ไก่เถื่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไก่เถื่อน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Miocene – recent
ไก่ป่าอินเดีย (G. sonneratii) เพศเมีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์ปีก
อันดับ: อันดับไก่
วงศ์: วงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา
เผ่า: Gallini
สกุล: Gallus
Brisson, 1760
ชนิดต้นแบบ
Gallus gallus
Linnaeus, 1758
ชนิด
  • 4 ชนิด:
  Gallus gallus
  Gallus lafayettii
  Gallus sonneratii
  Gallus varius

ไก่เถื่อน หรือ ไก่ป่า เป็นสกุลของสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ ในวงศ์ไก่ฟ้าและนกกระทา (Phasianidae) สกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Gallus ซึ่งเป็นภาษาละตินที่หมายถึง "ไก่ตัวผู้"[1] พวกมันเริ่มแยกจากบรรพบุรุษประมาณ 4–6 ล้านปีก่อน[2]

ไก่เถื่อน มีลักษณะสำคัญแตกต่างจากไก่สกุลอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน คือ บนหัวมีหงอนที่เป็นเนื้อไม่ใช่ขน มีเหนียงทั้ง 2 ข้างห้อยลงมาที่โคนปากและคาง ที่บริเวณใบหน้าและคอเป็นหนังเกลี้ยงไม่มีขน ขนตามลำตัวมีสีสันสวยงาม ขนหางตั้งเรียงกันเป็นสันสูงตรงกลาง มีขนหาง 14-16 เส้น เส้นกลางยาวปลายแหลมและอ่อนโค้ง ที่แข้งมีเดือยแหลมข้างละอันเป็นอาวุธที่ใช้ในการป้องกันตัว มีความแตกต่างระหว่างเพศชัดเจน โดยตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้และขนมีสีไม่ฉูดฉาดเท่าตัวผู้ แข้งไม่มีเดือย หงอนและเหนียงมีขนาดเล็กเห็นชัดเจน

พบกระจายพันธุ์ในทวีปเอเชีย ตั้งแต่ทวีปยูเรเชีย จนถึงอนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ และภาคใต้ของจีน เช่น มณฑลยูนนาน โดยพบทั้งผืนแผ่นดินใหญ่และส่วนที่เป็นเกาะหรือหมู่เกาะ ถึงแม้ว่าไก่เหล่านี้มีต้นกำเนิดอยู่ในเอเชีย แต่มีผู้พบซากไก่เถื่อนในภูมิภาคของชิลี ซึ่งสืบอายุถึง ค.ศ. 1321–1407 เป็นหลักฐานถึงความเป็นไปได้ในการอพยพของชาวโพลีนีเชียยผ่านมหาสมุทรแปซิฟิก[3]

ไก่ในสกุลนี้ ถือได้ว่าเป็นไก่ที่ผูกพันกับมนุษย์มาอย่างยาวนาน โดยมีหลักฐานว่ามนุษย์ได้นำไก่ในสกุลนี้มาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงในครัวเรือน เพื่อการบริโภคเป็นเวลานานกว่า 4,000 ปีมาแล้วในยุคเมโสโปเตเมีย หรือในสมัยสุโขทัย ในประวัติศาสตร์ไทย การล่าไก่ป่าถือเป็นวิถีการดำรงชีวิตอย่างหนึ่งของผู้คนในสมัยนั้น ก่อนที่จะมีการพัฒนาสายพันธุ์จนมาเป็นไก่บ้านอย่างในปัจจุบัน และในส่วนการเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงสวยงามและความเพลินเพลินก็พัฒนามาเป็นไก่แจ้หรือไก่ชน ที่มีการจิกตีกันเป็นการละเล่นในหลายวัฒนธรรม[4]

อนุกรมวิธาน[แก้]

ชนิดขยาย[แก้]

ไก่สกุลนี้มี 4 ชนิด[5]

เพศผู้ เพศเมีย ชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อทั่วไป ที่อยู่อาศัย
Gallus gallus ไก่ป่า อินเดีย, ปากีสถาน, ฝั่งตะวันออกไปไกลถึงอินโดจีนและจีนตอนใต้ และขยายลงไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย
Gallus lafayettii ไก่ป่าลังกา ศรีลังกา
Gallus sonneratii ไก่ป่าอินเดียหรือไก่ป่าเทา อนุทวีปอินเดีย แต่สามารถขยายไปถึงรัฐคุชราต รัฐมัธยประเทศ รัฐราชสถานใต้ และแคว้นปัญจาบของปากีสถาน
Gallus varius ไก่ป่าชวาหรือไก่ป่าเขียว เกาะชวา เกาะบาหลี เกาะลมบก เกาะโกโมโด เกาะโฟลเร็ซ เกาะรินจา และหมู่เกาะขนาดเล็กที่เชื่อระหว่างเกาะชวาและโฟลเร็ซ ประเทศอินโดนีเซีย

อ้างอิง[แก้]

  1. ไก่แห่งฝรั่งเศส , คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดย น้าชาติ ประชาชื่น. ข่าวสด: 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7144
  2. Lawal, R.A.; และคณะ (2020). "The wild species genome ancestry of domestic chickens". BMC Biology. 18 (13): 13. doi:10.1186/s12915-020-0738-1. PMC 7014787. PMID 32050971.
  3. Storey, Alice (June 2007). "Radiocarbon and DNA Evidence for a Pre-Columbian Introduction of Polynesian Chickens to Chile" (PDF). Proceedings of the National Academy of Sciences. 104 (25): 10335–10339. Bibcode:2007PNAS..10410335S. doi:10.1073/pnas.0703993104. PMC 1965514. PMID 17556540.
  4. ไก่ป่า, คอลัมน์เรื่องน่ารู้ หน้า 28 เกษตร: เดลินิวส์ฉบับที่ 23,125. ประจำวันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 แรม 9 ค่ำ เดือน 2 ปีมะโรง
  5. Gill, Frank; Donsker, David, บ.ก. (2017). "Pheasants, partridges & francolins". World Bird List Version 7.3. International Ornithologists' Union. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
  • Steve Madge; Philip J. K. McGowan; Guy M. Kirwan (2002). Pheasants, Partidges and Grouse: A Guide to the Pheasants, Partridges, Quails, Grouse, Guineafowl, Payton Moore, Buttonquails and Sandgrouse of the World. A&C Black. ISBN 978-0-7136-3966-7.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gallus