เทียนไถ
เทียนไถ | |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาษาจีน | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮั่นยฺหวี่พินอิน | จีนกลางมาตรฐาน สป.จีน: Tiāntāi จีนกลางมาตรฐานสาธารณรัฐจีน: Tiāntái | ||||||||||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | มาจาก "เขาเทียนไถ" (หอคอยสวรรค์) | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | Thiên Thai | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮ้าน-โนม | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 천태 | ||||||||||||||||||||||||||||
ฮันจา | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||||||||||
คันจิ | 天台 | ||||||||||||||||||||||||||||
|
เทียนไถ (จีน: 天台; พินอิน: จีนกลางมาตรฐาน สป.จีน: Tiāntāi, จีนกลางมาตรฐานสาธารณรัฐจีน: Tiāntái, ภาษาอู๋สำเนียงไทโจว (ภาษาพื้นเมืองเทียนไถ): Thiethei) เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายมหายานในประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และเวียดนาม เป็นนิกายที่นับถือสัทธรรมปุณฑรีกสูตรว่าเป็นคำสอนสูงสุดของพุทธศาสนา[1] ในญี่ปุ่นนิกายนี้เรียกว่าเท็นได, ในเกาหลีเรียกว่าชอนแท, และในเวียดนามเรียกว่าเทียนไท
ชื่อนิกายมาจากการที่ท่านจื้ออี้ (538–597 CE) บูรพาจารย์ลำดับที่ 4 ของนิกายอาศัยอยู่บนเขาเทียนไถ[2] จื้ออี้ได้รับการยกย่องเช่นกันในฐานะที่เป็นบุคคลสำคัญคนแรก ที่แยกสำนักนิกายจากขนบพุทธศาสนาแบบอินเดีย แล้วสร้างขนบพุทธศาสนาแบบจีน นิกายเทียนไถบางครั้งก็เรียกว่า "นิกายสัทธรรมปุณฑรีก" เพราะสัทธรรมปุณฑรีกสูตรมีบทบาทสำคัญมากในคำสอน[3]
ในช่วงราชวงศ์สุย นิกายเทียนไถกลายเป็นหนึ่งในนิกายชั้นนำของศาสนาพุทธแบบจีน มีวัดขนาดใหญ่จำนวนมากที่ได้รับการสนับสนุนจากจักรพรรดิและผู้อุปถัมภ์ที่ร่ำรวย อิทธิพลของนิกายจางหายไปและฟื้นขึ้นมาอีกครั้งเมื่อถึงราชวงศ์ถัง และได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงราชวงศ์ซ่ง หลักคำสอนและการปฏิบัติของนิกายนี้มีอิทธิพลต่อนิกายสำคัญอื่นในจีน เช่น ฉาน และ สุขาวดี
ประวัติ
[แก้]ไม่เหมือนนิกายก่อนหน้านี้ของพุทธศาสนาแบบจีน นิกายเทียนไถนั้นมีต้นกำเนิดมาจากจีนทั้งกระบิ[4] นิกายของศาสนาพุทธที่มีอยู่ในประเทศจีนก่อนที่จะเกิดขึ้นของนิกายเทียนไถนั้น โดยทั่วไปเชื่อว่าจะเป็นแทนของนิกายที่ได้รับการถ่ายโดยตรงจากอินเดีย โดยมีการปรับเปลี่ยนคำสอนและวิธีการขั้นพื้นฐานด้านการปฏิบัติเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม เทียนไถเติบโตและเจริญรุ่งเรืองในฐานะนิกายพุทธแบบจีนพื้นเมืองแท้ ๆ ในสมัยจื้ออี้ปรมาจารย์ที่ 4 ผู้พัฒนาระบบหลักคำสอนและการปฏิบัติแบบชาวพุทธชาวจีนอย่างกว้างขวางโดยเขียนตำราและอรรถกถามากมาย
เมื่อเวลาผ่านไป นิกายเทียนไถกลายมีหลักคำสอนที่กว้างขวางสามารถดูดซับแนวคิดจากนิกายอื่น ๆ แม้ว่าจะไม่มีโครงสร้างที่เป็นทางการใด ๆ[4] นิกายนี้เน้นทั้งการศึกษาพระคัมภีร์และการฝึกสมาธิและสอนว่าการรู้แจ้งสำเร็จได้ด้วยการพิจารณาจิต[5]
คำสอนของนิกายนี้ ส่วนใหญ่อิงกับคำสอนของจื้ออี้, จ้านหราน และจือหลี่ ซึ่งอยู่ระหว่างศตวรรษที่ 6 และ 11 คณาจารย์เหล่านี้ใช้วิธีการที่เรียกว่า "การจำแนกประเภทของคำสอน" โดยความพยายามที่จะประสานคำสอนทางพุทธศาสนาจำนวนมากที่มีแนวคิดขัดแย้งกัน ซึ่งถูกนำเข้ามาในจีน นี่คือความสำเร็จผ่านการตีความอิงกับสัทธรรมปุณฑรีกสูตร
หลักคำสอน
[แก้]หนาน ไหวจิ่น ผู้เชี่ยวชาญด้านพุทธศาสนานิกายยฉานในศตวรรษที่ 20 สรุปการสอนหลักของนิกายเทียนไถดังต่อไปนี้:
- มียานเดียว คือ เอกยาน
- ยานแห่งการบรรลุสัมมาสัมพุทธะ เป็นหลักการสำคัญ;
- สมาธิสามรูปแบบ คือ สมถะ — วิปัสสนา มีความสัมพันธ์กับการทำสมาธิโดยพิจารณาสุญญตา
- มีมรรคเป็นแนวทางการปฏิบัติเพื่อความรู้แจ้ง [6]
การแบ่งคำสอนในพุทธศาสนา
[แก้]นิกายนี้จัดแบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นห้าช่วงคือ
- แสดงอวตังสกสูตร มีใจความว่าจักรวาลทั้งหมดเป็นเพียงการปรากฏของจิตที่ยิ่งใหญ่ที่สุด
- แสดงธรรมแบบหีนยาน ประกอบด้วยอริยสัจ 4 และมรรคมีองค์แปด
- แสดงวิมลเกียรตินิทเทศสูตร ซึ่งให้ความสำคัญแก่อุดมคติของพระโพธิสัตว์
- แสดงวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร มีใจความว่าสิ่งสูงสุดเป็นสุญตาคือความว่าง
- แสดงสัทธรรมปุณฑริกสูตร มีใจความว่าสรรพสัตว์ทั้งหลายมีความเป็นพุทธะอยู่ในตัว เมื่อกำจัดอวิชชาได้สิ้นเชิง พุทธภาวะจะแสดงออกมา
นิกายนี้แบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าตามวิธีการสอนและลักษณะคำสอนดังนี้
- วิธีการสอน 4 อย่าง
- วิธีฉับพลัน ใช้กับผู้มีปัญญาและความสามารถสูง
- วิธีค่อยป็นค่อยไป ใช้กับบุคคลทั่วไป
- วิธีลับเฉพาะตน ใช้กับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ
- วิธีอันไม่เจาะจง ใช้กับคนหมู่มาก
- ลักษณะคำสอน 4 อย่าง
- คำสอนในพระไตรปิฎก แสดงแก่พระสาวกและพระปัจเจกพุทธเจ้า
- คำสอนสามัญ เป็นลักษณะร่วมของหีนยานและมหายาน แสดงแก่พระสาวก พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์
- คำสอนพิเศษ แสดงแก่พระโพธิสัตว์โดยเฉพาะ
- คำสอนสมบูรณ์ แสดงหลักทางสายกลางและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคัมภีร์ทั้งหลาย
นิกายเท็นได
[แก้]ก่อตั้งโดยไซโช ซึ่งเป็นที่รู้จักหลังมรณภาพว่าเดนเกียว ไดชิ ได้รับอิทธิพลจากนิกายเทียนไท้ของจีน โดยนับถือสัทธรรมปุณฑริกสูตรเป็นคัมภีร์หลัก แนวความคิดพื้นฐานของนิกายนี้คือ “อิชิจิสุ” สัจจะมีเพียงหนึ่ง เน้นการปฏิบัติทางสมาธิภาวนา ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหลักปฏิบัติของนิกายเซนด้วย
หลักอิชิจิสุทำให้นิกายนี้มีลักษณะประนีประนอมต่อนิกายอื่นและต่อศาสนาชินโตด้วย ไซโชได้สร้างวัดเอนเรียวกูจิขึ้นที่ภูเขาไฮอิ เมื่อ พ.ศ. 1341 วัดนี้เป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาในญี่ปุ่นกว่า 800 ปีซึ่งในช่วงดังกล่าว พระสงฆ์นิกายนี้มีบทบาททางการเมืองด้วย
ดูเพิ่ม
[แก้]- เทียนไถในประเทศเกาหลี
- เทียนไถในประเทศญี่ปุ่น
- โจว จี้ฉาง
- วัดกั๋วชิง
- หัวเหยียน
- ศาสนาพุทธในประเทศจีน
- ศาสนาชาวบ้านจีน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Groner 2000, p. 199–200.
- ↑ Snelling 1987, p. 154.
- ↑ Ziporyn 2004.
- ↑ 4.0 4.1 Groner 2000, pp. 248–256.
- ↑ Williams 2008, p. 162.
- ↑ Huaijin 1997, p. 91.
ข้อมูล
[แก้]- Buswell, Robert Jr; Lopez, Donald S. Jr., บ.ก. (2013), Princeton Dictionary of Buddhism., Princeton, NJ: Princeton University Press, ISBN 9780691157863
- Chappell, David W. (1987), "Is Tendai Buddhism Relevant to the Modern World?" (PDF), Japanese Journal of Religious Studies, 14 (2/3), คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 4, 2009, สืบค้นเมื่อ August 16, 2008
{{citation}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) - Donner, Neal (1991), Sudden and Gradual Intimately Conjoined: Chih-i's Tíen-t'ai View. In: Peter N. Gregory (editor), (1991), Sudden and Gradual. Approaches to Enlightenment in Chinese Thought, Delhi: Motilal Banarsidass Publishers Private Limited
- Groner, Paul (2000), Saicho : The Establishment of the Japanese Tendai School, University of Hawaii Press, ISBN 0824823710
- Hua, Hsuan (1977), The Shurangama Sutra, Volume 1, Dharma Realm Buddhist Association
- Huai-Chin, Nan (1997). Basic Buddhism: Exploring Buddhism and Zen. York Beach, Me.: Samuel Weiser. ISBN 1578630207
- Luk, Charles (1964), The Secrets of Chinese Meditation, Rider
- Ng, Yu-kwan (1990). Chih-i and Madhyamika, dissertation, Hamilton, Ontario: McMaster University
- Snelling, John (1987), The Buddhist handbook. A Complete Guide to Buddhist Teaching and Practice, London: Century Paperbacks
- Williams, Paul (2008). Mahayana Buddhism: The Doctrinal Foundations 2nd edition. Routledge
- Wu, Rujun (1993). T'ien-T'ai Buddhism and early Mādhyamika. National Foreign Language Center Technical Reports. Buddhist studies program. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-1561-0, ISBN 978-0-8248-1561-5. Source: [1] (accessed: Thursday April 22, 2010)
- Ziporyn, Brook (2004). Tiantai School, in Robert E. Buswell, ed., Encyclopedia of Buddhism, New York, McMillan. ISBN 0-02-865910-4
- Ziporyn, Brook (2004), Being and ambiguity: philosophical experiments with Tiantai Buddhism, Illinois: OpenCourt, ISBN 978-0-8126-9542-7
บรรณานุกรม
[แก้]- Chappell, David Wellington (2013). A Guide to the Tiantai Fourfold Teachings, in: Tsugunari Kubo; Terry Abbott; Masao Ichishima; David Wellington Chappell, Tiantai Lotus Texts (PDF). Berkeley, California: Bukkyō Dendō Kyōkai America. pp. 153–210. ISBN 9781886439450.[ลิงก์เสีย]
- Chen, Jinhua (1999). Making and Remaking History: A Study of Tiantai Sectarian Historiography. Tokyo: International Institute for Buddhist Studies. ISBN 4906267432.
- Hurvitz, Leon (1962). Chih-i (538–597): An Introduction to the Life and Ideas of a Chinese Buddhist Monk. Mélanges Chinois et Bouddhiques XII, Bruxelles: Institut Belge des Hautes Études Chinoises
- Katō Bunno, Tamura Yoshirō, Miyasaka Kōjirō (tr.), (1975 ). The Threefold Lotus Sutra: The Sutra of Innumerable Meanings; The Sutra of the Lotus Flower of the Wonderful Law; The Sutra of Meditation on the Bodhisattva Universal Virtue, Weatherhill & Kōsei Publishing, New York & Tōkyō (Rissho Kosaikai) PDF
- Magnin, Paul (1979). La vie et l'oeuvre de Huisi (515 - 577) : (les origines de la secte bouddhique chinoise du Tiantai). Paris: Adrien-Maisonneuve. ISBN 2-85539-066-4.
- Penkover, Linda (1979). In the Beginning ... Guanding and the Creation of Early Tiantai. Journal of the international Association of Buddhist Studies 23 (2), 245-296.
- Stevenson, Daniel B. (1986). The Four Kinds of Samādhi in Early T'ien-t'ai Buddhism. In: Peter N. Gregory: Traditions of Meditation in Chinese Buddhism Vol. 1, Honolulu: University of Hawaii Press, pp. 45–98. ISBN 0-8248-1088-0.
- Swanson, Paul L. (1989). Foundations of T'ien-T'ai Philosophy, Asian Humanities Press, California. ISBN 0-89581-919-8.
- Ziporyn, Brook. (2016) Emptiness and Omnipresence: An Essential Introduction to Tiantai Buddhism. Indiana University Press, Bloomington. ISBN 9780253021083
- ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กทม. สุขภาพใจ. 2545
แหล่งข้อมูลอิ่น
[แก้]- Buddhism in a nutshell: Tien-tai
- Digital Dictionary of Buddhism[ลิงก์เสีย] (log in with userID "guest")