สุรนันทน์ เวชชาชีวะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก สุรนันท์ เวชชาชีวะ)
สุรนันทน์ เวชชาชีวะ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
(1 ปี 192 วัน)
นายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร
ก่อนหน้าจาตุรนต์ ฉายแสง
ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
สมศักดิ์ เทพสุทิน
กระแส ชนะวงศ์
พงศ์เทพ เทพกาญจนา
สุวัจน์ ลิปตพัลลภ
ถัดไปทิพาวดี เมฆสวรรค์
ธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์
ประสิทธิ์ โฆวิไลกูล
เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 – 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
(1 ปี 351 วัน)
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ก่อนหน้าบัณฑูร สุภัควณิช
ถัดไปวิลาศ อรุณศรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด10 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 (62 ปี)
อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองพลังธรรม (2531–2542)
ไทยรักไทย (2542–2550)
เพื่อไทย (2554–2565)
สร้างอนาคตไทย (2565)
คู่สมรสนุชนารถ เวชชาชีวะ

สุรนันทน์ เวชชาชีวะ (เกิด 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2504) ชื่อเล่น ปุ้ม เป็นอดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร และอดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สังกัดพรรคไทยรักไทย และเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง

ประวัติ[แก้]

สุรนันทน์ เวชชาชีวะ มีชื่อเล่นว่า ปุ้ม เกิดเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2504 เป็นบุตรชายของนายนิสสัย เวชชาชีวะ กับนางมารินา อิศรเสนา ณ อยุธยา (ธิดาหลวงพิสูจน์พาณิชยลักษณ์ (หม่อมหลวงเพิ่มยศ อิศรเสนา)) จบปริญญาตรีเศรษฐศาสตร์การเมืองที่วิลเลี่ยมส์คอลเลจ ปริญญาโทความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย และปริญญาโทการบริหารที่สถาบันศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การทำงาน[แก้]

สุรนันทน์เริ่มการทำงาน จากการเป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน กองวางแผนส่วนรวม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และงานเอกชน ในกลุ่มบริษัทบ้านฉางและบริษัทธรรมนิติ

เริ่มต้นงานการเมือง จากการลงรับสมัครเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2538 และปี พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคพลังธรรม แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จากนั้นในปี พ.ศ. 2544 ปฏิบัติหน้าที่รองโฆษกพรรคไทยรักไทย และโฆษกพรรคไทยรักไทย ในปี พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคไทยรักไทย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และ ปี พ.ศ. 2548 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร[1] จนถูกรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นหนึ่งใน 111 คนที่ถูกถอดสิทธิในการเลือกตั้ง ผันตัวเองเป็นผู้ดำเนินรายการ โดยเริ่มจาก "สุรนันทน์วันนี้" "The Commentator" "Brain Wake" (Voice TV) "คุยกันวันเสาร์" (TNN 24) รวมถึงจัดรายการออนไลน์ผ่านช่องยูทูบของ หนังสือพิมพ์มติชน ในชื่อรายการ Hellmet Show ร่วมกับ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เขียนคอลัมน์ในหนังสือพิมพ์ Bangkok Post และสยามรัฐ รวมถึงมีกิจการร้านกาแฟและร้านจำหน่ายจักรยาน "เบรนเวค" อีกด้วย

ตั้งแต่เดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 สุรนันทน์เข้ารับตำแหน่งโฆษกประจำตัวนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน[2][3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 เขาได้สมัครรับเลือกตั้งในระบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 24[4]

ในปี 2565 เขาได้เข้าร่วมงานเป็นรองหัวหน้าพรรคสร้างอนาคตไทย[5]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี
  2. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 122/2555 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ นางสาวศันสนีย์ นาคพงศ์)
  3. ครม.ตั้ง'สุรนันท์'นั่งเลขาฯดัน'ศันสนีย์'โฆษกฯ
  4. ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง รายชื่อผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อ (พรรคเพื่อไทย)
  5. พรรคสร้างอนาคตไทย: อุตตม-สนธิรัตน์ลั่น “ไม่ซ้ายสุดขั้ว ไม่ขวาสุดโต่ง ไม่เสนอชื่อ พล.อ. ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ในบัญชี”
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2005-12-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๙, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

ก่อนหน้า สุรนันทน์ เวชชาชีวะ ถัดไป
บัณฑูร สุภัควณิช
พลตำรวจตรี ธวัช บุญเฟื่อง (รักษาการ)

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี
(5 มิถุนายน พ.ศ. 2555 - 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557)
พลเอก วิลาศ อรุณศรี