พายุไต้ฝุ่นมังคุด (พ.ศ. 2561)
พายุไต้ฝุ่นมังคุดขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2561 | |
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา | |
---|---|
ก่อตัว | 7 กันยายน พ.ศ. 2561 |
สลายตัว | 17 กันยายน พ.ศ. 2561 |
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุไต้ฝุ่น | |
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.58 นิ้วปรอท |
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 | |
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC) | |
ความเร็วลมสูงสุด | 285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.) |
ความกดอากาศต่ำสุด | 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์) ; 26.43 นิ้วปรอท |
ผลกระทบ | |
ผู้เสียชีวิต | 134 ราย |
ความเสียหาย | $3.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี พ.ศ. 2561 USD) |
พื้นที่ได้รับผลกระทบ | หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา, กวม, ฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, จีน, ฮ่องกง, มาเก๊า, เวียดนาม |
IBTrACS | |
ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 |
พายุไต้ฝุ่นมังคุด (อักษรโรมัน: Mangkhut)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นโอมโปง (ตากาล็อก: Ompong)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2561 และเป็นภัยพิบัติพายุหมุนเขตร้อนที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางในกวม, ประเทศฟิลิปปินส์ และตอนใต้ของประเทศจีน พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดที่เคยขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์นับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นไห่เยี่ยนในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2556 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปแล้วกว่า 6,000 ราย และเป็นพายุไต้ฝุ่นที่รุนแรงที่สุดที่เคยพัดถล่มเกาะลูซอนนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเมกีในปี พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ตอนเหนือของเกาะลูซอนยังได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นไหหม่าในปี พ.ศ. 2559 ด้วยบ้านเรือนประมาณ 14,000 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และบ้านเรือนได้รับความเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นเมอรันตีในปี พ.ศ. 2559 ประมาณ 50,000 หลัง[1] พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดที่เข้าชายฝั่งฮ่องกงนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเอลเลนในปี พ.ศ. 2526[2] และเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 31, พายุโซนร้อนลูกที่ 22 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 9 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 พายุลูกนี้ขึ้นฝั่งที่จังหวัดคากายันของประเทศฟิลิปปินส์ในวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561 ในฐานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน จากนั้นได้ส่งผลกระทบอย่างหนักในฮ่องกง และตอนใต้ของประเทศจีน[3] นอกจากนี้ ยังเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงที่สุดในโลกผูกกับพายุไต้ฝุ่นยวี่ถู่ในปี พ.ศ. 2561 อีกด้วย
พายุไต้ฝุ่นมังคุดมีความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] ก่อนที่จะขึ้นฝั่งในจังหวัดคากายัน ทางตอนเหนือสุดของเกาะลูซอน หลังจากศูนย์กลางของพายุเคลื่อนตัวผ่านประเทศฟิลิปปินส์ ความเร็วลมของพายุไต้ฝุ่นมังคุดก็เริ่มอ่อนกำลังลงมากพอที่จะลดจากพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 เป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 แต่ยังคงเป็นพายุที่มีทรงพลังมากโดยมีความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) ที่กำลังพัดถล่มประเทศฟิลิปปินส์ด้วยฝนตกหนัก และเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกสู่ทะเลจีนใต้สู่ฮ่องกงและตอนใต้ของประเทศจีน
วันที่ 23 กันยายน พบผู้เสียชีวิตจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดแล้ว 134 ราย แบ่งเป็น 127 ราย ในประเทศฟิลิปปินส์,[4][5] 6 ราย ในประเทศจีน[6] และ 1 ราย ในประเทศไต้หวัน[7] วันที่ 5 ตุลาคม สภาลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และการจัดการแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ ประมาณว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความเสียหายในประเทศฟิลิปปินส์อยู่ที่ประมาณ 3.39 หมื่นล้านเปโซฟิลิปปินส์ (627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต้นไม้ล้มอย่างน้อยประมาณ 60,000 ต้น ในฮ่องกง เนื่องจากต้นไม้ล้มจำนวนมาก และน้ำท่วมอย่างรุนแรง การจราจรติดขัด รัฐบาลฮ่องกงประกาศหยุดเรียน 2 วัน ติดต่อกันแต่ไม่ได้หยุดงาน การจราจรที่ติดขัด หลังเกิดพายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดความขัดแย้งอย่างกว้างขวาง ราคาข้าว และพืชผลข้าวโพดอาจสูงถึงประมาณ 116 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยคาดว่าจะมีทุ่งนาประมาณกว่า 1,220,000 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนอง และความเสียหายโดยรวมประมาณ 3.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4]
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
[แก้]ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นมังคุด
- วันที่ 7 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อตัวใกล้กับหมู่เกาะมาร์แชลล์ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] จึงเริ่มออกคำแนะนำเกี่ยวกับหย่อมความกดอากาศต่ำ และต่อมาในเวลา 10:00 น. (03:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 6] ได้เริ่มติดตามหย่อมความกดอากาศต่ำ และให้รหัสว่า 26W ในช่วงปลายของวัน พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น จึงได้ใช้ชื่อกับพายุว่า มังคุด
- วันที่ 8 กันยายน ความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนที่อยู่ทางเหนือของพายุโซนร้อนมังคุดแผ่ไปทางทิศตะวันตก ทำให้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกด้วยความเร็ว 30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (20 ไมล์ต่อชั่วโมง) เนื่องจากความรุนแรง และเส้นทางของพายุโซนร้อนมังคุดใกล้ประเทศฟิลิปปินส์ในระยะต่อมาจะมีปฏิสัมพันธ์กับกึ่งเขตร้อนชื้น จึงมีโอกาสขยายตัวหยุดลง ทำให้เกิดเส้นทางพายุโซนร้อนมังคุด ที่จะเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดความแตกต่างอย่างจริงจังระหว่างหน่วยงานคาดการณ์ หมู่เกาะทางตะวันตกไปทางตอนเหนือของทะเลจีนใต้แต่หน่วยงานต่าง ๆ คาดการณ์ว่าพายุโซนร้อนจะพัฒนาเป็นพายุไต้ฝุ่น มีความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนทางทิศเหนือ และถูกอากาศแห้งรุกราน อย่างไรก็ตาม อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลอยู่ที่ประมาณ 29 องศาเซลเซียส แรงลมเฉือนแนวตั้งอ่อน และการเบี่ยงเบนจากระดับความสูงทำให้ความแรงของพายุโซนร้อนมังคุดเริ่มสูงขึ้น และมีเมฆหนาทึบ
- วันที่ 9 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงเมื่อเวลา 02:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันที่ 9 กันยายน ต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นยกระดับพายุโซนร้อนกำลังแรงให้เป็นพายุไต้ฝุ่นเวลา 08:00 น. (01:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ติดตามเวลา 08:45 น. (01:45 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 ในวันเดียวกัน
- วันที่ 10 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงเคลื่อนตัวจากตะวันตกไปตะวันตกเฉียงใต้โดยพัดผ่านใกล้กวม ความแตกต่างของการคาดการณ์ของหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาหลายแห่งไม่มีการคาดการณ์การเลี้ยวไปทางทิศเหนืออีกต่อไป ทั้งหมดคาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดจะผ่านภาคใต้ของประเทศไต้หวัน และเคลื่อนเข้าสู่ภาคเหนือของทะเลจีนใต้ เป็นภัยคุกคามที่สำคัญในภูมิภาคก่อนที่พายุไต้ฝุ่นมังคุดจะเข้ามา สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้คาดการณ์ตำแหน่งพายุหมุนเขตร้อนโดยใช้แผนที่เส้นทางการคาดคะเนความน่าจะเป็น พายุยังคงถูกอากาศแห้งรุกราน และเคลื่อนตัวไปยังพื้นที่ที่มีแรงลมเฉือน ซึ่งทำให้การพัฒนาซบเซา แต่ยังคงได้รับการยกระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรงโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาแห่งชาติเมื่อเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ตาพายุเห็นได้ชัดในภาพถ่ายดาวเทียมเป็นพายุไต้ฝุ่นเข้ามาใกล้หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา และกวม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) วิเคราะห์มังคุดว่าเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 2 ที่มีความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 165 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (105 ไมล์ต่อชั่วโมง) ขณะเคลื่อนตัวเข้าใกล้เมืองโรตา เวลาประมาณ 19:00 น (12:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันที่ 10 กันยายน
- วันที่ 11 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 และพัดขึ้นฝั่งที่หมู่เกาะโรตาในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา เคลื่อนผ่านทะเลฟิลิปปินส์ ช่วงครั้งที่สองของการทำให้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วเกิดขึ้นเมื่อพายุรวมตัวอย่างมีนัยสำคัญ ในช่วงเวลานี้ได้มีการสร้างตาพายุระยะทาง 40 กิโลเมตร (25 ไมล์) ที่กำหนดไว้อย่างดี ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) วิเคราะห์พายุไต้ฝุ่นมังคุดว่ามีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ภายในเวลา 13:00 น. (06:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ซึ่งเป็นระดับความเข้มข้นที่คงอยู่เป็นเวลาเกือบ 4 วัน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประเมินว่าความกดอากาศของพายุอยู่ที่จุดต่ำสุดเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ด้วยความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท)
- วันที่ 12 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้เคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ในฐานะพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 และสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า โอมโปง เมื่อเวลาประมาณ 03:00 น. (19:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้บันทึกว่าพายุมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น และบรรลุความรุนแรงที่สุดของพายุในเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) โดยมีลมพัดอย่างต่อเนื่องใน 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- วันที่ 13 กันยายน รัฐบาลประเทศฟิลิปปินส์เริ่มออกคำสั่งให้อพยพประชาชนที่อยู่อาศัยในแนวที่พายุจะเคลื่อนผ่าน และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 280 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (175 ไมล์ต่อชั่วโมง)
- วันที่ 14 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดเริ่มเข้าสู่วัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยความเร็วลมที่ต่อเนื่องเพียง 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ขณะที่เคลื่อนผ่านไปบนแผ่นดินนั้น พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อย แต่ก็ยังเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 อยู่ และต่อมาพายุไต้ฝุ่นมังคุดได้ทวีกำลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อยอย่างช้า ๆ และปรากฏให้เห็นถึงตาพายุขนาดใหญ่โดยพายุมีทิศทางเคลื่อนตัวมุ่งหน้าไปทางฮ่องกง ขณะที่พื้นที่สูงกึ่งเขตร้อนไปทางทิศตะวันออกของพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวไปทางทิศใต้ พายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือในวันเดียวกัน ทำให้หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาทั้งหมดปรับเส้นทางไปทางทิศเหนือ
- วันที่ 15 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งในเมืองบักเกา จังหวัดคากายันเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ที่มีความเร็วลมคงที่ 10 นาที 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ตาพายุอ่อนลงทันทีหลังขึ้นแผ่นดิน เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของเกาะลูซอน โครงสร้างของพายุได้รับความเสียหายเมื่อเวลา 9:00 น. (02:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) พายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนผ่านประเทศฟิลิปปินส์เข้าสู่ทะเลจีนใต้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ลดระดับเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 3 เมื่อเวลา 11:00 น. (04:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เมื่อพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวผ่านเกาะลูซอน โครงสร้างของพายุก็เริ่มเปลี่ยนไป และการหมุนเวียนของผนังตาอ่อนลงกว่าก่อนจะผ่านเกาะลูซอน แต่สายฝนชั้นนอกกำแพงตายังคงอยู่
- วันที่ 16 กันยายน พายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยข้ามตอนเหนือของทะเลจีนใต้ พายุไต้ฝุ่นกำลังแรงอย่างมากเมื่อเวลา 07:45 น. (0:45 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) เมื่อพายุไต้ฝุ่นมังคุดอยู่ใกล้ชายฝั่งมณฑลกวางตุ้งในเช้าวันนั้นโดยมีความเร็วลมคงที่ 1 นาทีที่ 150 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (90 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 960 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.35 นิ้วของปรอท) ลมในสายฝนเกลียวนอกกำแพงตาของพายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงแรงกว่ากระแสลมที่อยู่ใกล้เปลือกตาเมื่อเวลา 17:00 น. (10:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ของวันนั้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ประกาศว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวเข้าที่เมืองไห่เยี่ยน อำเภอไถชาน จังหวัดเจียงเหมิน มณฑลกวางตุ้ง ในขณะที่แรงลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (100 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 955 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 28.20 นิ้วของปรอท) ความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นมังคุดลดลงอย่างต่อเนื่อง สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นปรับเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง เวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ตามลำดับจากพายุโซนร้อนกำลังแรงปรับเป็นพายุโซนร้อน ในเวลา 23:00 น. (16:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
- วันที่ 17 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ปรับลดระดับจากพายุโซนร้อนเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน เมื่อพายุโซนร้อนมังคุดพัดขึ้นฝั่งครั้งสุดท้าย มันได้อ่อนกำลังลงอีก และยังคงการหมุนเวียนอย่างรวดเร็วบนแผ่นดินอยู่ ก่อนจะอ่อนกำลังลงอย่างต่อเนื่อง จนในที่สุดพายุมังคุดสลายตัวไปเหนือเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ประเทศจีน
การเตรียมการ
[แก้]ประเทศฟิลิปปินส์
[แก้]สัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนที่ถูกประกาศขึ้นจากสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) วันที่ 13 กันยายน ถูกนำมาใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตอีโลโคส เขตลัมบักนางคากายัน และเขตบริหารคอร์ดิลเยราในการบริหารทั้ง 3 ภูมิภาค คาดว่าจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพายุไต้ฝุ่นมังคุด โรงเรียนได้ประกาศให้หยุดการเรียนการสอน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุดที่กำลังใกล้เข้ามา[10][11] ทีมแพทย์ และการตอบสนองฉุกเฉินถูกจัดให้อยู่ในโหมดเตรียมพร้อม และเตรียมสินค้าบรรเทาทุกข์มูลค่าประมาณ 1.7 พันล้านยูโร (1.93 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ภายในวันที่ 13 กันยายน[12][13] สำนักงานป้องกันพลเรือนกรุงมะนิลาเปิดเผยว่าทางการตั้งใจที่จะเปิดอาคารรัฐบาลเพื่อเป็นที่หลบภัยชั่วคราวสำหรับประชาชน[14] ในการตอบสนองต่อมาตรการอพยพ ทางการกล่าวว่า ชั้นเรียนถูกระงับในวันที่ 14 กันยายน ขณะที่มังคุดส่งผลกระทบต่อประเทศฟิลิปปินส์ในช่วงฤดูเกี่ยวข้าว นอกจากนี้ ทางการยังเรียกร้องให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวพืชผลโดยเร็วที่สุดเพื่อลดการสูญเสีย[15] ในตอนเย็นของวันเดียวกัน สภาลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการจัดการแห่งชาติฟิลิปปินส์ ได้จัดงานแถลงข่าว ประธาน ริคาร์โด้ จาลาด กล่าวว่าประชาชนประมาณ 4.3 ล้านคน จะได้รับผลกระทบ 7 จังหวัด ทางตอนเหนือ 15 แห่ง 820,000 คน ในภูมิภาค และระบุว่าคณะกรรมการลดภัยพิบัติแห่งชาติได้วางแผนที่พักพิงชั่วคราว 1,742 แห่ง และโรงเรียนของรัฐมากกว่า 3,000 แห่ง สามารถเปลี่ยนเป็นศูนย์พักพิงได้ตลอดเวลา[16]
ประเทศไต้หวัน
[แก้]เมื่อวันที่ 10 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลาง (CWB) ของกระทรวงคมนาคมชี้ว่าจะมีการออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนทางทะเลในวันที่ 14 กันยายน โดยอิงจากการเปลี่ยนแปลงความเร็ว และความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นมังคุด และกล่าวว่าหากพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวเข้าใกล้แผ่นดินประเทศไต้หวันมากขึ้นจะออกคำเตือนพายุหมุนเขตร้อนบนบก[17] เมื่อวันที่ 12 สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางระบุว่าเนื่องจากศูนย์กลางของพายุไต้ฝุ่นมังคุดจะผ่านช่องแคบบาชิ และผ่านปลายด้านเหนือของเกาะลูซอนในวันที่ 15 กันยายน ความน่าจะเป็นของพายุที่อาจจะขึ้นฝั่งทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไต้หวันลดลง และความน่าจะเป็นของการประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนบนบกก็ลดลง[18] วันรุ่งขึ้นสำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางระบุว่าตามเส้นทางตอนใต้ของพายุไต้ฝุ่นมังคุด ความน่าจะเป็นที่จะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนทางทะเลก็ลดลงเช่นกัน[19] อย่างไรก็ตาม สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางระบุในวันที่ 14 กันยายน ว่าเนื่องจากพายุยังคงขยายตัว และเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คาดว่าจะออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนทางทะเลในเวลา 11:30 น. (04:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
ต่อมาสำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางระบุว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 25 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (15 ไมล์ต่อชั่วโมง) อิทธิพลของพายุขยายไปถึงน่านน้ำชายฝั่งของประเทศไต้หวัน หลังจากที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนนอกชายฝั่ง และระบุว่าทางตะวันออกของประเทศไต้หวัน คาบสมุทรเหิงชุน และพื้นที่อื่น ๆ ได้รับผลกระทบจากการไหลเวียนของพายุรอบนอก และมีความเป็นไปได้ที่ฝนจะตกหนัก[20] ในวันที่ 15 ขณะที่พายุไต้ฝุ่นมังคุดค่อย ๆ เคลื่อนตัวออกไป สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางได้ยกเลิกคำเตือนเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนนอกชายฝั่งในเวลา 20:30 น. (13:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางได้แจ้งว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวผ่านไป แต่ก็ได้รับผลกระทบจากกระแสน้ำรอบนอก และยังคงออกรายงานพิเศษฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง และเตือนพื้นที่ที่มีรายงานพิเศษฝนตกหนักให้ความสนใจกับดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน และป้องกันน้ำท่วมบริเวณที่ราบลุ่ม[21]
ฮ่องกง
[แก้]คาดการณ์ว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดจะเข้าฮ่องกงอย่างรุนแรงรัฐบาลฮ่องกงได้จัดประชุมระหว่างแผนกเพื่อหารือเกี่ยวกับการตอบสนองที่เป็นไปได้ต่อพายุไต้ฝุ่น ต่อมารัฐบาลฮ่องกงได้จัดงานแถลงข่าวระหว่างหน่วยงานที่หาดูได้ยากเกี่ยวกับการเตรียมมังคุดโดยเตือนพลเมืองฮ่องกงให้ "เตรียมพร้อมสำหรับสิ่งที่เลวร้ายที่สุด" คืนนั้นหอดูดาวฮ่องกงออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 1 เมื่อพายุไต้ฝุ่นมังคุดอยู่ห่างจากฮ่องกงประมาณ 1,110 กิโลเมตร (690 ไมล์) ซึ่งเป็นระยะทางที่ไกลที่สุดที่บันทึกไว้ ฝ่ายกิจการบ้านได้ประกาศในวันที่ 13 กันยายน ได้ออกจดหมายถึงสมาคมการจัดการทรัพย์สินเพื่อเรียกร้องให้บริษัทจัดการทรัพย์สิน และผู้พักอาศัยใช้มาตรการป้องกันพายุหมุนเขตร้อน สำนักงานเขตได้ติดต่อสมาชิกสภาเขต ผู้แทนหมู่บ้าน คณะกรรมการในชนบท บริษัทเจ้าของ คณะกรรมการเจ้าของ คณะกรรมการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเอกอัครราชทูตประสานงานประจำถิ่น เพื่อขอความช่วยเหลือในการเตือนผู้อยู่อาศัยให้ใส่ใจกับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 1 และดำเนินมาตรการป้องกันไว้ก่อน มีที่พักพิงชั่วคราวทั้งหมด 48 แห่ง ได้ดำเนินการโดยสำนักงานเขตจะเปิดให้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือหลังจากออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 3 สำนักงานเขตจะให้ความสนใจอย่างใกล้ชิดกับพื้นที่เสี่ยงตามลุ่ม ซึ่งอาจมีน้ำท่วมรุนแรง และจะใช้มาตรการป้องกันกับกรมบริการระบายน้ำ สำนักงานเขตได้ติดต่อตัวแทนหมู่บ้านในพื้นที่เสี่ยงภัยบางแห่งเพื่อแจ้งเตือนล่วงหน้า และสนับสนุนมาตรการป้องกันไว้ก่อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำนักงานเขตกุ๊นถ่อง และสำนักงานเขตบนเกาะได้ติดต่อตัวแทนถิ่นที่อยู่และตัวแทนหมู่บ้านในไท่โอ และ เหล หยู่ หมุน[22]
ประชาชนที่อาศัยอยู่ในไท่โอ และ เหล หยู่ หมุน ได้รับการอพยพออกจากพื้นที่ลุ่มต่ำเหล่านี้ ซึ่งในอดีตมีแนวโน้มที่จะเกิดพายุรุนแรง พายุไต้ฝุ่นมังคุดยังคงมุ่งหน้าไปทางปากแม่น้ำเพิร์ล หอดูดาวฮ่องกงได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อน หรือสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 8 ในช่วงเที่ยงคืน หลังรุ่งสางเมื่อลมในท้องถิ่นมีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว หอดูดาวฮ่องกงได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนเพิ่มขึ้น หรือสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 9 เมื่อเวลา 09:40 น. (02:40 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) หอดูดาวฮ่องกงได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 10 ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในฮ่องกง เป็นครั้งที่สามที่มีการออกคำเตือนสำหรับภูมิภาคนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 กับพายุไต้ฝุ่นฮาโตะในปี พ.ศ. 2560 และพายุไต้ฝุ่นบิเซนเตในปี พ.ศ. 2555[23]
ประเทศจีน
[แก้]สำนักงานอุตุนิยมวิทยาในมณฑลกวางตุ้งได้ออกประกาศเตือนระดับสีแดงสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุด ซึ่งเป็นระดับการแจ้งเตือนสูงสุดในมณฑลกวางตุ้ง[24][25] สำนักงานอุตุนิยมวิทยากว่างซีจ้วงยังได้ออกคำเตือนระดับสีแดงสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุดเมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)[26] ในวันรุ่งขึ้นที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของเทศบาลนครเชินเจิ้นออกแจ้งเตือนสีแดงสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุด ซึ่งเป็นระดับสูงสุดของการแจ้งเตือนในเชินเจิ้น[27] สำนักงานอุตุนิยมวิทยาฝูเจี้ยนได้ออกประกาศเตือนภัยระดับสีส้มสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุด ซึ่งเป็นระดับการแจ้งเตือนสูงสุดเป็นอันดับสองเมื่อวันที่ 15 กันยายน[28] สำนักงานอุตุนิยมวิทยาจีนได้ปรับการแจ้งเตือนระดับสีแดงสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุด ซึ่งเป็นระดับการแจ้งเตือนสูงสุดในประเทศจีน[29] ในวันเดียวกันนั้น สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไหหลำได้ออกประกาศเตือนภัยระดับสีส้มสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุดในกว่างโจว เมืองหลวงของมณฑลกวางตุ้ง โรงเรียน การขนส่งสาธารณะ และธุรกิจต่าง ๆ ถูกปิดทั่วทั้งเมืองเป็นครั้งแรก[30]
ผลกระทบ
[แก้]กวมและหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
[แก้]พายุโซนร้อนมังคุดยังคงเคลื่อนตัวไปตามเส้นทางสู่กวม บ้านเรือนในกวมได้รับความเสียหายเป็นวงกว้าง และไฟฟ้าดับเป็นเวลานาน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติได้กำหนดให้กวม และหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา อยู่ภายใต้การดูแลของพายุไต้ฝุ่นมังคุดในเวลา 20:00 น. (13:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ในคืนวันเสาร์ โรงเรียนของรัฐจะปิดในวันจันทร์ เนื่องจากบางโรงเรียนจะใช้เป็นที่พักพิง พายุโซนร้อนมังคุดจะยังคงเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตก และคาดว่าจะมีกำลังแรงขึ้นโดยอาจกลายเป็นพายุไต้ฝุ่นระดับ 4 เมื่อมาถึงกวมในวันอังคารที่ 11 กันยายน เป็นจุดที่เข้าใกล้ที่สุดที่คาดการณ์ไว้ ตามประกาศในช่วงบ่ายจากเจ้าหน้าที่ป้องกันพลเรือน สิ่งสำคัญคือต้องเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5[31]
หลังจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดสร้างความเสียหายให้กับบ้านเรือน ทำให้เกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง เสาไฟฟ้าล้ม น้ำท่วมในบางพื้นที่ ต้นไม้ใหญ่โค่นล้มลง และหมู่บ้านที่เกลื่อนกลาดไปกับพายุฝนฟ้าคะนอง[32][33] พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้สร้างความเสียหายจำนวนประมาณ 4.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นเพียงการประเมินความเสียหายเบื้องต้น และจะช่วยกำหนดความรุนแรงของผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดที่มีต่อกวม ตอนนี้หน่วยงานในท้องถิ่นกำลังจ่ายค่าซ่อมแซม และค่าเอกสาร หากได้รับการช่วยเหลือจากสาธารณะ พวกเขาสามารถส่งเอกสารความเสียหาย และค่าใช้จ่ายเพื่อรับเงินชดใช้จากสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง[34] นอกจากนี้ แหล่งจ่ายไฟของกวมถูกตัดระหว่างเกิดพายุ และไฟฟ้าก็ไม่สามารถใช้งานได้ในบางพื้นที่จนถึงวันที่ 13 กันยายน[35]
ประเทศฟิลิปปินส์
[แก้]พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้ทำให้เกิดฝนตกหนัก และก่อให้เกิดดินถล่มจำนวนมาก บางแห่งอาจถึงแก่ชีวิต เช่น ถูกตัดไม้ทำลายป่าอย่างรุนแรงบนภูเขาของประเทศฟิลิปปินส์ จึงทำให้เกิดดินถล่มเป็นอันตรายอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากพายุ เช่น อาคารเกือบทั้งหมดในนครตูเกกาเรา และเมืองหลวงของจังหวัดคากายันได้รับความเสียหายอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น [36] ความเสียหายที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดทางตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์นั้นยากต่อการประเมินในวันอาทิตย์ เนื่องจากลมที่รุนแรงได้ปิดกั้นการเข้าถึงถูกน้ำท่วม และช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งพัดเข้าประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงเช้าตรู่ของวันเสาร์ พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้พัดหลังคาอาคาร ต้นไม้โค่นล้มลงปิดถนนด้วยเศษซาก และเทน้ำบนทุ่งพืชที่ชาวนาไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ก่อนเกิดพายุ[37] ผู้อยู่อาศัย 2 ราย ได้ถูกไฟฟ้าดูดหลังจากสายไฟขาด และนำตัวส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน และอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย
เกิดพายุทอร์นาโดในมาริกินาเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา บ้านเรือนได้รับความเสียหายประมาณ 20 หลัง และต้นอะคาเซียประมาณ 2 ต้น ก็โค่นล้มลงบนถนน ขณะนี้เมืองในบารังไกประมาณ 8 เมือง ในบางพื้นที่ไม่มีไฟฟ้าใช้[38] ผู้คนมากกว่าประมาณ 105,000 คน ได้อพยพออกจากบ้าน[39] และสนามบินหลายแห่งในตอนเหนือของเกาะลูซอนได้ปิดให้บริการ เนื่องจากผลกระทบของพายุไต้ฝุ่นมังคุด[40]
ตำรวจยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อยประมาณ 127 ราย[41] ผู้เสียชีวิต 80 ราย ในเหมืองขนาดเล็กเมืองอิโตกอน จังหวัดเบงเก็ต ซึ่งดินถล่มฝังบ้านเรือนประมาณ 10 หลัง[42] ตำรวจยังระบุด้วยว่ายังมีผู้สูญหายอีกประมาณ 111 คน ในวันที่ 22 กันยายน[43] ฟรานซิส โทเลนติโน ที่ปรึกษาทางการเมืองของประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต ได้ประกาศว่าประชาชนประมาณ 5.7 ล้านคน ทั่วประเทศได้รับผลกระทบจากพายุ[44] เกาะลูซอนประสบความสูญเสียอย่างกว้างขวาง ซึ่งมากกว่าสองเท่าของสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดที่คาดไว้โดยเอ็มมานูเอล ปินอล รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม สภาบริหาร และลดความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติของประเทศฟิลิปปินส์ ได้ประมาณการว่าพายุไต้ฝุ่นมังคุดสร้างความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 33.9 หมื่นล้านเปโซฟิลิปปินส์ (627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[nb 7] ในประเทศฟิลิปปินส์โดยมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง
ประเทศไต้หวัน
[แก้]พบคลื่นสูงตามชายฝั่งต่าง ๆ ในเผิงหู และเทศมณฑลจินเหมิน[45] หลังจากที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางได้ออกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนนอกชายฝั่ง ระบุว่าทางตะวันออกของประเทศไต้หวัน คาบสมุทรเหิงชุน และพื้นที่อื่น ๆ ได้รับผลกระทบจากสายฝนเกลียวนอกกำแพงตา และมีความเป็นไปได้ที่ฝนจะตกหนัก[46] สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางได้ยกเลิกสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนนอกชายฝั่ง สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางแจ้งว่า แม้พายุไต้ฝุ่นมังคุดจะค่อย ๆ เคลื่อนตัวผ่านไป แต่ก็ได้รับผลกระทบจากสายฝนเกลียวนอกกำแพงตา และยังคงออกรายงานฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง เตือนพื้นที่ที่มีรายงานฝนตกหนักให้ระวังดินถล่ม และป้องกันน้ำท่วมบริเวณที่ราบลุ่ม[47] สถานที่ที่มีฝนตกมากที่สุดคือประมาณ 317.5 มิลลิเมตร (12.5 นิ้ว) ในเทศมณฑลผิงตง ประมาณ 225 มิลลิเมตร (9 นิ้ว) ในตำบลไท่อู่ เทศมณฑลผิงตง และตำบลไห่ตวาน เทศมณฑลไถตง มีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มิลลิเมตร (4 นิ้ว)[48] พื้นที่เทศมณฑลไถตง และเกาะหลานหยูคลื่นสูงประมาณ 6 ถึง 8 เมตร[49] วันที่ 15 ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดมากถึง 12,556 ครัวเรือน ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ในเทศมณฑลผิงตง เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่นสายไฟขาด และหม้อแปลงระเบิด มีอีก 30 ครัวเรือน ที่จะซ่อมแซมในตำบลซือจื่อ เทศมณฑลผิงตง พื้นที่เกาะหลานหยูได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นมังคุด ส่งผลให้มีการปิดสนามบินหลานหยูตั้งแต่วันที่ 15 กันยายน ถึงวันที่ 16 กันยายน[50] และระงับเที่ยวบินภายนอกไปยังหลานหยู และเกาะกรีน จนถึงวันที่ 16 กันยายน[51] ในตำบลเชอเฉิง เทศมณฑลผิงตง
เมื่อวันที่ 15 กันยายน สำนักงานเขตได้ประกาศหยุดเรียนในวันรุ่งขึ้น เนื่องจากฝนตกหนักที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นมังคุด[52] สำนักงานต้าอู่ในเทศมณฑลไถตงได้รายงานว่าบางพื้นที่ได้รับความเสียหาย เช่น บ้านเรือน และเรือแพพลิกคว่ำ เป็นต้น ตามผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการซ่อมแซมบ้าน ได้มีการประกาศว่าสำนักงาน และชั้นเรียนจะถูกระงับในวันนั้น[53] หญิงวัย 30 ปี ที่ถูกคลื่นซัดพัดไป 3 เมตร นอกชายฝั่งเทศมณฑลอี๋หลาน สองวันต่อมาพบร่างหญิงวัย 30 ปี เสียชีวิตบนชายหาด[54]
ฮ่องกง
[แก้]พายุที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของฮ่องกงที่ทำให้เกิดคลื่นพายุสูงเป็นประวัติการณ์ ต้นไม้โค่นล้มลงไปประมาณ 1,500 ต้น และทำให้หน้าต่างหลายร้อยบานแตกทั่วเมือง[55] ดำเนินการค้นหาข้อมูลหลังเหตุการณ์ลงพื้นที่สำรวจความเสียหาย ข้อค้นพบเกี่ยวกับความเสียหาย และผลกระทบ ที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดในส่วนต่าง ๆ จากการวิเคราะห์ข้อมูลความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่รายงานโดยหน่วยงานภาครัฐ สาธารณูปโภค และองค์กรต่าง ๆ ในฮ่องกง ความเสียหายทางเศรษฐกิจโดยตรงที่เกิดจากพายุในฮ่องกงมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 4.6 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (590 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งมากกว่าพายุไต้ฝุ่นฮาโตะประมาณ 3.8 เท่าในปี พ.ศ. 2560 สำนักการศึกษาได้ประกาศว่าทุกชั้นเรียนในโรงเรียนอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา ได้หยุดเรียน เนื่องจากโรงเรียนบางแห่งต้องใช้เวลาในการทำความสะอาด และซ่อมแซมสถานที่กับสิ่งอำนวยความสะดวก ฮ่องกงกำลังเผชิญกับการฟื้นตัวที่ยาวนาน และยากลำบากจากความเสียหาย น้ำท่วม และการเดินทางได้หยุดชะงักลง[56] เรียกร้องค่าสินไหมทดแทนในฮ่องกงมีมูลค่าประมาณ 7.3 พันล้านดอลลาร์ฮ่องกง (930 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[57]
พายุไต้ฝุ่นมังคุดทำให้เกิดน้ำท่วมหลายอำเภอ และในช่วงที่พายุเคลื่อนตัวพัดถล่มฮ่องกงระดับน้ำสูงสุดที่บันทึกไว้ที่ไทโปเกาอยู่ที่ประมาณ 4.71 เมตร และอีกประมาณ 3.88 เมตร มีผู้ได้รับบาดเจ็บอย่างน้อย 458 ราย มีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย และผู้คนอีกประมาณ 1,539 ราย ต้องเข้ารับการรักษาในที่พักพิงชั่วคราว 48 แห่ง[58] รัฐบาลได้รับรายงานว่าต้นไม้ประมาณ 60,000 ต้น ได้โค่นล้มลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ กรมบริการระบายน้ำได้รับรายงานน้ำท่วม 46 ฉบับ และรายงานดินถล่ม 1 ฉบับ[59] ต้นไม้ที่โค่นล้มลงกลางถนน จึงส่งผลต่อความปลอดภัยในการขับขี่ มีผู้ชายคนหนึ่งขับมอเตอร์ไซค์วิ่งข้ามต้นไม้ที่โค่นล้มจนเกิดสูญเสียการควบคุมทำให้ล้มลงกับพื้น และนำส่งรับการช่วยเหลือที่โรงพยาบาล[60] รังผึ้งแตกจากต้นไม้ที่โค่นล้มลงในไทโป และทำให้ผู้คนประมาณ 20 ราย ถูกผึ้งต่อย[61] ท่อกับโรงบำบัดน้ำเสียบางแห่งได้รับความเสียหายจากพายุ และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เกี่ยวข้องได้รับความเสียหายอย่างหนักเช่นกัน ส่วนที่สามารถบำรุงรักษาได้เฉพาะบริการบำบัดน้ำเสียเบื้องต้นเท่านั้น ท่อน้ำอีกประมาณ 3 ท่อ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ประมาณ 150 มิลลิเมตร (6 นิ้ว) จนถึงประมาณ 450 มิลลิเมตร (18 นิ้ว) กระจายอยู่ทางตอนใต้ของฮ่องกงได้รับความเสียหายอย่างหนัก และน้ำเสียล้น[62][63][64] ความเสียหายของโรงบำบัดน้ำเสียทำให้เกิดมลพิษทางน้ำในบริเวณใกล้เคียง เขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายจากผลกระทบของคลื่น และน้ำโคลนสีเหลืองยังคงไหลออกจากทะเล ฝ่ายบริการระบายน้ำได้ทำการทดสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้น[65]
ความเสียหายอย่างหนักในหลายเขตสมาคมวิชาชีพการศึกษาฮ่องกงได้ระบุว่าการจราจรบนถนนยังคงต้องการเวลาทำความสะอาดหลังเกิดพายุไต้ฝุ่นมังคุด และทางโรงเรียนต้องตรวจสอบความเสียหายต่ออาคารเรียนในตอนเที่ยงของวันที่ 16 กันยายน เสนอแนะสำนักงานการศึกษาให้ประกาศหยุดทุกโรงเรียนในวันรุ่งขึ้น[66] และต่อมาสำนักงานการศึกษาได้ประกาศว่าทุกโรงเรียนจะระงับการเรียนการสอน[67] สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง และสภาอาชีวศึกษาก็ประกาศระงับชั้นเรียนในวันที่ 17 กันยายน[68] สมาคมการศึกษาชี้ว่าอาคารเรียนประมาณ 40 แห่ง ในฮ่องกงได้รับความเสียหาย และแนะนำอีกครั้งให้งดการเรียนการสอนในฮ่องกง สำนักงานการศึกษาประกาศในทันทีว่าชั้นเรียนจะยังคงถูกระงับ[69] สำนักงานการศึกษาได้ประกาศเมื่อวันที่ 18 กันยายน ชั้นเรียนในฮ่องกงจะกลับมาเรียนในวันถัดไป[70] สำนักการศึกษายังกล่าวด้วยว่าหากแต่ละโรงเรียนคิดว่าจำเป็นต้องระงับการเรียนต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ของสถานที่เรียน หรือเหตุผลอื่น ๆ โรงเรียนยังคงปิดอยู่ประมาณ 7 แห่ง[71]
มาเก๊า
[แก้]คลื่นลมแรงสูงถึงประมาณ 1.9 เมตร จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อมาเก๊า เช่น บ้านเรือนประมาณ 21,000 หลัง ได้ประสบปัญหาไฟฟ้าดับ เนื่องจากโรงไฟฟ้าหยุดทำงาน บ้านเรือนอีกประมาณ 7,000 หลัง ได้ประสบปัญหาทางอินเทอร์เน็ต และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 40 ราย เป็นต้น เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของมาเก๊า คือ คาสิโนทั้งหมดได้ถูกปิดตัวลง ท่าอากาศยานนานาชาติมาเก๊าได้ยกเลิกเที่ยวบินในวันเสาร์ และวันอาทิตย์ ความเสียหายทั้งหมดในมาเก๊าอยู่ที่ประมาณ 1.74 พันล้านปาตากามาเก๊า (215 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[72] ในช่วงที่มีการประกาศสัญญาณเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 10 พื้นที่ลุ่มหลายพื้นที่ได้เกิดน้ำท่วม และน้ำท่วมบริเวณท่าเรือมาเก๊าสูงถึงประมาณ 2 เมตร นั่งร้านจำนวนมากในเมืองได้ถล่ม[73][74] มีการรายงานเหตุการณ์ทั้งหมด 148 ครั้ง โดยในจำนวนนี้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 7 ราย อาคารประมาณ 26 แห่ง ได้ความเสียหายอย่างหนัก ต้นไม้โค่นล้มลงไปประมาณ 20 ต้น ป้ายโฆษณาได้รับความเสียหายประมาณ 76 แห่ง[75] กระจกหน้าต่างได้แตกเสียหายจากพายุไต้ฝุ่นฮาโตะในปี พ.ศ. 2560 กระจกบนแท่นก็ถูกลมแรงพัดปลิวไป และซีเมนต์ที่ผนังด้านนอกก็คลายตัวด้วยเช่นกัน[76]
เนื่องจากผลกระทบร้ายแรงของพายุไต้ฝุ่นมังคุดในมาเก๊า จึงทำให้รัฐบาลประกาศว่าข้าราชการ สำนักการศึกษา และกิจการเยาวชน จะได้รับการหยุดจากการทำงานในวันที่ 17 กันยายน ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันพลเรือนมาเก๊าได้รับรายงานอุบัติเหตุประมาณ 182 ครั้ง เช่น ความเสียหายของอาคาร ต้นไม้โค่นล้ม และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 15 ราย เป็นต้น[77] มหาวิทยาลัย และวิทยาลัยต่าง ๆ ในมาเก๊าได้ประกาศว่าจะมีการหยุดการเรียนการสอน โรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา และโรงเรียนอนุบาล ก็ได้มีการหยุดการเรียนการสอนเช่นกัน[78][79] หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ช่วยกันเก็บขยะในพื้นที่ต่าง ๆ โดยองค์การบริหารส่วนตำบลได้จัดตั้งจุดเก็บขยะชั่วคราวจำนวนประมาณ 40 จุด ในพื้นที่ลุ่ม และส่งกำลังพลไปยังเขตต่าง ๆ เพื่อทำความสะอาดศุลกากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ สำนักงานตำรวจตุลาการสมาคมเจียงเหมิน สมาคมย่านมาเก๊า สหพันธ์สตรีมาเก๊า สมาคมการศึกษาแห่งประเทศจีน สมาคมเยาวชนชาวจีนแห่งมาเก๊า และกลุ่มอื่น ๆ ยังได้ส่งบุคลากรไปทำความสะอาดถนน และอื่น ๆ ผลที่ตามมา[80][81]
เทศบาลเริ่มทำความสะอาดถนนเมื่อวันที่ 17 กันยายน ร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลอื่น ๆ บริษัททำความสะอาดในมาเก๊าก็เริ่มดำเนินงานเช่นกัน และในวันเดียวกันมีการทำความสะอาดมีขยะรวมประมาณ 900 ตัน หน่วยงานรัฐบาลได้ส่งบุคลากรเพื่อช่วยเร่งทำความสะอาด และในขณะเดียวกันก็มีการส่งผู้ตรวจสอบไปช่วยเหลือร้านอาหาร ร้านค้าปลีก และอื่น ๆ เพื่อจัดการกับอาหารปนเปื้อนประมาณ 10 ตัน[82] สำนักอนามัยได้ส่งบุคลากรไปยังพื้นที่น้ำท่วมเพื่อดำเนินการฆ่าเชื้อ เช่น การควบคุมศัตรูพืช การควบคุมยุง เตือนประชาชนให้ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ส่วนบุคคล และสุขอนามัยอาหาร เป็นต้น[83] บุคลากรจากสำนักกิจการการศึกษา และเยาวชน ได้เข้าไปดูโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจำนวนโรงเรียนประมาณกว่า 77 แห่ง โรงเรียนประมาณ 73 แห่ง ได้รับการพิจารณาให้เข้าชั้นเรียนได้อีกครั้ง และโรงเรียนอีกประมาณ 4 แห่ง ที่เหลือต้องบำรุงรักษาระบบไฟฟ้า สุขาภิบาล และฆ่าเชื้อ แต่ไม่สามารถกลับมาเรียนได้อีก โรงเรียนบางแห่งยังไม่สามารถกลับมาเรียนตามปกติได้ และชั้นเรียนยังคงถูกระงับการใช้งานอยู่[84] สำนักสวัสดิการสังคมได้เปิดศูนย์ลี้ภัยในเกาะกรีนแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ และช่วยเหลือสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการบริการสังคมต่าง ๆ เพื่อกลับมาดำเนินการตามปกติภายในประมาณ 2 เดือน[85]
หลังจากพายุไต้ฝุ่นมังคุดเคลื่อนตัวเข้ามาเก๊า จึงทำให้สำนักงานสถิติประเมินว่าการสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เกิดจากพายุในมาเก๊า เช่น บ้านพักอาศัย ยานพาหนะ สิ่งอำนวยความสะดวกสาธารณะ ธุรกิจ และอื่น ๆ เป็นต้น ความเสียหายโดยรวมอยู่ที่ประมาณ 1.55 พันล้านหยวนจีน (244 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) การสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยตรงอยู่ที่ประมาณ 520 ล้านหยวนจีน (81.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และการสูญเสียทางเศรษฐกิจโดยอ้อมอยู่ที่ประมาณ 1.03 พันล้านหยวนจีน (162 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[86] สะพานในไทปามีการทรุดตัวลง และพบว่าสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างท่อส่งได้รับความเสียหาย หลังจากตรวจสอบ และประเมินแล้วเชื่อว่าสาเหตุหลักของการทรุดตัวของถนน คือ ดิน และน้ำในระยะยาว การสูญเสียที่เกิดจากความเสียหายของระบบท่อส่งก๊าซ ฝ่ายบริหารของผู้อยู่อาศัย และบริษัทวางท่อได้กำหนดวิธีการซ่อมแซมเริ่มดำเนินการแล้ว และพยายามทำให้เสร็จภายใน 1 สัปดาห์
ประเทศจีน
[แก้]ประเทศจีนมีการอพยพประชาชนประมาณ 2.45 ล้านคน[87][88] พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้สร้างความเสียหายไปทั่วเชินเจิ้นโดยทำให้เกิดไฟฟ้าดับกว่า 13 แห่ง และน้ำท่วมถนนในเขตหยานเถียนพร้อมกับพื้นที่ลุ่มต่ำอีก 34 แห่ง ตามรายงานของศูนย์ป้องกันน้ำท่วมเชินเจิ้น สถิติศูนย์พบว่าต้นไม้ประมาณ 248 ต้น ถูกลมกระโชกแรงจากพายุโค่นล้มลง[89] ขณะที่รถยนต์ประมาณ 2 คัน และป้ายโฆษณากลางแจ้งอีก 3 แห่ง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ฝนตกหนัก และคลื่นชายฝั่งได้ซัดเข้าหาถ้ำทำให้เกิดน้ำท่วมในโรสโคสต์ ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในเขตใหม่ต้าเผิง และในเขตเหยียนเถียน กองปราบชายแดนส่งกองกำลังประมาณ 100 นาย ไปอพยพผู้ที่อยู่อาศัย และแหล่งจ่ายไฟได้ถูกตัดเพื่อความปลอดภัย พายุได้พัดเรือที่ทอดสมออยู่ในฮุ่ยโจว และเตรียมพร้อมสำหรับพายุไต้ฝุ่นมังคุดที่กำลังจะเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ทะเลต้าเผิง เรือลำดังกล่าว ซึ่งบรรทุกผู้คนประมาณ 73 คน ทอดสมออยู่ในเขตต้าเผิงโดยได้รับความช่วยเหลือจากศูนย์กู้ภัยทางทะเลเชินเจิ้น
ศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยในเมืองได้นำผู้คนประมาณ 138,000 คน ให้อยู่อาศัยชั่วคราว และอยู่ห่างจากเมืองที่ได้รับผลกระทบ ในมณฑลกวางตุ้งมีผู้เสียชีวิตประมาณ 2 ราย จึงส่งผลให้มีผู้อพยพมากกว่า 2.5 ล้านคน ในมณฑลกวางตุ้ง และมณฑลไหหลำ ตามรายงานของกรมกิจการพลเรือนของมณฑลกวางตุ้งในวันที่ 17 กันยายน[90][91] พายุไต้ฝุ่นมังคุดได้ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นฐาน และมีการอพยพประชาชนประมาณ 951,000 คน ใน 14 เมือง รวมทั้งเชินเจิ้น จูไห่ เจียงเหมิน จั้นเจียง และหยางเจียง เป็นต้น มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4 ราย จากภัยพิบัติ สถานการณ์ภัยพิบัติเฉพาะยังคงอยู่ภายใต้การตรวจสอบ และสถิติเพิ่มเติม[92]
คณะกรรมการลดภัยพิบัติในมณฑลกวางตุ้ง และกรมกิจการพลเรือนของจังหวัดได้เร่งดำเนินการตอบสนองการบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติระดับที่ 2 อย่างเร่งด่วน รัฐบาลท้องถิ่นทุกระดับได้ลงทุนประมาณ 14.4 ล้านหยวนจีน (2.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในการจัดหาวัสดุบรรเทาสาธารณภัยฉุกเฉินในกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ และได้แจกจ่ายเพิ่มเติม เช่น เสื้อผ้าประมาณกว่า 70,000 ชิ้น เสื่อประมาณ 30,000 ผืน เตียงพับประมาณ 10,000 เตียง ข้าว น้ำแร่ และวัสดุบรรเทาสาธารณภัยอื่น ๆ การทำงานของรัฐบาลท้องถิ่นมีการทำงานอย่างดีในการหลีกเลี่ยงการถ่ายโอนอันตราย และรับประกันการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของผู้ที่ได้รับผลกระทบ งานบรรเทาสาธารณภัยต่าง ๆ ในพื้นที่ภัยพิบัติกำลังดำเนินการอย่างเข้ม[93][94] โรงเรียนอนุบาล และโรงเรียนทุกระดับชั้นในเป๋ย์ไห่ ฉินโจว ฟางเฉิงกัง และหนานหนิง ได้มีการหยุดการเรียนการสอน[95][96] พายุได้คร่าชีวิตผู้คนไปประมาณ 6 ราย และสร้างความเสียหาย 13.7 พันล้านหยวนจีน (1.99 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[97][98]
การถอนออกจากรายชื่อ
[แก้]หลังจากที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ถอนชื่อ โอมโปง ออกจากรายชื่อพายุของฟิลิปปินส์ เนื่องจากพายุได้ก่อให้เกิดความเสียหายในเกาะลูซอนอย่างหนักอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูง ชื่อนี้ก็ถูกแทนที่ด้วยชื่อ โอเบต และชื่อ มังคุด ได้ถูกถอนออกจากรายชื่อพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิกอย่างเป็นทางการในระหว่างการประชุมประจำปีครั้งที่ 51 ของคณะกรรมการไต้ฝุ่น คณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งเอเชียและแปซิฟิก (ESCAP) และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 และในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 คณะกรรมการไต้ฝุ่นได้เลือกชื่อ กระท้อน เป็นชื่อแทนในรายชื่อพายุหมุนเขตร้อนเริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2563 และถูกใช้เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2567[99]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561
- รายชื่อของพายุมังคุด
- พายุไต้ฝุ่นที่มีเส้นทางที่คล้ายกัน
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ "มังคุด" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 1 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
- ↑ พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "โอมโปง" (12 ถึง 15 กันยายน พ.ศ. 2561) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
- ↑ ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2561 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
- ↑ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[8]
- ↑ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[9]
- ↑ พายุไต้ฝุ่นมังคุดเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับ 5 ในประเทศฟิลิปปินส์ ด้วยมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 33.9 หมื่นล้านเปโซฟิลิปปินส์ (627 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ CNN, James Griffiths, Steve George and Jo Shelley (2018-09-14). "Typhoon Mangkhut lashes the Philippines, strongest storm this year". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Cheung, Tony; Xinqi, Su (2018-09-17). "Typhoon Mangkhut officially Hong Kong's most intense storm since records began". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Typhoon Mangkhut: Philippines hit by strongest storm". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Typhoon Mangkhut death toll hits 127". PerthNow (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Tomacruz, Sofia (2018-09-21). "At least 95 dead due to Typhoon Ompong". RAPPLER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "应急管理新机制助力台风"山竹"应对". web.archive.org (ภาษาจีน). 2018-09-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ CNN, Sheena McKenzie and Joshua Berlinger (2018-09-16). "Typhoon Mangkhut hits mainland China, lashes Hong Kong, dozens dead in Philippines". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
- ↑ "#WalangPasok: Class suspensions, Wednesday, September 12". RAPPLER (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-11. สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Walang Pasok: Class suspensions for September 13". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Walang Pasok: Class suspensions for September 14". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Walang Pasok: Class suspensions for September 15". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (ภาษาจีน). 2018-09-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 March 2021. สืบค้นเมื่อ 4 May 2022.
- ↑ "超強"山竹"直撲菲律賓北部 數千人撤離 停工停課". 中國報 China Press (ภาษาจีน). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "強颱山竹逼近 菲國將強制撤離82萬人". 芋傳媒 TaroNews (ภาษาจีน). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Liberty Times Net (2018-09-10). "「山竹」可能週五發布海警 氣象局:靠近陸地恐發陸警" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 10 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Liberty Times Net (2018-09-13). "山竹增強變胖 週五發海警/週六掠過呂宋島北端 碰觸東屏陸地機率變低" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "強颱山竹離台更遠了 海警機率低!". 華視新聞網 (ภาษาจีน). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ETtoday (2018-09-14). "更新/山竹「強度正巔峰」蘭嶼浪高飆5.3米 氣象局續發海警 | ETtoday生活新聞 | ETtoday新聞雲". www.ettoday.net (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 中央通訊社 (2018-09-15). "颱風山竹海上警報解除 屏東防超大豪雨 | 生活 | 重點新聞". 中央社 CNA (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Home Affairs Department prepares for approach of tropical cyclone". www.info.gov.hk (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-13. สืบค้นเมื่อ 13 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "As it happened: when Typhoon Mangkhut smashed Hong Kong". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Super Typhoon Mangkhut brings back bad memories in Guangdong". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร" (ภาษาจีน). 2018-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ 网易 (2018-09-16). "广西气象台发布今年首个台风红色预警". gx.news.163.com (ภาษาจีน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 January 2022. สืบค้นเมื่อ 9 January 2022.
- ↑ "STRONGEST-IN-DECADES TYPHOON WREAKS HAVOC IN SZ_Shenzhen Daily". szdaily.sznews.com (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "福建发布台风橙色预警 今明两天全省多地有大到暴雨 -原创新闻 - 东南网". fjnews.fjsen.com (ภาษาจีน). 2018-09-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
- ↑ "China renews red alert for Typhoon Mangkhut" (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2018. สืบค้นเมื่อ 21 February 2022.
- ↑ 大洋网 (2018-09-18). "商务委:首次停市平稳有序 市民:学到了防台风技能". news.sina.com.cn (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Pacific Daily News Dana Williams and Manny Cruz, Pacific Daily (2018-09-08). "Emergency managers urge residents to prepare for the worst as Mangkhut approaches". guampdn.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Pacific Daily News Haidee Eugenio Gilbert, Pacific Daily (2018-09-11). "Homes, roads, power system damaged by Mangkhut. Guam poised to ask Trump for emergency declaration". guampdn.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 朱雅霜 (2018-09-11). "【颱風山竹】山竹挾狂風暴雨吹襲關島 料變超強颱風周末恐襲港". 香港01 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 11 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Pacific Daily News Chloe Babauta, Pacific Daily (2018-09-27). "Typhoon Mangkhut cost GovGuam $4.3 million; no guarantee of federal aid". guampdn.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 27 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Bradley, Sorcha (2018-09-14). "Super Typhoon Mangkhut: Watch incredible winds TEAR APART building as MEGA storm hits Guam". Express.co.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Typhoon Mangkhut: Philippines counts cost of deadly typhoon". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 3 January 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Clarke, Jinky Jorgio and Hilary (2018-09-16). "Typhoon slams Philippines as Mangkhut claims first victims". CNN (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Buhawi nanalasa sa Marikina; 2 residente nakuryente". news.abs-cbn.com (ภาษาฟิลิปปินส์). 2018-09-14. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "'Ompong' weakens anew, to leave PAR Saturday night". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Ompong shuts down several north Luzon airports". news.abs-cbn.com (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Tomacruz, Sofia (2018-09-21). "At least 95 dead due to Typhoon Ompong". RAPPLER (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 21 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Times, The New York (2018-09-17). "Typhoon Mangkhut: More Than 40 Bodies Found in Philippines Landslide". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Typhoon Mangkhut death toll hits 127". PerthNow (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-22. สืบค้นเมื่อ 22 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Times, The New York (2018-09-17). "Typhoon Mangkhut: More Than 40 Bodies Found in Philippines Landslide". The New York Times (ภาษาอังกฤษ). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 8 January 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "颱風山竹胖又強 氣象局11時30分發布海警[更新] | 生活 | 重點新聞 | 中央社 CNA". www.cna.com.tw (ภาษาจีน). 2018-09-14. สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ETtoday (2018-09-14). "更新/山竹「強度正巔峰」蘭嶼浪高飆5.3米 氣象局續發海警 | ETtoday生活新聞 | ETtoday新聞雲". www.ettoday.net (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 14 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "颱風山竹海上警報解除 屏東防超大豪雨 | 生活 | 重點新聞 | 中央社 CNA". www.cna.com.tw (ภาษาจีน). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Upmedia (2018-09-15). "強颱山竹轉中颱 東部豪雨不斷、北部慎防焚風 -- 上報 / 焦點". www.upmedia.mg (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "【民報】山竹外圍環流影響 東部嚴防豪雨西部易有焚風". www.peoplemedia.tw (ภาษาจีน). 2018-09-15. สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ TVBS (2018-09-15). "快訊/山竹颱風影響 蘭嶼航空站上午10:15關場│TVBS新聞網". TVBS (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Liberty Times Net (2018-09-16). "台東往返蘭嶼、綠島 交通中斷" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ETtoday (2018-09-15). "快訊/山竹20:30解除警報!台東大武16日停班課 氣象局:不要去海邊! | ETtoday生活新聞 | ETtoday新聞雲". www.ettoday.net (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 自由時報電子報 (2018-09-15). "山竹颱風受災 台東大武鄉16日停班停課 - 生活". 自由時報電子報 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Taiwan News (2018-09-15). "Body of woman swept away by waves found on Taiwan east coast beach | Taiwan News | 2018-09-15 13:32:53". Taiwan News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 15 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "It's official: Typhoon Mangkhut most intense storm on record". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Kao, Ernest; Zhao, Shirley; Ng, Naomi; Lok-kei, Sum (2018-09-16). "Clean-up may take days as Hong Kong picks up the pieces after Mangkhut". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "How much did Typhoon Mangkhut cost? As much as US$1 billion in Hong Kong alone". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "【山竹過後】公立醫院服務全面恢復正常 458名市民風暴期間受傷求診 (22:28) - 20180917 - 港聞". 明報新聞網 - 即時新聞 instant news (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "熱帶氣旋山竹綜合報告". www.info.gov.hk (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 陳永武, 鄧海興 (2018-09-19). "【山竹餘波】新田公路危機四伏 鐵騎士輾塌樹倒地重傷". 香港01 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 彭愷欣 (2018-09-18). "【山竹餘波】塌樹釀蜂災 一日20人被螫傷 急症醫生:被螫應求醫". 香港01 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 18 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "西貢污水處理廠設施嚴重受損". Now 新聞 (ภาษาจีน). 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "【短片:山竹過後】西貢污水處理廠嚴重受損 污水溢出流入3個泳灘 (19:05) - 20180920 - 港聞". 明報新聞網 - 即時新聞 instant news (ภาษาจีน). 2018-09-20. สืบค้นเมื่อ 20 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 星島日報 (2018-09-16). "日報 | 每日新聞、專題報道 | 星島日報". std.stheadline.com (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 張雅婷 (2018-09-26). "【山竹餘波】西貢污水處理廠污染海面 每百毫升含300個大腸桿菌". 香港01 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 26 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "【山竹壓境】教協、教聯會、10區家長教師會聯會促教局宣布明日停課 (15:39) - 20180916 - 港聞". 明報新聞網 - 即時新聞 instant news (ภาษาจีน). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "教育局宣布明日所有學校停課". www.info.gov.hk (ภาษาจีน). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 陳淑霞 (2018-09-16). "【颱風山竹】多間大學宣布周一停課 師生職員毋須回校". 香港01 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "教育局宣布明日所有學校繼續停課". www.info.gov.hk (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "山竹襲港:楊潤雄指家長可因應情況決定子女是否上課|即時新聞|港澳|on.cc東網". web.archive.org (ภาษาจีน). 2018-09-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 September 2018. สืบค้นเมื่อ 22 February 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ "【山竹過後】七校周四仍停課 (22:02) - 20180919 - 港聞". 明報新聞網 - 即時新聞 instant news (ภาษาจีน). 2018-09-19. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Typhoon Mangkhut to have caused MOP 1.74 bln in economic losses to the city | Macau Business" (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-09. สืบค้นเมื่อ 9 May 2019.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 力報 (2018-09-16). "【山竹直擊】有片!內港水位超過1.5米". 力報 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ ""山竹"來勢洶洶 澳門全城變澤國_澳門_澳亞網". web.archive.org (ภาษาจีน). 2018-09-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 2022-02-22.
{{cite web}}
: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์) - ↑ 羅君豪, 呂凝敏, 魯嘉裕, 勞顯亮 (2018-09-16). "【颱風山竹・澳門直擊】水位急升 渠口倒灌 十月初五街水深及頸". 香港01 (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "【山竹襲澳】出動水上電單車救援 澳門至少7傷". hk.news.yahoo.com (ภาษาจีน). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "澳门民防:台风"山竹"掠过已造成15人受伤_港台来信_澎湃新闻-The Paper". www.thepaper.cn (ภาษาจีน). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "民署呼籲市民及商戶配合在指定地點棄置垃圾 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 司警教室 - 司警教室 โพสต์วิดีโอไว้ในเพลย์ลิสต์ 民防宣傳短片, สืบค้นเมื่อ 22 February 2022
- ↑ "民署協調保安部隊聯同社團及公務員義工開展清障工作 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "民防消息:清障隊伍逾1200人組成 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "民署動員人力及設備跟進善後工作 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "衛生局到受水浸地區進行滅蟲、滅蚊和消毒工作 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "教青局全力支援學校處理颱風善後工作 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "社工局積極跟進「山竹」善後工作 - 澳門特別行政區政府新聞局網站". www.gcs.gov.mo (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "颱風"山竹"對本澳造成的經濟損失估算為15.5億元". 澳門特別行政區政府入口網站 (ภาษาจีน). 2018-09-12. สืบค้นเมื่อ 12 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ Liangyu, บ.ก. (2018-09-16). "Super Typhoon Mangkhut lands on south China coast". Xinhuanet (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ 毛思倩 (2018-09-16). 韩家慧; 聂晨静 (บ.ก.). "强台风"山竹"登陆广东". Xinhuanet (ภาษาจีน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 September 2018. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
- ↑ Richard Han (2018-09-17). "Mangkhut wreaks havoc on SZ". Shenzhen Daily (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
- ↑ "Typhoon Mangkhut: South China battered by deadly storm". BBC News (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 24 January 2022.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "China's Pearl River Delta shuts down as Typhoon Mangkhut kills two". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-16. สืบค้นเมื่อ 16 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "广州市人民政府门户网站 - 关于取消2018年9月15日防空警报试鸣的紧急通知". www.gz.gov.cn (ภาษาจีน). 2018-09-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2018. สืบค้นเมื่อ 19 September 2018.
- ↑ "应急管理部:台风"山竹"致广东4人死亡,具体灾情仍在统计_绿政公署_澎湃新闻-The Paper". www.thepaper.cn (ภาษาจีน). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Four dead in southern China as Mangkhut leaves trail of destruction". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-09-17. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "红色预警!风王"山竹"携狂风暴雨杀到 钦北防停课_网易订阅". NetEase (ภาษาจีน). 2018-09-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
- ↑ "紧急通知!南宁各级各类学校、幼儿园9月17日停课1天_网易新闻". NetEase (ภาษาจีน). 2018-09-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
- ↑ "受台风影响 16日两广间跨省高铁全停运_网易订阅". NetEase (ภาษาจีน). 2018-09-16. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 September 2018. สืบค้นเมื่อ 17 September 2018.
- ↑ CMA (2018-12-04). Member Report: China (PDF). ESCAP/WMO Typhoon Committee. ESCAP/WMO Typhoon Committee. pp. 1–2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 December 2018. สืบค้นเมื่อ 4 December 2018.
- ↑ "Replacement Names of MANGKHUT and RUMBIA in the Tropical Cyclone Name List" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). ESCAP/WMO Typhoon Committee. 2020-02-17. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- พายุหมุนเขตร้อนระบบดิจิทัล (Digital Typhoon) ข้อมูลของพายุไต้ฝุ่นมังคุด (1822)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมังคุด (1822)
- สำนักงานอุตุนิยมวิทยาไทย (TMD) ข้อมูลเส้นทางของพายุไต้ฝุ่นมังคุด (1822)
- ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ข้อมูลเส้นทางของพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นมังคุด (26W)
- หน้ากำลังใช้แม่แบบ Lang-xx
- พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5
- พายุหมุนเขตร้อน
- พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น
- พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
- พายุไต้ฝุ่น
- ภัยธรรมชาติในปี พ.ศ. 2561
- หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนาในปี พ.ศ. 2561
- กวมในปี พ.ศ. 2561
- ประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2561
- ประเทศไต้หวันในปี พ.ศ. 2561
- ฮ่องกงในปี พ.ศ. 2561
- มาเก๊าในปี พ.ศ. 2561
- ประเทศจีนในปี พ.ศ. 2561
- บทความพายุหมุนเขตร้อน
- พายุไต้ฝุ่นในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
- พายุไต้ฝุ่นในกวม
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศฟิลิปปินส์
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศไต้หวัน
- พายุไต้ฝุ่นในฮ่องกง
- พายุไต้ฝุ่นในมาเก๊า
- พายุไต้ฝุ่นในประเทศจีน
- ภัยพิบัติในหมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา
- ภัยพิบัติในกวม
- ภัยพิบัติในประเทศฟิลิปปินส์
- ภัยพิบัติในประเทศไต้หวัน
- ภัยพิบัติในฮ่องกง
- ภัยพิบัติในมาเก๊า
- ภัยพิบัติในประเทศจีน