อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
ที่ตั้งจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย
พิกัด16°26′21″N 104°45′24″E / 16.43917°N 104.75667°E / 16.43917; 104.75667พิกัดภูมิศาสตร์: 16°26′21″N 104°45′24″E / 16.43917°N 104.75667°E / 16.43917; 104.75667
พื้นที่48.5 km2 (20 sq mi)
หน่วยราชการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ หรือ อุทยานแห่งชาติมุกดาหาร เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในจังหวัดมุกดาหาร ประเทศไทย เป็นหนึ่งในอุทยานที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศไทย โดยอุทยานแห่งนี้เป็นที่ตั้งของหินรูปทรงประหลาดและถ้ำที่มีจิตรกรรมวาดด้วยมือ[1]

ภูมิศาสตร์[แก้]

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบตั้งอยู่ในอำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล อยู่ห่างจากเทศบาลเมืองมุกดาหารไปทางทิศใต้ประมาณ 17 กิโลเมตร (11 ไมล์) อุทยานมีพื้นที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร (20 ตารางไมล์) จุดที่สูงสุดที่สุดคือภูจงศรี มีความสูง 420 เมตร (1,400 ฟุต)[2]

ประวัติ[แก้]

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบเป็นที่ตั้งของถ้ำที่มีจิตรกรรมวาดด้วยมือ คาดว่ามีอายุราว 3,000–5,000 ปี ชื่อของถ้ำมีชื่อว่า "ถ้ำฝ่ามือแดง" สื่อถึงสีที่ใช้วาดรูปบนผนังถ้ำมีสีแดง[1][2]

จุดท่องเที่ยว[แก้]

น้ำตกภายในเขตอุทยานอย่างน้ำตกภูถ้ำพระมีน้ำไหลเป็นบางฤดูกาล เหนือขึ้นไปจากน้ำตกแห่งนี้ มีพระพุทธรูปขนาดสามฟุต พร้อมด้วยพระพุทธรูปไม้ขนาดเล็กและหุ่นรูปสัตว์จำนวนมาก[1][2]

อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบเป็นที่ตั้งของหินรูปทรงประหลาด โดยรูปร่างคล้ายกับเห็ด ศาลา หรือหงส์ เป็นต้น[1][2] จุดชมทิวทัศน์ของที่นี่สามารถมองเห็นตัวเมืองมุกดาหาร แม่น้ำโขง และประเทศลาว[2]

ความหลากหลายทางชีวภาพ[แก้]

ป่าไม้ส่วนใหญ่ในเขตอุทยานเป็นป่าไม้ผลัดใบ พืชที่พบในเขตอุทยานได้แก่ ตะเคียน ตะโก มะค่าโมง ยาง ทิว จำปา สาละ และรัง[2] สัตว์ที่พบในเขตอุทยานได้แก่กวางและหมูป่า นกที่พบมีหลายชนิด ได้แก่ ไก่ป่า ไก่ฟ้า และนกยูงเขียว[2]

ใน ค.ศ. 2005 ได้มีการค้นพบกบสายพันธุ์ใหม่ที่มีชื่ออนุกรมวิธาน Fejervarya triora ในเขตอุทยาน[3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Introducing Phu Pha Thoep National Park". Lonely Planet. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 "Phu Pha Turm National Park". Department of National Parks (Thailand). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 November 2013. สืบค้นเมื่อ 4 April 2014.
  3. Chuaynkern, Yodchaiy; Salangsingha, Nakorn; Makchai, Sunchai; Inthara, Chantip; Duengkae, Prateep (2009). "Fejervarya triora (Amphibia, Ranidae): first description of the adult male and recent distribution records". Alytes. International Society for the Study and Conservation of Amphibians. 27 (1): 13–24. สืบค้นเมื่อ 13 June 2017.