งระหว่างอะลี อิบน์ อะบี ฏอลิบ เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนคนที่ 4 กับฝ่ายต่อต้าน
ที่มาของฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่งเริ่มจากการลอบสังหารอุมัร เคาะลีฟะฮ์รอชิดูนคนที่ 2 ในปี ค.ศ. 644 ก่อนเสียชีวิตอุมัรตั้งสภาที่ปรึกษาซึ่งเลือกอุษมานเป็นเคาะลีฟะฮ์คนต่อไป ฝ่ายตรงข้ามวิจารณ์การปกครองช่วงท้ายของอุษมานว่ามีความเป็นคติเห็นแก่ญาติและสังหารอุษมานในปี ค.ศ. 656[3] ต่อมาอะลีได้รับเลือกเป็นเคาะลีฟะฮ์คนที่ 4 แต่ถูกอาอิชะฮ์ ฏ็อลฮะฮ์และสุบัยรต่อต้านและเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งเคาะลีฟะฮ์ใหม่[4] ทั้งสองฝ่ายรบกันในสงครามอูฐในเดือนธันวาคม ค.ศ. 656 ซึ่งอะลีได้รับชัยชนะ หลังจากนั้นมุอาวิยะฮ์ ผู้ว่าการซีเรียประกาศสงครามกับอะลีด้วยต้องการล้างแค้นให้อุษมาน[5] กองทัพของอะลีกับมุอาวิยะฮ์รบกันในยุทธการที่ศิฟฟีนในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 657 แต่เอาชนะกันไม่ได้และตัดสินด้วยอนุญาโตตุลาการ[6]
อนุญาโตตุลาการนี้ถูกปฏิเสธจากเคาะวาริจญ์ กลุ่มคนซึ่งเดิมสนับสนุนอะลี เคาะวาริจญ์ประกาศให้อะลี มุอาวิยะฮ์และผู้สนับสนุนเป็นผู้ปฏิเสธศรัทธา[7][8] และการหลั่งเลือดผู้ปฏิเสธศรัทธานั้นเป็นสิ่งกระทำได้[9] หลังเคาะวาริจญ์ก่อความรุนแรงมากขึ้น กองทัพอะลีเอาชนะเคาะวาริจญ์ในยุทธการที่นะฮ์เราะวานในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 658 จากนั้นไม่นานมุอาวิยะฮ์ยึดครองอียิปต์ด้วยความช่วยเหลือจากอัมร์ อิบน์ อัล-อัส ผู้ว่าการอียิปต์
ในปี ค.ศ. 661 อะลีถูกลอบสังหารโดยอับดุรเราะฮ์มาน อิบน์ มุลญัม เคาะวาริจญ์ผู้ต้องการล้างแค้นความพ่ายแพ้ที่นะฮ์เราะวาน[10] ฮะซัน อิบน์ อะลี บุตรคนโตของอะลีดำรงตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์แต่ไม่ได้รับการยอมรับจากมุอาวิยะฮ์ หลังจากนั้นสถานการณ์หลายอย่างบีบบังคับให้ฮะซันต้องยอมเจรจากับมุอาวิยะฮ์จนเกิดเป็นสนธิสัญญาฮะซัน-มุอาวิยะฮ์ เป็นอันสิ้นสุดฟิตนะฮ์ครั้งที่หนึ่ง ในสนธิสัญญานี้ฮะซันยอมสละตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้มุอาวิยะฮ์ แลกกับการประกันความปลอดภัยแก่มุสลิมและคืนตำแหน่งเคาะลีฟะฮ์ให้ทายาทของฮะซันหลังมุอะวิยะฮ์เสียชีวิต[11] มุอะวิยะฮ์เข้าพิธีแต่งตั้งเป็นเคาะลีฟะฮ์ที่เมืองเยรูซาเลมในปี ค.ศ. 661[12] เป็นการสิ้นสุดของรัฐเคาะลีฟะฮ์รอชิดูน และจุดเริ่มต้นของรัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Lecker 2012.
- ↑ 2.0 2.1 Gibbon 1906, pp. 98–99.
- ↑ Syed Muhammad Khan (21 May 2020). "Uthman". World History Encyclopedia. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ Madelung (1997, pp. 157, 158) . Rogerson (2006, pp. 289, 291)
- ↑ Donald P. Little (1 January 2020). "Mu'awiya's I". Britannica. สืบค้นเมื่อ 21 September 2023.
- ↑ Madelung (1997, pp. 238, 241) . Donner (2010, p. 161)
- ↑ Wellhausen 1901, pp. 17–18.
- ↑ Gaiser 2016, p. 48.
- ↑ Donner (2010, p. 163) . Wellhausen (1901, pp. 17–18) . Hazleton (2009, p. 145)
- ↑ Della Vida 1978, pp. 1074–1075.
- ↑ Momen (1985, p. 27) . Madelung (1997, p. 322)
- ↑ Avi-Yonah (2001)