สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร
สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร | |
---|---|
เจ้าหน่อกษัตริย์ | |
พระเจ้าจำปาศักดิ์ | |
ครองราชย์ | พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2280 |
ราชาภิเษก | พ.ศ. 2256 นครจำปาศักดิ์ |
ก่อนหน้า | พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก |
ถัดไป | สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร |
ประสูติ | พ.ศ. 2236 ภูซ่อง่อ ห่อคำ เมืองบริคัณฑนิคม |
สวรรคต | พ.ศ. 2280 นครจำปาศักดิ์ |
คู่อภิเษก | พระธิดาจากกษัตริย์เขมร |
พระราชบุตร |
|
ราชวงศ์ | ราชวงศ์ล้านช้างจำปาศักดิ์ |
พระราชมารดา | พระนางสุมังคลา |
สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร (พ.ศ. 2236 - พ.ศ. 2280) เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ครองนครจำปาศักดิ์ พระองค์ที่ 1 (พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2280) พระราชนัดดาในพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งเวียงจันทน์
พระราชประวัติ[แก้]
ก่อนครองราชย์[แก้]
เมื่อพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชแห่งอาณาจักรล้านช้างเสด็จสวรรคตเมื่อปี พ.ศ. 2238 ไม่มีพระราชบุตรสืบราชสมบัติ พระยาเมืองจันเสนาบดีจึงได้ชิงเอาราชสมบัติ และจะเอานางสุมังคลาพระราชธิดาของสมเด็จพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ซึ่งเป็นแม่หม้ายมีบุตรคือพระองค์หล่อและบุตรในครรภ์ขึ้นเป็นเมีย แต่นางไม่ยอมจึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก พระครูจึงให้พระนางสุมังคลาหนีออกจากเวียงจันทน์ไปซ่อนอยู่ที่ ภูซ่อง่อ ห่อคำ บริเวณเมืองบริคัณฑนิคม แล้วจึงให้กำเนิดบุตรชายนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์ ส่วนพระองค์หล่อได้รับความช่วยเหลือจากพรรคพวกพาพระองค์หนีไปอยู่เวียดนาม และได้รับการเลี้ยงดูจากเจ้าเวียดนาม
ต่อมาพระยาเมืองจันเกิดหวาดละแวงพระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก เนื่องจากไพร่ประชาชนพากันนับถือพระครูเป็นอันมาก พระครูจึงไปนำเจ้าหน่อกษัตริย์ และพระนางสุมังคลาให้อพยพไปอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก
สถาปนาอาณาจักรจำปาสักดิ์[แก้]
พ.ศ. 2252 อาณาจักรจำบากนาคบุรีศรี เกิดความวุ่นวายเกิดโจรผู้รายชุกชุมมากมาย จนราษฎรได้รับความเดือดร้อน พระครูโพนสะเม็กจึงไปอันเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์และพระราชมารดาสุมังคลาที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุกมายังนครกาลจำบากนาคบุรีศรี และทำพิธีบรมราชาภิเษกเจ้าหน่อกษัตริย์ขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร และเปลี่ยนชื่อนามเมืองใหม่เป็น นครจำปาศักดิ์นาคบุรีศรี หรือ จำปาสักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2256
ขยายพระราชอาณาจักร[แก้]
สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรทรงมีพระราชโองการให้ศิษย์เอกที่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก ส่งออกไปหาที่สร้างบ้านแปลงเมืองปรากฏตามหลักฐานมีดังนี้
- จารย์หวด ไปรักษาด่านบ้านดอนโขงในลำน้ำโขง เรียกว่าดอนโขง เป็นเจ้าเมืองโขง
- ท้าวสุด เป็นพระยาไชยเชษฐา ไปรักษาบ้านหางโคกปากน้ำเซทางฝั่งโขงตะวันออก เป็นเจ้าเมืองเชียงแตง
- จารย์แก้ว ไปรักษาบ้านทม เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิ
- ท้าวมั่น ข้าหลวงเดิมของนางแพนเป็นหลวงเอก ไปรักษาบ้านโพน เป็นเจ้าเมืองสาระวัน
- จารย์เชียง เป็นเจ้าเมืองศรีนครเขต อยู่ในเขตจังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน
- ท้าวพรหม เป็นราชบุตรโคตร ไปรักษาด่านบ้านแก้วอาเฮิม เป็นเจ้าเมืองคำทองใหญ่
- จันทรสุริยวงศ์ ไปรักษาด่านบ้านโพนสิม เป็นเจ้าเมืองตะโป ปัจจุบันอยู่ในแขวงสุวรรณเขต
- จารย์สม ไปรักษาบ้านทุ่งอิฐกระบือ เป็นเจ้าเมืองอัตปือ
- บุตรพะละงุม เป็นขุนหนักเฒ่า ไปรักษาบ้านโคงเจียง เป็นเจ้าเมืองเชียงเจียง อำเภอโขงเจียม ในปัจจุบัน[1]
สวรรคต[แก้]
พ.ศ. 2268 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทฯ ทรงพระประชวร จึงให้เจ้าไชยกุมารพระราชโอรสว่าราชการบ้านเมืองแทน และทรงออกถือศีล จนถึงปี พ.ศ. 2280 สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูรจึงเสด็จสวรรคต ครองราชสมบัติได้ 25 ปี เจ้าไชยกุมารจึงสืบราชสมบัติต่อไป[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ พระยามหาอำมาตยาธิบดี. "พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับพระยามหาอำมาตยาธิบดี - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
- ↑ หม่อมอมรวงษ์วิจิตร. "พงศาวดารนครจำปาศักดิ์ ฉะบับหม่อมอมรวงศ์วิจิตร (ม.ร.ว.ปฐม คเณจร) - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
ก่อนหน้า | สมเด็จพระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระครูยอดแก้วโพนสะเม็ก | ![]() |
เจ้าผู้ครองนครจำปาศักดิ์ (พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2280) |
![]() |
สมเด็จพระพุทธเจ้าองค์หลวงไชยกุมาร |