ข้ามไปเนื้อหา

เจ้าองค์คำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ้าองค์คำ
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรหลวงพระบาง
ครองราชย์พ.ศ. 2256 - พ.ศ. 2266
รัชสมัย1 ปี
รัชกาลก่อนหน้าเจ้ากิ่งกิสราช
รัชกาลถัดไปเจ้าอินทโฉม
พิราลัยพ.ศ.2266
พระมเหสีเจ้านางแทนสาว
เจ้านางแทนคำ
เจ้านางดวงบุบผา
พระราชบุตร10 องค์
พระนามเต็ม
พระบรมเชษฐขัตติยสุริยวงศา
พระนามเดิม
เจ้าหม่อมน้อย (เจ้าองค์นก)
ราชวงศ์ราชวงศ์ล้านช้างหลวงพระบาง
พระราชบิดาเจ้าอินทกุมาร
พระราชมารดาหม่อมคำแล

พระบรมเชษฐขัตติยสุริยวงศา มีพระนามเดิมว่า เจ้าองค์คำ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ต่อจาก เจ้ากิ่งกิสราช พระองค์มีนามแรกประสูติว่า หม่อมน้อยเป็นโอรสใน เจ้าอินทกุมาร เจ้าเมืองศรีฟ้าวาหะหัวขาวเชื้อสายกษัตริย์เมืองเชียงรุ้ง กับ หม่อมคำแล พระธิดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เมื่อแรกพระบิดาของพระองค์ทรงลี้ภัยสงครามลงมาขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารใน พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ที่อาณาจักรล้านช้าง [1]

เมื่อ เจ้ากิ่งกิสราช สวรรคตลง เจ้ากิ่งกิสราช ไม่มีพระโอรสสืบบัลลังค์ อันจะมีแต่พระธิดา 2 องค์ เหล่าบรรดาขุนนาได้อัญเชิญพระองค์ขึ้นครองราช และให้ เจ้านางแทนสาว เจ้านางแทนคำ ขึ้นเป็นเทวี คู่กับพระองค์ แต่เมือ เจ้าอินทโฉม ซึ่งตอนนั้นอยู่ที่เมืองล่าเมืองพง ทราบข่าวการสวรรคตของ เจ้ากิ่งกิสราช จึงได้รวบรวมไพล่พลลงมาตีเอาเมืองคืน เจ้าองค์คำ เห็นว่าสู้ไม่ได้จึงได้จึงได้พาบริวาลส่วนหนึ่งเดินทางหนีไปผนวชอยู่ที่วัดช้างเผือกในเมืองเชียงใหม่

ครองเมืองเชียงใหม่

[แก้]

พระองค์ได้ร่วมมือกับพม่าขับไล่ เทพสิงห์ แล้วตั้งตนขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ หลังจากเจ้าองค์คำได้เป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ได้ไม่นานก็เกิดมีแม่ทัพพม่านามว่า สะแคงพญา ยกกองทัพมาจากกรุง อังวะ มาประชิดเมืองเชียงใหม่ ขณะนั้นทัพพม่าตั้งอยู่ที่หนองหมอน เจ้าองค์คำจึงแต่งกองทัพยกไปรบกับพม่า ทัพพม่าก็แตกหนีไปอยู่เมืองพะเยา องค์คำครองเมืองเชียงใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 2270 - พ.ศ. 2302 รวมระยะเวลาได้ 32 ปี องค์จันทร์ ได้ครองเมืองเชียงใหม่ ต่อมา

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับราชวงศ์ของพระองค์

[แก้]

นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์ต่างลงความเห็นราชวงศ์ของพระองค์ให้เป็นราชวงศ์ล้านช้างสายเชียงใหม่แต่ถ้าจะนับจากสายเลือดแล้วพระองค์มีเชื้อสายฝั่งบิดาจากราชวงศ์เชียงรุ้งหรือราชวงศ์อาฬโวสวนต๋าน เพราะพระองค์ทรงเป็นโอรสในเจ้าอินทรกุมาร เจ้าเมืองเชียงรุ้ง ส่วนทางฝั่งมารดามีเชื้อสายจากทางราชวงศ์ล้านช้างซึ่งเป็นพระธิดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชมหาราชแห่งกรุงล้านช้าง ซึ่งกล่าวได้ว่าท่านมีเชื้อสายเลือดผสมระหว่างทั้งสองราชวงศ์นั้นเอง

พระราชสันตติวงศ์

[แก้]

เมื่อเจ้าองค์คำถูกยึดเมืองคืน พระองค์ได้หนีไปกับผู้ติดตามไม่กี่คน โดยทิ้งให้ เจ้านางแทนสาว เจ้านางแทนคำ เจ้านางดวงบุบผา อยู่ที่หลวงพระบาง เมื่อครั้งพระองค์ได้ปกครองเชียงใหม่ พระองค์ได้มีหม่อม1ท่าน ได้แก่ หม่อมยวน และมีโอรสกับ หม่อมยวน ทั้งหมด 10 องค์ ได้แก่

  1. เจ้าต้น สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  2. เจ้าวงษ์สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  3. เจ้าทิศ สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  4. เจ้าสุวรรณ มีโอรสธิดา คือ เจ้าอุ่น เจ้าเทพ เจ้านางเทพ
  5. เจ้าแก้ว สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  6. เจ้าฟู สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  7. เจ้าชายใหญ่ สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  8. เจ้าพรม สิ้นพระชนม์ ก่อนพระบิดา
  9. เจ้าไชยน้อย หนีไปอยู่เมืองเถินบุรี
  10. เจ้าจันทราชา องค์จันทร์ มีโอรสธิดา คือ เจ้านางเทพ เจ้านางทุม เจ้าอินทร์ เจ้าสุภา เจ้าสุพรรณ เจ้าคำเครื่อง
  11. เจ้าอโนชา

สายสกุล​ที่สืบเชื้อสาย​มาจากพระองค์​

[แก้]

สุวรรณ​วงศ์

ขุนพรมวงศ์

จันทรวงศ์​

ไชย​มูล​วงศ์​

อินทรวงศ์

เทพวงศ์

คำภิระวงศ์​

คำภิระแปง

อ้างอิง

[แก้]
ก่อนหน้า เจ้าองค์คำ ถัดไป
เจ้ากิ่งกิสราช
พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง
(พ.ศ. 2265 - พ.ศ. 2266)
เจ้าอินทโฉม
ก่อนหน้า เจ้าองค์คำ ถัดไป
เทพสิงห์ เจ้าผู้ครองแคว้นเชียงใหม่อิสระ
(พ.ศ. 2270 - พ.ศ. 2302)
องค์จันทร์
  1. http://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/images/LBRNKP/e-book60/King/Kingt0293.jpg[ลิงก์เสีย]