ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63: บรรทัด 63:


== ภาควิชาในสังกัด ==
== ภาควิชาในสังกัด ==
* '''ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า (Department of Companion Animal and Wildlife Clinic)'''
* '''ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า (Department of Companion Animal and Wildlife Clinic)''' รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแบบบูรณาการคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ประกอบด้วย
รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแบบบูรณาการคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ประกอบด้วย
** คลินิกสัตว์เล็ก มีภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สุขภาพสัตว์ในสุนัขและแมว รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
** คลินิกสัตว์เล็ก มีภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สุขภาพสัตว์ในสุนัขและแมว รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
** คลินิกม้า มีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับม้า ทั้งทางด้านพรีคลินิกศาสตร์ และทางคลินิกศาสตร์
** คลินิกม้า มีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับม้า ทั้งทางด้านพรีคลินิกศาสตร์ และทางคลินิกศาสตร์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:41, 16 เมษายน 2559

คณะสัตวแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Faculty of Veterinary Medicine
ChiangMai university
สถาปนา2 สิงหาคม พ.ศ. 2537
คณบดีผศ.น.สพ.ดร.ขวัญชาย เครือสุคนธ์
ที่อยู่
ถนนเลียบคลองชลประทาน ต.แม่เหียะ อ.เมือง จ.เชียงใหม่
วารสารเชียงใหม่สัตวแพทยสาร
สีสีฟ้าหม่น
มาสคอต
งูพันคบเพลิงประทับตราอักษร V ด้านหลังมีช้างชูคบเพลิง
สถานปฏิบัติสถานบริการสุขภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เว็บไซต์vet.cmu.ac.th

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกในภาคเหนือ และเป็น 1 ใน 20 คณะ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประวัติ

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย จัดเป็นคณะในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิกการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งคณะอย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์สนองตอบความต้องการในเขตภาคเหนือและภูมิภาค

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีที่ตั้งอยู่บริเวณวิทยาเขตดอยคำ ตำบลแม่เหียะ ห่างจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณ 5 กิโลเมตรโดยประมาณ โดยอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นองค์ประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นทางการ

การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยหน่วยงาน 8 สาขาวิชา (เทียบเท่าภาควิชา) และสถานบริการสุขภาพสัตว์ รองรับการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและงานบริการทางวิชาการ นอกจานั้น ยังได้จัดตั้งสถานสัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิกเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยทางด้านสัตวแพทย์สาธารณสุขของภูมิภาค

คณะได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2539 เทียบได้กับสัตวแพทย์รุ่นที่ 60 ในประเทศไทย (ในระบบการนับรุ่นจะอนุโลมนับรุ่นในระบบเดียวกันในทุกคณะสัตวแพทยศาสตร์ ของประเทศไทย) และเพิ่งจัดงานครบรอง 12 ปีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[1]

รายนามคณบดี

รายนามคณบดีของคณะสัตวแพทยศาสตร์[2] มีดังต่อไปนี้

ทำเนียบคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รายนามคณบดี วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เทอด เทศประทีป พ.ศ. 2538-2545
2. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.สุวิชัย โรจนเสถียร พ.ศ. 2545–2549
3. รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.เลิศรัก ศรีกิจการ พ.ศ. 2549 - 2557
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.ขวัญชาย เครือสุคนธ์ พ.ศ. 2557 - ปัจจุบัน

พื้นที่คณะ

  • วิทยาเขตดอยคำ เป็นที่ทำการของคณะ ประกอบไปด้วย
    • อาคารเรียน ประกอบด้วยอาคารบริหาร อาคารเรียนและปฏิบัติการ ห้องสมุด ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตนเอง ที่ทำการสาขาวิชา รวมทั้งเป็นที่ตั้งของสถานสัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิก
    • อาคารสัตว์ทดลอง ประกอบด้วยห้องเลี้ยงสัตว์ทดลองและห้องปฏิบัติการศัลยศาสตร์
    • อาคารโรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ ประกอบด้วยตัวอาคารที่ทำการและโรงเรือนสัตว์ป่วย
    • อาคารชันสูตรโรคสัตว์ เป็นที่ทำการของหน่วยชันสูตรโรคสัตว์และห้องปฏิบัติการวิจัยโครงการไข้หวัดสัตว์ปีก
    • อาคารศูนย์ฝึกทางสัตวแพทย์
  • ภายในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • อาคารโรงพยาบาลสัตว์เล็ก เป็นที่ทำการของโรงพยาบาลสัตว์เล็กและมีหออภิบาลสัตว์ป่วย
  • เขตการศึกษาลำพูน
    • ฟาร์มสัตว์ทดลอง
  • เขตกิ่งอำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่
    • อาคารโรงพยาบาลสัตว์ท้องถิ่น เป็นที่ทำการและที่ตั้งของโรงพยาบาลสัตว์ท้องถิ่น

ภาควิชาในสังกัด

  • ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า (Department of Companion Animal and Wildlife Clinic) รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการแบบบูรณาการคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า ประกอบด้วย
    • คลินิกสัตว์เล็ก มีภารกิจด้านการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ สุขภาพสัตว์ในสุนัขและแมว รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการด้านการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการทางวิชาการมีประสิทธิภาพ เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    • คลินิกม้า มีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับม้า ทั้งทางด้านพรีคลินิกศาสตร์ และทางคลินิกศาสตร์
    • คลินิกช้างและสัตว์ป่า เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการสุขภาพช้าง สัตว์ป่าและสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้องโดยดำเนินการด้านการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาทั้งใน และ ต่างประเทศ มีการดำเนินงานด้านการวิจัยที่ตอบสนองต่อแผนการพัฒนาประเทศ และการให้บริการทางวิชาการ
  • ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค (Department of Food animal clinic) รับผิดชอบด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและการบริการวิชาการแบบบูรณาการด้านสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้เป็นสัตว์บริโภค อาทิ สุกร (Swine clinic) สัตว์ปีก (Avian clinic) และสัตว์น้ำ รวมทั้งปลาสวยงาม (Aquatic animal clinic) แบ่งส่วนงานออกเป็นดังนี้
    • คลินิกสัตว์เคี้ยวเอื้อง ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอนเรื่องศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสัตว์เคี้ยวเอื้อง
    • คลินิกสุกร ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ สุกร
    • คลินิกสัตว์น้ำ ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์น้ำ
    • คลินิกสัตว์ปีก ซึ่งมีภารกิจด้านการเรียนการสอน ในศาสตร์ด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับสัตว์ปีก
  • ภาควิชาชีวศาตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข (Department of Veterinary Biosciences and Veterinary public health) แบ่งส่วนงานออกเป็นดังนี้
    • หน่วยสัตวแพทย์สาธารณสุข มีการจัดการเรียนการสอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการนำความรู้ความสามารถ และทักษะของวิชาชีพสัตวแพทย์มาประยุกต์ใช้ในการคุ้มครองสุขภาพ และส่งเสริมอนามัยชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (Zoonosis) และ ด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food safety) รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
    • หน่วยพรีคลินิกทางสัตวแพทย์ ที่มีภารกิจการจัดการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานโครงสร้างทางกาย วิภาคศาสตร์, จุลกายวิภาคศาสตร์ และสรีระวิทยาของสัตว์ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งงานสัตวแพทย์ที่เกี่ยวข้อง
    • หน่วยพาราคลินิกทางสัตวแพทย์ ที่ดำเนินการตามภารกิจของคณะและพัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการโดยเฉพาะทางด้านพยาธิชีววิทยาทางสัตวแพทย์ ปรสิตวิทยา และจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ รวมถึงด้านอื่น ๆที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม

ศูนย์ฝึกนักศึกษาและการบริการทางวิชาการ

สถานบริการสุขภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 4 หน่วยงาน ได้แก่

  • โรงพยาบาลสัตว์เล็ก ตั้งอยู่ในเขตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • โรงพยาบาลสัตว์ใหญ่ ตั้งอยู่ในบริเวณคณะ
  • โรงพยาบาลสัตว์ท้องถิ่น ตั้งอยู่ในเขตกิ่ง อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่
  • ศูนย์ชันสูตรโรคสัตว์ ตั้งอยู่ในบริเวณคณะ

หลักสูตร

ระดับปริญญาตรี
  • หลักสูตรสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (Doctor of veterinary medicine program) หลักสูตร 6 ปี จัดการศึกษาด้วยหลักการ 3 ประการ คือ มุ่งเน้นการบูรณาการ(Subject Integration), การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) และเน้นการสร้างประสบการณ์วิชาชีพ (Professional Skills)
ระดับบัณฑิตศึกษา
  • หลักสูตรสัตวแพทย์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต (Master of veterinary public health program) เป็นหลักสูตรนานาชาติ จัดการศึกษาโดยบัณฑิตวิทยาลัย, สถานสัตวแพทย์สาธารณสุขเอเซียแปซิฟิก (Veterinary Public Health Centre for Asia Pacific) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ Freie Universitaet Berlin (FUB) Germany โดยการสนับสนุนของรัฐบาลไทย, ASIA LINK และ the German Academic Exchange Service (DAAD)
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Master of science in health sciences program) เป็นหลักสูตรนานาชาติ จัดการศึกษาโดยบัณฑิตวิทยาลัย, 6 คณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ (Master of science and Doctor of philosophy in human and animal biotechnology program) เป็นหลักสูตรสาขาวิชาร่วมระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร คณะแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ซึ่งเปิดสอนในแขนงวิชาเทคโนโลยีชีวภาพในคนและสัตว์
  • หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาตร์สัตวแพทย์ (Master of science and Doctor of philosophy in Veterinary Science program) เป็นหลักสูตรแบบทำวิจัยอย่างเดียว (Research propgram) ซึ่งนักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อทำวิทยานิพนธ์เป็น 2 กลุ่ม คือ สาขาคลินิกศาสตร์ทางสัตว์ (Veterinary Clinical Sciences) และสาขาชีววิทยาทางสัตว์ (Veterinary Biomedical Sciences)

โครงการความร่วมมือทางวิชาการกับต่างประเทศ

ระดับมหาวิทยาลัย 2 โครงการ
  1. Nippon Veterinary and Life Science University, Japan
  2. Azabu University, Japan
ระดับคณะ 9 โครงการ
  1. Faculty of Veterinary Medicine, Freie Universitaet Berlin, Germany
  2. College of Veterinary Medicine, Michigan State University, U.S.A.
  3. The Institute for Zoo and Wildlife Research Berlin, Germany
  4. Washington National Primate Research Center, U.S.A. and Faculty of Science, Chiang Mai University
  5. National Zoo Park, Smithsonian Institute, U.S.A.
  6. Faculty of Veterinary Medicine, Utrecht University, the Netherlands
  7. Family Animal Hospital, Japan
  8. College of Veterinary Medicine, National Chung Hsing University, Taiwan
  9. Faculty of Agriculture, University of Bonn, Germany

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น