ข้ามไปเนื้อหา

พายุไซโคลนไพลิน (พ.ศ. 2556)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พายุไซโคลนไพลิน
พายุซูเปอร์ไซโคลนไพลิน
พายุไซโคลนไพลินขณะมีกำลังแรงสูงสุดเมื่อวันที่
10 ตุลาคม พ.ศ. 2556
ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา
ก่อตัว4 ตุลาคม พ.ศ. 2556
สลายตัว14 ตุลาคม พ.ศ. 2556
พายุซูเปอร์ไซโคลน
3-นาที ของเฉลี่ยลม (IMD)
ความเร็วลมสูงสุด260 กม./ชม. (160 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
พายุไต้ฝุ่น
10-นาที ของเฉลี่ยลม (TMD)
ความเร็วลมสูงสุด230 กม./ชม. (145 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.43 นิ้วปรอท
พายุหมุนเขตร้อนระดับ 5
1-นาที ของเฉลี่ยลม (SSHWS)
ความเร็วลมสูงสุด315 กม./ชม. (195 ไมล์/ชม.)
ความกดอากาศต่ำสุด890 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์)
; 26.28 นิ้วปรอท
ผลกระทบ
ผู้เสียชีวิต46 ราย
ความเสียหาย$4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงินปี พ.ศ. 2556 USD)
พื้นที่ได้รับผลกระทบไทย, พม่า, อินเดีย, เนปาล
IBTrACS

ส่วนหนึ่งของ ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทร
อินเดียเหนือ พ.ศ. 2556

พายุซูเปอร์ไซโคลนไพลิน (อักษรโรมัน: Phailin)[nb 1] เป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีความรุนแรงที่สุดในบริเวณมหาสมุทรอินเดียเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2556[1] และเป็นพายุที่มีความรุนแรงมากที่สุดที่เข้าชายฝั่งประเทศอินเดียนับตั้งแต่พายุไซโคลนรัฐโอฑิศาในปี พ.ศ. 2542 พายุลูกนี้ถูกบันทึกครั้งแรกว่าเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ภายในอ่าวไทยทางตะวันตกของพนมเปญ และในอีกไม่กี่วันต่อมา พายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายในบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำถึงปานกลางก่อนที่พายุจะเคลื่อนตัวออกจากแอ่งมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกในวันที่ 6 ตุลาคม เมื่อพายุเคลื่อนตัวผ่านคาบสมุทรมลายู และเคลื่อนตัวเข้าสู่ทะเลอันดามันในวันต่อมา และพายุก็เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นเพื่อการพัฒนาต่อไปก่อนที่พายุลูกนี้จะได้รับการตั้งชื่อในวันที่ 9 ตุลาคม หลังจากที่พายุได้พัฒนาเป็นพายุไซโคลน และเคลื่อนตัวผ่านหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์เพื่อเข้าสู่อ่าวเบงกอล[2]

วันต่อมาพายุไซโคลนไพลินได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และได้กลายเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมากเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 1 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในวันที่ 10 ตุลาคม วันต่อมาพายุลูกนี้ก็ได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุซูเปอร์ไซโคลนที่มีความเร็วลมเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน หลังจากนั้นพายุก็เริ่มอ่อนกำลังลงในขณะที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้รัฐโอฑิศา และเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งใกล้กับโกปาลปุระในชายฝั่งรัฐโอฑิศาของวันที่ 12 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินอ่อนกำลังลงเมื่อขึ้นฝั่ง และกลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 อันเป็นผลมาจากแรงเสียดทานก่อนที่จะถูกบันทึกเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม เนื่องจากพายุอ่อนกำลังลงเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำที่ชัดเจน

เจ้าหน้าที่จากรัฐบาลรัฐโอฑิศาเปิดเผยว่าอาจมีประชาชนได้รับผลกระทบประมาณ 12 ล้านคน พายุไซโคลนไพลินทำให้ประเทศอินเดียต้องอพยพประชาชนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 23 ปี โดยมีประชาชนมากกว่าประมาณ 550,000 คน อพยพจากแนวชายฝั่งในรัฐโอฑิศา และรัฐอานธรประเทศ ไปยังสถานที่ที่ปลอดภัยกว่า พายุได้ทำให้เกิดความเสียหายในประเทศอินเดียอยู่ที่ประมาณ 260 พันล้านรูปี (4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[3][nb 2][nb 3]

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยา

[แก้]
แผนที่แสดงเส้นทาง และความรุนแรงของพายุตามมาตราส่วนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน
ความรุนแรงของพายุ
  พายุดีเปรสชันเขตร้อน (≤62 กม./ชม.)
  พายุโซนร้อน (63–117 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 1 (118–153 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 2 (154–177 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 3 (178–208 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 4 (209–251 กม./ชม.)
  พายุเฮอริเคนระดับ 5 (≥252 กม./ชม.)
  พายุที่ไม่ทราบความเร็วลม
ประเภทของพายุ
■ พายุหมุนกึ่งเขตร้อน
▲ พายุหมุนนอกเขตร้อน / หย่อมความกดอากาศต่ำที่หลงเหลือ / รบกวนของเขตร้อน / ลมมรสุมพายุดีเปรสชั่นเขตร้อน

ประวัติทางอุตุนิยมวิทยาของพายุไซโคลนไพลิน

  • วันที่ 4 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA)[nb 4] เริ่มติดตามความเคลื่อนไหวของพายุดีเปรสชันเขตร้อนที่กำลังก่อตัวในอ่าวไทยห่างจากนครโฮจิมินห์ไปทางตะวันตกประมาณ 400 กิโลเมตร (250 ไมล์) ของประเทศเวียดนาม และในอีกสองสามวันต่อมา พายุก็ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกภายในบริเวณที่มีลมเฉือนแนวตั้งระดับต่ำถึงปานกลางก่อนที่จะเคลื่อนตัวผ่านคาบสมุทรมลายู
  • วันที่ 6 ตุลาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสลายตัวกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่สลายตัวได้ไม่นานนัก และพายุก็เคลื่อนตัวออกจากแอ่งแปซิฟิกตะวันตก
  • วันที่ 7 ตุลาคม หย่อมความกดอากาศต่ำได้รับอิทธิพลจากทะเลส่งผลให้มีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในเวลาต่อมา และพายุก็เคลื่อนตัวลงสู่ทะเลอันดามัน
  • วันที่ 8 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC)[nb 5] ออกประกาศคำเตือนพายุดีเปรสชันเขตร้อนดังกล่าว และในช่วงเช้าของวันนี้สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD)[nb 6] จะเริ่มติดตามความเคลื่อนไหวของพายุในฐานะพายุดีเปรสชันเขตร้อนเช่นกัน
    พายุไซโคลนไพลินกำลังเคลื่อนตัวเข้ารัฐโอฑิศา ประเทศอินเดียเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556
  • วันที่ 9 ตุลาคม ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ออกประกาศว่าพายุได้มีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน พายุได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาเพิ่มเติม ก่อนที่สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ยกระดับหย่อมความกดอากาศต่ำให้กลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนในช่วงเช้า เนื่องจากพายุมีกำลังแรงขึ้น และรวมตัวกันมากขึ้น ก่อนที่พายุจะอ่อนกำลังลงเล็กน้อยเมื่อเคลื่อนตัวผ่านมายาบุนเดอร์ในหมู่เกาะอันดามัน และเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอล หลังจากนั้นพายุก็ปรับโครงสร้างใหม่อย่างรวดเร็วเมื่อเคลื่อนตัวไปตามขอบทิศใต้ของสันเขาความกดอากาศสูงกึ่งเขตร้อน สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียรายงานว่าพายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไซโคลน และตั้งชื่อกับพายุว่า ไพลิน
  • วันที่ 10 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้ทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมาก ซึ่งเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 ในช่วงเช้า และเคลื่อนตัวมุ่งหน้าเข้าสู่รัฐเบงกอลตะวันตก
  • วันที่ 11 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก หรือพายุซูเปอร์ไซโคลน นับเป็นพายุที่มีความรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่พายุซูเปอร์ไซโคลนซีดร์ ซึ่งเคยพัดถล่มประเทศบังกลาเทศในปี พ.ศ. 2550 หลังจากที่แถบการพาความร้อนในชั้นบรรยากาศได้ห่อหุ้มศูนย์กลางการหมุนเวียนระดับต่ำของพายุ และก่อตัวเป็นลักษณะตาพายุในช่วงบ่ายของวันนี้ สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานว่าพายุได้กลายเป็นพายุซูเปอร์ไซโคลน และก่อนที่ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) จะรายงานว่าพายุไซโคลนไพลินได้กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 5 หลังจากที่พายุทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วตลอดทั้งวันนี้
  • วันที่ 12 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้ผ่านวัฏจักรการแทนที่กำแพงตา และก่อตัวเป็นกำแพงตาพายุใหม่ ซึ่งต่อมาได้มีการรวมตัวกัน หลังจากที่กำแพงตาพายุใหม่ได้ทำให้พายุมีกำลังแรงขึ้นอีกเล็กน้อยในช่วงเช้าของวันนี้ ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) รายงานว่าพายุได้เข้าสู่ระดับความรุนแรงสูงสุดโดยมีกำลังแรงสูงสุดด้วยความเร็วลม 1 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง) ซึ่งเทียบเท่ากับมีความเข้มข้นเทียบเท่าหมวด 5 ในระดับลมมาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน ในช่วงเช้า และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานความเร็วลมสูงสุด 3 นาทีที่ 260 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (160 ไมล์ต่อชั่วโมง)[nb 7] ความกดอากาศต่ำของพายุได้ถูกประเมินอย่างเป็นทางการที่ 895 เฮกโตปาสกาล (มิลลิบาร์ 26.43 นิ้วของปรอท)
  • วันที่ 13 ตุลาคม พายุไซโคลนไพลินได้อ่อนกำลังลงแล้วเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งที่กลิงคปัตนัม เนื่องจากมีการเปลี่ยนกำแพงตาพายุเป็นรอบที่สองก่อนที่ตาพายุจะเริ่มเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็วในขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวขึ้นชายฝั่งประเทศอินเดีย และในเวลาต่อมาพายุได้เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งใกล้กับโกปาลปุระเมื่อเวลาประมาณ 22:30 น. (15:30 น. เวลาสากลเชิงพิกัด) ซึ่งใกล้ระดับความรุนแรงสูงสุด หลังจากที่พายุเคลื่อนตัวขึ้นฝั่งศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเกี่ยวกับพายุไซโคลนไพลิน
  • วันที่ 14 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) รายงานว่าพายุได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลน พายุไซโคลนไพลินอ่อนกำลังลงจนกลายเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำที่มีความชัดเจน และสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ออกคำแนะนำสุดท้ายเกี่ยวกับพายุลูกนี้

การเตรียมการและผลกระทบ

[แก้]

ประเทศอินเดีย

[แก้]
พายุไซโคลนไพลินในวัฏจักรการแทนที่กำแพงตาสองขั้นในขณะที่เคลื่อนตัวเข้าใกล้ขึ้นฝั่งเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประเทศอินเดียได้รับผลกระทบจากพายุไซโคลนไพลินที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 46 ราย และเกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจสูงถึงประมาณ 260 พันล้านรูปี (4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)[7]

หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์

[แก้]

เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดีย (IMD) ได้ออกคำเตือนหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ว่าจะมีการบันทึกความเร็วลมกระโชกแรงถึงระดับปานกลางเหนือหมู่เกาะ และพื้นที่ทะเลโดยรอบ[8] ในอีกสองวันข้างหน้ายังมีการออกคำเตือนด้วยว่าจะมีฝนตกหนักถึงระดับหนักมากเกิดขึ้นบนเกาะในขณะที่กระท่อมมุงจากไฟฟ้า และสายสื่อสารได้รับความเสียหายบางส่วน คำเตือนเหล่านี้ดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 11 ตุลาคม[9] เมื่อสำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียสังเกตว่าจะไม่มีสภาพอากาศเลวร้ายอีกต่อไปจะเกิดขึ้นเหนือหมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ภายในหมู่เกาะ[10] สำนักงานบริการสุขภาพได้เปิดค่ายแพทย์ในรังกัตในขณะที่รองผู้บัญชาการตำรวจ และบริการดับเพลิง ทั้งหมดได้ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ 8 ถึง 10 ตุลาคม[11] มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 734 มิลลิเมตร (28.9 นิ้ว) และ 434 มิลลิเมตร (17.1 นิ้ว) บนเกาะมายาบุนเดอร์[12] และเกาะลองไอส์แลนด์[13]

รัฐโอฑิศา

[แก้]

รัฐบาลของรัฐโอฑิศา และสำนักงานจัดการภัยพิบัติแห่งรัฐโอฑิศาได้อพยพประชาชนเกือบล้านคนไปยังศูนย์หลบภัยจากพายุไซโคลนไพลิน[14] สัญญาณเตือนพายุในระยะไกลได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 แห่ง ที่ท่าเรือปาราดีป และโกปาลปุระ[15] รัฐมุขมนตรีของรัฐโอฑิศาได้เขียนจดหมายถึงรัฐมนตรีกลาโหมของสหภาพเพื่อขอความช่วยเหลือจากบุคลากรกลาโหมโดยเฉพาะกองทัพอากาศ และกองทัพเรือ สำหรับปฏิบัติการกู้ภัย[16] บรรเทาทุกข์รัฐโอฑิศาได้จัดเตรียมอาหารประมาณกว่า 1 ล้านชุด เพื่อบรรเทาทุกข์[17] เฮลิคอปเตอร์ของกองทัพอากาศอินเดียได้รับการจัดเตรียมไว้เพื่อเตรียมพร้อมในรัฐเบงกอลตะวันตกเพื่อเข้ามาช่วยเหลือในระยะเวลาอันสั้น ผู้คนประมาณ 1.1 ล้านคน ได้รับการอพยพ หลังจากพายุเคลื่อนตัวผ่านไป และน้ำท่วมที่ตามมาในรัฐ ฝนตกหนักส่งผลให้ผู้หญิงคนหนึ่งเสียชีวิตในภุพเนศวร[18] หลังจากที่ต้นไม้สูงโค่นล้มลงทับลมกระโชกแรงทำให้ต้นไม้ และสายไฟฟ้าล้มทับ[19] นอกจากนี้ ยังมีรายงานด้วยว่าพายุฝนฟ้าคะนองได้ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีกประมาณ 7 ราย ในรัฐโอฑิศา บาลิมุนดาลีในรัฐโอฑิศาได้รับปริมาณน้ำฝนอยู่ที่ประมาณ 381 มิลลิเมตร (15 นิ้ว) และ 305 มิลลิเมตร (12 นิ้ว) ในช่วง 24 ชั่วโมง ของวันที่ 13 ตุลาคม[20]

พยากรณ์ปริมาณน้ำฝน 24 ชั่วโมง ของพายุไซโคลนไพลิน

ขณะที่พายุไซโคลนไพลินกำลังเคลื่อนตัวเข้าฝั่งความเร็วลมของพายุได้เพิ่มขึ้นจาก 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62 ไมล์ต่อชั่วโมง) เป็น 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (120 ไมล์ต่อชั่วโมง) ภายใน 30 นาที พรหมปุระเมืองที่อยู่ใกล้จุดขึ้นฝั่งที่สุดได้รับความเสียหายจากลมกระโชกแรง ต้นไม้หักโค่น เสาไฟฟ้าโค่นล้มลง และกำแพงพังทลายในหลายพื้นที่ของเมือง อย่างไรก็ตาม ไม่มีรายงานความเสียหายต่อทรัพย์สิน หรือชีวิตตามรายงานของตำรวจเมืองเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม มีรายงานผู้เสียชีวิตจากรัฐโอฑิศาอยู่ที่ประมาณ 44 ราย[21] คลื่นลมแรงที่ซัดเข้าท่วมทะเลสาบชิลิกา ทะเลสาบชายฝั่งที่ใหญ่ที่สุดของประเทศอินเดีย และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์กับพืชที่ใกล้สูญพันธุ์จำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะฟื้นตัว ป่าชายเลนถูกถอนรากถอนโคนไปเป็นระยะทางหลายกิโลเมตร น้ำทะเลได้ทิ้งพื้นที่จำนวนมากไว้ ซึ่งไม่เหมาะสมสำหรับการปลูกต้นไม้ หรือพืชป่า แม้ว่าพายุจะช่วยชีวิตสัตว์ประจำถิ่นที่มีชื่อเสียงที่สุดของชิลิกาอย่างปลาโลมา แต่ก็ยังมีความกังวลบางประการ[22] ความสูญเสียทั่วทั้งรัฐโอฑิศาอยู่ที่ประมาณ 42.4 พันล้านรูปี (696 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[23] พายุไซโคลนไพลินได้สร้างความเสียหายให้กับพืชผลทางการเกษตรมากกว่าประมาณ 500,000 เฮกตาร์ ทั่วทั้งรัฐ[24]

รัฐอานธรประเทศ

[แก้]

รัฐบาลของรัฐอานธรประเทศ และหัวหน้าคณะรัฐมนตรี ได้เข้าพบตัวแทนของกองทัพบก และกองทัพเรือ เพื่อขอความช่วยเหลือหากจำเป็น[25] พนักงานสาธารณูปโภคที่ถูกหยุดงานได้มีการประท้วงในเขตรัฐอานธรประเทศให้ยกเลิกการหยุดงาน และได้มีการประท้วงบางส่วน เนื่องมาจากพายุที่คุกคามเขตชายฝั่ง[26] รัฐบาลของรัฐได้สั่งอพยพประชาชนประมาณ 64,000 คน ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่ม และเขตชายฝั่งของรัฐ[27] เพื่อรอดพ้นจากพายุไซโคลนไพลิน อย่างไรก็ตาม อำเภอศรีกากุลัมได้ประสบกับพายุฝนฟ้าคะนองจนต้นไม้ และเสาไฟฟ้าโค่นล้มลง จึงส่งผลกระทบให้ไฟฟ้าดับในบางพื้นที่ทั่วทั้งรัฐ[28] มีผู้เสียชีวิต 1 ราย และมีความเสียหายเป็นมูลค่าอยู่ที่ประมาณ 500 ล้านรูปี (8.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)[29] ประชาชนประมาณ 134,426 คน ต้องอพยพออกจากพื้นที่หลังจากพายุเคลื่อนตัวผ่านไป และได้สลายไป[30]

รัฐฌารขัณฑ์

[แก้]

ในวันที่ 13 ตุลาคม ฝนตกหนักจากหางของพายุไซโคลนไพลินได้ถล่มรัฐฌารขัณฑ์ด้วยปริมาณน้ำฝนรวมอยู่ที่ประมาณ 74.6 มิลลิเมตร (2.94 นิ้ว) ถูกบันทึกไว้ที่รางจีในขณะที่ชัมเศทปุระได้มีการบันทึกปริมาณน้ำฝนได้อยู่ที่ประมาณ 52.4 มิลลิเมตร (2.06 นิ้ว) และอำเภอโบการอได้บันทึกปริมาณน้ำฝนได้อยู่ที่ประมาณ 58.4 มิลลิเมตร (2.30 นิ้ว)[31] ตำรวจระบุว่าไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตจากฝนตกในอำเภอกิริดีห์ยกเว้นฟ้าผ่าในช่วงเช้าตรู่ ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย กรมจัดการภัยพิบัติ และหน่วยงานบริหารเขตกำลังติดตามสถานการณ์ดังกล่าว กระท่อมอย่างน้อยประมาณ 400 หลัง ได้รับความเสียหายอย่างหนัก หลังจากที่ฝนตกหนักพร้อมกับลมแรงในอำเภอปากูร์ของรัฐฌารขัณฑ์ ฝนที่ตกหนักทำให้เสาสะพานแม่น้ำอีร์กา 3 ต้น ได้รับความเสียหายในอำเภอกิริดีห์[32]

รัฐอื่น ๆ ของประเทศอินเดีย

[แก้]

พื้นที่ของรัฐเบงกอลตะวันตก รัฐฉัตตีสครห์ รัฐพิหาร และทางตะวันออกของรัฐอุตตรประเทศ มีแนวโน้มที่จะประสบกับพายุฝนฟ้าคะนองมีความเสี่ยงที่ต้นไม้หักโค่น และเสาไฟฟ้าหักโค่น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่เกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเท่ากับในรัฐโอฑิศา และรัฐอานธรประเทศ เรือบรรทุกสินค้าเอ็มวี บิงโก เกรงว่าจะจมลงในทะเลที่มีคลื่นลมแรงนอกชายฝั่งของรัฐเบงกอลตะวันตก เนื่องจากพายุไซโคลนไพลิน เจ้าหน้าที่รักษาชายฝั่งได้พบลูกเรือประมาณ 20 คน ในเรือชูชีพ และได้รับการช่วยเหลือ[33]

ประเทศเนปาล

[แก้]

ทางตะวันออกของประเทศเนปาลได้ประสบกับพายุฝนฟ้าคะนองในขณะที่ตอนกลาง และทางตะวันตกของประเทศ มีฝนตกเล็กน้อย ฝนเริ่มตกทางตะวันออกตั้งแต่เช้าตรู่ของวันที่ 13 ตุลาคม และเริ่มตกในตอนกลางเช่นกันในช่วงบ่าย ผลกระทบจากพายุไซโคลนไพลินยังคงดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 15 ตุลาคม[34] เทศกาลดาไซน์อันยิ่งใหญ่ของประเทศเนปาลได้รับผลกระทบจากฝนที่ตกในเดือนตุลาคม จึงทำให้เกิดน้ำท่วมในแม่น้ำโคสี และแม่น้ำคัณฑกี ในประเทศเนปาล[35]

ดูเพิ่ม

[แก้]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. "ไพลิน" เป็นชื่อพายุหมุนเขตร้อนในรายชื่อชุดที่ 4 ลำดับที่ 8 ของมหาสมุทรอินเดียเหนือ และส่งโดยประเทศไทย
  2. ตัวเลขความเสียหายในบทความนี้เป็นค่าเงินในปี พ.ศ. 2556 เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ
  3. พายุไซโคลนไพลินเป็นพายุที่สร้างความเสียหายมากเป็นอันดับ 8 ในมหาสมุทรอินเดียเหนือ ด้วยมูลค่าความเสียหายอยู่ที่ประมาณ 4.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
  4. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก[4]
  5. ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจร่วมระหว่างกองทัพเรือสหรัฐ – กองทัพอากาศสหรัฐ ซึ่งจะออกประกาศเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก และภูมิภาคอื่น ๆ[5]
  6. สำนักงานอุตุนิยมวิทยาอินเดียเป็นศูนย์อุตุนิยมวิทยาชำนัญพิเศษประจำภูมิภาคอย่างเป็นทางการในมหาสมุทรอินเดียเหนือ[6]
  7. ความเร็วลมเฉลี่ยนี้ใช้ความเร็วลมเฉลี่ยใน 3 นาที เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น ๆ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Why cyclone Phailin is named so". web.archive.org (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-11. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2013.
  2. "Very Severe Cyclonic Storm, PHAILIN over the Bay of Bengal (08-14 October 2013) : A Report" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). IMD. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 November 2013. สืบค้นเมื่อ 20 October 2013.
  3. "Cyclone Phailin triggers India's biggest evacuation operation in 23 years" (ภาษาอังกฤษ). NDTV. 2013-10-12. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "Annual Report on Activities of the RSMC Tokyo – Typhoon Center 2000" (PDF). Japan Meteorological Agency. February 2001. p. 3. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  5. "Joint Typhoon Warning Center Mission Statement". Joint Typhoon Warning Center. United States Navy. 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ July 26, 2007. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  6. "RSMCs and TCWCs". World Meteorological Organization. 2011. สืบค้นเมื่อ December 25, 2011.
  7. "Bearing the brunt". The Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-29. สืบค้นเมื่อ 30 May 2019.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. Regional Specialized Meteorological Center New Delhi, India (2013-10-08). "Cyclone Warning For Indian Coast, BOB 04/2013/01" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 October 2013. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.
  9. Giles, Denis (2013-10-09). "Flood Following Heavy Rains and Cyclonic Weather Badly Affects Andamans". Andaman Chronicle (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2013. สืบค้นเมื่อ 11 October 2013.
  10. Regional Specialized Meteorological Center New Delhi, India (2013-10-11). "Cyclone Warning For Indian Coast, BOB 04/2013/22" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 11 October 2013. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  11. "All India Weather Summary October 8, 2013" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). India Meteorological Department. 2013-10-08. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 December 2015. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  12. "All India Weather Summary October 9, 2013" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). India Meteorological Department. 2013-10-09. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  13. "All India Weather Summary October 10, 2013" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). India Meteorological Department. 2013-10-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 13 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  14. "Cyclone Devastation Averted: India Weathers Phailin". World Bank (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 22 October 2019.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  15. "Odisha, Andhra Pradesh brace for Cyclone Phailin". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-10. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  16. "Odisha, Andhra Pradesh brace for Cyclone Phailin". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-10. สืบค้นเมื่อ 10 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  17. "Cyclone Phailin Live: Odisha fears a repeat of 1999 super-cyclone" (ภาษาอังกฤษ). Zee News. 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  18. Karan, Jajati (2013-10-12). "Cyclone Phailin: One dead in Bhubaneswar as heavy rains lash Odisha". IBN Live (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 October 2013. สืบค้นเมื่อ 27 October 2013.
  19. "Cyclone Phailin live: 1 dead in Odisha during rain as storm approaches". CNN-IBN (ภาษาอังกฤษ). IBN Live. 2013-10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  20. "Storm 60 km away from coast, 5 lakh people moved out" (ภาษาอังกฤษ). ibnlive.in.com. 2013-10-12. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 October 2013. สืบค้นเมื่อ 12 October 2013.
  21. Special Correspondent (2013-10-18). "Odisha's death toll after cyclone, floods climbs to 44". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 30 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  22. "Hindustan Times – Archive News" (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-17. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 October 2013. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.
  23. "Cyclone Phailin: Odisha seeks Rs 4,242 crore assistance from Centre" (ภาษาอังกฤษ). Firstpost. 2012-10-21. สืบค้นเมื่อ 3 October 2018.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  24. "Recovery challenge looms in Odisha, Andhra Pradesh" (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-13. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  25. "Live: Odisha, Andhra on alert as cyclone Phailin upgraded to super storm" (ภาษาอังกฤษ). Firstpost. 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  26. "Relief for Seemandhra after power staff call off strike". The Times of India (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  27. "Cyclone brings respite from agitation". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-10. สืบค้นเมื่อ 14 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  28. Patnaik, Santosh (2013-10-13). "Phailin batters Berhampur". The Hindu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  29. "Phailin claims one life in Andhra Pradesh, inflicts Rs 50cr damages". Times of India (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 30 October 2013.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  30. India Meteorological Department. "Very Severe Cyclonic Strom Phailin – Preliminary Report" (PDF) (ภาษาอังกฤษ). India Meteorological Department. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 6 November 2013. สืบค้นเมื่อ 2 November 2013.
  31. "Cyclone Phailin: Heavy rains lash Jharkhand today" (ภาษาอังกฤษ). IBN News. 2013-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 October 2013. สืบค้นเมื่อ 13 October 2013.
  32. "Phailin effect: 400 hutments destroyed in Jharkhand | India News Analysis, Op-Eds and Podcasts on Niti Central" (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 September 2014. สืบค้นเมื่อ 12 September 2014.
  33. "Crew of MV Bingo rescued". Sino Ship News (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 December 2013. สืบค้นเมื่อ 11 October 2014.
  34. "Rainfall across Nepal' Phailin impact to continue tomorrow also". The Himalayan (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 October 2013. สืบค้นเมื่อ 21 October 2013.
  35. "Heavy rains lash Bihar post Cyclone Phailin, one killed". The Indian Express (ภาษาอังกฤษ). 2013-10-14. สืบค้นเมื่อ 21 October 2013.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]