ทวีปยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุโรป
พื้นที่10,180,000 ตารางกิโลเมตร
(อันดับที่ 6)[1][a]
ประชากร741,447,158
(พ.ศ. 2560; อันดับที่ 3)[2]
ความหนาแน่น72.9 คน/ตารางกิโลเมตร
จีดีพี (อำนาจซื้อ)30.37 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 2)[3]
จีดีพี (ราคาตลาด)23.05 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 3)[4]
จีดีพีต่อหัว31,020 ดอลลาร์สหรัฐ
(ประมาณ ค.ศ. 2021; อันดับที่ 3)[c][5]
เอชดีไอเพิ่มขึ้น 0.845[6]
ศาสนา
เดมะนิมชาวยุโรป
ประเทศ50 รัฐเอกราช
ได้รับการรับรองบางส่วน 6 แห่ง
ดินแดน6 ดินแดน
ภาษาภาษาแม่ที่มีผู้พูดมากที่สุด:
เขตเวลาUTC−1 ถึง UTC+5
เมืองใหญ่พื้นที่เมืองใหญ่ที่สุด:
  • a. ^ สำหรับประเทศข้ามทวีป (transcontinental country) จะนับพื้นที่เฉพาะส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรป[n]
  • b. ^ อิสตันบูลถือเป็นเมืองข้ามทวีป (เอเชียและยุโรป) ซึ่งประชากรเมืองราว 2 ใน 3 อาศัยอยู่ในฝั่งทวีปยุโรป
  • c. ^ "ยุโรป" ตามนิยามของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ

ยุโรป (อ่านว่า [ยุ-โหฺรบ]; อังกฤษ: Europe) เป็นทวีปที่ตั้งอยู่ในซีกโลกเหนือและส่วนมากอยู่ในซีกโลกตะวันออก ทางทิศเหนือติดกับมหาสมุทรอาร์กติก ทางทิศใต้ติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทางทิศตะวันออกติดกับทวีปเอเชีย ทางทิศตะวันตกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นอนุทวีปทางด้านตะวันตกของทวีปยูเรเชีย ตั้งแต่ประมาณ 1850 การแบ่งยุโรปกับเอเชียมักยึดตามสันปันน้ำของเทือกเขายูรัลและเทือกเขาคอเคซัส แม่น้ำยูรัล ทะเลแคสเปียน ทะเลดำและช่องแคบตุรกี[9] แม้คำว่า "ทวีป" จะหมายถึงภูมิศาสตร์กายภาพของผืนดินขนาดใหญ่ที่ไม่มีการแบ่งอย่างแน่นอนและชัดเจน จึงมีการโยกย้ายติดต่อกันในช่วงสมัยคลาสสิก ทำให้บริเวณชายแดนยุโรปกับเอเชียของยูเรเชียนั้นแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรม ภาษา ความแตกต่างทางชาติพันธุ์ของตะวันออกกับตะวันตกและแบ่งจากกันอย่างเด่นชัดกว่าการขีดเส้นแบ่งเขตแดน เส้นแบ่งเขตแดนของทวีปไม่ได้แบ่งตามเส้นแบ่งเขตแดนทางการเมืองทำให้ตุรกี รัสเซียและคาซัคสถานเป็นประเทศข้ามทวีป

ยุโรปมีพื้นที่ประมาณ 10,180,000 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 2% ของผิวโลก (6.8% ของผืนดิน) ในทางการเมืองยุโรปมีรัฐอธิปไตยและเขตปกครองกว่า 50 รัฐ ซึ่งมีรัสเซียเป็นประเทศที่ใหญ่และมีประชากรมากที่สุด โดยกินพื้นที่ทวีปยุโรป 39% และมีประชากรทั้งหมด 15% ของทวีป ใน พ.ศ. 2560 ยุโรปมีประชากรประมาณ 741 ล้านคน[2] (หรือ 11% ของประชากรโลก) ภูมิอากาศยุโรปส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำอุ่นในมหาสมุทรแอตแลนติกทำให้ภายในทวีปจะมีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาวและร้อนในฤดูร้อนแม้ในละติจูดเดียวกันในเอเชียกับอเมริกาเหนือจะมีสภาพอากาศที่รุนแรง ยุโรปภาคพื้นทวีปจะเห็นความแตกต่างตามฤดูกาลได้ชัดเจนกว่าบริเวณชายฝั่ง

ทวีปยุโรปโดยเฉพาะกรีซโบราณเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมตะวันตก[10][11][12] การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันตะวันตกใน ค.ศ 476 และสมัยการย้ายถิ่นช่วงต่อมา เป็นจุดจบของสมัยโบราณและเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยกลาง มนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ยุคแห่งการสำรวจ ศิลปะและวิทยาศาสตร์อันเป็นเป็นรากฐานนำไปสู่สมัยใหม่ ตั้งแต่ยุคแห่งการสำรวจเป็นต้นมานั้นยุโรปมีบทบาทสำคัญระดับโลกในด้านเศรษฐกิจ ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึง 20 ประเทศในยุโรปมีอำนาจปกครองหลาย ๆ ครั้งในทวีปอเมริกา เกือบทั้งหมดของแอฟริกาและโอเชียเนียร่วมถึงพื้นที่ส่วนใหญ่ของเอเชีย

ยุคเรืองปัญญาหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียนส่งผลให้เกิดการปฏิรูปวัฒนธรรม การเมืองและเศรษฐกิจในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 ถึงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 19 การปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหราชอาณาจักรช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมเป็นอย่างมากในยุโรปตะวันตกและขยายไปทั่วทั้งโลกในเวลาต่อมา สงครามโลกทั้ง 2 ครั้งมีสมรภูมิส่วนใหญ่อยู่ในทวีปยุโรปนั้น ทำให้ช่วงกลางศตวรรษที่ 20 สหภาพโซเวียตและสหรัฐขึ้นมามีอำนาจในขณะที่ประเทศยุโรปตะวันตกส่วนใหญ่มีอำนาจลดลง[13] ระหว่างสงครามเย็นยุโรปถูกแบ่งด้วยม่านเหล็กระหว่างเนโททางตะวันตกกับกติกาสัญญาวอร์ซอในตะวันออก จนกระทั่งสิ้นสุดลงหลังการปฏิวัติ ค.ศ. 1989และการล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

ใน ค.ศ. 1949 สภายุโรปก่อตั้งขึ้นตามคำปราศรัยของ เซอร์ วินสตัน เชอร์ชิล ซึ่งมีแนวคิดในการรวมยุโรปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายร่วมกัน ทุกประเทศในยุโรปเป็นสมาชิกยกเว้นเบลารุส คาซัคสถานและนครรัฐวาติกัน การบูรณาการยุโรปอื่น ๆ อย่างการรวมกลุ่มโดยบางประเทศนำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งเป็นสหภาพทางเศรษฐกิจและการเมืองซึ่งมีรูปแบบสมาพันธรัฐและสหพันธรัฐ[14] สหภาพยุโรปก่อตั้งขึ้นในยุโรปตะวันตกแต่เริ่มเพิ่มสมาชิกในยุโรปตะวันออกตั้งแต่การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 ประเทศที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปส่วนใหญ่ใช้สกุลเงินยูโรซึ่งชาวยุโรปนิยมใช้กันทั่วไป; และในเขตเชงเก้นของอียูจะยกเลิกการควบคุมชายแดนและการอพยพระหว่างประเทศสมาชิก เพลงประจำสหภาพยุโรปคือ "ปีติศังสกานท์" และมีวันยุโรปเพื่อการเฉลิมฉลองสันติภาพและเอกภาพประจำปีในทวีปยุโรป

ประวัติศาสตร์[แก้]

ประเทศ[แก้]

ประเทศ เมืองหลวง ขนาดพื้นที่ (ตร.กม.) ประชากร (พ.ศ. 2560)[2]
กรีซ กรีซ เอเธนส์ 130,463 11,183,716
โครเอเชีย โครเอเชีย ซาเกร็บ 55,882 4,213,265
เช็กเกีย เช็กเกีย ปราก 78,864 10,610,947
ซานมารีโน ซานมารีโน ซานมารีโน 61 33,203
เซอร์เบีย เซอร์เบีย เบลเกรด 77,474 8,820,083
เดนมาร์ก เดนมาร์ก โคเปนเฮเกน 42,593 5,711,870
นอร์เวย์ นอร์เวย์ ออสโล 320,466 5,254,694
เนเธอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ อัมสเตอร์ดัม 41,019 16,987,330
บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซาราเยโว 50,537 3,516,816
บัลแกเรีย บัลแกเรีย โซเฟีย 109,627 7,131,494
เบลเยียม เบลเยียม บรัสเซลส์ 30,164 11,358,379
เบลารุส เบลารุส มินสค์ 205,194 9,480,042
โปรตุเกส โปรตุเกส ลิสบอน 91,320 10,371,627
โปแลนด์ โปแลนด์ วอร์ซอ 312,056 38,224,410
ฝรั่งเศส ฝรั่งเศส ปารีส 537,666 64,720,690
ฟินแลนด์ ฟินแลนด์ เฮลซิงกิ 334,288 5,503,132
มอนเตเนโกร มอนเตเนโกร พอดกอรีตซา 91,320 628,615
มอลโดวา มอลโดวา คีชีเนา 13,812 4,059,608
มอลตา มอลตา วัลเลตตา 312 429,362
มาซิโดเนียเหนือ มาซิโดเนียเหนือ สกอเปีย 25,416 2,081,206
โมนาโก โมนาโก โมนาโก 1.5 38,499
ยูเครน ยูเครน เคียฟ 597,007 44,438,625
เยอรมนี เยอรมนี เบอร์ลิน 352,914 81,914,672
รัสเซีย รัสเซีย มอสโก 16,877,291 143,964,513
โรมาเนีย โรมาเนีย บูคาเรสต์ 234,749 19,778,083
ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก ลักเซมเบิร์ก 2,555 575,747
ลัตเวีย ลัตเวีย รีกา 63,851 1,970,530
ลีชเทินชไตน์ ลีชเทินชไตน์ วาดุซ 160 37,666
ลิทัวเนีย ลิทัวเนีย วิลนีอัส 64,445 2,908,249
นครรัฐวาติกัน นครรัฐวาติกัน วาติกัน 0.44 801
สเปน สเปน มาดริด 498,936 46,347,576
สโลวาเกีย สโลวาเกีย บราติสลาวา 49,036 5,444,218
สโลวีเนีย สโลวีเนีย ลูบลิยานา 19,761 2,077,862
สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ แบร์น 40,809 8,401,739
สวีเดน สวีเดน สต็อกโฮล์ม 444,754 9,837,533
สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร ลอนดอน 241,275 65,788,574
ออสเตรีย ออสเตรีย เวียนนา 82,885 8,712,137
อันดอร์รา อันดอร์รา อันดอร์ราลาเวลลา 448 77,281
อิตาลี อิตาลี โรม 297,789 59,429,938
เอสโตเนีย เอสโตเนีย ทาลลินน์ 44,577 1,312,442
แอลเบเนีย แอลเบเนีย ติรานา 28,416 2,926,348
ไอซ์แลนด์ ไอซ์แลนด์ เรคยาวิก 101,809 332,474
สาธารณรัฐไอร์แลนด์ ไอร์แลนด์ ดับลิน 69,471 4,726,078
ฮังการี ฮังการี บูดาเปสต์ 91,953 9,753,281
คอซอวอ คอซอวอ พริสตีนา 10,887 1,783,531
ทวีปยุโรป 10,600,000 1 741,447,158 2
  • 1 ไม่รวมรัสเซียตะวันออกไกล
  • 2 ข้อมูลการประเมินของสหประชาชาติ พ.ศ. 2560

ภูมิศาสตร์[แก้]

ภูมิประเทศ[แก้]

แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปยุโรป

ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญของทวีปยุโรป ได้แก่ ทางตะวันตกของฝรั่งเศส ทางตะวันออกของเกาะอังกฤษ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก

  1. เขตที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบที่อยู่ระหว่างที่ราบกับเขตเทือกเขา ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางตอนกลางของทวีป มีพื้นที่ประมาณร้อยละ 25 ของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกของประเทศฝรั่งเศส ภาคใต้ของเยอรมนีและโปแลนด์
  2. เขตเทือกเขาแบ่งออกเป็น 2 เขตใหญ่ ๆ คือ
  • เทือกเขาภาคเหนือ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกเฉียงเหนือกับตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ เทือกเขาแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ในสกอตแลนด์ เวลส์ และเกาะไอซ์แลนด์ ซึ่งมีขนาดเตี้ยและเกิดขึ้นมานานแล้ว
  • เทือกเขาภาคใต้ เป็นแนวเทือกเขาที่วางตัวในแนวตะวันออกกับตะวันตก ซึ่งเทือกเขานี้มีขนาดสูงและยังเป็นเขตที่เปลือกโลกยังไม่สงบดี จึงเกิดแผ่นดินไหวหรือภูเขาไฟ

ภูมิอากาศ[แก้]

เขตอากาศของทวีปยุโรป สามารถแบ่งเป็น 7 เขตดังนี้

  1. เขตภูมิอากาศแบบทุนดรา หรืออากาศแบบขั้วโลก จะเป็นเขตอากาศที่หนาวเย็นจัดตลอดทั้งปี ส่วนฤดูร้อนสั้นประมาณ 1-2 เดือน อุณหภูมิเฉลี่ยของเขตนี้ เฉลี่ยทั้งปีไม่เกิน 10 องศาเซลเซียส พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ มอสส์ ตะไคร่น้ำ เขตอากาศทุนดราของทวีปยุโรป ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรสแกนดิเนเวียและบริเวณทางเหนือสุดของประเทศรัสเซีย
  2. เขตอากาศแบบกึ่งขั้วโลกหรือไทกา ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีอากาศหนาวจัดในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 6 องศาเซลเซียส ฤดูร้อนมีระยะเวลายาวกว่าเขตภูมิอากาศแบบทุนดรา ปริมาณน้ำฝนทั้งปีอยู่ระหว่าง 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ คือ ป่าสนหรือป่าไทกา บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ นอร์เวย์ สวีเดน และฟินแลนด์
  3. เขตอากาศอบอุ่นชื้นภาคพื้นทวีป ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ ฤดูหนาวมีอากาศหนาวเย็น เพราะอยู่ลึกเข้าไปในใจกลางทวีป จึงไม่ค่อยได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทร พืชพรรณธรรมชาติได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบและไม่ผลัดใบผสมกัน ส่วนบริเวณที่มีฝนตกน้อย พืชพรรณธรรมชาติจะเป็นทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ คือ ดินแดนของประเทศโปแลนด์ เช็กเกีย สโลวาเกีย เอสโตเนีย และลัตเวีย
  4. เขตภูมิอากาศแบบภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก ลักษณะของอากาศในเขตนี้ คือ ฤดูร้อนอากาศเย็นสบาย ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด เพราะเขตนี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้มหาสมุทร จึงได้รับอิทธิพลจากมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้เขตนี้มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื้น ฝนตกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยของทั้งปีอยู่ที่ 750-1,500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าไม้เขตอบอุ่นชนิดป่าไม้ผลัดใบผสมกับป่าสน บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ครอบคลุมบริเวณของประเทศฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก เยอรมนี สหราชอาณาจักร และทางตอนใต้ของนอร์เวย์และสวีเดน
  5. เขตภูมิอากาศอบอุ่นชื้น ลักษณะอากาศของเขตนี้ คือ อากาศอบอุ่น ฤดูร้อนอากาศร้อน มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติ ได้แก่ ป่าไม้เขตอบอุ่นหรือทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น บริเวณลักษณะอากาศแบบนี้ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรบอลข่าน ออสเตรีย และฮังการี
  6. เขตภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน ลักษณะอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีแสงแดดตลอดทั้งปี ฤดูร้อนอากาศร้อนและแห้งแล้ง ฤดูหนาวจะมีฝนตก ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยประมาณ 500-1,000 มิลลิเมตรต่อปี พืชพรรรณธรรมชาติเป็นเขตอบอุ่น เรียกว่า ป่าไม้เมดิเตอร์เรเนียน เช่น คอร์กโอ๊ก ส้ม มะนาว องุ่น มีป่าไม้มีหนามแหลม เรียกว่า ป่ามากี (maquis) บริเวณที่มีลักษณะอากาศแบบนี้ คือ บริเวณที่มีอาณาเขตติดกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่ ภาคใต้ของประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส เซอร์เบีย และกรีซ
  7. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย ลักษณะสำคัญของอากาศในเขตนี้ คือ เป็นเขตที่มีปริมาณฝนน้อย ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 500 มิลลิเมตร พืชพรรณธรรมชาติเป็นทุ่งหญ้าขึ้นเบาบาง

ภูมิภาค[แก้]

การแบ่งภูมิภาคของทวีปยุโรป:

ทวีปยุโรป แบ่งออกเป็น 4 ภูมิภาคใหญ่ ๆ ได้แก่

เมืองสำคัญ[แก้]

ทวีปยุโรปมีหลายเมืองที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก ทวีปยุโรปจึงเป็นทวีปที่มีการคมนาคมที่สะดวกสบายเป็นอย่างมาก การคมนาคมส่วนใหญ่จะเป็นระบบราง เช่น รถไฟฟ้า รถไฟใต้ดิน และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของการคมนาคมระหว่างเมืองและระหว่างประเทศ

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

  1. การเพาะปลูก เขตเพาะปลูกอยู่ในยุโรปตะวันตก ภาคตะวันออกและภาคใต้ของอังกฤษ ภาคเหนือและภาคตะวันตกของฝรั่งเศส ตอนเหนือของเยอรมนี ยูเครน พืชที่สำคัญคือ
    1. ข้าวสาลี ปลูกได้มากที่สุดคือ ยูเครน รองลงไปคือ ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โรมาเนีย บัลแกเรีย เยอรมนี ฮังการี
    2. ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ข้าวไรย์ ถั่ว มันฝรั่ง ปลูกได้โดยทั่วไป
    3. องุ่น ส้ม มะกอก มะนาว แอปเปิลและผลไม้ชนิดต่างๆ ปลูกได้มากเขตอากาศแบบเมดิเตอร์เนียน ได้แก่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส สเปน กรีซ
    4. ต้นแฟล็กซ์ ใช้ใบทำป่านลินิน ปลูกมากในโปแลนด์ เบลเยียม ไอร์แลนด์
  2. การเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงไปตามลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
    1. เขตทุนดรา มีการเลี้ยงกวางเรนเดียร์
    2. เขตทุ่งหญ้าสเตปป์ มีการเลี้ยงโคเนื้อ แพะ แกะ ม้า
    3. เขตเมดิเตอร์เรเนียน มีการเลี้ยงโคเนื้อ และแกะ
    4. เขตภูเขาสูง และที่ราบสูง มีการเลี้ยงโคเนื้อ โคนม แกะ
    5. เขตอบอุ่นชื้นตอนเหนือของคาบสมุทรบอลข่าน มีการเลี้ยงสุกรด้วยข้าวโพด
    6. เขตภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก มีการทำฟาร์มโคนม
  3. การทำป่าไม้ พบมากในประเทศฟินแลนด์ สวีเดน รัสเซีย นอร์เวย์ ในบริเวณป่าสน ซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน นำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษ
  4. การประมง แหล่งประมงที่สำคัญ ได้แก่
    1. ทะเลเหนือ โดยเฉพาะบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นแอตแลนติกเหนือบรรจบกับกระแสน้ำเย็นกรีนแลนด์ตะวันออก เกิดเป็นแหล่งที่มีปลาชุกชุมมากแห่งหนึ่งของโลกเรียกว่า ดอกเกอร์แบงก์ ประเทศที่จับปลาได้มาก สหราชาอาณาจักร ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์
    2. บริเวณอ่าวบิสเคย์จนถึงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน โดยเฉพาะบริเวณทะเลดำ ทะเลสาบแคสเปียนและแม่น้ำโวลกา มีการจับปลาสเตอร์เจียน มาทำเป็นไข่ปลาคาร์วียร์
  5. การทำเหมืองแร่ ยุโรปเป็นทวีปที่มีแร่เหล็กและถ่านหินอุดมสมบูรณ์
    1. ถ่านหิน แหล่งสำคัญอยู่ทางภาคเหนือของสหราชอาณาจักร ภาคกลางของเบลเยียม ลุ่มแม่น้ำรูห์ของเยอรมนี ภาคใต้ของโปแลนด์ ภาคเหนือของเช็กเกีย สโลวาเกียยูเครน และรัสเซีย
    2. เหล็ก แหล่งสำคัญคือ
      1. แหล่งคิรูนาและเยลีวาร์ทางตอนเหนือของสวีเดน
      2. แหล่งคริวอยร็อกในยูเครน
      3. แหล่งลอเรนซ์ทางตะวันออกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส
    3. น้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งสำคัญของยุโรปอยู่ในบริเวณทะเลเหนือ และรอบๆทะเลสาบแคสเปียน
    4. บอกไซต์ เมื่อนำถลุงแล้วได้อะลูมิเนียม แหล่งผลิตสำคัญอยู่ทางภาคใต้ของฝรั่งเศส กลุ่มประเทศในอดีตยูโกสลาเวีย ฮังการี เทือกเขาอูราลในรัสเซีย
    5. โพแทช ใช้ในอุตสาหกรรมปุ๋ยและสบู่ แหล่งผลิตอยู่ในประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี สเปน รัสเซีย
  6. อุตสาหกรรม ยุโรปได้ชื่อว่าเป็นทวีปอุตสาหกรรม เพราะเกือบทุกประเทศประชากร ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรม แหล่งอุตสาหกรรมส่วนใหญ่อยู่ในยุโรปตะวันตก เช่น สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ส่วนยุโรปตะวันออกอยู่ใน รัสเซีย ยูเครน เบลารุส
  7. การค้าขาย เนื่องจากยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ยุโรปมีการติดต่อค้าขายกับภูมิภาคอื่นและมีการตั้งกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เช่น
    1. สหภาพยุโรป
    2. สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (EFTA-European Free Trade Association) ตลาดการค้าขายระหว่างประเทศ ได้แก่ ประเทศต่างๆที่อยู่ในยุโรปและประเทศอเมริกาเหนือ
  8. การคมนาคมขนส่ง ยุโรปเป็นทวีปที่มีการคมนาคมขนส่งเจริญก้าวหน้ามาก
    1. ทางรถยนต์ มีทางหลวงเชื่อมระหว่างเมือง เขตอุตสาหกรรมและประเทศต่างๆ มีระยะทางยาวประมาณ 1 ใน 5 ของทางรถยนต์ของโลก
    2. ทางรถไฟ ทวีปยุโรปมีทางรถไฟยาว 1 ใน 3 ของทางรถไฟในโลก ประเทศที่มีทางรถไฟยาวเมื่อเฉลี่ยต่อเนื้อที่แล้วมากที่สุด คือ เบลเยียม รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร สวิตเซอร์แลนด์ เมืองที่เป็นศูนย์กลางการคมนาคมทางรถไฟคือ ปารีส ลอนดอน เบอร์ลิน วอร์ซอ มอสโก
    3. ทางอากาศ แต่ละประเทศต่างก็มีสายการบินเป็นของตนเอง ใช้ติดต่อระหว่างเมืองภายในประเทศ ระหว่างประเทศ และระหว่างทวีป ศูนย์กลางการบินส่วนใหญ่เป็นเมืองหลวงของแต่ละประเทศ
    4. ทางน้ำ แม่น้ำสำคัญที่ใช้ในการคมนาคมขนส่งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ได้แก่ แม่น้ำไรน์ แม่น้ำเซน แม่น้ำดานูบ แม่น้ำโวลกา แม่น้ำโอเดอร์ และมีการขุดคลองเพื่อการคมนาคม เช่น คลองคีล ในเยอรมนี เชื่อมระหว่างทะเลบอลติกกับทะเลเหนือ คลองมีดีในฝรั่งเศสเชื่อมทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับมหาสมุทรแอตแลนติก

เศรษฐกิจ[แก้]

ทวีปยุโรปมีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจรุ่งเรืองมาก โดยมีการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก เรียกว่า กลุ่มสหภาพยุโรป ซึ่งมีบทบาทมากต่อเศรษฐกิจโลก นอกจากนี้ สมาชิกจี 8 จำนวน 8 ประเทศ มีสมาชิกอยู่ในทวีปยุโรปมากถึง 5 ประเทศ คือ รัสเซีย เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี และสหราชอาณาจักร

หลังเกิดวิกฤตการเงินโลก 2010 ที่ประเทศกรีซ ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงเหวอย่างหนัก ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า กลุ่มสหภาพยุโรปเริ่มขาดสภาพคล่องทางการเงินจากปัญหาหนี้สินเพิ่มมากขึ้น

ตัมเปเรในฟินแลนด์เป็นหนึ่งในเมืองใหญ่ทางตอนเหนือของยุโรป

อ้างอิง[แก้]

  1. "Largest Countries In Europe 2020". worldpopulationreview.com.
  2. 2.0 2.1 2.2 "การประเมินประชากรโลก พ.ศ. 2560". ESA.UN.org (custom data acquired via website). United Nations Department of Economic and Social Affairs, Population Division. สืบค้นเมื่อ 10 September 2017.
  3. "GDP PPP, current prices". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  4. "GDP Nominal, current prices". Internatonal Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  5. "Nominal GDP per capita". International Monetary Fund. 2021. สืบค้นเมื่อ 16 January 2021.
  6. "Reports – Human Development Reports". hdr.undp.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2012. สืบค้นเมื่อ 21 July 2017.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Survey
  8. "Demographia World Urban Areas" (PDF). Demographia. สืบค้นเมื่อ October 28, 2020.
  9. National Geographic Atlas of the World (7th ed.). Washington, DC: National Geographic. 1999. ISBN 0-7922-7528-4. "Europe" (pp. 68–69) ; "Asia" (pp. 90–91) : "A commonly accepted division between Asia and Europe ... is formed by the Ural Mountains, Ural River, Caspian Sea, Caucasus Mountains, and the Black Sea with its outlets, the Bosporus and Dardanelles."
  10. Lewis & Wigen 1997, p. 226
  11. Kim Covert (1 July 2011). Ancient Greece: Birthplace of Democracy. Capstone. p. 5. ISBN 978-1-4296-6831-6. Ancient Greece is often called the cradle of western civilization. ... Ideas from literature and science also have their roots in ancient Greece.
  12. Ricardo Duchesne (7 February 2011). The Uniqueness of Western Civilization. Brill. p. 297. ISBN 90-04-19248-4. The list of books which have celebrated Greece as the “cradle” of the West is endless; two more examples are Charles Freeman's The Greek Achievement: The Foundation of the Western World (1999) and Bruce Thornton's Greek Ways: How the Greeks Created Western Civilization (2000)
  13. National Geographic, 534.
  14. "The European union—a federation or a confederation?" (PDF).

ข้อมูล[แก้]

  • National Geographic Society (2005). National Geographic Visual History of the World. Washington, DC: National Geographic Society. ISBN 0-7922-3695-5.
  • Bulliet, Richard; Crossley, Pamela; Headrick, Daniel; Hirsch, Steven; Johnson, Lyman (2011). The Earth and Its Peoples, Brief Edition. Vol. 1. Cengage Learning. ISBN 978-0-495-91311-5.
  • Brown, Stephen F.; Anatolios, Khaled; Palmer, Martin (2009). O'Brien, Joanne (บ.ก.). Catholicism & Orthodox Christianity. Infobase Publishing. ISBN 978-1-60413-106-2.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

แผนที่ในอดีต