ข้ามไปเนื้อหา

ไออาร์พีซี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงกลั่นน้ำมัน บมจ.ไออาร์พีซี

บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ ก่อตั้งโดยตระกูลเลี่ยวไพรัตน์ เป็นเจ้าของกลุ่มโรงงานปิโตรเลียมและปิโตรเคมี (Petoleum-Petrochemical complex) ตั้งอยู่ที่ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบอุตสาหกรรมภายใต้การจัดการของบริษัทฯ พร้อมด้วยสาธารณูปโภคพื้นฐานที่สนับสนุนการผลิต ได้แก่ ท่าเรือน้ำลึก คลังเก็บน้ำมัน และโรงไฟฟ้า ปัจจุบัน (1 ตุลาคม พ.ศ. 2567) บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ประธานกรรมการ นาย เทอดเกียรติ พร้อมมูล ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)

สายการผลิต

[แก้]

กลุ่มโรงงานปิโตรเลียมและปิโตรเคมีของไออาร์พีซีประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่

  • โรงกลั่นน้ำมัน มีกำลังการกลั่น 215,000 บาร์เรลต่อวัน ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมได้หลากหลายชนิด เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) แนฟทา น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา สารละลาย และยางมะตอย
  • โรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ผลิตผลิตภัณฑ์หล่อลื่นพื้นฐานและลองเรสซิดิว ตามลักษณะและความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน ดังนี้
    • 60 SN ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตน้ำมันหล่อลื่นประเภทน้ำมันส่งกำลัง เช่นหม้อแปลงไฟฟ้า
    • 150 SN ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตน้ำมันหล่อลื่นสำหรับอุตสาหกรรมการผลิต เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์
    • 500 SN ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมนำมันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์เกือบทุกชนิด
    • 150 BS ใช้ในอุตสาหกรรมและเครื่องจักรที่มีแรงเสียดทานมาก เช่น เครื่องยนต์รถบรรทุก รถไฟ เป็นต้น
  • กลุ่มโรงงานปิโตรเคมี ประกอบด้วยโรงงานปิโตรเคมีขั้นต้นถึงขั้นปลาย ซึ่งนำแนฟทาและก๊าซปิโตรเลียมเหลวจากโรงกลั่นน้ำมัน ไปใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้น (Feedstock) สำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น คือ สารโอเลฟินส์และสารอะโรเมติกส์ ซึ่งใช้ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย ได้แก่ เม็ดพลาสติกชนิดต่างๆ เพื่อจำหน่ายให้ผู้ประกอบการขึ้นรูปพลาสติกและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง

เหตุการณ์สำคัญ

[แก้]
  • ในเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2525 เปิดโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก โรงงานแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
  • พ.ศ. 2537 เริ่มธุรกิจกลั่นน้ำมันด้วยโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยแรก กำลังกลั่น 26,000 บาร์เรลต่อวัน
  • พ.ศ. 2539 เพิ่มกำลังกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยแรก เป็น 65,000 บาร์เรลต่อวัน
  • พ.ศ. 2540 เดินเครื่องโรงผลิตสารอะโรมาติก (Aromatic plant) โรงผลิตก๊าซเอทิลลีน (Ethylene plant) โรงกลั่นน้ำมันหล่อพื้นฐาน (Lube base oil plant) และโรงแตกสลายโมเลกุลด้วยแคทตาลิส (Deep catatytic cracking plant)
  • พ.ศ. 2542 บริษัทฯ เริ่มเกิดปัญหาการล้มละลาย จนมีการนำมาซึ่งการฟื้นฟูกิจการ
  • พ.ศ. 2543 เดินเครื่องโรงกลั่นน้ำมันดิบหน่วยที่2 กำลังกลั่น 150,000 บาร์เรลต่อวัน ทำให้กำลังกลั่นรวมเป็น 215,000 บาร์เรลต่อวัน
  • พ.ศ. 2549 ทีพีไอ เปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

[แก้]
  • ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2556 [1]
ลำดับที่ รายชื่อผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้นสามัญ สัดส่วนการถือหุ้น
1 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 7,869,694,600 38.51%
2 ธนาคารออมสิน 1,950,000,000 9.54%
3 กองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ (SI) 1,183,796,970 5.79%
4 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 644,825,754 3.16%
5 ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 504,906,708 2.47%

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]