ข้ามไปเนื้อหา

พายุไต้ฝุ่นกระท้อน (พ.ศ. 2567)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไต้ฝุ่นกระท้อน
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮูเลียน
พายุไต้ฝุ่นกระท้อนขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
1 ตุลาคม พ.ศ. 2567
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว26 กันยายน พ.ศ. 2567
สลายตัว4 ตุลาคม พ.ศ. 2567
พายุไต้ฝุ่นรุนแรง
10-นาที ของเฉลี่ยลม (JMA)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.58 นิ้วปรอท
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS/JTWC)
ความเร็วลมสูงสุด285 กม./ชม. (180 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต18 ราย
ความเสียหาย$48.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2567 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบฟิลิปปินส์, ไต้หวัน, หมู่เกาะรีวกีว
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2567

พายุไต้ฝุ่นกระท้อน (อักษรโรมัน: Krathon)[nb 1] หรือที่ในประเทศฟิลิปปินส์เรียกว่า พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นฮูเลียน (ตากาล็อก: Julian)[nb 2] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกทางตะวันตกในช่วงปี พ.ศ. 2567 และเป็นพายุที่ไม่แน่นอน ซึ่งเคลื่อนตัวไปตามแนวชายฝั่งของประเทศไต้หวัน และประเทศฟิลิปปินส์ ในช่วงต้นเดือนตุลาคมในปี พ.ศ. 2567 พายุไต้ฝุ่นกระท้อนเป็นพายุลูกแรกที่เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งทางตะวันตกของประเทศไต้หวันนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเทลมาในปี พ.ศ. 2520 และเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนลูกที่ 27, พายุโซนร้อนลูกที่ 18 และพายุไต้ฝุ่นลูกที่ 7 ในฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2567 ก่อตัวขึ้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2567 พายุลูกนี้ได้พัฒนาเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนใกล้กับฐานทัพอากาศคาเดนาในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นพายุโซนร้อนในวันที่ 28 กันยายน อย่างไรก็ตาม พายุได้เคลื่อนตัวช้าลงในช่วง 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา และอยู่ในบริเวณจุดตัดต่ำระหว่างพายุกึ่งเขตร้อนชั้นลึก 2 ลูก พายุได้เข้าสู่สถานะพายุไต้ฝุ่นระดับ 1 หลังจากที่พายุก่อตัวเป็นตาพายุที่กว้าง และมีขอบที่ไม่แน่นอน พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างพายุกึ่งเขตร้อนระดับกลาง 2 ลูก ก่อนที่จะค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และผ่านไปใกล้จังหวัดบาตาเนส สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นรายงานว่าพายุมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 10 นาทีที่ 215 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (130 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 3] และความกดอากาศที่ 900 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.58 นิ้วของปรอท) ต่อมาพายุก็ได้กลายเป็นพายุที่มีความเร็วลมเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยมีความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 285 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (180 ไมล์ต่อชั่วโมง) เมื่อเช้าวันที่ 1 ตุลาคม และในขณะที่พายุไต้ฝุ่นกระท้อนกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลจีนใต้ทางทิศเหนืออุณหภูมิยอดเมฆลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งบ่งชี้ถึงวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาพายุเห็นได้ชัดจากภาพเรดาร์โดยกำแพงตาพายุรองเกือบจะล้อมรอบตาพายุชั้นใน และเมื่อวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาพายุเสร็จสมบูรณ์ พายุก็เริ่มทำให้ยอดเมฆอุ่นขึ้น และแสดงลักษณะตาพายุที่เต็มไปด้วยเมฆที่อ่อนลง จึงทำให้เกิดการยกตัวขึ้น และปริมาณความร้อนในมหาสมุทรเริ่มลดลง พายุไต้ฝุ่นกระท้อนได้เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งใกล้เขตเสียวกั่งในเกาสฺยงโดยแถบเกลียวของการพาความร้อนลึกจะอ่อนลงเรื่อย ๆ ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่ใจกลางประเทศไต้หวัน และใกล้กับขอบตะวันตกของเทือกเขาตอนกลางเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม หลังจากพายุเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่ง พายุก็เริ่มเคลื่อนตัวช้าลงอย่างรวดเร็ว และสลายลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพาความร้อนเพียงเล็กน้อย หลังจากนั้นพายุก็เริ่มเคลื่อนตัวไปทางทิศเหนือก่อนที่จะสลายตัวไปในวันที่ 4 ตุลาคม

ก่อนที่พายุไต้ฝุ่นกระท้อนจะเคลื่อนตัวพัดผ่านได้มีการประกาศเตือนภัยลมพายุหมุนเขตร้อนในพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศฟิลิปปินส์ และได้ออกคำเตือนสีแดงสำหรับคาลายัน และซานตาอานา ในจังหวัดคากายัน สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ในบัสโกได้มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 727.8 มิลลิเมตร (28.7 นิ้ว) ซึ่งเกินสองเดือนในเดือนกันยายน และแซงหน้าสถิติเดิมอยู่ที่ประมาณ 616.4 มิลลิเมตร (24.3 นิ้ว) ของพายุไต้ฝุ่นรูธในปี พ.ศ. 2534 พายุลูกนี้ได้ทำให้มีเสียชีวิตอย่างน้อย 5 ราย มีผู้สูญหายอีกประมาณ 3 ราย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 8 ราย ในประเทศฟิลิปปินส์

สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางของประเทศไต้หวันได้ออกคำเตือนเกี่ยวกับการเดินเรือสำหรับช่องแคบบาชิ จึงส่งผลให้ต้องอพยพผู้คนมากกว่าประมาณ 3,000 คน และต้องระดมทหารเกือบประมาณ 40,000 นาย เพื่อช่วยเหลือ มีผู้เสียชีวิตจากพายุอย่างน้อย 13 ราย ในประเทศไต้หวัน และรวมถึง 9 ราย จากเหตุไฟไหม้โรงพยาบาลอนุสรณ์สถานอันไท่ เทียนเซิง ในเทศมณฑลผิงตง พายุไต้ฝุ่นกระท้อนได้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 731 ราย มีผู้สูญหาย 1 ราย มีผู้เสียชีวิต 18 ราย และสร้างความเสียหายมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 48.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[nb 4]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไต้ฝุ่นกระท้อน

  • วันที่ 26 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 5] ได้รายงานพายุดีเปรสชันเขตร้อนห่างจากฐานทัพอากาศคาเดนาในประเทศญี่ปุ่นไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 250 กิโลเมตร (155 ไมล์) ใกล้ลักษณะเด่น คือ ศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำที่เปิดโล่งบางส่วนพร้อมกับการหมุนเวียนของอากาศลึกอย่างต่อเนื่องในครึ่งวงกลมทางทิศใต้ และแถบก่อตัวไปทางทิศเหนือ
  • วันที่ 27 กันยายน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 6] ได้ออกการแจ้งเตือนการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนโดยระบุว่าแถบพายุหมุนกำลังห่อหุ้มเข้าสู่ใจกลาง และการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมบ่งชี้ว่าสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนา เนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งต่ำ การไหลออกที่ดีไปทางเส้นศูนย์สูตรในระดับสูง และอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อบอุ่นอยู่ที่ประมาณ 30 องศาเซลเซียส ในวันเดียวกันนั้นสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ได้ประกาศว่าหย่อมความกดอากาศต่ำได้พัฒนาจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และได้กำหนดชื่อท้องถิ่นว่า ฮูเลียน เนื่องจากก่อตัวขึ้นภายในพื้นที่รับผิดชอบของประเทศฟิลิปปินส์ พายุดีเปรสชันเขตร้อนกำลังเคลื่อนตัวช้า ๆ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ เนื่องจากกระแสลมที่อ่อนกำลังลง ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมได้ยกระดับความรุนแรงของพายุดีเปรสชันเขตร้อนโดยสังเกตเห็นศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำที่บดบัง ซึ่งสันนิษฐานว่าอยู่ใจกลางของแถบการหมุนเวียนของพาความร้อนที่จัดระเบียบเป็นหอคอยร้อนแบบกระแสน้ำวน ภาพถ่ายดาวเทียมระบุว่าพายุกำลังค่อย ๆ รวมตัวกันโดยมีแถบเกลียวของการหมุนเวียนลึกขยายไปทั่วสามจตุภาคของพายุ และล้อมรอบศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำ เมื่อเวลา 16:00 น. (09:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 28 กันยายน พายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ใช้ชื่อกับพายุว่า กระท้อน โดยมีแรงกระตุ้นจากลมเฉือนแนวตั้งที่ต่ำ อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อบอุ่น และปริมาณความร้อนในมหาสมุทรที่สูง ขณะที่พายุเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ตามขอบตะวันออกเฉียงใต้ของความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนระดับกลาง อย่างไรก็ตาม พายุโซนร้อนกระท้อนได้เคลื่อนตัวช้าลงในช่วงหกชั่วโมงที่ผ่านมา และตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณจุดตัดต่ำระหว่างชั้นบรรยากาศกึ่งร้อนชื้นสองชั้นลึก ภาพถ่ายดาวเทียมบ่งชี้ว่าลักษณะที่ปรากฏดีขึ้น เนื่องจากลักษณะเมฆปกคลุมหนาแน่นที่ศูนย์กลางการหมุนเวียนเมื่อเวลา 01:00 น. (18:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นได้ยกระดับจากพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรงโดยใช้เทคนิคดีโวรักเพื่อประเมินความรุนแรงโดยอาศัยภาพถ่ายดาวเทียม พายุได้แสดงการไหลออกที่รุนแรงไปทางเส้นศูนย์สูตรควบคู่ไปกับช่องขั้วโลกที่อ่อนลง และในขณะที่เมฆเซอร์รัสที่สังเกตได้บ่งชี้ว่าการไหลออกในแนวรัศมีเริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อพายุมีความรุนแรงมากขึ้น
    พายุไต้ฝุ่นกระท้อนกำลังเคลื่อนตัวอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะลูซอนเมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2567
  • วันที่ 29 กันยายน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) และศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยกระดับจากพายุโซนร้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่น หลังจากที่พายุได้เปิดตาพายุที่กว้าง และมีลักษณะขรุขระ ซึ่งต่อมาก็กลายเป็นเมฆ และพายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อนระดับกลาง 2 ลูก
  • วันที่ 30 กันยายน ภาพถ่ายดาวเทียมอินฟราเรดได้แสดงให้เห็นว่าตาพายุของพายุไต้ฝุ่นกระท้อน ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 37 กิโลเมตร (23 ไมล์) ล้อมรอบด้วยอุณหภูมิที่อบอุ่นอยู่ที่ประมาณ 14 องศาเซลเซียส ในขณะที่พายุค่อย ๆ เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และผ่านไปใกล้จังหวัดบาตาเนส พายุมีรูปร่างเป็นวงกลมที่ชัดเจนบนยอดเมฆที่ปกคลุมบริเวณตาพายุโดยมีตาพายุที่หดตัว ซึ่งถูกบดบังอยู่ตรงกลางเมื่อเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด)
  • วันที่ 1 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุไต้ฝุ่นกระท้อนถึงระดับความรุนแรงสูงสุดกลายเป็นพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่นระดับ 5 ด้วยความเร็วลมสูงสุด 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ในเวลา 04:00 น. (21:00 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) ได้ยกระดับความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่นกระท้อนให้กลายเป็นพายุไต้ฝุ่นรุนแรงโดยประเมินว่าพายุมีความเร็วลมสูงสุด 10 นาทีที่ 195 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) และความกดอากาศที่ 915 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 27.02 นิ้วของปรอท) ในขณะที่พายุเคลื่อนตัวเข้าสู่พื้นที่ทางตอนเหนือของทะเลจีนใต้ ยอดเมฆของพายุลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 6 ชั่วโมง ที่ผ่านมาท่ามกลางสภาพอากาศที่อบอุ่นวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาปรากฎให้เห็นชัดเจนในภาพเรดาร์โดยกำแพงตาชั้นที่สองเกือบจะล้อมรอบตาชั้นในทั้งหมด หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอุ่นยอดเมฆขึ้น และแสดงลักษณะตาชั้นที่เต็มไปด้วยเมฆที่อ่อนลง จึงทำให้เกิดการยกตัวขึ้น และปริมาณความร้อนในมหาสมุทรลดลง ในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไต้หวัน ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างสันเขากึ่งเขตร้อนทางทิศตะวันออก สันเขาอีกแห่งอยู่เหนือทางตอนใต้ของประเทศจีน และทางตอนเหนือของเวียดนาม
  • วันที่ 2 ตุลาคม ภาพถ่ายดาวเทียมเผยให้เห็นว่าพายุยังคงสมมาตร และยอดเมฆที่อุ่นขึ้นกลับถูกเปิดเผย เนื่องจากลมเฉือนแนวตั้งที่เพิ่มขึ้น
  • วันที่ 3 ตุลาคม พายุไต้ฝุ่นกระท้อนได้เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งเกาสฺยงในประเทศไต้หวันโดยแถบเกลียวของพายุฝนฟ้าคะนองลึกจะค่อย ๆ อ่อนกำลังลงเมื่อเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือเข้าสู่ตอนกลางของประเทศไต้หวัน และใกล้กับขอบตะวันตกของเทือกเขาตอนกลาง พายุไต้ฝุ่นกระท้อนเป็นพายุลูกแรกที่เคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่งทางตะวันตกของประเทศไต้หวัน ซึ่งมีประชากรหนาแน่น และนับตั้งแต่พายุไต้ฝุ่นเทลมาในปี พ.ศ. 2520 หลังจากพายุเคลื่อนตัวพัดขึ้นฝั่ง พายุก็เริ่มเคลื่อนตัวช้าลงอย่างรวดเร็ว และสลายลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพาความร้อนเพียงเล็กน้อย และสุดท้ายพายุก็อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุโซนร้อน ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ยุติการเตือนภัยเกี่ยวกับพายุลูกนี้เมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ชายฝั่ง ซึ่งเทือกเขาทางตะวันออกเฉียงใต้ที่ขรุขระของประเทศไต้หวันกัดเซาะการหมุนเวียนอากาศลึกที่เกี่ยวข้องกับศูนย์กลางการหมุนเวียนอากาศเป็นส่วนใหญ่ และพายุได้อ่อนกำลังลงจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนก่อนที่จะสลายตัวในวันต่อมา

การเตรียมการ

[แก้]

ประเทศฟิลิปปินส์

[แก้]
ประธานาธิบดีไล่ ชิงเต๋อ ได้ตรวจเยี่ยมศูนย์ตอบสนองภัยพิบัติกลาง

หลังจากที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ตั้งชื่อพายุก็ได้มีการประกาศสัญญาณลมพายุหมุนเขตร้อนหมายเลข 1 สำหรับจังหวัดบาตาเนส จังหวัดคากายัน จังหวัดอีซาเบลา จังหวัดอาปาเยา จังหวัดอาบรา จังหวัดคาลิงกา ทางตะวันออกและตอนกลางของจังหวัดบูลูบุนดูคิน ทางตะวันออกของจังหวัดอีฟูเกา จังหวัดอีโลโคสนอร์เต ทางเหนือของจังหวัดอีโลโคสซูร์ และทางเหนือของจังหวัดเอาโรรา ในขณะที่พายุโซนร้อนกระท้อนทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุโซนร้อนกำลังแรง จึงได้ส่งสัญญาณหมายเลข 2 สำหรับทางตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดคากายัน และทางตะวันออกของหมู่เกาะบาบูยัน ในขณะที่พายุยังคงทวีกำลังแรงขึ้นสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ได้ยกระดับสัญญาณเตือนภัยระดับ 3 สำหรับทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะบาบูยันเมื่อวันที่ 29 กันยายน หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นต่าง ๆ ได้ประกาศระงับการเรียนการสอนในวันที่ 30 กันยายน เนื่องจากพายุมีสภาพอากาศเลวร้าย[3] สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ ได้ยกระดับสัญญาณเตือนภัยระดับ 4 บนจังหวัดบาตาเนส และเกาะบาบูยัน[4] มีการประกาศเตือนภัยสีแดงในคาลายัน และซานตาอานา ในจังหวัดคากายัน[5] เขื่อนมากาตได้เปิดทางน้ำล้นเมื่อวันที่ 29 กันยายน เพื่อเตรียมรับมือกับระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากพายุ[6] คณะกรรมการการเลือกตั้งได้สั่งขยายระยะเวลาการลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้งสำหรับการเลือกตั้งทั่วไปของดในปี พ.ศ. 2568 ซึ่งกำหนดจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน และในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุ[7] ประชาชนประมาณ 1,110 คน ได้รับการอพยพออกจากหุบเขาเขตลัมบักนางคากายัน[8]

ประเทศไต้หวัน

[แก้]

ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินกลางแนะนำให้หลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่ชายฝั่ง และภูเขา ในขณะที่ชายหาดหลายแห่ง อุทยานแห่งชาติ และบริการเรือข้ามฟาก ได้ถูกปิดให้บริการทั่วทั้งเกาะ อ่างเก็บน้ำประมาณ 25 แห่ง ในเกาสฺยงถูกระบายน้ำออกทั้งหมดเพื่อเตรียมรับมือกับพายุ[9][10] สำนักงานอุตุนิยมวิทยากลาง (CWA) ได้ส่งคำเตือนเกี่ยวกับการเดินเรือในช่องแคบบาชิตามด้วยคำเตือนทางชายฝั่งเกี่ยวกับพายุไต้ฝุ่นกระท้อนในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ประเทศไต้หวัน[11] โรงเรียน สำนักงาน และรัฐบาล ทั้งหมดบนเกาะได้รับคำสั่งให้ปิดทำการเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม[12] ผู้คนมากกว่าประมาณ 3,000 คน ได้ถูกอพยพ[13] ในขณะที่ทหารเกือบประมาณ 40,000 นาย ถูกระดมกำลังเพื่อช่วยเหลือ[14] เจ้าหน้าที่ที่ท่าอากาศยานนานาชาติไต้หวันเถา-ยฺเหวียน ยังได้เตือนถึงการหยุดชะงักของเที่ยวบินอีกด้วย และเจ้าหน้าที่ที่เกาสฺยงได้เรียกร้องให้ประชาชนระมัดระวังเกี่ยวกับพายุโดยระลึกถึงความเสียหายที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นเทลมาในปี พ.ศ. 2520 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเมือง[15]

ผลกระทบ

[แก้]

ประเทศฟิลิปปินส์

[แก้]
พายุไต้ฝุ่นกระท้อนกำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้ทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567

พายุไต้ฝุ่นกระท้อนได้ทำให้เกิดน้ำท่วมในจังหวัดบาตาเนส จังหวัดอีโลโคสนอร์เต และจังหวัดอีโลโคสซูร์[16] ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ราย และมีผู้สูญหายอีก 1 ราย เนื่องจากกระแสคลื่นลมแรง[17] มีผู้เสียชีวิต 1 ราย หลังจากถูกสายไฟฟ้าที่หล่นลงมาเพราะลมแรงพัดในจังหวัดคากายัน[18] ครอบครัว 2 ครัวเรือน ไร้ที่อยู่อาศัย เนื่องจากดินถล่มในบาเกียว[19] และในขณะที่ครอบครัวประมาณ 26 ครัวเรือน ไร้ที่อยู่อาศัย เนื่องจากน้ำท่วมในจังหวัดอาบรา[20] ดินถล่มได้ปิดกั้นถนนในจังหวัดลาอูนยอน จังหวัดอาบรา และจังหวัดอาปาเยา[21] เครื่องบินขนาดเล็กที่จอดอยู่ที่ท่าอากาศยานบาสโกได้รับความเสียหายจากลมแรง[22] และในขณะที่ท่าอากาศยานนานาชาติลาวักได้รับความเสียหายเล็กน้อย น้ำท่วมได้ส่งผลกระทบต่อรันเวย์ของท่าอากาศยานลิงกาเยน และท่าอากาศยานวิกัน การดำเนินงานได้ถูกระงับที่ท่าอากาศยานโลอากัน และท่าอากาศยานซานเฟอร์นันโด เนื่องจากทัศนวิสัยของเมฆต่ำ[23][24]

เครื่องบินเบลล์ โบอิ้ง V-22 ออสเปรย์ จากหน่วยนาวิกโยธินที่ 15 ได้ลงจอดที่ท่าอากาศยานบาสโก

สำนักงานการกุศลฟิลิปปินส์ได้แจกอาหารประมาณ 3,000 ชุด แก่ชาวจังหวัดอีโลโคสนอร์เตที่ได้รับผลกระทบจากพายุไต้ฝุ่นกระท้อน[25] รัฐบาลสหรัฐผ่านเหล่านาวิกโยธินสหรัฐให้ความช่วยเหลือฉุกเฉิน และสนับสนุนการขนส่งทางอากาศ เพื่อตอบสนองต่อความเสียหายที่เกิดจากพายุไต้ฝุ่นกระท้อนโดยเฉพาะในจังหวัดบาตาเนส[26][27] สหรัฐได้ส่งเจ้าหน้าที่ และเครื่องบิน ไปยังประเทศฟิลิปปินส์เพื่อช่วยเหลือในการบรรเทาทุกข์ในจังหวัดบาตาเนสโดยมีเครื่องบินล็อกฮีด มาร์ติน KC-130 2 ลำ จากกองทหารนาวิกโยธินที่ 3 ขนส่งเจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์ไปยังฐานทัพอากาศวิลลามอร์ในปาไซ[28] รัฐบาลสหรัฐผ่านหน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐได้จัดสรรเงินประมาณ 500,000 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุในจังหวัดบาตาเนส[29] ในขณะที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐได้ส่งกำลังทหารไปช่วยเหลือกองทัพฟิลิปปินส์ และสำนักงานป้องกันพลเรือนในการจัดส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปยังพื้นที่ดังกล่าว[30] กองทัพอากาศฟิลิปปินส์ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ PZL W-3 โซโคล เพื่อจัดหาเสบียงฉุกเฉิน และบุคลากร ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามบรรเทาทุกข์อย่างต่อเนื่องของรัฐบาลสำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุในจังหวัดบาตาเนส[31] ในขณะเดียวกันเรือยูเอสเอส บ็อกเซอร์ (LHD-4) และหน่วยปฏิบัติการนาวิกโยธินที่ 15 กำลังเดินทางถึงประเทศฟิลิปปินส์เพื่อสนับสนุนความพยายามบรรเทาทุกข์หลังจากพายุไต้ฝุ่นกระท้อน[32] ประธานาธิบดีบองบอง มาร์กอส ได้ตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบในจังหวัดบาตาเนส และจังหวัดอีโลโคสนอร์เต[33] มีการประกาศพื้นที่ 58 แห่ง อยู่ในภาวะภัยพิบัติรวมถึงจังหวัดอีโลโคสนอร์เต จังหวัดบาตาเนส และจังหวัดคากายัน[34] เนื่องจากผลกระทบรุนแรงของพายุ[35][36]

ภาพเรดาร์ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยากลางได้แสดงให้เห็นพายุไต้ฝุ่นกระท้อนกำลังเคลื่อนตัวเหนือช่องแคบบาลินตัง และก่อนจะเคลื่อนตัวพัดขึ้นชายฝั่งทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไต้หวันในที่สุด

เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม คณะกรรมการลดและจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติแห่งชาติ (NDRRMC) รายงานว่ามีผู้ได้รับผลกระทบทั้งหมดประมาณ 119,582 คน โดยผู้คนประมาณ 4,745 คน ต้องอพยพออกจากบ้านเรือน ไฟฟ้าดับใน 19 เมือง และเทศบาล บ้านเรือนประมาณ 39 หลัง ได้รับความเสียหาย และมีผู้ได้รับบาดเจ็บประมาณ 8 คน[37] ว่าการมาริลู เคย์โค ได้ประกาศว่าบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด บ้านเรือนอีกประมาณ 2,463 หลัง ได้รับความเสียหายทั้งหมดอยูที่ประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ในจังหวัดบาตาเนส[38] ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 1 ตุลาคม สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) ในบัสโกได้มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 727.8 มิลลิเมตร (28.7 นิ้ว) ซึ่งเกินปริมาณฝนในเดือนกันยายน พ.ศ. 2554 และทำลายสถิติเดิมของพายุที่มีฝนตกชุกที่สุดในพื้นที่ ซึ่งวัดได้ประมาณ 616.4 มิลลิเมตร (24.3 นิ้ว) ของพายุไต้ฝุ่นรูธในปี พ.ศ. 2534[39] มีการประกาศภาวะภัยพิบัติในจังหวัดอีโลโคสนอร์เต และจังหวัดบาตาเนส เนื่องจากผลกระทบรุนแรงของพายุ[40]

พายุไต้ฝุ่นกระท้อนได้สร้างความเสียหายมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 600 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (12.18 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ในจังหวัดบาตาเนส[41] พื้นที่เกษตรกรรมอย่างน้อยประมาณ 147 เฮกตาร์ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก และพร้อมกับพื้นที่เกษตรกรรมประมาณ 526.7 เฮกตาร์ ด้วยมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 35.21 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ (714,912.5 ดอลลาร์สหรัฐ) ในเขตอีโลโคส สำนักงานชลประทานแห่งชาติยังกล่าวอีกว่าได้บันทึกความเสียหายต่อโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 1.57 พันล้านเปโซฟิลิปปินส์ (31.93 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[42] รัฐบาลได้ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์มูลค่าอยู่ที่ประมาณ 21.59 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ ( 438,340.61 ดอลลาร์สหรัฐ) และส่งเครื่องบินขนส่งซี-130 เฮอร์คิวลิส ไปส่งมอบความช่วยเหลือ และอพยพผู้คนประมาณ 200 คน ที่ติดค้างอยู่ในจังหวัดบาตาเนส[43][44]

ประเทศไต้หวัน

[แก้]

พายุไต้ฝุ่นกระท้อนได้ทำให้ฝนตกหนักนอกชายฝั่ง และเกิดดินถล่มปิดกั้นทางหลวงซู่หัวในเทศมณฑลฮวาเหลียนเมื่อวันที่ 30 กันยายน[45] เรือบรรทุกสินค้าได้เกยตื้นใกล้เกาะออร์คิด ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้ำมันรั่วไหล และลูกเรือทั้งหมด 19 คน ได้รับการช่วยเหลือ[46] มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จากการพลัดตกในขณะตัดแต่งต้นไม้ในเทศมณฑลฮวาเหลียน[47] และส่วนอีกรายเสียชีวิตในเทศมณฑลไถตง หลังจากรถของเขาชนกับหินที่ร่วงหล่น[48] มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากพายุอย่างน้อยประมาณ 219 คน มีผู้สูญหายอย่างน้อย 2 ราย[49] บ้านเรือนเกือบประมาณ 176,506 หลัง ไม่มีไฟฟ้าใช้[50][51] พายุมักจะเคลื่อนตัวพัดถล่มทางชายฝั่งตะวันออก แต่พายุไต้ฝุ่นกระท้อนกลับไม่ปกติเมื่อเคลื่อนตัวพัดถล่มทางชายฝั่งตะวันตก จึงทำให้สื่อของประเทศไต้หวันบรรยายพายุลูกนี้ว่าเป็นพายุ "ประหลาด"[52]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "กระท้อน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 1 ลำดับที่ 26 ของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกฝั่งเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น "ฮูเลียน" (28 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2557) จากรายงานของสำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA)
  3. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 10 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  4. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2567 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  5. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[1]
  6. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  2. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  3. "#WalangPasok: Class suspensions on Monday, September 30". ABS-CBN (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Signal No. 4 up in Batanes as Julian intensifies". ABS-CBN (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "Dalawang bayan sa Cagayan, isinailalim sa red alert dahil kay bagyong Julian". Bombo Radyo Tuguegarao (ภาษาฟิลิปปินส์). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Magat Dam in Isabela releases water amid heavy rains due to storm Julian". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Comelec to allow voter registration extension in areas affected by Julian". GMA News (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 September 2024. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.
  8. "Power failure causes service outage in selected areas hit by 'Agaton'". SUNSTAR (ภาษาอังกฤษ). 2022-04-11. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 April 2022. สืบค้นเมื่อ 13 April 2022.
  9. "Schools, offices closed in 6 cities and counties across Taiwan Tuesday". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.
  10. "Taiwan issues land warning for Typhoon Krathon - Focus Taiwan". Focus Taiwan - CNA English News (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.
  11. "Typhoon Krathon landfall in Taiwan more likely in latest forecast". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "Offices, schools across Taiwan to close on Wednesday due to typhoon". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  13. "Taiwan evacuates thousands ahead of Typhoon Krathon". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  14. "Taiwan shuts schools and offices ahead a direct hit from powerful typhoon". Associated Press (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.
  15. "Typhoon, National Day to cause flight disruptions at Taoyuan airport". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 29 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "Pagbaha sa Uyugan, Batanes dala ni Bagyong Julian". ABS-CBN (ภาษาฟิลิปปินส์). 2024-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "Typhoon Julian causes flooding in parts of northern Luzon". GMA News (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-29. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. "Lalaki patay nang mabagsakan ng kable ng kuryente sa Cagayan". Bombo Radyo Tuguegarao (ภาษาฟิลิปปินส์). 2024-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  19. "Rains cause flood, landslides in Baguio City". GMA News (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  20. "Julian forces evacuations, road closures, work suspensions in Northern Luzon". Rappler (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  21. "Julian may become super typhoon; Signal 4 in Batanes". The Philippine Star (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "5-seater plane damaged due to Julian". GMA News (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  23. "Provincial airports incur damage from Typhoon Julian". Daily Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "5 Luzon airports closed due to Super Typhoon Julian, says Caap". Philippine Daily Inquirer (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. Standard, Manila (2024-10-16). "PCSO Extends Aid to "Typhoon Julian" Victims in Ilocos Norte". Manila Standard (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 19 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. Rocamora, Joyce Ann (2024-10-05). "US brings emergency aid to 'Julian'-hit northern Luzon". Philippine News Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 5 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "AFP, US troops team up in relief operations for typhoon-hit Batanes" (ภาษาอังกฤษ). ABS-CBN. 2024-10-05. สืบค้นเมื่อ 5 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. Esguerra, Darryl John (2024-10-06). "US sends aircraft, personnel to assist in Batanes relief ops". Philippine News Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 6 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. Lee-Brago, Pia (2024-10-09). "US to provide P28 million aid for Julian-affected communities". Philstar.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 9 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. "US gov't provides assistance as 'Julian' hits Batanes". Manila Bulletin (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-06. สืบค้นเมื่อ 6 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  31. Nepomuceno, Priam (2024-10-10). "PH Air Force deploys 'Sokol' chopper anew for Batanes relief ops". Philippine News Agency (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 10 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  32. Mahadzir, Dzirhan (2024-10-10). "USS Boxer in Philippines for Typhoon Relief, New Zealand to Investigate Sinking of HMNZS Manawanui". news.usni.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  33. "Marcos Jr. inspects damaged dike in Ilocos Norte". ABS-CBN (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-04. สืบค้นเมื่อ 4 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  34. Felina, Jason (2024-10-01). "Calayan, Cagayan isinailalim na sa state of calamity dahil sa epekto ng bagyong Julian". Bombo Radyo News (ภาษาฟิลิปปินส์). สืบค้นเมื่อ 4 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  35. Galang, Jovino (2024-10-01). "Batanes at Ilocos Norte nagdeklara na ng State of Calamity dahil sa bagyong Julian". Bombo Radyo News (ภาษาฟิลิปปินส์). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.
  36. Anselmo A. Banan (2024-10-07). "State of Calamity, idineklara sa Cagayan dahil sa pinsala ng bagyong Julian". Bombo Radyo Tuguegarao (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  37. Situational Report No. 5 for TC Julian (2024) (PDF) (Report). Quezon City, Philippines: National Disaster Risk Reduction and Management Council. 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.
  38. Rita, Joviland (2024-10-01). "Over 2,400 houses in Batanes damaged due to Julian —gov". GMA News Online (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  39. Rojas, Ariel (2024-10-01). "Wettest day in Batanes: Julian dumps more than two month's rain in 24 hours". ABS-CBN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.
  40. Galang, Bombo Jovino (2024-10-01). "Batanes at Ilocos Norte nagdeklara na ng State of Calamity dahil sa bagyong Julian". Bombo Radyo News (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  41. "Julian leaves P600 million worth of damage in Batanes". GMA News (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-02. สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  42. Antonio, Jhene Vie (2024-10-02). "Mahigit 147 hectares na taniman, sinira ng bagyong Julian sa Batanes; DA sec., inaasahang darating bukas sa Tuguegarao City". Bombo Radyo News (ภาษาฟิลิปปินส์). สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  43. "Tourists, residents stranded in Batanes due to Typhoon Julian". GMA News (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-03. สืบค้นเมื่อ 3 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  44. "Recovery from Typhoon Julian may take two months, says Batanes governor". Rappler (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-03. สืบค้นเมื่อ 3 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  45. "Typhoon Krathon causes mudslides, disrupts traffic". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-09-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 October 2024. สืบค้นเมื่อ 30 September 2024.
  46. "Grounded ship's crew rescued amid oil spill report near Orchid Island". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  47. "Taiwan shuts down as Typhoon Krathon approaches". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-02. สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  48. "Taiwan shuts down as Typhoon Krathon bears down on island's southwest". Al Jazeera (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-02. สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  49. "颱風山陀兒尚未登陸已247件災情2失蹤70傷 公路預警性封閉路段12處|不斷更新". Yahoo News (ภาษาจีน). 2024-10-02. สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  50. "Taiwan shuts down as Typhoon Krathon approaches". France 24 (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-02. สืบค้นเมื่อ 2 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  51. "Grounded ship's crew rescued amid oil spill report near Orchid Island". Focus Taiwan (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-01. สืบค้นเมื่อ 1 October 2024.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  52. "Two killed as 'weird' Typhoon Krathon crashes into southwestern Taiwan". aljazeera.com (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-03. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 October 2024. สืบค้นเมื่อ 3 October 2024.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]