พระหม่อมแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระหม่อมแก้ว เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าวรวงศาธรรมิกราช บางแห่งว่ามีอีกพระนามหนึ่งคือเจ้าต่อนคำ[1] เดิมเมื่อพระอุปยุวราชสิ้นพระชนม์ พระยาแสนหลวง (เวียง)ต้องการเชิญพระหม่อมแก้วขึ้นครองราชย์ แต่เสนาอำมาตย์ในเวียงจันทน์ได้ไปเชิญพระยานครหลวงพิชิต เจ้าเมืองมรุกขนคร ขึ้นครองราชย์เป็นพระบัณฑิตโพธิศาละราช เมื่อพระบัณฑิตโพธิศาละราชสวรรคต พระหม่อมแก้วจึงขึ้นครองราชย์สมบัติใน พ.ศ. 2170 ในรัชกาลของพระองค์มีเหตุวุ่นวายมากมาย และเกิดกบฏขึ้นถึงสองครั้งคือ

  • กบฏพระยาแสนหลวง (เวียง) ซึ่งเคยสนับสนุนพระอุปยุวราชขึ้นเป็นกษัตริย์ และเคยก่อกบฏในสมัยพระบัณฑิตโพธิศาละราช ได้ก่อกบฏขึ้นอีกครั้งใน พ.ศ. 2471 แต่ถูกปราบปรามได้ และถูกประหารชีวิต
  • กบฏพระยาจันทนคร พระยาจันทนครก่อกบฏใน พ.ศ. 2178 โดยได้ดึงเจ้าชมพู พระอนุชาของพระหม่อมแก้วมาเป็นพวก แต่ถูกปราบปรามได้พระยาจันทนครถูกประหารชีวิต คนอื่นๆถูกคุมขังไว้

พระหม่อมแก้วสวรรคตเมื่อ พ.ศ. 2181 ปกครองบ้านเมืองได้ 11 ปี หลังจากพระองค์สวรรคตแล้ว พระอนุชาของพระองค์คือเจ้าชมพูและเจ้าบุญชูแย่งชิงราชสมบัติ แต่ในที่สุด เจ้าสุริยะ พระอนุชาอีกองค์ของพระหม่อมแก้วเป็นฝ่ายชนะ สามารถปราบปรามฝ่ายต่างๆได้ และขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช บางแหล่งกล่าวว่าช่วงรัชกาลพระหม่อมแก้ว พ.ศ. 2170 – 2181 เป็นช่วงสงครามแย่งชิงราชสมบัติ มีกษัตริย์ถึง 4 พระองค์ คือพระหม่อมแก้ว พระอุปยุวราช เจ้าต่อนคำ และเจ้าวิไชย จนกระทั่งเจ้าสุริยะได้ราชสมบัติเหตุการณ์จึงสงบลง[2]

อ้างอิง[แก้]

  • มหาบุนมี เทบสีเมือง. ความเป็นมาของชนชาติลาว เล่ม 2 อาณาจักรลาวล้านช้างตอนต้น. แปลโดย ไผท ภูธา. กทม. สุขภาพใจ. 2554.
  1. มหาบุนมี, 2554
  2. บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. ราชอาณาจักรลาว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. ศยาม. 2557