ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ชวลิต ประกอบสุข (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 29: บรรทัด 29:
ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต้งตั้งให้เจ้าฝ่ายหน้าเป็นที่ '''"เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"'''<ref>ชื่อตาม ''พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน'' ของ[[หม่อมอมรวงศ์วิจิตร]]</ref> เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ประเทศราช องค์ที่ 3
ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต้งตั้งให้เจ้าฝ่ายหน้าเป็นที่ '''"เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"'''<ref>ชื่อตาม ''พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน'' ของ[[หม่อมอมรวงศ์วิจิตร]]</ref> เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ประเทศราช องค์ที่ 3


พ.ศ. 2335 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ให้ไพร่พลก่อเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิเจ้าพระวอ เรียกขานว่า “ธาตุพระวอ”
พ.ศ. 2335 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ให้ไพร่พลก่อเจดีย์ไว้ที่วัดสมอเลียบสักเมือง เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของเจ้าพระวอ เรียกขานว่า “ธาตุพระวอ”


พ.ศ. 2338 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกขอรับพระราชทานเจ้าทิดพรหมขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีสืบต่อไป และเจ้าก่ำ (บุตรเจ้าพระวอ) เป็นเจ้าอุปราช ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าทิดพรหมเป็นที่ '''เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์''' เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 2 และเจ้าก่ำเป็นที่เจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ. 2338 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกขอรับพระราชทานเจ้าทิดพรหมขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีสืบต่อไป และเจ้าก่ำ (บุตรเจ้าพระวอ) เป็นเจ้าอุปราช ต่อมา[[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าทิดพรหมเป็นที่ '''เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์''' เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 2 และเจ้าก่ำเป็นที่เจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:28, 17 สิงหาคม 2564

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช
เจ้าประเทศราช
ครองราชย์พ.ศ. 2334
รัชสมัย20ปี
รัชกาลก่อนหน้าสมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร
รัชกาลถัดไปเจ้านู
ประสูติพ.ศ. 2269
พิราลัยพ.ศ. 2354
พระมเหสีไม่ปรากฏพระนาม
เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช
พระบุตร6 องค์
ราชวงศ์สุวรรณปางคำ
พระบิดาเจ้าพระวรราชปิตา
พระมารดาพระนางบุศดี

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช[1] หรือเรียกกันทั่วไปในเอกสารต่างๆ ว่า "พระวิไชยราชขัติยวงศา" เป็นเจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 (พ.ศ. 2335 - 2354) พระองค์สืบเชื้อสายเจ้านายลาวจากราชวงศ์ล้านช้างเวียงจันทน์อันเก่าแก่ อันเนื่องมาจากพระอัยยิกา (ย่า) ของพระองค์ซึ่งเป็นพระมเหสีของเจ้าปางคำ (ปู่) มีศักดิ์เป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จึงเป็นเหตุให้มีสร้อยราชทินนามมีคำว่า สุริยวงศ์ ต่อท้ายนาม

อีกทั้งยังสืบเชื้อสายมาจากพระอัยกา (ปู่) คือ พระเจ้าสุวรรณปางคำ ทรงเป็นเจ้านายเชื้อสายไทลื้อแห่งราชวงศ์เชียงรุ่งแสนหวีฟ้า อาณาจักรหอคำเชียงรุ่ง และสืบเชื้อมาแต่สายราชวงศ์สุวรรณปางคำ ปฐมกษัตริย์ผู้สร้างนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (จังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน) สืบมาแต่สายราชวงศ์สุวรรณปางคำ นครเชียงรุ่งแสนหวีฟ้าสิบสองปันนา

พระประวัติ

"ธาตุหลวงเฒ่า" เจดีย์บรรจุอัฐิธาตุของพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ องค์ที่ 3 ที่วัดเหนือในเมืองเก่าคันเกิง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช มีพระนามเดิมว่า เจ้าฝ่ายหน้า หรือ เจ้าหน้า (ตามเอกสารของราชการไทย) สมภพเมื่อปี พ.ศ. 2269 ที่นครเวียงจันทน์ เป็นพระโอรสของเจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) แห่งนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน (หนองบัวลำภู) กับพระนางบุศดี ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากเจ้าปางคำแห่งเมืองเชียงรุ้ง และเป็นพระอนุชาของพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีองค์แรก

พ.ศ. 2314 หลังจากที่กองกำลังนครเวียงจันทน์ และกองกำลังพม่าจากนครเชียงใหม่ตีเมืองนครเขื่อนขันธ์กาลแก้วบัวบานแตก กลุ่มเจ้าพระวอ ซึ่งมีเจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม และเจ้าก่ำ ได้นำไพร่พลอพยพหนีราชภัยลงมาอาศัยอยู่กับเจ้าคำสูเจ้าที่บ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคก ต่อมาเจ้าพระวอดำริว่า หากอาศัยอยู่ที่บ้านสิงห์ท่าบ้านสิงห์โคกต่อไปหากกองกำลังนครเวียงจันทน์ติดตามลงมา จะทำให้เกิดการเสียบ้านเสียเมืองแลไพร่พลลงอีก จึงนำไพร่พลอพยพตามแม่น้ำมูลลงไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารที่เมืองนครจำปาศักดิ์ อันเป็นเมืองใหญ่ของอาณาจักรล้านช้างฝ่ายใต้ เมื่อไปถึงเมืองนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารก็ทรงให้กลุ่มเจ้าพระวอพร้อมไพร่พลญาติวงศาตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่ที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก

พ.ศ. 2319 กลุ่มเจ้าพระวอเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารจากกรณีการสร้างกำแพงเมืองกับการสร้างหอคำ (วังหลวง) จึงได้พาไพร่พลมาตั้งมั่นที่ดอนมดแดง (ปัจจุบันคือ เกาะดอนมดแดง บ้านแคน ตำบลดอนมดแดง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี) และมีหนังสือใบบอกไปยังเมืองนครราชสีมาขอเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของพระเจ้ากรุงธนบุรี

พ.ศ. 2321 พระเจ้าสิริบุญสารได้ทราบข่าวการทะเลาะวิวาทขอกลั่มเจ้าพระวอกับพระเจ้านครจำปาศักดิ์ จึงได้โอกาสรับสั่งให้เพียสุโภ และอัครฮาด (หำทอง) นำกองกำลังติดตามกลุ่มเจ้าพระวอลงมา จนเกิดการต่อสู้กันที่ค่ายบ้านดู่บ้านแก และเจ้าพระวอสั่งให้เจ้าคำผงเข้าไปขอกำลังจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร ที่เมืองนครจำปาศักดิ์แต่ก็ไม่เป็นผล ต่อมาเพียสุโภ และอัครฮาต (หำทอง)ได้ลักรอบเข้ามาจับเอาตัวเจ้าพระวอไปประหารชีวิตที่ริมห้วยพรึง เหลือแต่เจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม และเจ้าก่ำ เป็นหัวหน้ารักษาควบคุมสถานการณ์เอาไว้ เจ้าคำผง เจ้าฝ่ายหน้าได้เล็งเห็นว่า กำลังของตนเหลือน้อยมิอาจจะต้านทานกำลังนครเวียงจันทน์ได้ จึงได้แต่งให้เพียแก้วโยธา และเพียแก้วท้ายช้างให้นำหนังสือกราบบังคมทูลขอกำลังจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ กรุงธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ยกทัพกรุงธนบุรีขึ้นมาค่ายบ้านดู่บ้านแก

เมื่อเพียสุโภ และอัครฮาต (หำทอง)ได้ทราบข่าวการยกทัพมากรุงธนบุรีจึงได้นำกองกำลังหลบหนีกลับคืนสู่นครเวียงจันทน์ และทัพกรุงธนบุรีมาถึง เจ้าฝ่ายหน้าได้รายงานให้เจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) ทราบเหตุการณ์เจ้าพระวอถูกเพียสุโภจับกุมตัวไปประหารชีวิตแล้ว ความทราบถึงสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงพิโรธเป็นอันมาก จึงมีพระดำรัสว่า …”พระวอเป็นข้าขอบขันฑสีมาเมืองเรา พระเจ้าล้านช้างมิได้ยำเกรง ทำบังอาจมาตีบ้านเมือง และฆ่าพระวอเสียฉะนี้ ควรเราจะยกกองทัพไปตีเมืองล้านช้างให้ยับเยินตอบแทนแก้แค้นให้จงได้”… จึงมีคำสั่งให้เจ้าฝ่ายหน้า พาทัพกรุงธนบุรีเข้าไปยังเมืองนครจำปาศักดิ์ได้ไต่ถามพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารว่า เหตุใดพระองค์จึงไม่ทรงช่วยเหลือเจ้าพระวอ ปล่อยให้ถูกจับกุมตัวไปประหารชีวิตเสีย และเจ้าพระยาจักรีจึงพิจารณาว่าพระเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์มีความผิดเป็นอันมากจึงได้ภาคโทษเอาไว้เสียก่อน และแจ้งว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีรับสั่งให้นำทัพมารบกับข้าศึกเวียงจันทน์ แต่พอมาถึงแล้วกลับไม่พบข้าศึกดังกล่าว จึงขอให้เจ้าฝ่ายหน้าจงพาทัพกรุงธนบุรีขึ้นไปดูนครเวียงจันทน์เถิด หลังจากนั้นเจ้าพระยาจักรีได้นำทัพกรุงธนบุรีเข้าตีนครเวียงจันทน์ รบกันอยู่ถึง 4 เดือนเศษ จนสามารถมีชัยเหนือล้านช้าง และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกับพระบางลงมาประดิษฐานยังกรุงธนบุรี และนครเวียงจันทน์จึงกลายเป็นเมืองประเทศราชของกรุงธนบุรีนับแต่บัดนั้นสืบต่อเนื่องมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2322 พระปทุมราชวงศา (คำผง) จึงมีใบบอกขอพระราชทานตั้งบ้านห้วยแจะระแมขึ้นเป็นเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญท้องตราขึ้นมาตั้งเป็น เมืองอุบล (เพื่อรำลึกถึงนครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบานอันเป็นบ้านเมืองเดิม) และตั้งให้พระปทุมราชวงศาเป็นที่พระประทุมสุรราช เจ้าทิดพรหมเป็นพระอุปราช เจ้าก่ำเป็นพระราชวงศ์ เจ้าสุดตาเป็นพระราชบุตร ซึ่งเป็นคณะอาญาสี่ชุดแรกของเมืองอุบล และเจ้าฝ่ายหน้าผู้น้องก็อยู่ช่วยราชการต่อมา

พ.ศ. 2323 พระประทุมสุรราช (คำผง) เจ้าฝ่ายหน้า เจ้าทิดพรหม เจ้าก่ำ และเจ้าคำสิงห์ ได้นำกองกำลังเมืองอุบล และบ้านสิงห์ท่าลงไปสมทบกับกองทัพกรุงธนบุรีอันมีเจ้าพระยาจักรี (ทองด้วง) และเจ้าพระยาสุรสีห์ (บุญมา) เข้าปราบปรามการจราจลเขมร หลังการจราจลสงบลง จึงได้ขอแยกย้ายกลับมาเมืองอุบล และบ้านสิงห์ท่าตามเดิม

พ.ศ. 2329 เจ้าฝ่ายหน้า เจ้านางอูสา พร้อมเจ้าคำสิงห์นำไพร่พลส่วนหนึ่งไปตั้งมั่นเป็นกองนอกอยู่ที่ บ้านสิงห์ท่า (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองยศสุนทรประเทศราช หรือ จังหวัดยโสธรในปัจจุบัน) เจ้าฝ่ายหน้าได้นำไพร่พลบูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุอานนท์ วัดทุ่ง และวัดหลวงพระเจ้าใหญ่ (ต่อมาเรียกว่า “วัดสิงห์ท่า”) สร้างค่ายคูประตูหอรบ และพัฒนาบ้านสิงห์ท่าหวังจะตั้งขึ้นเป็นเมืองเช่นเมืองอุบลสืบต่อไป

พ.ศ. 2334 เกิดเหตุกบฏอ้ายเชียงแก้วที่อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ทางฝ่ายนครจำปาศักดิ์ไม่สามารถรับมือได้ เนื่องจากพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ในเวลานั้น ถึงแก่พิราลัยกะทันหันหลังจากได้รับทราบข่าวศึก (ก่อนหน้านั้นพระเจ้าองค์หลวงฯ เองก็ประชวรเรื้อรังมานานแล้ว) เจ้าหน้าได้ร่วมมือกับพระประทุมราชวงศา (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบล ผู้เป็นพี่ชาย ยกทัพไปปราบกบฏอ้ายเชียงแก้วจนราบคาบ และเจ้าฝ่ายหน้าได้จับตัวอ้ายเชียงแก้วประหารชีวิตที่แก่งตะนะ (อยู่ในแม่น้ำมูล ระหว่างอำเภอพิบูลมังสาหารกับอำเภอสิรินธรในปัจจุบัน) ก่อนหน้าที่กองทัพเมืองนครราชสีมาจะยกมาถึงตามรับสั่งจากกรุงเทพฯ

ด้วยความดีความชอบในครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต้งตั้งให้เจ้าฝ่ายหน้าเป็นที่ "เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช"[2] เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ประเทศราช องค์ที่ 3

พ.ศ. 2335 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ให้ไพร่พลก่อเจดีย์ไว้ที่วัดสมอเลียบสักเมือง เป็นสถานที่บรรจุอัฐิของเจ้าพระวอ เรียกขานว่า “ธาตุพระวอ”

พ.ศ. 2338 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกขอรับพระราชทานเจ้าทิดพรหมขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีสืบต่อไป และเจ้าก่ำ (บุตรเจ้าพระวอ) เป็นเจ้าอุปราช ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าทิดพรหมเป็นที่ เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานี องค์ที่ 2 และเจ้าก่ำเป็นที่เจ้าอุปราชเมืองอุบลราชธานี

พระกรณียกิจ

พ.ศ. 2334 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชจึงแบ่งไพร่พลบ้านสิงห์ท่าส่วนหนึ่งมาอยู่ที่นครจำปาศักดิ์ และตั้งให้เจ้าคำสิงห์เป็นเจ้าราชวงศ์เมืองโขง หรือ สีทันดอน (ต่อมา พศ. 2357 รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นที่พระสุนทรราชวงศา ดำรงฐานะเจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรประเทศราชองค์แรก)

พ.ศ. 2339 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้ย้ายเมืองจำปาศักดิ์จากที่เดิมซึ่งอยู่ที่บ้านศรีสุมัง ริมฝั่งแม่น้ำโขง มาตั้งอยู่ในบริเวณบ้านคันเกิง อยู่ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง ตรงข้ามปากแม่น้ำเซโดน (ปัจจุบันเรียกว่า เมืองเก่าคันเกิง อยู่ที่บ้านเมืองเก่า เมืองโพนทอง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว)

พ.ศ. 2348 เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกมายังกรุงเทพฯ เพื่อขอโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านนายอนเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกบ้านนายอนขึ้นเป็นเมืองสพาดตามคำขอนั้น

พ.ศ. 2353 มีครัวชาวเขมรภายใต้การนำของพระยาเดโช เจ้าเมืองกำปงสวาย กับนักปรัง ผู้น้องชาย อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในแถบเมืองโขง เนื่องจากกลุ่มคนดังกล่าวเกิดความขัดแย้งกับสมเด็จพระอุทัยราชา (นักองจัน) พระเจ้าแผ่นดินกัมพูชา เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชได้มีใบบอกแจ้งเรื่องลงมายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา คุมกำลังมาคุมครัวเขมรของพระยาเดโชมาตั้งอยู่ที่บ้านลงปลา ส่วนครัวของนักปรังให้แยกมาตั้งอยู่ที่เมืองเซลำเภา[3] "จึ่งมีเขมรแทรกปนอยู่ในแขวงเมืองโขงแต่นั้นมา"[4]

พระโอรส และพระธิดา

กู่เจ้านคร ซึ่งภายในบรรจุอัฐิของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดยโสธร

ในสำเนาฉบับพงศาวดารอีสานยังอธิบายไว้ว่า เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช มีพระโอรสและพระธิดา ทั้งหมด 6 พระองค์ มีปรากฏรายพระนามดังนี้

  1. เจ้าคำสิงห์ (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระสุนทรราชวงศา เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทรองค์แรก)
  2. เจ้าบุตร หรือเจ้าฝ่ายบุต (ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่พระสุนทรราชวงศาฯ เจ้าผู้ครองเมืองยศสุนทร องค์ที่ 3)
  3. เจ้าสุดตา
  4. เจ้านางแดง
  5. เจ้านางไทย
  6. เจ้านางก้อนแก้ว 

พิราลัย

เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชถึงแก่พิราลัย เมื่อวันอังคาร ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 10 ปีมะแมตรีศก จุลศักราช 1173 (ตรงกับวันที่ 20 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2354) สิริรวมพระชนม์ 85 ปี ครองนครจำปาศักดิ์ ได้ 20 ปี พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยากลาโหมราชเสนา เป็นข้าหลวงแทนพระองค์ นำหีบศิลาหน้าเพลิงมาพระราชทานเพลิงศพเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช อันเป็นเกียรติยศสูงสุดที่พระมหากษัตริย์สยามพระราชทานแก่เจ้าผู้ครองนครประเทศราช

และเมื่อทำการปลงพระศพของเจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราชเสร็จแล้ว พระยากลาโหมราชเสนาพร้อมด้วยแสนท้าวพระยาในเมือง จึงได้พร้อมใจกันก่อเจดีย์บรรจุอัฐิของท่านไว้ที่วัดเหนือในเมืองเก่าคันเกิง (ปัจจุบันคือวัดหอพระแก้ว) ประชาชนชาวเมืองเรียกกันทั่วไปในเวลานั้นว่า ธาตุหลวงเฒ่า [4] และพระยากลาโหมราชเสนาก็ได้อยู่จัดราชการบ้านเมืองนครจำปาศักดิ์ต่อไปอีก

พ.ศ. 2355 ภายหลังจากการพระราชทานเพลิงศพเสร็จลง และจัดราชการบ้านเมืองนครจำปาศักดิ์แล้ว พระยากลาโหมราชเสนาจึงได้พบอัญเชิญพระแก้วขาว ซึ่งมีการค้นพบมาตั้งแต่สมัยเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรเจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์องค์แรก อัญเชิญลงมายังกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีการสมโภชพระแก้วขาวองค์นี้ จากนั้นจึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมช่างเพื่อทำการปฏิสังขรณ์พระแก้วขาว และพระราชทานนามว่า "พระพุทธบุษยรัตน์จักรพรรดิพิมลมณีมัย"[4]

พระนามตามบันทึกเอกสารทางประวัติศาสตร์

ในจดหมายเหตุ ร.๑

จดหมายเหตุ ร.1 จ.ศ. 1153 (พ.ศ. 2335) เรื่องตั้งให้เจ้าหน้าเป็นพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช เมืองนครจำปาศักดิ์ ได้ปรากฏพระนามของพระองค์ ดังนี้

"...ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว ผู้ผ่านพิภพกรุงเทพพระมหานครศรีอยุทธยา มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เจ้าหน้าเป็นพระวิไชยราชสุริยวงษ์ขัตติยราช ครองเมืองนครจำปาศักดิ์ประเทศราช เสกให้ ณ วันพฤหัสบดี แรม 11 ค่ำ เดือน 10 จุลศักราช 1153 ปีกุนตรีศก เพลาเช้า 2 โมง..."

พระญาติวงศ์

เจ้าพระวรราชปิตา (เจ้าพระตา) กับพระนางบุสดีเทวี ทรงมีพระโอรสและพระธิดา รวมทั้งหมด 11 พระองค์ ดังมีรายพระนาม

  1. เจ้านางอูสา
  2. เจ้านางแสนสีชาติ
  3. เจ้าพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าผู้ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลยประเทศราช องค์ที่ ๑
  4. เจ้าพระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช (เจ้าฝ่ายหน้า) เจ้าผู้ครองนครกาลจำบากนัคบุรีศรีจำปาศักดิ์ องค์ที่ ๓
  5. เจ้าพระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราช องค์ที่ ๒ (ต้นตระกูลพรหมวงศานนท์)
  6. เจ้าโคตร พระบิดาของท้าวสีหาราช (พลสุข) ปู่ของเจ้าราชบุตร (สุ่ย) ทวดของท้าวสุรินทร์ชมภู (หมั้น บุตโรบล) ผู้เป็นบิดาของหม่อมเจียงคำ ชุมพล ณ อยุธยา ในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์
  7. เจ้านางมิ่ง
  8. เจ้าซุย
  9. พระศรีบริบาล
  10. เจ้านางเหมือนตา
  11. เจ้าสุ่ย

พงศาวลี

เชิงอรรถ

  1. ชื่อตามหนังสือ ประวัติศาสตร์อีสาน ของ เติม วิภาคย์พจนกิจ และ ลำดับกษัตริย์ลาว ของ สุรศักดิ์ ศรีสำอาง
  2. ชื่อตาม พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร
  3. ปัจจุบันคือเมืองธาราบริวัตร อยู่ในเขตจังหวัดสตึงแตรง ประเทศกัมพูชา
  4. 4.0 4.1 4.2 พงศาวดารหัวเมืองมณฑลอีสาน ของหม่อมอมรวงศ์วิจิตร

อ้างอิง

ก่อนหน้า พระวิไชยราชสุริยวงษขัติยราช ถัดไป
พระเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร
พ.ศ. 2280 - 2334

เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์
(พ.ศ. 2335 - 2354)
เจ้านู
(ถึงแก่พิราลัยหลังรับสุพรรณบัตร 3 วัน)