ศาสนาฮินดู

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสนาฮินดู หรือในเอกสารภาษาไทยนิยมใช้คำว่า ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาหนึ่งในกลุ่มศาสนาอินเดีย และเป็นธรรมะหรือแนวทางการใช้ชีวิตของผู้คน[note 1] ที่เป็นที่นับถืออย่างแพร่หลายในอนุทวีปอินเดียและบางส่วนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะบนเกาะบาหลี เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[note 2] ศาสนิกชนและนักวิชาการบางกลุ่มเรียกศาสนาฮินดูว่าเป็น "สนาตนธรรม" หรือหนทางนิรันดร์ชั่วประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ[4][5] นักวิชาการมักมองศาสนาฮินดูว่าเป็นการผสมผสานของ[note 3] หรือสังเคราะห์มาจาก[6][note 4] วัฒนธรรม จารีต และประเพณีอันหลากหลายในอนุทวีปอินเดีย[7][note 5] ที่มีรากฐานหลากหลาย[8][note 6] และไม่มีศาสดาหรือผู้ริเริ่มตั้งศาสนา[9] แต่ผู้เผยแผ่คำภีร์พระเวท ยุคแรกเริ่มคือ ฤๅษีวยาส ท่านเปรียบเสมือนเป็นศาสดาคนหนึ่ง[10] "การสังเคราะห์ศาสนาฮินดู" (Hindu synthesis) นี้เริ่มมีขึ้นระหว่างราว 500 ปีก่อนคริสตกาล ถึงคริสต์ศักราช 300[11] ภายหลังการสิ้นสุดลงของยุคพระเวท (1500 ถึง 500 ก่อนคริสตกาล),[11][12] และเจริญรุ่งเรืองในอินเดียสมัยกลางไปพร้อมกับการเสื่อมของศาสนาพุทธในอนุทวีปอินเดีย[13]

ถึงแม้ว่าศาสนาฮินดูจะเต็มไปด้วยปรัชญาหลายแขนง แต่ก็สามารถเชื่อมโยงถึงกันผ่านแนวคิดที่มีร่วมกัน, พิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน, จักรวาลวิทยาฮินดู, คัมภีร์ฮินดู และ สถานที่แสวงบุญ ส่วนคัมภีร์ของศาสนาฮินดูนั้นจำแนกออกเป็น ศรุติ (จากการฟัง) และ สมรติ (จากการจำ) คัมภีร์เหล่านี้มีทั้งปรัชญาฮินดู, ประมวลเรื่องปรัมปราฮินดู, พระเวท, โยคะ, พิธีกรรม, อาคม และการสร้างโบสถ์พราหมณ์ เป็นต้น[14] คัมภีร์เล่มสำคัญได้แก่ พระเวท, อุปนิษัท, ภควัทคีตา, รามายณะ และ อาคม[15][16] ที่มา ผู้ประพันธ์ และความจริงนิรันดร์ในคัมภีร์เหล่านี้ล้วนมีบทบาทสำคัญ แต่ศาสนาฮินดูก็มีแนวคิดหลักสำคัญที่สนับสนุนการตั้งคำถามต่อที่มาและเนื้อความของคัมภีร์เพื่อให้เข้าใจสัจธรรมต่าง ๆ ได้อย่างลึกซึ้ง และสร้างประเพณีหรือแนวคิดต่อยอดในอนาคต[17]

สาระสำคัญในศาสนาฮินดูคือ "ปุรุษารถะ" ทั้งสี่ อันเป็นจุดมุ่งหมายอันสมควรในชีวิตของมุนษย์ ได้แก่ ธรรมะ (หน้าที่/จริยธรรม), อรรถะ (การเจริญเติบโต/หน้าที่การงาน), กามะ (ประสงค์/แรงจูงใจ) และ โมกษะ (การหลุดพ้น/การเป็นอิสระจากการเวียนว่ายตายเกิด)[18][19] นอกจากนี้ แนวคิดสำคัญอื่น ๆ ที่พบในศาสนาฮินดูยังรวมถึง กรรม (การกระทำ/ผลของการกระทำ), สังสารวัฏ (วงจรเวียนว่ายตายเกิด) และ การปฏิบัติโยคะ (หนทางสู่โมกษะ) ที่มีอยู่หลากหลายปรัชญา[16][20] การปฏิบัติในศาสนาฮินดู มีทั้ง ปูชา (การบูชา), การสวดมนต์และร้องเพลงสวด, ชปะ, การปฏิบัติสมาธิ, สังสการ (พิธีกรรมเปลี่ยนผ่าน), เทศกาลประจำปีและการออกเดินทางแสวงบุญตามโอกาส ศาสนิกชนบางส่วนละทิ้งชีวิตทางโลกและการยึดติดกับวัตถุ เพื่ออกสู่สันยาสะ (ถือพรต/ออกบวช) เพื่อเข้าสู่โมกษะ[21] ศาสนาฮินดูยังเน้นย้ำถึงหน้าที่ตลอดกาล เช่น ความกตัญญู ซื่อสัตย์, ไม่ทำร้ายสัตว์และผู้คน (อหิงสา), การใจเย็น, ความอดทนอดกลั้น, การข่มใจตนเอง และความเมตตา[web 1][22] นิกายในศาสนาฮินดูหลักมี 4 นิกาย คือ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และลัทธิสมารตะ[23]

ศาสนาฮินดูถือเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากที่สุดในโลกเป็นอันดับที่ 3 มีศาสนิกชนซึ่งเรียกว่า ชาวฮินดู อยู่ราว 1.15 พันล้านคน หรือ 15-16% ของประชากรโลก[web 2][24] ศาสนาฮินดูมีผู้นับถือมากที่สุดในอินเดีย, เนปาล และ มอริเชียส นอกจากนี้ยังเป็นศาสนาหลักในจังหวัดบาหลี อินโดนีเซียเช่นกัน[25] ชุมชนฮินดูขนาดใหญ่ยังพบได้ในแคริบเบียน, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, อเมริกาเหนือ, ยุโรป, แอฟริกา และประเทศอื่น ๆ[26][27]

ความเชื่อ[แก้]

พระตรีมูรติจำหลัก ประกอบด้วย พระวิษณุ, พระศิวะ และ พระพรหม

สาระสำคัญในศาสนาฮินดูมันวนเวียนอยู่กับประเด็นของธรรมะ, สังสาระ, โมกษะ และการปฏิบัติโยคะ[20]

ปุรุษารถะ[แก้]

ศาสนาฮินดูดั้งเดิมเชื่อว่าจุดมุ่งหมายในชีวิตของมนุษย์มีอยู่สี่ประการ ได้แก่ ธรรมะ, อรรถะ, กามะ และ โมกษะ เป้าหมายทั้งสี่นี่เรียกรวมว่า "ปุรุษารถะ"[18][19]

ธรรมะ (ทางที่ถูกต้อง/จริยะ)[แก้]

ธรรมะถือเป็นจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนที่สุดในศาสนาฮินดู[28] แนวคิดของธรรมะนั้นรวมถึงพฤติกรรมที่ถือว่าสอดคล้องไปกับรตะ หนทางที่ทำให้ทั้งชีวิตและจักรวาลคงอยู่ได้[29] และยังรวมถึงหน้าที่, สิทธิ, กฎระเบียบ, สัจธรรม และ "การใช้ชีวิตอย่างถูกทาง"[30] ธรรมะฮินดูประกอบด้วยหน้าที่ทางศาสนา, จริยธรรมและคุณธรรม และหน้าที่ของแต่ละบุคคล รวมถึงการปฏิบัติตนและนิสัยที่นำไปสู่ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของสังคม[30] Van Buitenen ได้เคยกล่าวว่า[31] ธรรมะนั้นเป็นสิ่งที่สิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่มีอยู่จะต้องยอมรับและเคารพเพื่อยังผลให้เกิดการรักษาความสามัคคีและความสงบเรียบร้อยในโลก เป็นการแสวงหาและการดำเนินการตามธรรมชาติและการเรียกหาที่แท้จริง อันมีบทบาทในการปรองดองโดยทั่วกัน[31] ส่วน Brihadaranyaka Upanishad ได้ระบุว่าธรรมะคือ

ไม่มีสิ่งใดเหนือยิ่งกว่าธรรมะ ผู้ที่อ่อนแอจะเอาชนะผู้ที่แข็งแกร่งกว่าได้ก็ด้วยธรรมะ ธรรมะนั้นคือความจริง (สัตยะ) อย่างแท้จริง ดังนั้นเมื่อผู้ใดพูดความจริง เป็นอันเรียกได้ว่าเขาผู้นั้น "ได้เปล่งวาจาของธรรมะ!" เพราะทั้งคู่ (ความจริง และ ธรรมะ) เป็นคำที่มีความหมายเดียวกัน

พระกฤษณะ ในมหาภารตะ ได้ทรงนิยามธรรมว่าเป็น การสนับสนุนความจริงทั้งในโลกนี้และโลกอื่น (Mbh 12.110.11) คำว่า "สนาตนะ" แปลว่า "นิรันดร์" ดังนั้น "สนาตนธรรม" จึงแปลว่า "ความจริงอันเป็นนิรันดร์" ไม่มีจุดเริ่มต้น และไม่มีที่สิ้นสุด[34]

อรรถ[แก้]

อรรถะ หรือ อารถะ คือ การแสวงหาความมั่งคั่งอย่างมีเป้าหมายและมีคุณธรรม เพื่อการดำรงชีวิต ภาระผูกพัน และความมั่งคั่งทางทรัพย์สิน อรรถะยังรวมถึงชีวิตทางการเมือง การทูต และการมีความเป็นอยู่ที่ดี แนวคิดนี้รวมถึง "วิถีชีวิตทุกมุมของชีวิต" กิจกรรมและทรัพยากรทั้งหมดที่ช่วยให้คนหนึ่งสามารถมีความมั่งคงทางอาชีพการงานและทางการเงิน[35] การแสวงหาอรรถะอย่างพอเหมาะพอควรถือเป็นเป้าหมายสำคัญของชีวิตมนุษย์ในศาสนาฮินดู[36][37]

กามะ[แก้]

กาม แปลว่า ความปรารถนา, ความรัก, ชอบ, หลงใหล ทั้งมีและปราศจากความคิดเชิงชู้สาวและอารมณ์ทางเพศ และหมายถึงความสุข ความยินดี อันเกิดจากสัมผัสต่าง ๆ ของร่างกาย[38][39] ในศาสนาฮินดู กามะถือเป็นส่วนจำเป็นที่ช่วยให้ชีวิตคงอยู่ได้อย่างแข็งแรง ทั้งนี้ทั้งนั้นยังต้องอยู่ภายใต้การนำพาของธรรมะ, อรรถะ และโมกษะ[40]

โมกษะ[แก้]

โมกษะ หรือ มุขติ ถือเป็นเป้าหมายสูงที่สุดในศาสนาฮินดู โมกษะอาจหมายถึงการหลุดพ้นจากความทุกข์ และจากสังสาระ (การเวียนว่ายตายเกิด)[41][42] ในนิกายอื่น ๆ ของศาสนาฮินดูเช่น Monistic ถือว่าโมกษะเป็นเป้าหมายที่เข้าถึงได้ในชาติปัจจุบัน เป็นสถานะของความสุขผ่านการรับรู้ตนเอง การเข้าใจธรรมชาติของจิตวิญญาณของเสรีภาพและ "ตระหนักว่าจักรวาลทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของตน"[43][44]

กรรม[แก้]

โมกษะ[แก้]

เป้าหมายสูงสุดของชีวิตเรียกว่า "โมกษะ", "นิรวานะ" หรือ "สมาธิ" เป็นที่เข้าใจกันอยู่หลายแบบ: การเข้าเป็นหนึ่งเดียวกับพระเป็นเจ้า, การเข้าสู่ความสัมพันธ์นิรันดร์กับพระเจ้า, การเป็นหนึ่งเดียวกับจักรวาล, การละทิ้งความเห็นแก่ตัวจนสิ้น, การหลุดพ้นจากสังสาระ ซึ่งคือการไม่เกิดอีก การไม่ทุกข์อีก[45][46]

แนวคิดเรื่องพระเป็นเจ้า[แก้]

มูรติของพระราม, พระลักษมณ์ และ พระสีดา ในขบวนแห่

ศาสนาฮินดูนั้นมีหลายความเชื่อ มีตั้งแต่ เอกเทวนิยม, พหุเทวนิยม, สรรพันตรเทวนิยม, สรรพเทวนิยม, ไปจนถึง อเทวนิยม[47][48][web 3]

นิกายหลัก[แก้]

ศาสนาฮินดูไม่มีหลักคำสอนหลักกลาง ในขณะเดียวกันชาวฮินดูเองจำนวนมากก็ไม่ได้อ้างว่าเป็นของนิกายหรือประเพณีใด ๆ[49] อย่างไรก็ตาม ในงานศึกษาเชิงวิชาการนิยมแบ่งออกเป็น 4 นิกายหลัก ได้แก่ ลัทธิไวษณพ, ลัทธิไศวะ, ลัทธิศักติ และ ลัทธิสมารตะ[50][51] นิกายต่าง ๆ นี้แตกต่างกันหลัก ๆ ที่เทพเจ้าองค์กลางที่บูชา, ธรรมเนียมและมุมมองต่อการหลุดพ้น[52] Julius J. Lipner ได้ระบุไว้ว่าการแบ่งนิกายของศาสนาฮินดูนั้นแตกต่างจากในศาสนาหลักอื่น ๆ ของโลก เพราะนิกายของศาสนาฮินดูนั้นคลุมเครือกับการฝึกฝนของบุคคลมากกว่า เป็นที่มาของคำว่า "Hindu polycentrism" (หลากหลายนิยมฮินดู, ฮินดูตามท้องถิ่น)[53]

ปัญจเทวะ คือเทพเจ้าทั้ง 5 ที่ได้รับการบูชาพร้อมกันในลัทธิสมารตะ

ลัทธิไวษณพ บูชาพระวิษณุ[54] และปางอวตารของพระองค์ โดยเฉพาะ พระกฤษณะ และ พระราม[55] ลักษณะของนิกายนี้โดยทั่วไป ไม่ใช่ลักษณะนักพรตติดอาราม แต่มุ่งเน้นไปที่กิจกรรมชุมชนและการปฏิบัติที่นับถือศรัทธา ความรักสนุกนี้มีที่มาจากการสื่อนัย ๆ ถึงลักษณะอัน "ขี้เล่น ร่าเริง และสนุกสนาน" ของพระกฤษณะรวมถึงอวตารองค์อื่น ๆ[52] พิธีกรรมและการปฏิบัติจึงมักเต็มไปด้วยการระบำในชุมชน, ขับร้องดนตรี ทั้ง กีรตัน (Kirtan) และ ภชัน (Bhajan) โดยเชื่อกันว่าเสียงและดนตรีเหล่านี้จะมีพลังในการช่วยทำสมาธิและมีพลังอำนาจเชิงความเชื่อ[56] การเฉลิมฉลองและพิธีกรรมในศาสนสถานของไวษณพมักมีความประณีต ละเอียดลออ[57] ส่วนรากฐานเชิงศาสนศาสตร์ของไวษณพนั้นมาจากภควัทคีตา, รามายณะ และปุราณะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระวิษณุ[58]

ลัทธิไศวะ มุ่งเน้นที่พระศิวะ ศาสนิกชนไศวะมีแนวโน้มไปทางปัจเจกพรตนิยม (ascetic individualism) และแตกออกเป็นนิกายแยกย่อยได้อีก[52] แนวทางปฏิบัติของไศวะรวมถึงการศรัทธาแบบภักติ แต่ความเชื่อโน้มเอียงมาทางนิกายแบบ nondual, monistic อย่าง Advaita และ ราชโยคะ[50][56] ไศวะมีทั้งกลุ่มที่นิยมบูชาในศาสนสถาน บางส่วนก็มุ่งเน้นที่การปฏิบัติโยคะ ทั้งหมดเพื่อพยายามเข้าเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับพระศิวะทั้งสิ้น[59] ลักษณะขององค์อวตารนั้นไม่ค่อยพบ และไศวะบางกลุ่มมองพระเป็นเจ้าในลักษณะของครึ่งบุรุษ-ครึ่งสตรี (อรธนารีศวร) ไศวะนั้นมีความเกี่ยวพันกับศักติ โดยมักมองว่าองค์ศักติเป็น พระชายาของพระศิวะ[50] การเฉลิมฉลองประกอบด้วยเทศกาลต่าง ๆ และการมีส่วนร่วมในศาสนพิธีและเดินทางไปแสวงบุญยังสถานที่แสวงบุญเช่น Kumbh Mela ร่วมกับไวษณพ[60] ลัทธิไศวะพบได้ทั่วไปในแถบหิมาลัย ตั้งแต่กัศมีร์จนถึงเนปาล และในอินเดียใต้[61]

ลัทธิศักติ บูชาเทวีหรือศักติเป็นพระมารดาของจักรวาล[52] พบมากเปนพิเศษในรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือและตะวันออกของอินเดีย เช่น รัฐอัสสัม และเบงกอลตะวันตก เทวีที่บูชานั้นมีรูปลักษณ์ตั้งแต่พระแม่ปราวตี ซึ่งทรงอ่อนโยนไปจนถึงองค์ที่มีพระลักษณะดุดันเช่น พระแม่ทุรคา และ พระแม่กาลี ศาสนิกชนเชื่อว่าศักติเป็นพลังอำนาจที่คอยรองรับความเป็นบุรุษ ระเบียบการปฏิบัติของศักติเกี่ยวข้องกับแนวทางแบบตันตระ[62] การเฉลิมฉลองมีทั้งเทศกาล ซึ่งบางส่วนมีพิธีกรรมที่นำเทวรูปดินเหนียวแช่ลงให้ละลายไปในแม่น้ำ[63]

ลัทธิสมารตะ บูชาเทพเจ้าฮินดูองค์หลัก ๆ ไปพร้อม ๆ กัน ได้แก่ พระศิวะ, พระวิษณุ, องค์ศักติ, พระคเนศ, พระสุริยะ และ พระการติเกยะ[64] ธรรมเนียมแบบสมารตะนั้นเกิดขึ้นราวหลังยุคคาสสิกของฮินดูตอนต้น ราวเริ่มต้นคริสตกาล หลังศาสนาฮินดูเริ่มรวมเข้ากับการปฏิบัติแบบพราหมณ์และความเชื่อพื้นเมือง[65][66]

ประวัติ[แก้]

ศาสนาพราหมณ์มีวิธีวัฒนาการทางประวัติศาสตร์อันยาวนาน นับตั้งแต่การเริ่มตั้งถิ่นฐานของชาวอารยันเริ่มตั้งถิ่นฐานในชมพูทวีป ต่อมาในสมัยหลังพุทธกาลศาสนาพราหมณ์ได้วิวัฒนาการมาเป็นศาสนาฮินดูหรือพราหมณ์ใหม่ ซึ่งมีหลักคำสอนที่ผิดแผกแตกต่างจากต้นกำเนิดเดิมของศาสนานี้ จึงนับว่าศาสนาพราหมณ์เป็นศาสนาที่มีอายุยาวนานที่สุดของโลกศาสนาหนึ่ง ศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเป็นศาสนาที่แตกต่างจากศาสนาอื่นในโลกเพราะเป็นศาสนาที่ไม่มีศาสดาผู้ก่อตั้ง เพราะมีจุดเริ่มต้นมาจากความเชื่อว่ามีเทพเจ้าผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติ เป็นผู้สร้างสรรพสิ่ง ต่อมาชาวอารยันผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับเทพเจ้า ได้สอนหลักการเรื่องกำเนิดของสรรพสิ่งว่า เทพเจ้าหรือพระพรหม เป็นผู้สร้างสรรพสิ่งในลักษณะต่างๆ ต่อมาสรรพสิ่งที่พระพรหมสร้างก็ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของเทพเจ้าองค์อื่นๆ ด้วย ทำให้มีเทพเจ้ามากมายและทำหน้าที่ต่างๆกันในที่สุด ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูจึงกลายมาเป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยมในปัจจุบัน เนื่องจาก ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลาอันยาวนาน ทำให้แนวความคิดทางศาสนาแตกต่างกันออกไปมาก ดังนั้น การศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยแบงออกเป็นยุคต่างๆ ยุคอริยกะหรืออารยัน ยุคพระเวท ยุคพราหมณะ ยุคฮินดูเก่า(ฮินดูแท้) และอุปนิษัท สมัยสูตร สมัยอวตาร สมัยเสื่อม สมัยฟื้นฟู และสมัยภักติ สรุปได้ว่า ศาสนาพราหมณ์เริ่มต้นจากลัทธิประจำเผ่าพัฒนามาเป็นศาสนาประจำเผ่าอารยัน ซึ่งอพยพมารบชนะชาวเผ่าพื้นเมืองที่เรียกว่า ทราวิฑ หรือมิลักขะได้ขับไล่พวกชนเผ่าเจ้าของดินแดนเดิมออกไปอยู่ทางใต้ของอินเดีย(รัฐทมิฬนาฑู)และบางส่วนหนีข้ามฝากไปยังศรีลังกา เกิดเป็นตำนานมหากาพย์สงครามระหว่าง 2 เผ่าพันธุ์ในเรื่อง รามายณะซึ่งแต่งโดยฤๅษีวาลมีกิ พระราม (ชาวอารยัน)หรืออริยกะ ได้ทำสงครามรบกับชนพื้นเมืองเดิม(มิลักขะ)ยักษ์หรือ (ทศกัณฐ์) แล้วตั้งถิ่นฐานที่อยู่ครอบครองลุ่มแม่น้ำสินธุและแม่น้ำคงคา ได้ผสมผสานความเชื่อของท้องถิ่นให้เข้ากับความเชื่อของตน ทำให้เกิดแนวความคิดเรื่องวรรณะ โดยมีความเชื่อที่ว่าพระพรหมเป็นผู้สร้างมนุษย์ในวรรณะต่างๆ จากอวัยวะแต่ละส่วนของพระองค์ เช่น พราหมณ์เกิดจากโอษฐ์ กษัตริย์เกิดจากอก แพศย์เกิดจากตัก และศูทรเกิดจากเท้า ชาวอินเดียจะยึดถือวรรณะกันมาก ถ้าใครแต่งงานข้ามวรรณะกันลูกก็จะกลายเป็นจัณฑาล ในยุคโบราณ เมื่อพวกอริยะชนะสงคราม จึงใช้ศาสนาพราหมณ์เป็นเครื่องมือในการแบ่งวรรณะเป็น 4 วรรณะ เพื่อให้ง่ายต่อการปกครอง ต่อมาในยุคพระเวทเป็นยุคที่มีพัฒนาการการนับถือพระเจ้าให้มีระเบียบแบบแผนมากยิ่งขึ้น จนกระทั่งเกิดการรวบรวมบทสวดอ้อนวอนพระเจ้าต่างๆ เรียกว่าคัมภีร์พระเวท ในยุคพราหมณะเป็นยุคที่วรรณะพราหมณ์มีอำนาจสูงสุด เพราะเป็นผู้ผูกขาดการทำพิธีกรรมต่างๆมีการแต่งคัมภีร์พระเวทขึ้นอีกหนึ่งคัมภีร์คือ อาถรรพเวท และคัมภีร์อุปนิษัทซึ่งเป็นรากฐานของแนวคิดทางปรัชญามีความสุขุมลุ่มลึกยิ่งขึ้นมากกว่าเดิม เป็นยุคที่มีการแข่งขันกันระหว่างศาสนา คือเกิดศาสนาใหม่ คือ ศาสนาเชนและศาสนาพุทธ จนทำให้ศาสนาพราหมณ์ต้องปรับกระบวนการในการสอนศาสนาใหม่จนต้องเรียกตนเองใหม่ว่า ศาสนาฮินดู

คัมภีร์[แก้]

คัมภีร์พระเวท เดิมมี 3 คัมภีร์ เรียกว่า "ไตรเวท" โดยประกอบไปด้วย

  1. ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย บรรดาเทพเจ้าที่ปรากฏในฤคเวทสัมหิตามีจำนวน 33 องค์ ทั้ง 33 องค์ ได้จัดแบ่งตามลักษณะของที่อยู่เป็น 3 กลุ่ม คือ เทพเจ้าที่อยู่ในสวรรค์ เทพเจ้าที่อยู่ในอากาศ และเทพเจ้าที่อยู่ในโลกมนุษย์ มีจำนวนกลุ่มละ 11 องค์
  2. ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยสูตรสำหรับใช้ในการประกอบยัญพิธียชุเวทสัมหิตา แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ
    1. ศุกลชุรเวท หรือ ยชุรเวทขาว ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์ หรือคำสวดและสูตรที่ต้องสวด
    2. กฤษณยชุรเวท หรือ ยชุรเวทดำ ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบยัญพิธีบวงสรวง ตลอดทั้งคำอธิบายในการประกอบพิธีอีกด้วย
  3. สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท ในจำนวนนี้มีเพียง 75 บท ที่มิได้ปรากฏในฤคเวท

ต่อมาได้เพิ่ม อรรถเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่าง ๆ

หลักปฏิบัติ[แก้]

อาศรม หรือ อาศรม 4 หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์วัยต่าง ๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการไว้ชีวิตไว้ 4 ตอน ตอนละ 25 ปี ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม (วัย) อาศรมทั้ง 4 ช่วง มีดังนี้

  1. พรหมจรยอาศรม เริ่มตั้งแต่อายุ 8-15 ปี ผู้เข้าสู่อาศรมนี้เรียกว่า พรหมจารี
  2. คฤหัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ 15-40 ปี
  3. วานปรัสถาศรม อยู่ในช่วงอายุ 40-60 ปี
  4. สันยัสตาศรม อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป สำหรับผู้ปรารถนาความหลุดพ้น (โมกษะ) จะออกบวชเป็น "สันยาสี" เมื่อบวชแล้วจะสึกไม่ได้

จุดมุ่งหมายสูงสุด[แก้]

โมกษะ การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด เช่นเดียวกับศาสนาพุทธ ถือว่าเป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอนของศาสนาฮินดูสอนว่า "ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสาระการเวียนว่าย ตาย เกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีก"

ศาสนสถาน[แก้]

เชิงอรรถ[แก้]

  1. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ definition
  2. See:
    • Fowler: "probably the oldest religion in the world" (Fowler 1997, p. 1)
    • Klostermaier: The "oldest living major religion" in the world (Klostermaier 2007, p. 1)
    • Kurien: "There are almost a billion Hindus living on Earth. They practice the world's oldest religion..." [1]
    • Bakker: "it [Hinduism] is the oldest religion".[2]
    • Noble: "Hinduism, the world's oldest surviving religion, continues to provide the framework for daily life in much of South Asia."[3]
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Lockard
  4. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Hiltebeitel-synthesis
  5. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ fusion
  6. Among its roots are the Vedic religion of the late Vedic period (Flood 1996, p. 16) and its emphasis on the status of Brahmans (Samuel 2010, pp. 48–53), but also the religions of the Indus Valley Civilisation (Narayanan 2009, p. 11; Lockard 2007, p. 52; Hiltebeitel 2007, p. 3; Jones & Ryan 2006, p. xviii) the Sramana or renouncer traditions of north-east India (Flood 1996, p. 16; Gomez 2013, p. 42), with possible roots in a non-Vedic Indo-European culture (Brokhorst 2007), and "popular or local traditions" (Flood 1996, p. 16).

อ้างอิง[แก้]

  1. Kurien, Prema (2006). "Multiculturalism and American Religion: The Case of Hindu Indian Americans". Social Forces. 85 (2): 723–741. doi:10.1353/sof.2007.0015.
  2. Bakker, F.L. (1997). "Balinese Hinduism and the Indonesian State: Recent Developments". Bijdragen Tot de Taal-, Land- en Volkenkunde. Deel 153, 1ste Afl. (1): 15–41. doi:10.1163/22134379-90003943. JSTOR 27864809.
  3. Noble, Allen (1998). "South Asian Sacred Places". Journal of Cultural Geography. 17 (2): 1–3. doi:10.1080/08873639809478317.
  4. Knott 1998, pp. 5, Quote: "Many describe Hinduism as sanatana dharma, the eternal tradition or religion. This refers to the idea that its origins lie beyond human history".
  5. Bowker 2000; Harvey 2001, p. xiii;
  6. Samuel 2010, p. 193.
  7. Hiltebeitel 2007, p. 12; Flood 1996, p. 16; Lockard 2007, p. 50
  8. Narayanan 2009, p. 11.
  9. Fowler 1997, pp. 1, 7.
  10. พระบูรพมหาพฤฒาจารย์-พระมหาฤษีวยาสะ (กฤษณะ ไทวปายนะ วยาส)
  11. 11.0 11.1 Hiltebeitel 2007, p. 12.
  12. Larson 2009.
  13. Larson 1995, p. 109-111.
  14. Michaels 2004.
  15. Zaehner, R. C. (1992). Hindu Scriptures. Penguin Random House. pp. 1–7. ISBN 978-0679410782.
  16. 16.0 16.1 Klostermaier, Klaus (2007). A Survey of Hinduism (3rd ed.). State University of New York Press. pp. 46–52, 76–77. ISBN 978-0791470824.
  17. Frazier, Jessica (2011). The Continuum companion to Hindu studies. London: Continuum. pp. 1–15. ISBN 978-0-8264-9966-0.
  18. 18.0 18.1 Bilimoria; และคณะ, บ.ก. (2007). Indian Ethics: Classical Traditions and Contemporary Challenges. p. 103. See also Koller, John (1968). "Puruṣārtha as Human Aims". Philosophy East and West. 18 (4): 315–319. doi:10.2307/1398408. JSTOR 1398408.
  19. 19.0 19.1 Flood, Gavin (1997). "The Meaning and Context of the Puruṣārthas". ใน Lipner, Julius J. (บ.ก.). The Bhagavadgītā for Our Times. Oxford University Press. pp. 11–27. ISBN 978-0195650396.
  20. 20.0 20.1 Brodd 2003.
  21. Herbert Ellinger (1996). Hinduism. Bloomsbury Academic. pp. 69–70. ISBN 978-1-56338-161-4.
  22. Dharma, Samanya; Kane, P. V. History of Dharmasastra. Vol. 2. pp. 4–5. See also Widgery, Alban (1930). "The Priniciples of Hindu Ethics". International Journal of Ethics. 40 (2): 232–245. doi:10.1086/intejethi.40.2.2377977.
  23. Julius J. Lipner (2009), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7, pages 377, 398
  24. "Christianity 2015: Religious Diversity and Personal Contact" (PDF). gordonconwell.edu. January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-05-25. สืบค้นเมื่อ 29 May 2015.
  25. "Peringatan". sp2010.bps.go.id.
  26. Vertovec, Steven (2013). The Hindu Diaspora: Comparative Patterns. Routledge. pp. 1–4, 7–8, 63–64, 87–88, 141–143. ISBN 978-1-136-36705-2.
  27. "Hindus". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 18 December 2012. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.;
    "Table: Religious Composition by Country, in Numbers (2010)". Pew Research Center's Religion & Public Life Project. 18 December 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 February 2013. สืบค้นเมื่อ 14 February 2015.
  28. Gavin Flood (1996), The meaning and context of the Purusarthas, in Julius Lipner (Editor) – The Fruits of Our Desiring, ISBN 978-1896209302, pp 16–21
  29. The Oxford Dictionary of World Religions, Dharma, The Oxford Dictionary of World Religions: "In Hinduism, dharma is a fundamental concept, referring to the order and custom which make life and a universe possible, and thus to the behaviours appropriate to the maintenance of that order."
  30. 30.0 30.1 Dharma, The Columbia Encyclopedia, 6th Ed. (2013), Columbia University Press, Gale, ISBN 978-0787650155
  31. 31.0 31.1 J. A. B. Van Buitenen, Dharma and Moksa, Philosophy East and West, Vol. 7, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1957), pp 33–40
  32. Charles Johnston, The Mukhya Upanishads: Books of Hidden Wisdom, Kshetra, ISBN 978-1495946530, page 481, for discussion: pages 478–505
  33. Paul Horsch (Translated by Jarrod Whitaker), From Creation Myth to World Law: The early history of Dharma, Journal of Indian Philosophy, Vol 32, pages 423–448, (2004)
  34. Swami Prabhupādā, A. C. Bhaktivedanta (1986), Bhagavad-gītā as it is, The Bhaktivedanta Book Trust, p. 16, ISBN 9780892132683
  35. John Koller, Puruṣārtha as Human Aims, Philosophy East and West, Vol. 18, No. 4 (Oct. 1968), pp. 315–319
  36. James Lochtefeld (2002), The Illustrated Encyclopedia of Hinduism, Rosen Publishing, New York, ISBN 0-8239-2287-1, pp 55–56
  37. Bruce Sullivan (1997), Historical Dictionary of Hinduism, ISBN 978-0810833272, pp 29–30
  38. Macy, Joanna (1975). "The Dialectics of Desire". Numen. 22 (2): 145–60. doi:10.2307/3269765. JSTOR 3269765.
  39. Monier Williams, काम, kāma Monier-Williams Sanskrit English Dictionary, pp 271, see 3rd column
  40. See:
    • The Hindu Kama Shastra Society (1925), The Kama Sutra of Vatsyayana, University of Toronto Archives, pp. 8;
    • A. Sharma (1982), The Puruṣārthas: a study in Hindu axiology, Michigan State University, ISBN 9789993624318, pp 9–12; See review by Frank Whaling in Numen, Vol. 31, 1 (Jul. 1984), pp. 140–142;
    • A. Sharma (1999), The Puruṣārthas: An Axiological Exploration of Hinduism, The Journal of Religious Ethics, Vol. 27, No. 2 (Summer, 1999), pp. 223–256;
    • Chris Bartley (2001), Encyclopedia of Asian Philosophy, Editor: Oliver Learman, ISBN 0-415-17281-0, Routledge, Article on Purushartha, pp 443
  41. R.C. Mishra, Moksha and the Hindu Worldview, Psychology & Developing Societies, Vol. 25, Issue 1, pp 23, 27
  42. J. A. B. Van Buitenen, Dharma and Moksa, Philosophy East and West, Vol. 7, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1957), pp. 33–40
  43. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ E. Deutsch pp 343-360
  44. see:
    • Karl Potter, Dharma and Mokṣa from a Conversational Point of View, Philosophy East and West, Vol. 8, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1958), pp. 49–63
    • Daniel H. H. Ingalls, Dharma and Moksha, Philosophy East and West, Vol. 7, No. 1/2 (Apr. – Jul. 1957), pp. 41–48;
    • Klaus Klostermaier, Mokṣa and Critical Theory, Philosophy East and West, Vol. 35, No. 1 (Jan. 1985), pp. 61–71
  45. Rinehart 2004, pp. 19–21
  46. J. Bruce Long (1980), The concepts of human action and rebirth in the Mahabharata, in Wendy D. O'Flaherty, Karma and Rebirth in Classical Indian Traditions, University of California Press, ISBN 978-0520039230, Chapter 2
  47. Julius J. Lipner (2010), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7, page 8; Quote: "[...] one need not be religious in the minimal sense described to be accepted as a Hindu by Hindus, or describe oneself perfectly validly as Hindu. One may be polytheistic or monotheistic, monistic or pantheistic, even an agnostic, humanist or atheist, and still be considered a Hindu."
  48. Chakravarti, Sitansu (1991), Hinduism, a way of life, Motilal Banarsidass Publ., p. 71, ISBN 978-81-208-0899-7
  49. Werner 2005, pp. 13, 45
  50. 50.0 50.1 50.2 Lance Nelson (2007), An Introductory Dictionary of Theology and Religious Studies (Editors: Orlando O. Espín, James B. Nickoloff), Liturgical Press, ISBN 978-0814658567, pages 562–563
  51. Flood 1996, p. 113, 134, 155–161, 167–168.
  52. 52.0 52.1 52.2 52.3 SS Kumar (2010), Bhakti – the Yoga of Love, LIT Verlag Münster, ISBN 978-3643501301, pages 35–36
  53. Julius J. Lipner (2009), Hindus: Their Religious Beliefs and Practices, 2nd Edition, Routledge, ISBN 978-0-415-45677-7, pages 371–375
  54. sometimes with Lakshmi, the spouse of Vishnu; or, as Narayana and Sri; see: Guy Beck (2006), Alternative Krishnas: Regional and Vernacular Variations on a Hindu Deity, State University of New York Press, ISBN 978-0791464168, page 65 and Chapter 5
  55. Edwin Francis Bryant; Maria Ekstrand (2013). The Hare Krishna Movement: The Postcharismatic Fate of a Religious Transplant. Columbia University Press. pp. 15–17. ISBN 978-0231508438.
  56. 56.0 56.1 Edwin Bryant and Maria Ekstrand (2004), The Hare Krishna Movement, Columbia University Press, ISBN 978-0231122566, pages 38–43
  57. Bruno Nettl; Ruth M. Stone; James Porter; Timothy Rice (1998). The Garland Encyclopedia of World Music: South Asia : the Indian subcontinent. Routledge. pp. 246–247. ISBN 978-0824049461.
  58. Lance Nelson (2007), An Introductory Dictionary of Theology and Religious Studies (Editors: Orlando O. Espín, James B. Nickoloff), Liturgical Press, ISBN 978-0814658567, pages 1441, 376
  59. Roshen Dalal (2010). The Religions of India: A Concise Guide to Nine Major Faiths. Penguin Books. p. 209. ISBN 978-0-14-341517-6.
  60. James Lochtefeld (2010), God's Gateway: Identity and Meaning in a Hindu Pilgrimage Place, Oxford University Press, ISBN 978-0195386141
  61. Natalia Isaeva (1995), From Early Vedanta to Kashmir Shaivism, State University of New York Press, ISBN 978-0791424490, pages 141–145
  62. Massimo Scaligero (1955), The Tantra and the Spirit of the West, East and West, Vol. 5, No. 4, pages 291–296
  63. History: Hans Koester (1929), The Indian Religion of the Goddess Shakti, Journal of the Siam Society, Vol 23, Part 1, pages 1–18;
    Modern practices: June McDaniel (2010), Goddesses in World Culture, Volume 1 (Editor: Patricia Monaghan), ISBN 978-0313354656, Chapter 2
  64. Flood 1996, p. 113.
  65. Hiltebeitel, Alf (2013), "Hinduism", ใน Kitagawa, Joseph (บ.ก.), The Religious Traditions of Asia: Religion, History, and Culture, Routledge
  66. Flood 1996.



อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "web" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="web"/> ที่สอดคล้องกัน