อำเภอศีขรภูมิ
อำเภอศีขรภูมิ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Sikhoraphum |
คำขวัญ: เมืองหลายภาษา หลากหลายวัฒนธรรม ศิลปกรรมที่ล้ำลึก | |
แผนที่จังหวัดสุรินทร์ เน้นอำเภอศีขรภูมิ | |
พิกัด: 14°56′48″N 103°47′30″E / 14.94667°N 103.79167°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สุรินทร์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 634.538 ตร.กม. (244.996 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 134,796 คน |
• ความหนาแน่น | 212.43 คน/ตร.กม. (550.2 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 32110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3209 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศีขรภูมิ ถนนเสรีธิปัตย์ ตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ 32110 |
เว็บไซต์ | http://www.sikhoraphumcity.go.th |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ศีขรภูมิ [สี-ขอ-ระ-พูม][1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสุรินทร์ โดยเป็น 1 ใน 3 อำเภอของจังหวัดที่มีทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือผ่าน และมีสถานีรถไฟศีขรภูมิเป็นสถานีประจำอำเภอ ซึ่งรถไฟทุกขบวนหยุดรับ–ส่งผู้โดยสารที่สถานีนี้ นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญอย่างปราสาทศีขรภูมิ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอศีขรภูมิมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอจอมพระและอำเภอสนม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอสำโรงทาบ และอำเภอปรางค์กู่ (จังหวัดศรีสะเกษ)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอศรีณรงค์และอำเภอลำดวน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองสุรินทร์และอำเภอเขวาสินรินทร์
ประวัติ
[แก้]อำเภอศีขรภูมิ เริ่มก่อตั้งบ้านเมืองมาตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2295 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย โดยมี "เชียงไชย" เป็นหัวหน้าผู้ปกครอง ซึ่งต่อมาภายหลังได้ประกอบความดีความชอบในการปกครองราษฎรให้ได้อยู่เย็นเป็นสุข จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนไชยสุริยง" กองนอก และได้รับเลื่อนเป็น "หลวงไชยสุริยง" กองนอก ตามลำดับ ชาวอำเภอศีขรภูมิจึงถือว่า "หลวงไชยสุริยง" (เชียงไชย) เป็นเจ้าเมืองศีขรภูมิคนแรก และเป็นผู้คุณูปการต่อการวางรากฐานการปกครองและการพัฒนาในด้านต่างๆ เพื่อประโยชน์สุขของชาวอำเภอศีขรภูมิจวบมาจนปัจจุบัน
ต้นสมัยรัฐกาลที่ 5 ขึ้นครองราชสมบัติ ประมาณ พ.ศ. 2412 เจ้าเมืองสังขะได้กราบบังคมทูลขอยกบ้านกุดไผท หรือบ้านจารพัตขึ้นเป็นเมือง (ตำบลจารพัฒในปัจจุบัน) โปรดเกล้าให้เป็นเมือง "ศีขรภูมิพิสัย" ให้หลวงไชยสุริยง "พระศีขรมานุรักษ์" เป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาตั้งที่บ้านโคกตะเคียนริมทางหลวงแผ่นดินที่ตัดใหม่ในท้องที่บ้านปราสาท ตำบลยางในขณะนั้น สร้างเป็นที่ทำการอำเภอชั่วคราว ครั้งถึงฤดูฝนปรากฏว่าน้ำจากทุ่งกุดไผทท่วมถึงจึงพิจารณาย้ายที่ทำการไปตั้งที่โคกอนันต์ (บ้านอนันต์ ตำบลยาง ตรงโรงเรียนบ้านอนันต์ ในปัจจุบัน) ตั้งที่ว่าการอำเภอถาวรตรงนั้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2454 ซึ่งเป็นสมัยแรกของการปกครองท้องที่
จนถึง ปี พ.ศ. 2475 จึงย้ายมาตั้งที่บ้านระแงงที่มีการคมนาคมสะดวกมีรถไฟวิ่งผ่าน จึงเป็นที่ตั้งอำเภอศีขรภูมิในปัจจุบันนี้ ชื่อกุดไผท ศีขรภูมิพิสัย จึงค่อย ๆ เลือนหายไปจากความทรงจำของผู้คน กระทั่งกรมสามัญศึกษาได้มาตั้งโรงเรียนมัธยมศึกษาที่อำเภอศีขรภูมิ จึงได้ตั้งชื่อโรงเรียนว่า "ศีขรภูมิพิสัย"และชื่อของกุดไผทก็นำมาใช้เป็นชื่อของโรงเรียน "กุดไผทประชาสรรค์" ในตำบลกุดหวาย อำเภอศีขรภูมิ ในปัจจุบัน ต่อมาคำว่า "พิสัย" หายไปคงเหลือแต่คำว่า "อำเภอศีขรภูมิ" ซึ่งหมายถึงเมืองที่เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา[2]
- วันที่ 28 กรกฎาคม 2455 ยกเลิกอำเภอสุรพินท์ มารวมเข้ากับอำเภอศีขรภูมิ[3]
- วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2481 แยกพื้นที่หมู่ 4,9,11,20 ตำบลยาง และหมู่ 5 ตำบลจารพัต ตั้งเป็น ตำบลระแงง[4]
- วันที่ 3 เมษายน 2482 โอนพื้นที่หมู่ 8,12 (ในขณะนั้น) ของตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์ และพื้นที่หมู่ 5 (ในขณะนั้น) ของตำบลเมืองที อำเภอเมืองสุรินทร์ มาขึ้นกับตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ[5]
- วันที่ 10 กรกฎาคม 2482 โอนพื้นที่หมู่ 20,21 บ้านอายอง (ในตอนนั้น) ตำบลบุแกรง อำเภอท่าตูม มาขึ้นตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ[6][7]
- วันที่ 5 สิงหาคม 2484 โอนพื้นที่หมู่ 5,6 (ในขณะนั้น) ของตำบลยาง ไปขึ้นกับตำบลระแงง[8]
- วันที่ 10 มิถุนายน 2490 ตั้งตำบลกระออม แยกออกจากตำบลหนองฮะ ตั้งตำบลศรีสุข แยกออกจากตำบลหนองฮะ และตำบลสำโรงทาบ ตั้งตำบลคาละแมะ แยกออกจากตำบลขวาวใหญ่ และตำบลหนองฮะ ตั้งตำบลช่างปี่ แยกออกจากตำบลจารพัต ตำบลระแงง และตำบลแตล[9]
- วันที่ 2 ธันวาคม 2490 โอนพื้นที่หมู่ 19 บ้านท่าเรือ, หมู่ 20 บ้านราม (ในขณะนั้น) ของตำบลจารพัต อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์[10] ท้องที่จังหวัดเดียวกัน
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลระแงง ในท้องที่บางส่วนของตำบลระแงง[11]
- วันที่ 17 ธันวาคม 2500 ตั้งตำบลหนองเหล็ก แยกออกจากตำบลจารพัต ตั้งตำบลหนองไผ่ล้อม แยกออกจากตำบลสำโรงทาบ ตั้งตำบลหนองขวาว แยกออกจากตำบลระแงง[12]
- วันที่ 23 กันยายน 2501 แยกพื้นที่ตำบลสำโรงทาบ ตำบลศรีสุข ตำบลกระออม และตำบลหนองฮะ อำเภอศีขรภูมิ ไปตั้งเป็น กิ่งอำเภอสำโรงทาบ ขึ้นการปกครองกับอำเภอศีขรภูมิ[13]
- วันที่ 30 กันยายน 2501 โอนพื้นที่ตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับ กิ่งอำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ[14]
- วันที่ 16 ธันวาคม 2501 ตั้งตำบลหนองบัว แยกออกจากตำบลขวาวใหญ่[15]
- วันที่ 10 ธันวาคม 2502 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอสำโรงทาบ อำเภอศีขรภูมิ เป็น อำเภอสำโรงทาบ[16]
- วันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 โอนพื้นที่หมู่ 9 (ในขณะนั้น) ของตำบลแตล อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลบุแกรง อำเภอจอมพระ[17]
- วันที่ 22 กันยายน 2513 ตั้งตำบลกุดหวาย แยกออกจากตำบลยาง[18]
- วันที่ 4 สิงหาคม 2520 โอนพื้นที่หมู่ 9 บ้านจังเกา (ในขณะนั้น) ของตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ[19]
- วันที่ 31 มีนาคม 2524 ตั้งตำบลนารุ่ง แยกออกจากตำบลตรึม[20]
- วันที่ 16 มีนาคม 2526 โอนพื้นที่หมู่ 15 บ้านอังกัน (ในขณะนั้น) ของตำบลหนองเหล็ก อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลสำโรง อำเภอเมืองสุรินทร์[21]
- วันที่ 3 พฤศจิกายน 2526 โอนพื้นที่หมู่ 10 บ้านโนนลี, หมู่ 17 บ้านโสนน้อย (ในขณะนั้น) ของตำบลตรึม อำเภอศีขรภูมิ ไปขึ้นกับตำบลหนองไผ่ล้อม อำเภอสำโรงทาบ[22]
- วันที่ 23 ตุลาคม 2527 ตั้งตำบลตรมไพร แยกออกจากตำบลจารพัต[23]
- วันที่ 15 มกราคม 2536 ตั้งตำบลผักไหม แยกออกจากตำบลระแงง[24]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลระแงง เป็นเทศบาลตำบลระแงง[25] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 2 ธันวาคม 2554 เปลี่ยนแปลงชื่อเทศบาลตำบลระแงง อำเภอศีขรภูมิ เป็น เทศบาลตำบลศีขรภูมิ[26]
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอศีขรภูมิแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 15 ตำบล 228 หมู่บ้าน
1. | ระแงง | (Ra-ngaeng) | 15 หมู่บ้าน | 9. | หนองขวาว | (Nong Khwao) | 17 หมู่บ้าน | ||||||||||
2. | ตรึม | (Truem) | 18 หมู่บ้าน | 10. | ช่างปี่ | (Chang Pi) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||||
3. | จารพัต | (Charaphat) | 20 หมู่บ้าน | 11. | กุดหวาย | (Kut Wai) | 14 หมู่บ้าน | ||||||||||
4. | ยาง | (Yang) | 18 หมู่บ้าน | 12. | ขวาวใหญ่ | (Khwao Yai) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||||
5. | แตล | (Taen) | 22 หมู่บ้าน | 13. | นารุ่ง | (Na Rung) | 9 หมู่บ้าน | ||||||||||
6. | หนองบัว | (Nong Bua) | 18 หมู่บ้าน | 14. | ตรมไพร | (Trom Phrai) | 10 หมู่บ้าน | ||||||||||
7. | คาละแมะ | (Khalamae) | 15 หมู่บ้าน | 15. | ผักไหม | (Phak Mai) | 11 หมู่บ้าน | ||||||||||
8. | หนองเหล็ก | (Nong Lek) | 18 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอศีขรภูมิประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 16 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลระแงง
- เทศบาลตำบลผักไหม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักไหมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลระแงง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลระแงง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลศีขรภูมิ)
- องค์การบริหารส่วนตำบลตรึม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรึมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลจารพัต ครอบคลุมพื้นที่ตำบลจารพัตทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลยางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแตล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแตลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคาละแมะ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคาละแมะทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเหล็กทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขวาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองขวาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลช่างปี่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลช่างปี่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดหวายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลขวาวใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลขวาวใหญ่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนารุ่ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนารุ่งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลตรมไพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลตรมไพรทั้งตำบล
บุคคลที่มีชื่อเสียง
[แก้]พระภิกษุสงฆ์
[แก้]- พระราชวิมลโมลี (มานพ ปิยสีโล) นามสกุล เจื่อจันทร์ ป.ธ.9 เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พระมหาเจริญสุข คุณวีโร นามสกุล วงเวียน ป.ธ.9 รองเจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์
- พระครูสิทธิญาณโสภณ (เดช สจฺจญาโณ) นามสกุล ดวงใจ รองเจ้าคณะอำเภอประโคนชัย,เจ้าอาวาสวัดแสลงโทน จังหวัดบุรีรัมย์
ข้าราชการ,นักการเมือง
[แก้]- ฟาริดา สุไลมาน พรรคไทยสร้างไทย
- พันเอกสุธี สุขสากล ข้าราชการทหารบก กระทรวงกลาโหม
- วัลลภ ตังคณานุรักษ์ เลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และยังเป็นคณะกรรมการเกี่ยวกับเด็กอีกมากมาย
นักกีฬา
[แก้]- ปวีณา ทองสุก นักกีฬายกน้ำหนัก
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ราชบัณฑิตยสถาน. อ่านอย่างไร และ เขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2546.
- ↑ "ประวัติความเป็นมาของอำเภอศีขรภูมิ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-10-30. สืบค้นเมื่อ November 21, 2020.
- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เลิกและยุบอำเภอต่างๆ ในมณฑลอุบลลงเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 29 (0 ง): 982–983. July 28, 1912. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-06-14. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 3743. February 6, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลและอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 14–15. April 3, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 1055–1056. July 10, 1939.
- ↑ "แก้คำผิด ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๖ ตอนที่ ๒๔ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดสุรินทร์ หน้า ๑๐๕๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 1411. August 14, 1939.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 58 (0 ง): 2370–2371. August 5, 1941.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งตำบลในจังหวัดต่าง ๆ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (26 ง): 1114–1433. June 10, 1947. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 64 (58 ง): 3119–3120. December 2, 1947.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลระแงง อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 72 (74 ง): (ฉบับพิเศษ) 47-48. September 17, 1955.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. December 15, 1957.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ยกฐานะตำบลขึ้นเป็นกิ่งอำเภอ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (74 ง): 2607–2608. September 23, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตกิ่งอำเภอสำโรงทาบ ในท้องที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (76 ง): 2686. September 30, 1958.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม อำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัย อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอท่าตูม และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กับอำเภอกุมภวาปี และอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 75 (107 ง): 3052–3061. December 16, 1958.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอชุมพวง อำเภอเชียงยืน อำเภอแก้งคร้อ อำเภอสำโรงทาบ อำเภอคอนสาร อำเภอเซกา อำเภอทุ่งเสลี่ยม อำเภอบ้านด่าน อำเภอขนอม อำเภอบ้านแพรก อำเภอกระทู้ และอำเภอคลองใหญ่ พ.ศ. ๒๕๐๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 76 (113 ก): (ฉบับพิเศษ) 8-10. December 10, 1959. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศีขรภูมิและอำเภอจอมพระ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๐๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 82 (100 ก): (ฉบับพิเศษ) 28-30. November 19, 1965.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองสุรินทร์ และอำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (88 ง): 2672–2682. September 22, 1970.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศีขรภูมิกับอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 94 (71 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. August 4, 1977.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอศีขรภูมิ อำเภอปราสาท อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 98 (49 ง): 912–927. March 31, 1981.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศีขรภูมิกับอำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (37 ก): (ฉบับพิเศษ) 16-17. March 26, 1983.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอศีขรภูมิกับอำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. ๒๕๒๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (175 ก): (ฉบับพิเศษ) 10-12. November 3, 1983.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปราสาท อำเภอเมืองสุรินทร์ อำเภอศีขรภูมิ และอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (150 ง): 3926–3948. October 23, 1984.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (5 ง): (ฉบับพิเศษ) 87-91. January 15, 1993.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2020-11-21.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่อเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (ตอนพิเศษ 146 ง): 10. December 2, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ
- เทศบาลตำบลศีขรภูมิ เก็บถาวร 2013-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเหล็ก เก็บถาวร 2011-09-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน