ข้ามไปเนื้อหา

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ผู้นับถือศาสนาในประเทศญี่ปุ่น
(CIA World Factbook)[3]
ชินโต
  
70.5%
พุทธ
  
67.2%
คริสต์
  
1.5%
อื่น ๆ
  
5.9%
ที่มีจำนวนมากกว่า 100% เพราะชาวญี่ปุ่นหลายคนนับถือทั้งชินโตและศาสนาพุทธ

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น (งานวิจัยของเอ็นเอชเคใน ค.ศ. 2018)[4]

  ไม่มี (62%)
  พุทธ (31%)
  อื่น ๆ (1%)
  ไม่ระบุ (2%)

ศาสนาในประเทศญี่ปุ่น ส่วนใหญ่นับถือลัทธิชินโตกับศาสนาพุทธ ประมาณ 80% ทำพิธีชินโต สักการะบรรพบุรุษและคามิที่แท่นบูชาประจำบ้านกับศาลเจ้าชินโต ซึ่งมีจำนวนมากพอ ๆ กับศาสนาพุทธ การผสานระหว่างทั้งสอง เรียกโดยทั่วไปว่า ชินบุตสึ-ชูโง ก่อนที่จะมีรัฐชินโตในศตวรรษที่ 19[5] ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือชินโต มีแค่ 3% ที่ตอบในใบสอบถาม เพราะเข้าใจว่าบ่งบอกถึงลัทธิชินโต[6][7] ประมาณสองในสามระบุเป็น "ไม่มีศาสนา" (無宗教, มูชูเกียว) และไม่ถือเป็นไม่มีศาสนา เพราะ มูชูเกียว กล่าวถึงศาสนาที่ดูปกติ "ธรรมดา" ในขณะที่ปฏิเสธการเข้าร่วมกับขบวนการที่ถูกกล่าวเป็นพวกต่างชาติหรือหัวรุนแรง[8].

ศาสนาหลัก

[แก้]

ลัทธิชินโต

[แก้]

ชินโต หรือ คามิโนะมิจิ คือศาสนาพื้นเมืองดั้งเดิมของชาวญี่ปุ่น ที่ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่นับถือ[9] จอร์จ วิลเลียม ระบุว่าชินโตเป็นศาสนาที่เน้นการกระทำ[10] โดยเฉพาะการปฏิบัติพิธีกรรมอย่างเคร่งครัดเพื่อเชื่อมโยงรากเหง้าของญี่ปุ่นโบราณ[11] มีเอกสารทางศาสนา คือ โคจิกิ และ นิฮงโชกิ บันทึกและประมวลแนวทางการปฏิบัติตามธรรมเนียมชินโตเป็นครั้งแรกเมื่อราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 ซึ่งเป็นการรวบรวมความเชื่อพื้นเมืองและเทวตำนานต่าง ๆ เอาไว้ หาใช่ลัทธิชินโตที่เป็นเอกภาพ[12] กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 21 ลัทธิชินโตมีศาลเจ้าเป็นของตนเอง ภายในประดิษฐานเทพเจ้าหลายพระองค์ เรียกว่า คามิ[13] ซึ่งศาลเหล่านี้สร้างด้วยวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น เป็นอนุสาวรีย์จากสงคราม การเกษตรกรรม และใช้เพื่อองค์กรศาสนาด้านอื่น ๆ ด้วย ศาสนิกชนมีความเชื่อที่หลากหลาย และมีธรรมเนียมปฏิบัติที่ต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น มีการใช้เครื่องแต่งกายและพิธีกรรมทางศาสนาที่ตกทอดมาแต่ยุคนาระ (ค.ศ. 710–794) และยุคเฮอัง (ค.ศ. 794–1185)[12]

คำว่า "ชินโต" เดิมออกเสียงว่า ชินโด[14] เป็นคำจากภาษาจีนว่า เฉินต่าว (จีน: 神道; พินอิน: shén dào)[15] ประกอบด้วยคันจิสองตัวคือคำว่า ชิน (神) แปลว่า วิญญาณ หรือคามิ กับคำว่า โต (道) แปลว่า เส้นทางแห่งปรัชญาหรือการศึกษา[12][15] ปรากฏชื่อ "ชินโด" ครั้งแรกในเอกสารยุคหลังคริสต์ศตวรรษที่ 6[14] ส่วน คามิ มีความหมายว่า "วิญญาณ" "แก่นแท้" หรืออาจแปลว่า "เทพเจ้า" อันหมายถึงพลังงานที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์ต่าง ๆ[16] คามิปรากฏอยู่หลายรูปแบบ ตั้งแต่ หิน ต้นไม้ แม่น้ำ สัตว์ สถานที่ หรือแม้แต่มนุษย์[16] คามิกับมนุษย์ไม่อาจแยกออกจากกัน เพราะอาศัยอยู่บนโลกเดียวกัน และต่างมีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนต่อกัน[12]

ลัทธิชินโตถือเป็นศาสนาที่มีประชากรนับถือมากที่สุดในประเทศ มีประชากรราวร้อยละ 80 ปฏิบัติตนตามธรรมเนียมชินโต แต่มีประชากรน้อยมากที่ระบุตนเองว่าเป็นศาสนิกชนของชินโตในการสำรวจ เพราะชาวญี่ปุ่นเข้าศาลเจ้าชินโต และขอพรจากเทพเจ้าได้ โดยไม่ต้องเข้าร่วมองค์กรทางศาสนาใด ๆ[6] ทั้งยังไม่มีพิธีกรรมเพื่อเข้าเป็นศาสนิกชนชินโตอย่างเป็นทางการ หากจะมีการนับก็จะประมาณการจากจำนวนผู้เข้าร่วมนิกายย่อยของลัทธิชินโตที่จัดตั้งใหม่แทน[7] มีศาลเจ้าชินโต 100,000 แห่ง[13] และมีนักบวชจำนวน 78,890 คน ทั่วประเทศญี่ปุ่น[17]

ศาสนาพุทธ

[แก้]

ศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 538 หรือ 552[18] โดยแพร่หลายมาจากอาณาจักรแพ็กเจ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเกาหลีใต้)[18] กษัตริย์แพ็กเจส่งม้วนภาพพระพุทธเจ้าและพระสูตรบางส่วนให้แก่จักรพรรดิญี่ปุ่น จากนั้นศาสนาพุทธก็เผชิญการต่อต้านจากกลุ่มอนุรักษ์นิยมในช่วงระยะสั้น ๆ ราชสำนักญี่ปุ่นจึงให้การยอมรับศาสนาพุทธใน ค.ศ. 587[18] ในช่วงเวลานั้นรัฐยามาโตะมีอำนาจเหนือชนเผ่าต่าง ๆ มีความเชื่อเรื่องเทพบรรพชนและเทพจากธรรมชาติ[19] ในช่วงเวลานั้นก็เริ่มมีชนกลุ่มอื่นอพยพเข้ามาบนหมู่เกาะญี่ปุ่น ได้แก่ คลื่นผู้อพยพจากคาบสมุทรเกาหลี[20] ชนบนหลังม้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ[18] และการรับวัฒนธรรมจีนแผ่นดินใหญ่ยุคราชวงศ์สุย[21][20] ศาสนาพุทธให้การสนับสนุนอำนาจรัฐ และหล่อหลอมตนเองเข้ากับวัฒนธรรมเอเชียตะวันออก[19] คณะขุนนางญี่ปุ่นเริ่มสร้างวัดพุทธที่เมืองนาระ และเมืองเฮอัง (ปัจจุบันคือเกียวโต)[19]

เมื่อรัฐบาลโชกุนมีอำนาจในคริสต์ศตวรรษที่ 12 มีการย้ายเมืองหลวงฝ่ายบริหารไปที่เมืองคามากูระ ศาสนาพุทธรูปแบบอื่น ๆ ก็เข้ามาเผยแผ่มากขึ้น โดยเฉพาะนิกายเซน ซึ่งเป็นนิกายที่ได้รับความนิยมมาก และในยุคฟื้นฟูเมจิเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีนโยบายยกลัทธิชินโตเป็นศาสนาประจำชาติ มีการแยกศาสนสถานของชินโตกับพุทธออกจากกัน ตามมาด้วยนโยบายกำจัดศาสนาพุทธอย่างเป็นระบบ หวังให้หมดไปจากแผ่นดินญี่ปุ่น เรียกว่า ไฮบุตสึคิชากุ

ค.ศ. 2018 มีพระภิกษุ นักพรต และผู้นำของศาสนาพุทธมากกว่า 355,000 รูป[22] ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมคือจำนวน 40,000 รูป เมื่อ ค.ศ. 2000[23]

การจำแนกประชากร

[แก้]

รายงานจากงานวิจัยรวบรวมสถิติศาสนารายปีใน ค.ศ. 2015 โดยทบวงวัฒนธรรม, รัฐบาลญี่ปุ่น: มีกลุ่มผู้นับถือศาสนา 181,000 กลุ่มในประเทศญี่ปุ่น[24]

รายงานจากงานวิจัยใน ค.ศ. 2006[25] และ 2008[26] ชาวญี่ปุ่นที่ระบุตัวตนเป็นศาสนาองค์กรมีน้อยกว่า 40% ของประชากร ประมาณ 35% นับถือศาสนาพุทธ, 3 ถึง 4% เป็นสมาชิกของลัทธิชินโต และน้อยกว่า 1%[27][28][29] ถึง 2.3% นับถือศาสนาคริสต์[note 1]

ผู้นับถือศาสนาในญี่ปุ่น
ศาสนา 1984[30] 1996[31] 2008[26]
พุทธ 27% 29.5% 34%
ชินโต 3% 1% 3%
คริสต์ 2% 2% 1%
ผู้นับถือศาสนาในญี่ปุ่นแบ่งตามจังหวัด (ค.ศ. 1996)[31]
จังหวัด พุทธ
เท็นได
หรือ
ชิงงง
พุทธ
นิกาย
สุขาวดี
พุทธ
นิกาย
เซน
พุทธ
นิชิเร็น
สมาคม
สร้างคุณค่า
สำนักพุทธอื่นๆ พุทธองค์รวม สำนักหรือ
องค์กรชินโต
คริสต์ ชินโตพื้นบ้าน
หรือไม่นับถือ
ฮกไกโด ~3% 13.3% 8.2% 3.2% ~2% ~2% ~31.7% ~2% ~1% ~65.3%
อาโอโมริ ~1% 10.3% 5.6% 3.4% ~2% ~3% ~25.3% ~2% ~1% ~71.7%
อิวะเตะ ~2% 6.1% 12.8% ~0 ~2% ~3% ~25.9% ~0 ~1% ~73.1%
มิยางิ ~3% 4.8% 9.5% ~2% ~2% ~2% ~23.3% ~0 ~1% ~75.7%
อากิตะ ~0 6.9% 9.5% ~3% ~2% ~2% ~21.4% ~3% ~0 ~75.6%
ยามางาตะ ~4% 5.6% 8.5% ~3% ~3% 3.4% ~27.5% ~2% ~1% ~69.5%
ฟูกูชิมะ 5.2% 4.8% 5.2% ~0 ~3% ~3% ~21.2% ~0 ~0 ~78.8%
อิบารากิ 7.1% 4.1% ~2% ~2% ~3% ~2% ~20.2% ~1% ~1% ~77.8%
โทจิงิ 6% 3.1% ~3% ~3% 3.1% ~2% ~20.2% ~0 ~1 ~78.8%
กุมมะ 6.6% 3.6% 5.8% ~3% ~3% ~2% ~24% ~1% ~2% ~73%
ไซตามะ 5.8% 5.2% ~3% ~2% 3.3% ~1% ~20.3% ~0 ~2% ~77.7%
ชิบะ 3.8% 4.5% ~1% 3.3% ~3% ~1% ~16.6% ~0 ~1% ~82.4%
โตเกียว 3.4% 8.3% ~2% 3.3% 4% ~2% ~23% ~1% 3.4% ~72.6%
คานางาวะ ~3% 5.5% 3.7% 3.7% 3.5% ~2% ~21.4% ~1% ~3% ~74.6%
นีงาตะ 3.2% 10.6% 4.9% ~1% ~2% ~2% ~23.7% ~1% ~1% ~74.3%
โทยามะ ~2% 41.3% ~1% ~2% ~1% ~1% ~48.3% ~0 ~0 ~51.7%
อิชิกาวะ ~2 36.2% ~1% ~1% ~0 ~3% ~43.2% ~1% ~1% ~54.8%
ฟูกูอิ ~2% 41.4% 5.5% 3.9% ~1% ~3% ~56.8% ~1% ~0 ~42.2%
ยามานาชิ ~1% 4.5% 6.2% 8.9% ~3% ~3% ~26.6% ~1% ~1% ~71.4%
นางาโนะ 3.5% 11.8% 7.6% ~2% ~3% ~2% ~29.9% ~1% ~1% ~68.1%
กิฟุ ~3% 23.2% 6.8% ~1% ~3% ~1% ~38.1% ~1% ~1% ~59.9%
ชิซูโอกะ ~1% 6.2% 9.4% 7.3% 3.6% ~4% ~31.5% ~1% ~1% ~66.5%
ไอชิ ~3% 16.7% 8.5% ~1% ~3% ~2% ~34.2% ~2% ~2% ~61.8%
มิเอะ ~3% 22.9% 4.2% ~1% ~2% ~2% ~35.1% ~1% ~1% ~62.9%
ชิงะ 3% 26.7% 3.2% ~2% ~3% ~0 ~37.9% ~0 ~1% ~61.1%
เกียวโต ~3% 17.5% 3.4% ~2% ~3% ~3% ~31.9% ~2% ~2% ~66.1%
โอซากะ 5.9% 15.6% ~3% 3% 5.2% ~1% ~33.7% ~1% ~1% ~64.3%
เฮียวโงะ 8.6% 12.2% 3.1% ~3% 3.1% ~3% ~33% ~2% ~2% ~63%
นาระ 4.2% 17.3% ~1% ~3% ~3% ~2% ~30.5% ~0 ~1% ~68.5%
วากายามะ 9.6% 13.5% ~3% ~1% 3.5% ~2% ~32.6% ~0 ~0 ~67.4%
ทตโตะริ ~3% 10.4% 8.8% 4% ~2% ~3% ~31.2% ~3% ~1% ~64.8%
ชิมาเนะ ~4% 18.4% 6.5% ~2% ~1% ~3% ~30.9% ~2% ~1% ~66.1%
โอกายามะ 16.6% 5.1% 3% 5.9% ~3% 0 ~33.6% ~2% ~1% ~63.4%
ฮิโรชิมะ 4.4% 35.3% 3.6% ~2% 4.9% ~1% ~51.2% ~2% ~2% ~44.8%
ยามางูจิ ~3% 21.9% 3.8% ~2% 3.8% ~1% ~35.5% ~1% ~1% ~62.5%
โทกูชิมะ 19.8% 6.7% ~0 ~1% 3% ~1% ~31.5% ~1% ~1% ~66.5%
คางาวะ 14% 18% ~1% ~2% ~3% ~1% ~39% ~0 ~1% ~60%
เอฮิเมะ 9.3% 6.7% 5.3% ~2% ~3% ~1% ~27.3% ~1% ~2% ~69.7%
โคจิ 6.3% 6.3% ~0 ~1% ~3% ~1% ~17.6% 5.5% ~0 ~76.9%
ฟูกูโอกะ ~2% 24.1% 3.3% 3% 3.3% ~2% ~37.7% ~1% ~2% ~59.3%
ซางะ ~4% 21.9% 6.1% ~3% ~2% ~3% ~40% ~0 ~0 ~60%
นางาซากิ 4.9% 19.5% 3.6% 5.1% ~3% ~3% ~39.1% ~2% 5.1% ~53.8%
คูมาโมโตะ ~2% 28.4% ~3% ~2% ~2% ~1% ~38.4% ~0 ~1% ~61.6%
โออิตะ ~3% 20.7% 4.7% ~3% ~3% ~1% ~35.4% ~2% ~1% ~61.6%
มิยาซากิ ~3% 18.2% ~3% ~3% ~3% 3.3% ~33.5% 3.8% ~1% ~61.7%
คาโงชิมะ ~2% 29.8% ~1% ~2% ~3% 6% ~43.8% ~3% ~0 ~53.2%
โอกินาวะ ~0 ~0 ~0 ~0 3.6% ~0 ~3,6% ~0 ~3 ~93.4%
ญี่ปุ่น 4% 12.9% 4.1% ~3% 3% ~2.5% ~29.5% ~1% ~2% ~67.5%

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รายงานจาก the Dentsu survey ประจำปี 2006: 1% นับถือโปรเตสแตนต์, 0.8% นับถือโรมันคาทอลิก และ 0.5% นับถืออีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์[25]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Japan - Country. CIA, Government of the United States.
  2. "Population Estimates Monthly Report - December 1, 2020 (Final estimates)".
  3. CIA World Factbook:[1]
    • ชินโต: 70.5%
    • พุทธ: 67.2%
    • คริสต์: 1.5%
    • อื่น ๆ: 5.9%

    Percentages calculated using the official total population figure of 126,088,000 as of the end of 2020.[2]

  4. "ISSP" (PDF). NHK. 2018.
  5. Reischauer, Edwin O.; Jansen, Marius B. (1988). The Japanese today: change and continuity (2nd ed.). Belknap Press of Harvard University Press. p. 215. ISBN 978-0-674-47184-9.
  6. 6.0 6.1 Engler, Price. 2005. p. 95
  7. 7.0 7.1 Williams, 2004. pp. 4-5
  8. LeFebvre, J. (2015). "Christian wedding ceremonies: 'Nonreligiousness' in contemporary Japan". Japanese Journal of Religious Studies, 42(2), 185-203
  9. Williams, 2004. p. 4
  10. Williams, George (2004). Shinto. Religions of the World. Philadelphia: Infobase Publishing (ตีพิมพ์ 2009). p. 6. ISBN 9781438106465. สืบค้นเมื่อ 12 May 2019. Shinto is an action-centered religion (one based on actions) and not a confessional religion (one that requires a set of beliefs or a profession of faith).
  11. John Nelson. A Year in the Life of a Shinto Shrine. 1996. pp. 7–8
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 Richard Pilgrim, Robert Ellwood (1985). Japanese Religion (1st ed.). Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice Hall Inc. pp. 18–19. ISBN 978-0-13-509282-8.
  13. 13.0 13.1 Breen, Teeuwen. 2010. p. 1
  14. 14.0 14.1 Stuart D. B. Picken, 1994. p. xxi
  15. 15.0 15.1 Sokyo, Ono (1962). Shinto: The Kami Way (1st ed.). Rutland, VT: Charles E Tuttle Co. p. 2. ISBN 978-0-8048-1960-2. OCLC 40672426.
  16. 16.0 16.1 Stuart D. B. Picken, 1994. p. xxii
  17. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Bestor, Yamagata. 2011. p. 65
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Brown, 1993. p. 455
  19. 19.0 19.1 19.2 Brown, 1993. p. 456
  20. 20.0 20.1 Brown, 1993. p. 454
  21. Brown, 1993. p. 453
  22. Agency for Cultural Affairs (2019). 宗教年鑑 令和元年版 [Religious Yearbook 2019] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). p. 35.
  23. Agency for Cultural Affairs (2002). 宗教年鑑 平成13年版 [Religious Yearbook 2001] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs. p. 31. ISBN 978-432406748-2.
  24. Iwai, Noriko (11 October 2017). Measuring religion in Japan: ISM, NHK and JGSS (PDF) (Report). JGSS Research Center.
  25. 25.0 25.1 Dentsu Communication Institute, Japan Research Center: Sixty Countries' Values Databook (世界60カ国価値観データブック).
  26. 26.0 26.1 "2008 NHK survey of religion in Japan — 宗教的なもの にひかれる日本人〜ISSP国際比較調査(宗教)から〜" (PDF). NHK Culture Research Institute.
  27. Mariko Kato (February 24, 2009). "Christianity's long history in the margins". The Japan Times. The Christian community itself counts only those who have been baptized and are currently regular churchgoers — some 1 million people, or less than 1 percent of the population, according to Nobuhisa Yamakita, moderator of the United Church of Christ in Japan
  28. "Christians use English to reach Japanese youth". Mission Network News. 3 September 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2010. The population of Japan is less than one-percent Christian
  29. Heide Fehrenbach, Uta G. Poiger (2000). Transactions, transgressions, transformations: American culture in Western Europe and Japan. Berghahn Books. p. 62. ISBN 978-1-57181-108-0. ... followers of the Christian faith constitute only about a half percent of the Japanese population
  30. 1984 NHK survey of religion in Japan. Results recorded in: Bestor, Yamagata, 2011, p. 66
  31. 31.0 31.1 Religion in Japan by prefecture, 1996

สารานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]