หลักการอิสลาม
ส่วนหนึ่งของ |
ศาสนาอิสลาม |
---|
|
ห้าหลักการอิสลาม (อาหรับ: أركان الإسلام; หรือ أركان الدين "เสาหลักของศาสนา") เป็นกิจการพื้นฐานในศาสนาอิสลาม ผู้ศรัทธาถือว่าเป็นข้อบังคับ และเป็นการสร้างชีวิตแบบมุสลิม โดยกล่าวสรุปไว้ในฮะดีษของญิบรีล[1][2][3][4] ทั้งซุนนีและชีอะฮ์ยอมรับในเนื้อหาของการทำพิธีและฝึกฝนกิจการเหล่านี้[2][5][6] แต่ชีอะฮ์ไม่ได้เรียกชื่อเหมือนกับซุนนี (ดูฟุรูอุดดีนของชีอะฮ์สิบสองอิมามกับเสาหลักทั้งเจ็ดของอิสมาอีลียะฮ์) สิ่งเหล่านี้มีส่วนในชีวิตของมุสลิม, การขอพร, ห่วงใยผู้ที่ต้องการ, ชำระล้างบาปด้วยตนเอง และแสวงบุญ[7][8] ถ้าทำได้[9]
ชีอะฮ์
[แก้]ชีอะฮ์ได้อธิบายความเชื่อต่อหลักศรัทธาไว้สองลักษณะคือ อุซูลุดดีนและฟุรูอุดดีน อุซูลตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการศรัทธาส่วนฟุรูอ์ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการปฏิบัติ ความเชื่อในอุซูลนั้นถือเป็นเงื่อนไขในการยอมรับศาสนาและนิกาย ส่วนการปฏิบัติตามหลักฟุรูอ์นั้นไม่ถือเป็นเงื่อนไขจำเป็นในการเป็นมุสลิม หลักศรัทธา(อุซูล)ของสำนักคิดชีอะฮ์มีห้าประการซึ่ง สามประการแรกเป็นหลักศรัทธาของศาสนาอิสลามตามลำดับดังต่อไปนี้
- เตาฮีด คือความเป็นเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า
- นบูวัต คือการเป็นศาสดาของมุฮัมมัดบุตรของอับดุลลอฮ์ และบรรดาศาสดาอื่นๆของพระเจ้า
- มะอ๊าด คือวันหนึ่งทุกๆคนที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติจะถูกเรียกกลับไปยังพระเจ้าเพื่อสอบสวนถึงการกระทำต่างๆโดยพวกเขาจะได้รับรางวัลหรือถูกลงโทษและเรียกวันนั้นว่าวันสิ้นโลก(กิยามัต)
- อัดล์ ความยุติธรรม ความหมายคือทุกๆการปฏิบัติของพระเจ้านั้นดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ไม่ทรงกดขี่ผู้ใด และจะทรงจัดสรรทุกสิ่งในที่ของมัน พระองค์จะทรงปฏิบัติกับทุกสรรพสิ่งอย่างดีที่สุด
- อิมามัต ความหมายคือภายหลังจากท่านศาสดาของอิสลาม พระเจ้าทรงแต่งตั้ง สิบสองอิมามผู้บริสุทธ์ให้ได้รับตำแหน่งผู้ปกครอง
ฟุรูอุดดีนนั้นคือหลักปฏิบัติที่จำเป็นในอิสลามซึ่งมีสิบข้อดังต่อไปนี้
- นมาซ
- ศีลอด
- ฮัจญ์
- ซะกาต
- คุมซ์
- ญิฮาด
- อัมริบิ้ลมะอ์รูฟ
- นะฮ์อะนิลมุนกัร
- ตะวั้ลลา
- ตะบัรรอ
หลักการของอะฮ์ลิสซุนนะฮ์
[แก้]อะฮ์ลิสซุนนะฮ์ได้สรุปหลักการของอิสลามไว้ในหลักปฏิบัติห้าประการที่จำเป็นสำหรับมุสลิมทุกคนได้แก่
- ชะฮาดะตัยน์ คือการกล่าวสองคำปฏิญาณยอมรับ ในความเป็นเอกะของอัลลอฮ์(ลาอิลาฮะอิ้ลลั้ลลอ)และการเป็นศาสดาของมุฮัมมัด(มุฮัมมัดรอซูลุ้ลลอ)
- นมาซ
- ศีลอด
- ซะกาต
- ฮัจญ์
หลักการของอิสมาอีลียะฮ์
[แก้]อิสมาอีลีมีความศรัทธาในเจ็ดหลักการของอิสลามดังนี้
- อีมาน
- ฏอฮาเราะฮ์
- นมาซ
- ซะกาต
- ศิลอด
- ฮัจญ์
- ญิฮาด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Pillars of Islam". Encyclopædia Britannica Online. สืบค้นเมื่อ 2007-05-02.
- ↑ 2.0 2.1 "Pillars of Islam". Oxford Centre for Islamic Studies. United Kingdom: Oxford University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-11. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ "Five Pillars". United Kingdom: Public Broadcasting Service (PBS). สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ "The Five Pillars of Islam". Canada: University of Calgary. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ https://edition-m.cnn.com/2013/11/12/world/islam-fast-facts/index.html?r=https%3A%2F%2Fwww.google.com%2F&rm=1
- ↑ "The Five Pillars of Islam". United Kingdom: BBC. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ Hooker, Richard (July 14, 1999). "arkan ad-din the five pillars of religion". United States: Washington State University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-03. สืบค้นเมื่อ 2010-11-17.
- ↑ "Religions". The World Factbook. United States: Central Intelligence Agency. 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-25.
- ↑ ฮัจญ์
บรรณานุกรม
[แก้]หนังสือและวารสาร
[แก้]- Brockopp, Jonathan; Tamara Sonn; Jacob Neusner (2000). Judaism and Islam in Practice: A Sourcebook. Routledge. ISBN 0-415-21673-7.
- Farah, Caesar (1994). Islam: Beliefs and Observances (5th ed.). Barron's Educational Series. ISBN 978-0-8120-1853-0.
- Muhammad Hedayetullah (2006). Dynamics of Islam: An Exposition. Trafford Publishing. ISBN 978-1-55369-842-5.
- Khan, Arshad (2006). Islam 101: Principles and Practice. Khan Consulting and Publishing, LLC. ISBN 0-9772838-3-6.
- Kobeisy, Ahmed Nezar (2004). Counseling American Muslims: Understanding the Faith and Helping the People. Praeger Publishers. ISBN 978-0-313-32472-7.
- Momen, Moojan (1987). An Introduction to Shi'i Islam: The History and Doctrines of Twelver Shi'ism. Yale University Press. ISBN 978-0-300-03531-5.
- Levy, Reuben (1957). The Social Structure of Islam. UK: Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-09182-4.
- Muhammad Husayn Tabatabaei (2002). Islamic teachings: An Overview and a Glance at the Life of the Holy Prophet of Islam. R. Campbell (translator). Green Gold. ISBN 0-922817-00-6.
- Arthur Goldschmidt Jr. & Lawrence Davidson (2005). A Concise History of the Middle East (8th ed.). Westview Press. ISBN 978-0-8133-4275-7.
- Hoiberg, Dale; Indu Ramchandani (2000). Students' Britannica India. Encyclopædia Britannica (UK) Ltd. ISBN 978-0-85229-760-5.
- Ridgeon, Lloyd (2003). Major World Religions (1st ed.). RoutledgeCurzon. ISBN 978-0-415-29796-7.
สารานุกรม
[แก้]- P.J. Bearman; Th. Bianquis; C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam Online. Brill Academic Publishers. ISSN 1573-3912.
{{cite encyclopedia}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help) - Salamone Frank, บ.ก. (2004). Encyclopedia of Religious Rites, Rituals, and Festivals (1st ed.). Routledge. ISBN 978-0-415-94180-8 https://archive.org/details/encyclopediaofre00sala.
{{cite encyclopedia}}
:|title=
ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Tenets of Islam
- Pillars of Islam in Oxford Islamic Studies Online เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Pillars of Islam. A brief description of the Five Pillars of Islam.